Data Research Insight ข้าวขาหมู by Social Listening

Data Research Insight ข้าวขาหมู by Social Listening

Data Research Insight ข้าวขาหมู หนึ่งในเมนูโปรดของใครหลาย ๆ คน ใครที่กำลังทำธุรกิจด้านอาหาร และคาเฟ่อยากให้อ่านรีพอร์ตเล่มนี้จนจบ เพราะข้อมูลจะช่วยทำให้ผู้อ่านเห็นภาพเทรนด์การพูดถึงเมนูและองค์ประกอบต่าง ๆ ของเมนูข้าวขาหมูได้เป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยแน่นอนค่ะ

ซึ่งรีพอร์ตนี้เราจะใช้ข้อมูลจาก Social Listening Tools ที่ทำหน้าที่ช่วยกวาด Social Data โพสต์ที่มีคำว่า ‘ข้าวขาหมู’ อย่างเจาะจงค่ะ เราจะมาค่อย ๆ เจาะข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการที่อยากอ่านเทรนด์เกี่ยวกับตลาดข้าวขาหมูปัจจุบันว่ามีร้านแบบไหนบ้าง ถ้าจะขายเน้นเมนูไหนดี ใช้วัตถุดิบอะไร Influencer ที่รีวิวได้น่าสนใจจะมีใครบ้าง

นี่ก็เป็นหนึ่งในเล่มโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน ที่ผ่านมาแล้วหลายเมนู ตัวอย่างเช่น ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง ผัดไทย ไอศกรีม อยากให้ทุกคนติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะเราจะมีข้อมูลมากให้อ่านกันทุกเดือนอย่างแน่นอนค่ะ

และโปรเจค #​Dataอร่อยร้อยร้าน จากการตลาดวันละตอนของเราได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดีอย่างกับ Mandala, MHA Makro ,LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership กับ Torpenguin และ Brand Communication

Data Research Insight สำรวจจักรวาลข้าวขาหมู by Social Listening

ซึ่งในการหา Data insight เราจะใช้ 8 ขั้นตอนกับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา Insight จาก Social Data ออกมาค่ะ

Data Research Insight สำรวจจักรวาลข้าวขาหมู by Social Listening

Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ โดยใช้คำคีย์เวิร์ด คือ ข้าวขาหมู, ข้าว+ขาหมู, ข้างขาหมู, Khao kha mu, Stewed pork legs with rice และ fresh ham on rice เพื่อให้ครอบคลุมทั้งในภาษาไทย และ อังกฤษ รวมทั้งภาษาที่คนมักเขียนผิดค่ะ

โดย Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/05/2023 – 31/03/2024 หรือประมาณ 11 เดือนย้อนหลัง มีข้อมูลประมาณ 13,039 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok 

และข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ

อย่างไรก็ตาม เวลาเราเลือกใช้ Keyword เพื่อถึงโพสต์ที่เกี่ยวข้องเข้ามาในโปรเจค และใส่ exclude เพื่อป้องกันข้อมูลที่ไม่ต้องการไว้อยู่แล้ว แต่คำนั้นอาจมาจากโพสต์ความหมายอื่น หรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับที่เราต้องการได้ค่ะ ตัวอย่างแคมเปญนี้ผู้เขียนต้องทำการคลีนข้อมูล หรือลบโพสต์ที่ไม่เกี่ยวข้องออก การวิเคราะค์ Social Data จะได้มีความแม่นยำมากขึ้น

ซึ่งในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอนคลีนซิ่งดังกล่าวเพื่อเคลียสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป ยิ่ง Data สะอาด และมีคุณภาพ ก็เหมือนเราเลือกคนสัมภาษณ์มาดี เป็นต้นค่ะ 

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ค่ะ > https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/top10-influencers-investment-money-2023-on-tiktok/

อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล จะได้อ่าน Social Data ที่หลังไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้พอจะเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึงข้าวขาหมูจริง ๆ คัด insight ที่จะเป็นประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับข้าวขาหมู มีข้อมูลแบบไหนบ้างและอยากมาเล่าต่อในรีพอร์ตเล่มนี้ ซึ่งตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณตอนนี้ค่ะ ต้องมาเริ่ม STEP ที่ 5 กันต่อ 

ซึ่งในการอ่านข้อมูล เรามักจะเริ่มจากฟีเจอร์พื้นฐานในหน้า Dashboard แรกไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Top post เพื่อรู้ภาพรวมข้อมูลที่ได้รับความนิยมค่ะ 

Data Research Insight สำรวจจักรวาลข้าวขาหมู by Social Listening

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions จำนวนโพสต์ จำนวนคอมเมนต์ ที่มีคีย์เวิร์ด) – โดยแพลตฟอร์มที่มีสัดส่วนมากที่สุด คือ Youtube อยู่ที่ 39% ซึ่งส่วนมากจะเป็นช่องที่รีวิวอาหาร หรือ การกินจุ โดยเฉพาะร้านบุฟเฟ่ต์ค่ะ นอกจากนั้นก็มีสอนทำข้าวขาหมูค่ะ

การมีส่วนร่วม (Engagement + YouTube views) – ส่วนมากจะเป็นช่องที่รีวิวอาหาร หรือ การกินจุ เพราะข้าวขาหมูขึ้ชื่อว่าเป็นเมนูที่มันเยอะ กินแล้วเลี่ยนง่าย ทำให้เหล่านักกินจุ และ ช่องรีวิวมักไปถ่ายที่ร้านข้าวขาหมู หรือ คอนเทนต์การทานข้าวขาหมูแบบเยอะ ๆ โดยเฉพาะการไปรีวิวร้านบุฟเฟ่ต์ค่ะ นอกจากนั้นก็มีสอนทำข้าวขาหมูค่ะ

การมีส่วนร่วมแบบไม่นับรวมยอดวิว (Engagement ignore view) – หากดูกราฟและไทม์ไลน์คู่กันเราก็จะเห็นศักยภาพของ Facebook TikTok และ Instagram สามารุสร้างเอนเกจได้ดีจากคอนเทนต์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการรีวิวร้านดัง แนะนำร้านข้าวขาหมู การทานข้าวขาหมูให้ดู บอกสูตรข้าวขาหมู แชร์ภาพข้าวขาหมูต่าง ๆ

เพราะเมนูข้าวขาหมูต้องบอกว่าคนที่ทานจะมีทั้งทานเฉพาะส่วน เช่น หนังล้วน เนื้อล้วน รวมไปถึงการทานข้าวขาหมูสำหรับบางคนจะเป็นมื้อพิเศษ เพราะภาพจำของข้าวขาหมูคือทานแล้วอ้วน จึงชอบถ่ายรูปแชร์เก็บไว้เป็นความทรงจำ

เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ทำให้เห็นเลยนะคะว่าภาพรวมของเสียงบน Social กำลังพูดถึงรีวิว แชร์ร้านข้าวขาหมู รวมทั้งส่วนที่ทาน รูปแบบการทานที่คนไปทาน เช่น การไปกินบุเฟฟ่ต์ รวมทั้งในฝั่งของ Word cloud อีกด้าน ก็จะเห็นชัดในส่วนที่ทาน รวมทั้งการพูดถึงข้าวขาหมูในด้านต่าง ๆ ค่ะ

ซึ่งตรงนี้เองผู้ประกอบการร้านข้าวขาหมู รวมทั้งนักรีวิวก็คงจะพอเห็นแนวทางคอนเทนต์ที่จะนำไปทำต่อ เพื่อสร้างยอด Engagements ให้กับตัวเองค่ะ แต่ถ้าหากยังหาแนวทางไม่ได้ คิดไม่ออก กสามารถดูตัวอย่างไอเดียคอนเทนท์จาก Top Post ของแต่ละแพลตฟอร์มที่กำลังจะเล่าต่อไปด้วยค่ะ

Facebook – KP ตะลอนแหลก รีวิว ก๋วยเตี๋ยวขาหมู ยกขา จ.นครปฐม ร้าน บุญเฮง

Twitter – @RedSkullxxx รีวิวข้าวขาหมู กล่องละ 80 บาทแต่ได้น้อย ไม่สมกับราคา

Instagram – ginyuudai เปรียบเทียบสลัดกับข้าวขาหมู

TikTok – kp_talonlak พาไปทานก๋วยเตี๋ยวขาหมูยกขา จ.นครปฐม ร้าน บุญเฮง

@kp_talonlak

ก๋วยเตี๋ยวขาหมู แบบให้ยกขา นุ่มเปื่อยมากก ข้าวต้มแห้ง ต้มเลือดหมู ก๋วยเตี๋ยวก็เด็ด ร้าน บุญเฮง ก๋วยเตี๋ยวหมู-ต้มเลือดหมู ซอย6 อยู่ใกล้องค์พระ จ.นครปฐม #kpตะลอนแหลก #Tiktokพากิน #อร่อยบอกต่อ #นครปฐม #บุญเฮงก๋วยเตี๋ยวหมู #แพรพากิน

♬ เสียงต้นฉบับ – KP ตะลอนแหลก ( แพร ) – KP ตะลอนแหลก ( แพร )

YouTube –  NAT VS FOOD กินข้าวขาหมู 40 จาน

การจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีน อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่ายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ 

ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำใน PPT,​ Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ

ทุกคนจะได้อ่านข้อมูลที่ผ่านขั้นตอนที่ผ่านมาเพื่อ Summary & Insight / Recommendation ข้าวขาหมู ในประเทศไทยตามเนื้อหาด้านล่างนี้ค่ะ ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอีกขั้นตอนที่ต้องผ่านการผัดหุงต้มนึ่งไม่แพ้อาหารเลย แต่กลวิธีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป จากทั้งหมด 8 Step หลักวิธีการใช้ Social Listening ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ มาดูกันว่าผู้เขียนเตรียมข้อมูลแบบไหนมาแชร์ทุกคนกันบ้าง นะคะ

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่า 13,039 Mentions คลีนข้อมูลที่ไม่ต้องการบางส่วนออกแล้ว นั้นเมื่อแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เราจะเจออะไรบ้าง 

ซึ่งภาพรวมซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis การพูดถึงข้าวขาหมู จัดเป็น 4 กลุ่มใหญ่ที่สำคัญต ามภาพด้านบน ที่มีความเกี่ยวข้องกับข้าวขาหมู โดยไม่นับรวมร้านฮิตติดอันดับเข้าไป เพราะมีความแยกย่อย และผู้เขียนมองว่าจะเป็น Too Much Information มากเกินไปในภาพรวม โดยเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้

  1. จุดขายของข้าวขาหมู 44%
  2. ส่วนที่คนเลือกทาน 35%
  3. เครื่องเคียงของข้าวขาหมู 17%
  4. ช่วงราคาขาย 4%

แต่การเล่าจะมีการเพิ่มในส่วนของร้านฮิตเข้าไป จะเรียงโดย Journey ที่ต้องการ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ดังนี้

  1. ส่วนที่คนเลือกทาน
  2. เครื่องเคียงข้าวขาหมู
  3. ทานข้าวขาหมูกับอะไร
  4. รูปแบบการทานข้าวขาหมู
  5. TOP 5 ร้านข้าวขาหมูจานเดียว
  6. TOP 5 ร้านข้าวขาหมูบุฟเฟ่ต์
  7. TOP 5 เมนูที่ขายคู่ข้าวขาหมู
  8. จุดขายข้าวขาหมู
  9. ช่วงราคาขายข้าวขาหมู

สำหรับส่วนที่คนเลือกทานมากที่สุดของข้าวขาหมู คือ คากิ ครึ่งนึงเลย รองมาคือ คาจัก ซึ่งสิ่งที่น่าแปลกใจคือ ลูกค้าโดยส่วนใหญ่จะไม่รู้จัก คาจัก และ คิดว่าคากิ และคาจัก คือส่วนเดียวกัน แต่ร้านค้าบางร้านก็จะใช้คำโปรโมทรวมกัน คือ คากิ และคาจัก บางร้านก็จะระุบไปเลยว่าคืออะไร

เพราะส่วนคากิ และ คาจัก จะเป็นส่วนที่มีมันเยอะทั้งคู่คนจึงนิยมทานกัน

  • ‘คากิ’ ส่วนปลายขาหมู ส่วนปลายของขาเเละตีนหมู เป็นส่วนของ เอ็น ไขมันเเละหนัง
  • ‘คาจัก’ ส่วนเชื่อมขาหมูกับคากิ ประกอบด้วย หนังและเอ็น นุ่ม เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างคากิและเนื้อขาหมู

อย่างที่บอกไป เรื่องของคากิและคาจัก คนส่วนใหญ่มักไม่รู้จักและแยกไม่ออก ซึ่งบนแพลตฟอร์มอย่าง X ก็มีผู้ใช้อธิบายความแตกต่างไว้เช่นกัน

ใช้ส่วนมากร้านจะเน้นการตลาดคำว่า คากิ จะอยู่คู่กับการโปรโมทร้านเสมอ อย่างแพลตฟอร์มหลัก ๆ อย่าง Facebook TikTok หรือ แม้กระทั่งใน X เอง ผู้ใช้ก็มักแชร์ภาพของข้าวขาหมูที่ตัวเองไปทาน เรียกว่ามีคอนเทนต์ขึ้นรัว ๆ เลยค่ะ

นอกจากนั้นยังมีส่วนของเนื้อหนัง ซึ่งจะเป็นปกติที่คนทานทั่วไปจะสั่ง และจะเป็นส่วนของ เนื้อล้วน สำหรับคนรักสุขภาพ ไม่ชอบมัน และ หนังล้วนสำหรับคนชอบมันจัด ๆ ค่ะ

ในส่วนของเครื่องเคียง สิ่งที่คนพูดถึงมากที่สุดคือ ผักกาดดอง นั่นเองค่ะ ซึ่งทั้งจากร้านเองที่มีเครื่องเคียงหลักเป็นผักกาดดอง และ ผู้ใช้คือพูดถึงผักกาดดอง บ่นว่าร้านข้าวขาหมูบางร้านไม่มีผักกาดดองให้ทาน เรียกว่าเป็นเครื่องเคียงยอดฮิตที่ไว้ตัดเลี่ยนสำหรับข้าวขาหมูเลยค่ะ

@zong.khamoo

ต้องไปลองสักครั้ง ร้านขาหมูฮ่องเต้เฮียซ้ง ร้านดัง กทม. #มีบริการรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่ โทร. 0834319000 แอดไลน์ : zongkhamoo ขาหมูพะโล้สูตรโบราณสไตล์แต้จิ๋ว สูตรที่สืบทอดเปิดมากว่า 40 ปี 📌 รสชาติออกเค็มนำหวานตาม หอมกลมกล่อม เข้มข้นเข้าเนื้อ ขาหมูต้มจนเปื่อยเข้าเนื้อละบายในปาก อร่อยทั้งเนื้อและหนัง 📌 ทีเด็ดอยู่ที่พริกน้ำส้มปั่นสดทุกวันเข้มข้น เปรี้ยวหวานเผ็ดกำลังดี 📌 ผักกาดดองดองน้ำมะพร้าวสั่งผลิตด้วยสูตรเฉพาะทานแกล้มขาหมูฟินมาก สั่งออนไลน์ได้ทั้งแอพ ไลน์แมน/Grab/โรบินฮู้ด ส่งถึงบ้าน 📌 ร้านเปิด จ.-ส. 10:00-22:00 น. หยุดทุกวันอาทิตย์ พิกัด มี 2 สาขา 1. สาขาสาธุประดิษฐ์ โทร. 083-431-9000 แผนที่ร้าน https://goo.gl/maps/Dqqp12akAuJ2 2. สาขาเจริญนคร โทร 0931598779 แผนที่ร้านสาขาเจริญนคร https://maps.app.goo.gl/VttbMcat5EQVAv8J7?g_st=ic #ร้านดังในติ๊กต๊อก ร้านดังในตำนาน #ร้านดังtiktok #ปักหมุดอาหารอร่อย #ปักหมุดร้านอร่อย #ขาหมู #ร้านดังสาธุประดิษฐ์ #กรุงเทพ #ข้าวขาหมู #หม้อไฟ #ร้านอร่อยยกนิ้ว #รีวิวเยอะมาก #grab #หมี่คลุก

♬ ใดต่อจี (ดีต่อใจ) [Speed Up] Feat.thekantk – Shineboys

รองลงมาคือ คะน้าลวก โดยบริบทก็จะคล้ายกับผักกาดดองเลยค่ะ ซึ่งในส่วนนี้เองถึงจะมาเป็นรองแต่ก็ต้องยอมรับเลยค่ะว่า ถ้าร้านไม่มีจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีแน่นอน รองมาก็คือ ไข่ต้ม, พริกน้ำส้ม, พริก และ กระเทียม ตามลำดับค่ะ

ดังนั้นผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ ต้องเตรียมเครื่องเคียงเหล่านี้ไว้ให้พร้อมด้วยนะคะ ไม่งั้นลูกค้าอาจวีนและเปลี่ยนใจไม่มาทานอีกเลนก็ได้ค่ะ

จริง ๆ แล้วภาพจำของข้าวขาหมู คือ การกินกับข้าวเพราะชื่อก็บอกตรงตัวอยู่แล้วว่า “ข้าวขาหมู” แต่จริง ๆ ยังมีคนที่กินข้าวขาหมูกับก๋วยเตี๋ยว เป็น ก๋วยเตี๋ยวขาหมู หรือแม้กระทั้งในร้านข้าวขาหมูเอง ก็จะมีเมนูก๋วยเตี๋ยวขาหมูอยู่ด้วยค่ะ ซึ่งร้านก๋วยเตี๋ยวขาหมูเองก็มีนักกินไปรีวิวด้วยนะคะ เรียกว่าน่าทานไม่เพียงข้าวขาหมูเลยค่ะ

@leeming1105

ขาหมูสีลมลำปาง หมูแดง หมูกรอบ ขาหมู เป็ด ติ่มซำ มีทั้งเมนูข้าวและก๋วยเตี๋ยว ก๋วยเตี๋ยวขาหมูอร่อยมาก พิกัดข้างๆโรงเรียนเทศบาล 4 เปิด 06.30 น-15.30 น #ร้านอาหารลําปาง #fyp ลำปาง

♬ เสียงต้นฉบับ – SLMUSIC – SLMUSIC

ซึ่งจากที่กล่าวไปก็ไม่น่าแปลกใจที่ “ข้าว” จะขึ้นนำเป็นอันดับหนึ่ง เพราะถือว่าเป็นพื้นฐานในการกินกับขาหมูอยู่แล้ว ซึ่งบริบทส่วนมากก็จะเป็นทั้งจากร้านค้าที่โพสต์เพื่อเรียกลูกค้า หรือ ลูกค้าเองที่นำภาพของข้าวขาหมูมาแชร์บน Social Media ค่ะ รวมไปถึงเหล่านักรีวิวต่าง ๆ ด้วยค่ะ

@grabth

ข้าวขาหมูที่นุ่มละลายในปากจากร้าน ข้าวขาหมูยููนนาน💚 #GrabFoodTH #GrabTH #TiktokASMR #ASMR #Tiktokพากิน

♬ เสียงต้นฉบับ – grabth – grabth

ดังนั้น หากร้านค้าผู้ประกอบการอาหาร มีก๋วยเตี๋ยวขาหมูอยู่ในเมนูอยู่แล้วต้องนำมาสร้าง Engagement เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วยนะคะ รวมทั้งร้าข้าวขาหมูร้านไหนยังไม่มีเมนูก๋วยเตี๋ยวอาจพิจารณาเพิ่มทางเลือกนี้เข้าไปให้กับลูกค้าเพิ่ม แถมยังเป็นสร้างโอกาส สร้างความหลากหลายให้ร้านค้าอีกด้วยค่ะ

ในรูปแบบการทานจะมีทั้งการทานแบบจานเดียวที่ร้าน การทานแบบบุฟเฟ่ต์ รวมทั้งการทำทานเองค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าการทานแบบจานเดียวจะถูกพูดถึงมากที่สุด เพราะต้องยอมรับว่าข้าวขาหมูเป็นอาหารที่หากทานในปริมาณที่มากเกินไปจะเกิดอาการเลี่ยนได้ เพราะเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยไขมัน และ ความเค็มนัว

@zong.khamoo

#ข้าวขาหมูรวมมิตร ที่ร้านขาหมูฮ่องเต้เฮียซ้ง #ร้านดังสาธุประดิษฐ์ กรุงเทพฯ ในจานมีอะไรบ้าง ข้าวหอมมะลิอบเผือก ขาหมูเนื้อหนัง ไส้เต้าหู้ ไข่พะโล้ กุนเชียง หมูทอด ผักกาดดอง อิ่มคุ้มเพียง 90 บาท ชอบกินตามรีวิวต้องร้านนี้ #รีวิวเยอะมาก จะมาทานที่ร้านหรือสั่งผ่านแอปแบบไม่ต้องลุ้น ไม่ต้องกลัวผิดหวัง เป็นร้านเวรี่กู๊ดในแอพ Line man และร้านที่ได้รับเครื่องหมาย Grab Thumbs Up #ร้านอร่อยยกนิ้ว เครื่องหมายที่การันตีความอร่อยให้ร้านอาหารคุณภาพ และเพิ่มทางเลือกให้ผู้ใช้บริการ โดยคัดเลือกร้านอาหารจากทั่วประเทศที่ขายผ่านแกร็บฟู้ด สั่งเลยที่แอพ Line man/Grab/Robinhood ค้นชื่อร้าน ขาหมูฮ่องเต้เฮียซ้ง มี 2 สาขา 1. สาขาสาธุประดิษฐ์ โทร. 083-431-9000 แผนที่ร้าน https://goo.gl/maps/Dqqp12akAuJ2 2. สาขาเจริญนคร โทร 0931598779 แผนที่ร้านสาขาเจริญนคร https://maps.app.goo.gl/VttbMcat5EQVAv8J7?g_st=ic 📌 ร้านเปิดจันทร์-เสาร์ 10:00-22.00 น. หยุดทุกวันอาทิตย์ มีที่จอดรถ #ร้านอร่อย #ข้าวขาหมู #อร่อยบอกต่อ #bangkok #กรุงเทพมหานคร #รับจัดเลี้ยง #beststreetfood #ขาหมู #khaokhamoo #lineman #หิวข้าว #ร้านดัง #tiktoktrend #tiktokreviews #review #ร้านอร่อยยกนิ้ว #รีวิวเยอะมาก #tiktokรีวิว #tiktokรีวิวอาหาร

♬ Little Bear Be Happy – steven chau

แต่ที่น่าแปลกใจคือการทานแบบบุฟเฟ่ต์ ที่มีเปอร์เซ็นสูงถึง 25% ผู้เขียนแอบตกใจเหมือนกันที่มีคนเลือกทานแบบบุฟเฟ่ต์ค่อนข้างเยอะกว่าที่คาดไว้ เพราะด้วยลักษณะของอาหารอย่างที่ได้กล่าวไป แต่อาจด้วยราคาที่เข้าถึงง่าย และแทบไม่ต่างกับราคาปกติมาก คนจึงเลือกทานแบบบุฟเฟ่ต์กันค่ะ

แต่คนที่ทำกินเองก็มีนะคะเพราะอยากกินแบบเต็มที่ ทั้งเนื้อขาหมูและเครื่องเคียงตามที่เตรียมไว้เอง รวมทั้งสามารถเลือกรสชาติความเค็มได้ตามใจด้วยค่ะ

@bodbie_1319

ข้าวขาหมู ข้าวขาหมู ห้องครัวtiktok tiktokพากิน

♬ Beautiful Moments – Musik Relaksasi ID

หลังจากเรารู้แล้วว่าร้านข้าวขาหมูแบบจานเดียวจะพูดถึงมากที่สุด เราจึงมาจัด 5 อันดับร้านข้าวขาหมูแบบจานเดียวมาให้ดูกันค่ะ โดยจะมี

อันดับ 1 ร้านขาหมูฮ่องเต้ เฮียซ้ง

อันดับ 2 ร้านข้าวขาหมู ตรอกซุง

อันดับ 3 ร้านข้าวขาหมู พี่ญาคนรุม

อันดับ 4 ร้านเล่อข้าวขาหมู

อันดับ 5 ร้านเจ๊แอนข้าวขาหมู

ซึ่งร้านที่มาเป็นอันดับ 1 อย่างเฮียซ้ง เพราะมีการทำการตลาดบนช่องทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะ IG ที่ไม่ค่อยมีร้านอะไรทำกันมาก แต่เฮียซ้งจะมีการโพสต์รูป รวมทั้งรีโพสต์คอนเทนท์ของนักรีวิวที่มาทานเสมอ แล้วให้มีเมนชั่นขึ้นมาเยอะที่สุดค่ะ

ดังนั้นผู้ประกอบการอาหารเองก็ต้องนำจุดนี้ไปปรับโดนการเพิ่มช่องทางการตลาดที่หลากหลายมากขึ้น แล้วทั้งมีการรีโพสต์ ขอบคุณ นำ Footage ของนักรีวิวกลับมาใช้ด้วยค่ะ

เจาะลึกร้านข้าวขาหมูแบบ “บุฟเฟ่ต์”กับ TOP 5 อันดับ

Data Research Insight ข้าวขาหมู by Social Listening

หลังจากเรารู้แล้วว่าร้านข้าวขาหมูแบบบุฟเฟ่ต์เป็นอันดับ 2 เราจึงมาจัด 5 อันดับร้านข้าวขาหมูแบบบุฟเฟ่ต์มาให้ดูกันค่ะ ซึ่งส่วนมากร้านบุฟเฟ่ต์จะเป็นบริบทที่นักรีวิวไปทานและลงรีวิวกันค่ะ โดยจะมี

อันดับ 1 ร้านอรุณอมรินทร์

อันดับ 2 ร้านนายพัน

อันดับ 3 ร้านอาม้าอาป๊า

อันดับ 4 ร้านเจ๊หนึ่ง

อันดับ 5 ร้านอารมณ์บอย

อย่างที่บอกไว้ว่าส่วนมากคนที่มาทานในร้านบุฟเฟ่ต์ จะเป็นนักรีวิวอาหาร นักกินจุต่าง ๆ ซึ่งผู้ประกอบการเองก็สามารถนำกลยุทธ์การใช้ คนมีชื่อเสียงเข้ามาสร้างส่วนร่วมในธุรกิจของตัวเอง เพื่อสร้าง Engagement ให้คนรู้จักเพิ่มขึ้น รวมทั้งกระตุ้นยอดขายด้วยค่ะ

จากบริบทที่อ่านมา โดยส่วนใหญ่ข้าวขาหมูมักไม่ขายเดี่ยว ๆ แต่จะมีอาหารอื่นร่วมด้วย ซึ่งผู้เขียนก็ได้ทำ Top 5 เมนูที่ขายคู่ข้าวขาหมูที่ถูกพูดถึงมากที่สุดมาให้ดูกันค่ะ

อันดับ 1 ข้าวหมูแดง

อันดับ 2 ข้าวแกง

อันดับ 3 ข้าวหมูกรอบ

อันดับ 4 ก๋วยเตี๋ยวหมู / ไก่ / เป็ด

อันดับ 5 ข้าวมันไก่

ซึ่งก็ไม่ได้แปลกกว่าที่คิดไว้ เพราะปกติเราข้าวหมูแดง หมูกรอบ และ ข้าวขาหมู มักเป็นร้านที่ขายด้วยกัน เพราะมีวัตถุดิบหลักเป็นหมูเหมือนกันค่ะ แต่จะมีที่แปลกหน่อยคือร้านข้าวแกงและข้าวมันไก่ โดยร้านข้าวแกงส่วนมากจะเป็นร้านใหญ่ ทำหลากหลายเมนู จึงมีการทำข้าวขาหมูด้วยค่ะ ส่วนร้านข้าวมันไก่ เพราะมีลักษณะการกินคล้ายกันจึงขายคู่กันค่ะ มีจุดร่วมบางอย่าง เช่น น้ำซุปเป็นต้นค่ะ

@kinnkeng

ข้าวหมูกรอบขาหมู คู่ความปัง กินข้าวขาหมูแบบเดิมมันเอ๊าท์ เพราะชาวกินเก่งอย่างเราชอบครีเอท จัดไปเลยจ่ะ ข้าวหมูกรอบขาหมู กินคู่กันฟินมาก น้ำราดไม่ได้ทำให้ขาหมูร้านนี้กรอบน้อยลงเลย ปังมาก ขาหมูก็คงคอนเซปท์ความฉ่ำ ความนุ่ม เป็นตำนานมาก ไปถึงสั่งเลยค่ะ ลุยยยยย กินเก่ง คนกินเก่ง2023

♬ เสียงต้นฉบับ – กินเก่ง รีวิวกินๆ – กินเก่ง รีวิวกินๆ
Data Research Insight ข้าวขาหมู by Social Listening

ในส่วนของจุดขาย จุดชูโรง ของข้าวขาหมู อันดับ 1 จะเป็นอะไรไปไม่ได้เลยนอกจาก ความนุ่ม ซึ่งบริบทจะเป็นการกล่าวถึงความนุ่มในส่วนต่าง ๆ ของขาหมู เช่น หนังนุ่ม เนื้อนุ่ม และตามมาด้วย พูดถึงความเปื่อย ซึ่งบริบทส่วนมากจะเป็นการพูดถึงความเปื่อยของเนื้อ ตามด้วย น้ำราดเยอะ, น้ำจิ้มรสเด็ด และรสกลมกล่อม ตามลำดับ

ซึ่ง 2 อันดับแรก แสดงให้เห็นถึงความน่าทาน ทานง่ายของตัวข้าวขาหมูนั่นเองค่ะ ดังนั้นหากผู้ประกอบการคนไหนยังไม่นำจุดขายนี้มาชู ก็สามารถใช้ได้เลยนะคะ หรือ หากใครเบื่ออยากเปลี่ยนจุดขายใหม่ ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างก็สามารถสร้างจุดขายขึ้นมา หรือ เลือกจากจุดขายด้านบนที่คนยังไม่ค่อยพูดถึงก็ได้ค่ะ

Data Research Insight ข้าวขาหมู by Social Listening

ในช่วงราคาขายข้าวขาหมู ราคาที่มากที่สุดคือ 51-60 บาท เนื่องจากเพราะเป็นราคากลาง ๆ ทั้งร้านจานเดียวและร้านบุฟเฟ่ต์ก็เลือกใช้ราคานี้ในการขายทำให้ถูกเมนชั่นถึงมากที่สุดค่ะ โดยรองลงมาก็จะเป็น 61-70 บาท, 80 บาทขึ้นไป, 71-80 บาท, 41-50 บาท และ 31-40 บาท ตามลำดับค่ะ

ดังนั้น ร้านค้าผู้ประกอบการที่เลือกตั้งราคา 51-60 บาท อาจต้องดูว่าเราจะปรับกลยุทธ์อะไรในการสู้กับคู่แข่งทั้ง แบบร้านจานเดียวทั่วไป และร้านบุฟเฟ่ต์ หรือหากจะเพิ่ม/ลด ราคาก็ต้องกลับมามอง position ของร้านค้าใหม่ว่ายังไง รวมทั้งปรับจุดขาย และหาแนวทางสร้าง Engagements เพิ่มด้วยค่ะ

Data Research Insight ข้าวขาหมู by Social Listening

TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

1.Mawinfinferrr 406.7K Engagement

2.Bangkok Foodie 396K Engagement

3.น้องตี๋ พี่โคโค่ สมชายบ้านไร่ 199.4K Engagement

4.KP ตะลอนแหลก 142.9K Engagement

5.ชีวิตติดรีวิว102.9K Engagement

TOP5 Instagram account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในแอคเคาท์ที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

1.mawin_twp 194.8K Engagement

2.ginyuudai 129.9K Engagement

3.tid_review 113.2K Engagement

4.muummaam_ 43.5K Engagement

5.kp_talonlak 34.6K Engagement

Data Research Insight ข้าวขาหมู by Social Listening

TOP5 TikTok account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในช่องที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

1.kp_talonlak 238.7K Engagement

2.muummaam 225.1K Engagement

3.tid_review 219.9K Engagement

4.kinnkeng 197.9K Engagement

5.giantpanchef 170.5K Engagement

Data Research Insight ข้าวขาหมู by Social Listening

TOP5 YouTube channel ที่นับจากคลิป “ยอดวิว” สูงที่สุดของช่องเท่านั้น

1.โก้อีสาน พาแดก 3.85M views

2.NAT VS FOOD 1.87M views

3.ดมข้าว [Domkao] 983K views

4.TidReview ชีวิตติดรีวิว 979K views

5.ลุงอ้วน กินกะเที่ยว928K views

Data Research Insight ข้าวขาหมู

ทั้งหมดนี้หวังว่าทุกคนที่ได้อ่าน Data Research Insight ข้าวขาหมู โดยทั้งเห็นเทรนด์การพูดถึงบนโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่ทาน เครื่องเคียง การทานแบบบุฟเฟ่ต์ที่มีสัดส่วนเยอะเป็นอันดับสอง จุดขายต่าง ๆ ที่ร้านค้าและลูกค้ามักพูดถึง หวังว่าคำแนะนำสำหรับธุรกิจที่วิเคราะห์จากดาต้านี้จะนำไปต่อยอดเป็นได้ไอเดียใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจกันไม่มากก็น้อยนะคะ

และขอให้เต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด Insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^

*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ

Data Research Insight ข้าวขาหมู by Social Listening

ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AIMHA MakroLINE MAN wongnai ,SME D BANKDaikin รวมถึง Media partnership Torpenguinและ Brand Communication

Data Research Insight ข้าวขาหมู by Social Listening

คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ราเมง ผัดไทย ข้าวแกง สเต๊ก ชาไทย หรืออ่านทั้งหมดได้ที่ #Dataอร่อยร้อยร้าน


สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 28

นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง

จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก

ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา

เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%

และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี

ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ 🙂

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย

Mywmint

มิวมิ้น เรียก มิ้น ก็ได้ค่ะ ● ⋏ ● เป็น Junior Marketing Content Creator ของการตลาดวันละตอนค่ะ รับบท Marketer ฝึกหัด ٩(◕‿◕)۶ ตั้งใจสรรสร้างทุกบทความ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ และ ชอบนะคะ ขอฝากเนื้อฝากตัวไว้ด้วยฮะ ʕっ•ᴥ•ʔっ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *