Data Research Insight สำรวจจักรวาลสเต๊ก by Social Listening

Data Research Insight สำรวจจักรวาลสเต๊ก by Social Listening

Data Research Insight สำรวจจักรวาล สเต๊ก by Social Listening แม้ในบทความนี้จะเป็นเมนูต่างชาติแต่รับรองว่าดูจากการพูดถึงในโซเชียลแล้ว ถือว่าได้ใจคนไทยไปไม่น้อยเลยค่ะ โดยเมนูสเต๊กนี้ก็เป็นหนึ่งในเล่มโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน ที่มีหลากหลายเมนูผ่านมาแล้วทั้ง ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง ดังนั้นอยากให้ทุกคนติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะเราจะมีข้อมูลดี ๆ มาให้อ่านกันทุกเดือนอย่างแน่นอนค่ะ

สำหรับในบทความนี้เราจะมาเจาะ Data Research Insight สเต๊ก เพื่อเข้าใจพฤติกรรมการทานกันมากขึ้น คนไทยชอบสเต๊กที่ทำจากเนื้อสัตว์อะไร ใส่ซอสราดแบบไหน ร้านเด็ดร้านดังที่มีการพูดถึงมากที่สุด และรูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง เราจะพามาวัดจากกระแสบนออนไลน์กัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทยในหลาย ๆ แง่มุมค่ะ

โดยเครื่องมือที่เราใช้กวาดข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ Social Data สเต๊ก คือ Social Listening : Mandala เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้เราได้เห็นเทรนด์ตลาดทั้งหมดมากขึ้น และสามารถเจาะการพูดถึงแบบลงลึก จากแพลตฟอร์ม​ Social Media ที่มีลูกค้าของทุกธุรกิจรอให้เราใช้ประโยชน์อยู่

ซึ่งโปรเจค #​Dataอร่อยร้อยร้าน จากการตลาดวันละตอนของเราได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดีอย่างกับ Mandala, MHA Makro ,LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership กับ Torpenguin และ Brand Communication ที่จะอยู่กับเราตลอดทั้งปี 2024 นี้เลย ^^

เกริ่นมาเยอะแล้ว ถ้าพร้อมทาน เอ้ย พร้อมอ่านแล้ว ก็ตามมาได้เลยค่ะ~

ซึ่งเราจะใช้ 8 ขั้นตอนที่เราใช้กับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา Insight จาก Social Data ออกมาค่ะ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ โดยใช้คำคีย์เวิร์ด คือ สเต๊ก และ สเต็ก เพราะเป็นคำที่จะสื่อถึงเมนูและโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับสเต๊ก ทั้งในรูปแบบที่คนพิมพ์ถูกและพิมพ์ผิดนั่นเองค่ะ รวมถึง Steak ภาษาอังกฤษ เพื่อดูบริบทได้ครอบคลุมมายิ่งขึ้น

โดย Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/10/2023 – 31/03/2024 หรือประมาณ 6 เดือนย้อนหลัง มีข้อมูลประมาณ 16,765 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok 

และข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ

STEP 3 Cleansing Data

ซึ่งในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอนคลีนซิ่งดังกล่าวเพื่อเคลียสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป อย่างคำว่า สเต๊ก นั้นอาจหมายถึงสิ่งอื่น ๆ หรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับที่เราต้องการได้ค่ะ เช่น คนมักใช้คำว่าสเต๊กหรือสเต็ก แทนการบอกว่าคนนี้ตรง ‘สเป็ค’ เลย เป็นต้น

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ค่ะ

STEP 4 Conversation Analysis

อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล จะได้อ่าน Social Data ที่หลังไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้พอจะเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึงการทำสเต๊กแบบไหน ใช้เนื้อสัตว์อะไร ราดซอสอะไรกันบ้าง รูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง และ Insight ที่จะเป็นประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านสเต๊กนั่นเองค่ะ

ซึ่งตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ Insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณ ตอนนี้ค่ะ ต้องมาเริ่ม STEP ที่ 5 กันต่อ

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions จำนวนโพสต์ จำนวนคอมเมนต์ ที่มีคีย์เวิร์ด) – สำหรับสัดส่วนการพูดถึงสเต๊ก จะอยู่บนเพจ Facebook มากที่สุด ตามมาด้วย IG Youtube TikTok และ X(Twitter) ตามลำดับค่ะ โดยรูปแบบคอนเทนต์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการรีวิวร้านเด็ดร้านดัง การสอนทำเมนูสเต๊กต่าง ๆ รวมถึงโฆษณาจากแบรนด์ร้านสเต๊ก

การมีส่วนร่วม (Engagement + YouTube views) – สำหรับการนับรวมยอดวิวบน YouTube ส่งผลให้สัดส่วน Engagement ของ Youtube มีสัดส่วนมากถึง 91% ทั้งนี้เพราะคอนเทนต์สอนทำสเต๊ก แจกสูตร รวมถึงคอนเทนต์ให้ความรู้ในการทำอาหารเมนูเกี่ยวกับสเต๊ก เป็นต้น

การมีส่วนร่วมแบบไม่นับรวมยอดวิว (Engagement ignore view) – หากย้อนขึ้นไปดูกราฟวงกลมขวาสุด ในภาพด้านบนก่อนหน้านี้ ทุกคนจะเห็นว่าแม้ผู้เขียนจะทำการ Ignore Youtube View หรือไม่นับรวมยอดวิวแล้วก็ตาม แต่ Youtube ก็ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่มาแรงจริง ๆ ค่ะ

โดยคอนเทนต์ที่ได้รับความสนใจและได้ยอดไลค์สูง จะเป็นคอนเทนต์เกี่ยวกับการให้ความรู้ในการทำสเต๊ก จากช่องเนิร์ดเนื้อ และยังมี Influencer หรือดาราที่รีวิวแบรนด์ร้านสเต๊กด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ผู้เขียนได้ปรับมุมมองแบบ​ Timeline ทำให้เห็นว่านอกจาก Youtube ก็ยังมี IG Facebook และ TikTok ที่มีสัดส่วนมาแรงและเป็นแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพมากเช่นกัน คนให้ความสนใจกับเมนูสเต๊กกันมาก ทั้งนี้รูปแบบคอนเทนต์ส่วนใหญ่ที่เจอก็จะเป็นการไปรีวิวร้านเด็ดร้านดัง การแจกสูตรและสอนทำสเต๊ก รวมถึงคอนเทนต์จากแบรนด์ร้านสเต๊กต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวในโซเชียล เป็นต้น

ดังนั้นทุกคนอาจจะเริ่มเห็นภาพกันแล้วว่านอกเหนือจากคอนเทนต์รีวิวร้านเด็ด หรือการแจกสูตรสอนทำสเต๊กต่าง ๆ คนก็ให้ความสำคัญกับการหาความรู้ใหม่ ๆ ในการทำอาหารเช่นกัน ซึ่งเราสามารถนำไปเป็นไอเดียในการต่อยอดการทำคอนเทนต์ของธุรกิจตัวเองกันได้นะคะ เสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเมนูสเต๊กเพิ่มขึ้นบ้าง ให้คนดูเข้าใจและนำไปทำตามได้เองง่าย ๆ

สำหรับ Hashtag & Word Cloud ภาพรวมของ Social Data ทั้งหมดกำลังพูดถึงบริบทของการปักหมุดรีวิวร้านอร่อย, แบรนด์ร้านสเต๊ก รวมถึงเทรนด์สุขภาพก็มาเช่นกัน ที่คนมักนำสเต๊กมาประยุกต์เป็นเมนูอาหารคลีนที่มีโปรตีนสูง

มาดูในส่วนของ Top post กันบ้างว่าในแต่ละแพลตฟอร์มคอนเทนต์อะไรอะไรมาแรงที่สุด

Facebook – รีวิว คาเฟ่ ทุกวัน รีวิว Pork Chop Steak ร้านบ้านยายเวียง

Twitter – @tamjaichunbkk รีวิว japanese pork hamburg steak ร้าน mamafu

Instagram – charliepotjes แน็กชาลีรีวิวร้าน Santa Fe

TikTok – bankiii ทำ thai tomahawk steak

YouTube – เนิร์ดเนื้อ แชร์ความรู้การย่างเนื้อ

STEP 5 Categorize Data 

การจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีน อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่ายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ 

STEP 6 Data Visualization

ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารถนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำใน PPT,​ Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ

STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation

ก่อนจะเข้าสู่ข้อมูลต่าง ๆ เรามาเริ่มที่การดูกันก่อนดีกว่าค่ะว่าชาวโซเชียลสะกดคำว่า ‘สเต๊ก’ กันยังไงบ้าง โดย 75% ใช้คำว่า ‘สเต็ก’ ที่สะกดด้วยไม้ไต่คู้ ในสัดส่วนที่มากกว่าครึ่ง ซึ่งแม้ทุกคน(รวมถึงผู้เขียน)ก็ค่อนข้างจะคุ้นเคยกับการสะกดในรูปแบบนี้ แต่ความจริงแล้ว…

‘สเต๊ก’ ต้องสะกดแบบใช้ไม้ตรี จึงจะเป็นการสะกดคำว่า ‘สเต๊ก’ ที่ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานค่ะ โดยมีเพียง 25% ที่สะกดถูกต้อง

ทั้งนี้เราอาจจะนำไปพิจารณาในการทำคอนเทนต์ SEO ของธุรกิจตัวเองกันต่อไปค่ะว่าควรจะใช้คำที่คนมีการพูดถึงและค้นหามากกว่าหรือเปล่า

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่าเมื่อแบ่งข้อมูลเป็นกลุ่ม ๆ แล้วเราจะเจออะไรกันบ้าง 

ซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis การพูดถึงสเต๊ก จัดเป็น 4 กลุ่มตามภาพด้านบน โดยไม่ได้เรียงจากมากไปน้อย แต่เรียงโดย Journey ที่ต้องการเล่าค่ะ

  1. เนื้อสัตว์ที่ใช้ทำสเต๊ก 58%
  2. ซอสราดสเต๊ก 9%
  3. เครื่องเคียงเมนูสเต๊ก 13%
  4. แบรนด์ร้านสเต๊ก 20%

เรามาเจาะดูกันทีละหัวข้อกันเลยค่ะ

สำหรับ Top 4 เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาใช้ทำสเต็กและมีคนพูดถึงในสัดส่วนที่มากเลยนั่นก็คือ ‘เนื้อ’ นั่นเองค่ะ ทั้งนี้ทว่าจะใช้เนื้อส่วนไหน จากการพูดถึงในโซเชียลก็ค่อนข้างมีความหลากหลายค่ะ แทบจะเจอเนื้อในทุกส่วน แล้วแต่เมนูของแต่ละร้านและความชอบของแต่ละคน

แต่โดยบริบทส่วนใหญ่ที่ถูกพูดถึงจะเป็นคอนเทนต์รีวิวร้านอร่อย อย่างร้านตุ๊กแกอวกาศ ที่โด่งดังตั้งแต่การตั้งชื่อร้านได้มีความแปลก เรียกความสนใจได้ดี ในขณะเดียวกันก็มีรีวิวมากมายว่าเป็นร้านที่สเต๊กเนื้อดีมาก อร่อย และเมนูมีความหลากหลาย

รวมถึงเจอบริบทและโพสต์ที่มีไอเดียน่าสนใจจากร้าน AantArm Cafe กับการนำสเต๊กเนื้อ โดยใช้ส่วนสันใน ที่มีความหนานุ่ม ฉ่ำ มาประยุกต์ทำเป็นไส้ของเมนูแซนวิชด้วยนั่นเอง

Data Research steak 8

โดย Top Post ของ ‘เนื้อ’ จะมาจากช่องมีนาคม ที่ทำคอนเทนต์ทำอาหารและหาวัตถุดิบราคาถูก vs แพง เปรียบเทียบราคากัน ในเมนูสเต็กเนื้อ เพราะเกิดจากความสงสัยของเจ้าของช่องที่ว่าถ้าคนที่มีไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตที่ต่างกัน มาลองทำเมนูเดียวกัน ผลลัพธ์จะต่างกันแค่ไหน ซึ่งคนให้ความสนใจกับคอนเทนต์รูปแบบนี้กันมาก

ส่วนตัวผู้เขียนก็มีมุมมองว่าเป็นคอนเทนต์ที่ทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์เช่นเดียวกัน เพราะทำให้คนเห็นตั้งแต่การสรรหาและเลือกซื้อวัตถุดิบตามความต้องการและกำลังทรัพย์ที่มี รวมถึงสูตรและวิธีการปรุง ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้คนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามได้หากคิดจะทำเมนูสเต๊กทาน

@bankhotcup

อร่อยจัดเลยสเต็กหมู เตาร้อนนนนน 99 ขาท พร้อมชุดเตาย่าง เก็บได้นาน 6 เดือน ไม่ต้องแช่เย็น หาซื้อได้ที่ตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ สมัครตัวแทนทัก #เตาร้อน #steakbox #สเต็ก #สเต็กไก่พริกไทยดํา #สเต็กหมูพริกไทยดํา #สเต็กเนื้อซอยหม่าล่า

♬ เสียงต้นฉบับ – Kittipong Sukkeha – Kittipong Sukkeha

นอกจากนี้ในอันดับสองคือตามมาด้วยสเต๊กหมู ไก่ และปลา ตามลำดับค่ะ สำหรับสเต๊กหมูก็เจอคอนเทนต์ที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน เป็นการทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นสเต๊กหมูซอสพริกไทยดำ ในรูปแบบที่มาพร้อมชุดเตาร้อนย่าง ให้ย่างกินกันได้เลย โดยเก็บได้นาน 6 เดือน ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการประยุกต์เมนูไปอีกชั้น

ทั้งนี้ในส่วนของสเต๊กหมู มักจะเจอเพจหรือช่องที่นิยมนำมาทำเป็น ‘เมนูสำหรับสายคลีน’ ค่อนข้างมาก เนื่องจากมีโปรตีน และไม่ได้ปรุงรสหนักมาก เช่น หมักพริกไทยดำหรือกระเทียม ทานแบบไม่ได้ราดซอสอะไร และทานคู่กับผักเยอะ ๆ

ต่อมาในส่วนที่คงจะขาดไปไม่ได้ นั่นก็คือซอสราดสเต๊กนั่นเองค่ะ โดยซอสราดสเต๊กที่มีการพูดถึงมากที่สุดมาเป็นอันดับ 1 คือ ‘ซอสพริกไทยดำ’ ตามมาด้วยซอสแจ่ว ซอสเห็ด ซอสเกรวี่ ซอสไวน์ และซอสหมาล่า ตามลำดับค่ะ

โดยบริบทส่วนใหญ่การโพสต์เกี่ยวกับซอสจะเป็นการสอนทำ แจกสูตร และโฆษณาเมนูใหม่ เมนูฮิตของร้านสเต๊ก เช่น ออกซอสใหม่ เป็นต้นค่ะ

อย่างในคลิปนี้ก็จะเป็นการสอนทำสเต๊กไก่ซอสพริกไทยดำให้เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ แชร์สูตรหมักไก่ ให้คนทำกินเองได้อร่อยแบบง่าย ๆ ส่วนตัวผู้เขียนก็คาดไว้อยู่แล้วเช่นกันว่าซอสพริกไทยดำน่าจะมาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะว่าค่อนข้างเข้าได้กับทุก ๆ เนื้อสัตว์ อีกทั้งสำหรับสายกินคลีนแล้วก็สามารถใช้สูตรพริกไทยดำในการหมักเนื้อหรือราดซอสได้เช่นกันค่ะ

ส่วนอันดับสองที่เป็นซอสแจ่ว หากใครได้อ่าน Data Research Insight เรื่องไก่ทอด ก็คงจะเห็นภาพกันแล้วว่าคนไทยรักในการกินแซ่บมากค่ะ แจ่วมักเป็นหนึ่งในซอสราดหรือน้ำจิ้มที่หลาย ๆ คนพูดถึง และหลาย ๆ ร้านก็นำมาใช้เป็นเมนูยอดฮิตเช่นเดียวกัน เพราะเป็นรสชาติที่ถูกปากคนไทยเลยทีเดียวค่ะ

สำหรับเครื่องเคียงสเต๊ก มาเป็นอันดับหนึ่งในสัดส่วนเกือบครึ่งคือ ‘เฟรนช์ฟรายส์’ นั่นเองค่ะ ตามมาด้วยมันบด สลัดผัก ขนมปัง และหอมทอด

โดยบริบทคอนเทนต์ก็จะเป็นการสอนทำ แจกสูตรการทำสเต๊กคู่กับเครื่องเคียงอย่างเฟรนช์ฟรายส์ รวมถึงการรีวิวร้านอร่อย และพูดถึงตัวเครื่องเคียงเฟรนช์ฟรายส์ว่าชอบที่โรย Smoked Paprika ซึ่งหมายถึงนอกจากสเต๊กจะอร่อยแล้ว ยังมีการเพิ่มรสชาติให้เครื่องเคียงด้วยเช่นกัน

โดย Top Post จะมาจากช่อง iamlaos ที่ทำคอนเทนต์การสอนทำ Steak Fries โดยสอนทำสเต๊กเนื้อ Medium Rare เสิร์ฟคู่เฟรนช์ฟรายส์ จากการใช้หม้อทอดไร้น้ำมัน และยิ่งเข้ากันดี เมื่อทานกับซอสมายองเนสผสมเห็ดทรัฟเฟิล

มาถึง Top 7 ร้านสเต๊กที่คนพูดถึงกันในโซเชียล มาเป็นอันดับ 1 เลยคือ Sizzler ในสัดส่วน 38% ตามมาด้วย Santa Fe, สเต็กลุงหยิก, Eat Am Are, เนื้อแท้, ตุ๊กแกอวกาศ และ Fam Time ตามลำดับค่ะ

โดยในบริบทของร้าน Sizzler ทำคอนเทนต์ลงโซเชียลสม่ำเสมอ ทั้งจากเพจของแบรนด์เอง รวมถึงเพจรีวิวต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ยิ่งเวลาที่มีโปรฯ จะได้รับความสนใจสูง อย่างเช่น โปรสเต๊ก 1 แถม 1 และสลัดบาร์ไม่อั้น ซึ่งสลัดบาร์คือแน่นอนว่าเป็นจุดเด่นของร้านมาอย่างยาวนานเลยก็ว่าได้ รวมถึงช่วงออกเมนูใหม่ อย่างเมนูสเต๊กสไตล์ฝรั่งเศสซอสชีสจานร้อน ๆ

@shobproth

พรุ่งนี้พุ่งตัว!! Sizzler 1 แถม 1 ได้สเต๊ก กินสลัดบาร์ไม่อั้นเลย คนละ 150 คุ้มมาก🤩 #ชอบโปร #tiktokพากิน #ลดราคา #ของอร่อยบอกต่อ #Sizzler #สลัดบาร์ไม่อั้น

♬ Exciting and stylish cute song (loop(821518) – Single Origin Music

โดย Top Post จากร้าน Sizzler มาจากช่องของแบรนด์เองอย่าง SizzlerThai กับการเปิดตัว Sizzler Cafe De Paris โดยประเด็นที่พูดถึงก็จะเป็นเรื่องของเมนูใหม่สไตล์ฝรั่งเศส มีเมนูสเต๊กเนื้อแองกัส, ส​เต๊ก​ปลากะพง, ส​เต๊ก​ไก่ ที่สำคัญคือใช้ซอสชีส ใส่เต็มจานร้อน ๆ มาเลยค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าคนไทยรักการกินชีสมากกกก

ทั้งนี้ทุกคนสังเกตกันไหมคะว่าร้านที่ได้รับการพูดถึงจากคนในโซเชียลกันค่อนข้างมาก เป็นเพราะแบรนด์มีเอกลักษณ์หรือจุดเด่นที่แตกต่างจากร้านอื่น อย่าง Sizzler เรื่องสลัดบาร์ หรือร้านสเต็กลุงหยิกที่เป็นกระแสในโซเชียล ในเรื่องของความใหญ่สะใจ ปริมาณเยอะ เป็นต้น ดังนั้นทุกคนอย่าลืมที่จะหาจุดเด่นที่แตกต่างในแบบฉบับของแบรนด์ตัวเองมาสร้างจุดขายกันนะคะ

สำหรับ TOP 5 Facebook Page

  1. ชีวิตติดรีวิว 88.2K Engagement
  2. Santa Fe’ Steak 46.4K Engagement
  3. ถนัดชิม 35.3K Engagement
  4. SizzlerThai 34K Engagement
  5. Cook Click 26.5K Engagement

TOP 5 Instagram Account 

  1. healthybypraw 817.4K Engagement
  2. charliepotjes 24.3K Engagement
  3. iamlaos 17.7K Engagement
  4. punpromotion 10.8K Engagement
  5. starvingtime 9.9K Engagement

TOP 5 YouTube Channel

  1. เนิร์ดเนื้อ 20M Engagement
  2. SizzlerThai 1.94M Engagement
  3. มีนาคม 1.84M Engagement
  4. ตุ๊กแกอวกาศ 853K Engagement
  5. Sauce Channel 733K Engagement

TOP 5 TikTok Account

  1. bankiii 218.9K Engagement
  2. nuatair 97.5K Engagement
  3. charliepotjes 72.7K Engagement
  4. speedfoods_channel 56.9K Engagement
  5. kinnkeng 35.2K Engagement

Data Research Insight สำรวจจักรวาล สเต๊ก by Social Listening

AI-Generated Image by Shutterstock (Prompt:create realistic photography, juicy steak, Slice medium rare beef, french fries, grilled vegetables, in restaurant.)

ทั้งหมดนี้ก็คือ Data Research Insight สำรวจจักรวาลสเต๊ก by Social Listening หวังว่าทุกคนจะเข้าใจพฤติกรรมการทานสเต๊ก คนไทยชอบสเต๊กเนื้อสัตว์อะไร ซอสราดแบบไหน แบรนด์เด็ดร้านดัง รูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้างกันได้มากขึ้นแล้วนะคะ

และสามารถนำไปปรับใช้สร้างสรรค์ออกมาเป็นไอเดียใหม่ ๆ ไปต่อยอดในการทำธุรกิจกันได้ไม่มากก็น้อยนะคะ และขอให้เต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด Insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^

*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ

ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AIMHA MakroLINE MAN wongnai ,SME D BANKDaikin รวมถึง Media partnership Torpenguin และ Brand Communication

คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง


สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics 

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 28

นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง

จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก

ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา

เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%

และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี

ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ 🙂

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย

Fern Panassaya

เฟิร์น Junior Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน รักแมวอ้วนและหมาโกลเด้น ตั้งใจสร้างสรรค์ทุกผลงาน ฝากเป็นกำลังใจและติดตามคอนเทนต์ใหม่ ๆ ต่อจากนี้ด้วยค่ะ <3

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *