Data Research Insight ข้าวแกง ร้านเด็ด เมนูกันตายของคนไทย
Data Research Insight ข้าวแกง ที่น่าจะมีคนรออยู่มาแล้วค่ะ จะเคลมว่าเป็นเมนูกันตายของคนไทยก็ไม่ผิด ใครจะๆม่รักข้าวแกงบ้าง~ ซึ่งก็เหมือนเดิมเลย รีพอร์ตนี้เราจะใช้ Social Listening Tools กวาด Social Data โพสต์ที่มีคำว่า ‘ข้าวแกง’ อย่างเจาะจงค่ะ เราจะมาค่อย ๆ เจาะข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการที่อยากอ่านเทรนด์เกี่ยวกับตลาดข้าวแกงปัจจุบันว่ามีร้านแบบไหนบ้าง บุฟเฟ่ต์ข้าวแกงฮิตแค่ไหน ใช้วัตถุดิบอะไร Influencer ที่รีวิวได้น่าสนใจจะมีใครบ้าง
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในเล่มโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน ที่ผ่านมาแล้วหลายเมนู ตัวอย่างเช่น ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง อยากให้ทุกคนติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะเราจะมีข้อมูลมากให้อ่านกันทุกเดือนอย่างแน่นอนค่ะ
และอย่างที่เกริ่นไปว่าเครื่องมือที่เราใช้กวาดข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ Social Data ข้าวแกงคือ Social Listening : Mandala เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้เราได้เห็นเทรนด์ตลาดทั้งหมดมากขึ้น และสามารถเจาะการพูดถึงแบบลงลึก จากแพลตฟอร์ม
ซึ่งโปรเจค #
ถ้าเริ่มหิวข้าวแกงเราดึง Social Data ไปพร้อมกันได้เลยค่ะ
STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data
Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ โดยใช้คำคีย์เวิร์ด คือ ข้าวแกง และข้าวราดแกง เพื่อให้เห็นตลาดของข้าวแกงแบบตรง ๆ นั่นเอง แต่มีจุดหนึ่งที่คนใช้ Social Listening Tools ต้องเช็คคือ…
ด้วยคำว่า ข้าวแกงเป็นคำเดียวกับข้าวแกงกระหรี่ค่ะ เลยต้องมีการตั้งค่า exclude คำว่า แกงกระหรี่ หรือเลือกแค่ 2 คำหลังก็ได้เช่นกัน เพราะเมนูดังกล่าวทำให้ข้อมูลข้าวแกงที่เราต้องการวิเคราะห์ผิดเพี๊ยนไปทั้งการทาน ราคา ตลาด กลุ่มเป้าหมาย และร้านค้า
โดย Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/04/2023 – 31/03/2024 หรือประมาณ 6 เดือนย้อนหลัง มีข้อมูลประมาณ 21,713 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok
และข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ
STEP 3 Cleansing Data
อย่างไรก็ตาม เวลาเราเลือกใช้ Keyword เพื่อถึงโพสต์ที่เกี่ยวข้องเข้ามาในโปรเจค และใส่ exclude เพื่อป้องกันข้อมูลที่ไม่ต้องการไว้อยู่แล้ว แต่คำว่าดองนั้นอาจมาจากโพสต์ความหมายอื่น หรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับที่เราต้องการได้ค่ะ ตัวอย่างแคมเปญนี้ผู้เขียนต้องทำการคลีนข้อมูล หรือลบโพสต์ที่ไม่เกี่ยวข้องออก การวิเคราะค์ Social Data จะได้มีความแม่นยำมากขึ้น เช่น ดองที่หมายถึงเก็บซีรีย์ไว้ดูหลายเรื่อง เป็นระยะเวลานานแล้ว
ซึ่งในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอนคลีนซิ่งดังกล่าวเพื่อเคลียสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป ยิ่ง Data สะอาด และมีคุณภาพ ก็เหมือนเราเลือกคนสัมภาษณ์มาดี เป็นต้นค่ะ
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ค่ะ > https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/top10-influencers-investment-money-2023-on-tiktok/
STEP 4 Conversation Analysis
อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล จะได้อ่าน Social Data ที่หลังไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้พอจะเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึงข้าวแกงจริง ๆ คัด insight ที่จะเป็นประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับข้าวแกง มีข้อมูลแบบไหนบ้างและอยากมาเล่าต่อในรีพอร์ตเล่มนี้ ซึ่งตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณตอนนี้ค่ะ ต้องมาเริ่ม STEP ที่ 5 กันต่อ
ซึ่งในการอ่านข้อมูล เรามักจะเริ่มจากฟีเจอร์พื้นฐานในหน้า Dashboard แรกไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Top post เพื่อรู้ภาพรวมข้อมูลที่ได้รับความนิยมค่ะ
Social Data Stat Overview
สัดส่วนการพูดถึง (Mentions จำนวนโพสต์ จำนวนคอมเมนต์ ที่มีคีย์เวิร์ด) – ร้านอาหารที่มีเมนูข้าวแกงต่าง ๆ หรือร้านบุฟเฟ่ต์ เพจรีวิวอาหาร ไปจนถึง Influencer เน้นไปที่แพลตฟอร์ม Facebook นั่นเองค่ะ
การมีส่วนร่วม (Engagement + YouTube views) – มาจากวิดีโอคอนเทนต์ที่พาไปชม ชิม เพื่อรีวิวร้านข้าวแกงที่สุดคุ้ม ไปจนถึงข้าวแกงราคาแพงที่มีคนพูดถึงมากค่ะ ทำให้รู้ว่าไลน์อาหารข้าวแกงในไทยมีเยอะมาก และทุกราคาจะมีกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกันออกไปค่ะ
การมีส่วนร่วมแบบไม่นับรวมยอดวิว (Engagement ignore view) – หากดูกราฟและไทม์ไลน์คู่กันเราก็จะเห็นศักยภาพของ TikTok ที่สร้างเอนเกจได้ดีจากคลิปรีวิวร้านดัง เกาะกระแสได้ฉับไวค่ะ หากสังเกตุจะเห็นว่าการพาไปนั่งทานแบบเรียล ๆ จะทำให้คนอินกับคอนเทนต์ได้ดีเลยนะคะ
เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ทำให้เห็นเลยนะคะว่าภาพรวมของ Social Data ทั้งหมดกำลังพูดถึงเมนูต่าง ๆ ในร้านข้าวแกง ชื่อหรือพิกัดร้านอร่อยที่ถูกพูดถึง ไปจนถึงวัตถุดิบและเทรนด์ต่าง ๆ ที่คนในวงการอาหารควรติดตามค่ะ
Facebook – Mawinfinferr ข้าวแกงข้างสวนลุม
Twitter – Twitter Account ดราม่า เจริญแกง
Instagram – muummaam ข้าวแกงไทย ขายที่ญี่ปุ่น โดยคนญี่ปุ่น
TikTok – tid_review ข้าวแกงป๋าติ๋ม
YouTube – kinkakoi กินกะก้อย ข้าวแกงคนเมืองบุฟเฟ่
STEP 5 Categorize Data
การจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีน อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ
ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่ายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ
STEP 6 Data Visualization
ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำใน PPT,
STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation
ทุกคนจะได้อ่านข้อมูลที่ผ่านขั้นตอนที่ผ่านมาเพื่อ Summary & Insight / Recommendation ข้าวแกง ในประเทศไทยตามเนื้อหาด้านล่างนี้ค่ะ ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอีกขั้นตอนที่ต้องผ่านการผัดหุงต้มนึ่งไม่แพ้อาหารเลย แต่กลวิธีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป จากทั้งหมด 8 Step หลักวิธีการใช้ Social Listening ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ มาดูกันว่าผู้เขียนเตรียมข้อมูลแบบไหนมาแชร์ทุกคนกันบ้าง นะคะ
Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่า 21,713 Mentions คลีนข้อมูลที่ไม่ต้องการบางส่วนออกแล้ว นั้นเมื่อแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เราจะเจออะไรบ้าง
ซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis การพูดถึงข้าวแกง จัดเป็น 5 กลุ่มตามภาพด้านบน โดยไม่ได้จากมากไปน้อย แต่เรียงโดย Journey ที่ต้องการ
- ประเภทอาหาร 32%
- TOP เนื้อสัตว์ 38%
- TOP วิธีการทาน 11%
- TOP ท็อปปิ้ง 6%
- ราคา 13%
#1 ประเภทอาหาร เมนูผัด > ต้ม > ทอด
ก่อนที่จะทำดาต้า ผู้เขียนก็ลองเดาไว้ว่าน่าจะเป็นประเภทผัด เพราะในบรรดาเมนูสิ้นคิดของคนไทย และน่าจะเป็นอันดับต้น ๆ ของหลายคนคือัดกระเพรา ข้าวผัด ผัดพริกแกง และ Social data ก็ออกมาใกล้เคียงตามที่คิดเลยค่ะ ทั้งการผัดที่หลากหลายวัตถุดิบ และรสชาติที่กระตุ้นต่อมรับรสได้แบบไทย ๆ หากใครอยากเปิดร้านข้าวแกง ลองเอาลิสต์นี้ไปช่วยวางเมนู หรือทำคอนเทนต์กันได้เลยค่ะ
#2 ประเภทเนื้อสัตว์ : หมู > ไก่ > ปลา
มาถึงวัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์กันบ้าง ซึ่ง 3 อันดับแรกเราคุ้นหูคุ้นตากันดีเลยค่ะ นอกจากนี้ชาวโซเชียล ร้านค้า เพจรีวิวยังพูดถึงในชื่อเมนูต่าง ๆ คือ หมู 28% > ไก่และปลาเท่ากัน 24% ซึ่งน้ำหนักของข้อมูลนั้นข้าวขาหมูเข้ามามากพอสมควรเพราะร้านบุฟเฟ่ต์ข้าวแกงใส่เป็นไลน์อาหารด้วยค่ะ
เป็นข้อมูลที่ช่วยให้ใครที่อยากขายข้าวแกงหรือทำคอนเทนต์ข้าวแกงได้เลือกวัตถุดิบกันตามลิสต์นะคะ จะเลือกตามความนิยมก็ใช้หมูไก่ปลาเป็นหลัก หรือถ้าอยากทำเมนูใหม่ ๆ ก็ใช้อันดับถัด ๆ ไป หรือเนื้อสัตว์ที่ยังไม่ติดโพลก็ได้นะคะ
#3 วิธีการทานส่วนมากจะ เป็นจานราดข้าว
เมื่อพูดถึงข้าวแกงแน่นอนว่าส่วนมากร้านต่าง ๆ จะราดข้าวให้เลย หรือถ้าเป็นซุปก็มีแยกถ้วยเล็กให้ค่ะ หลายคนน่าจะชอบแบบนี้เพราะทานง่านที่สุด
แต่อันดับ 2 ก็น่าสนใจเหมือนกัน เห็นความคลาสสิกของถาดหลุมแล้วอยากให้หลาย ๆ ร้านลองใช้วัสดุหรือสีถาดหลุมหเป็นสีนวล ๆ สว่าง ๆ คล้ายของโรงอาหารเกาหลีส่วนมาก จะช่วยให้ดูน่าทานไปอีกแบบนึงได้ค่ะ
#4 ท็อปปิ้งที่ขาดไม่ได้คือไข่ดาว
ไข่ดาวที่ไข่ขาวกรอบแต่ไข่แดงไม่สุกมาก เป็นเอกลักษณ์ของท็อปปิ้งที่ฮิตที่สุดของคนไทยค่ะ นอกจากเพิ่มมูลค่าให้จานนั้นแล้วยังทำให้รู้สึกว่าจานนี้อร่อยครบขึ้น เช่นกระเพราหมูสับโปะด้วยไข่ดาว
ตามมาด้วยไข่เจียว และของทอดอื่น ๆ อย่างหมู/ไก่ยอ กุนเชียง และไข่เค็มค่ะ ใครที่จะทำร้านข้าวแกงของเหล่านี้ขาดไม่ได้เลยนะคะ โดยเฉพาะในแอปเดลิเวอรี่ ในฐานะผู้บริโภคที่ชอบกดเพิ่มท็อปปิ้งเยอะ ๆ อยากแนะนำให้ร้านค่าใส่ +ท็อปปิ้งเพิ่มในทุก ๆ เมนูก่อนลูกค้ากดสั่งเลยค่ะ รับรองว่ามีโอกาสที่ลูกค้าจะกดมากกว่าแยกรายการไว้อย่างเดียวแน่นอน
#5 ข้าวแกงราคา 10 -20 ยังมีให้ทานหลายร้าน
มาถึงหัวข้อสุดท้ายคือการสำรวจราคาข้าวแกงกันบ้าง บอกเลยว่าร้านที่ขายราคา 10 – 20 บาทจะมีเพจรีวิวอาหารตามไปถ่ายเพื่อชี้พิกัดให้คนไปทานตามกันเยอะมาก เพราะในยุคนี้ข้าวราคาดี ๆ ขวัญใจแรงงานและคนทั่วไป แถมยังรสชาติอร่อยถูกใจคือที่สุดค่ะ ราคาทั่วไปที่เป็นจานเดี่ยวหรือกับข้าวจะมีหลากหลายตั้งแต่ช่วง 40 – 55 บาท และ 60 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ราคาบุฟเฟ่ต์ส่วนมากก็จะอยู่ที่ 50 บาท หรือ 69 บาททานได้ไม่อั้นทั้งข้าว กับข้าว น้ำพริกผัดสดเลยค่ะ
TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
- Mawinfinferrr 254.7K Engagement
- ชีวิตติดรีวิว 142.1K Engagement
- PEACH EAT LAEK 76K Engagement
- Bangkok Foodie 52.4K Engagement
- เห็นหมีรีวิว 47.7K Engagement
TOP5 Instagram account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในแอคเคาท์ที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
- tid_review 106K Engagement
- muummaam 75.7K Engagement
- mawin_twp 55.7K Engagement
- eatguide 39.7K Engagement
- punpromotion 31K Engagement
TOP5 TikTok account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในช่องที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
- tid_review 396.8K Engagement
- แน็ทกินจุNo.1 206K Engagement
- rawin.nnnnn 108.3K Engagement
- aramug 137.1K Engagement
- ohnsri1000 129.7K Engagement
TOP5 YouTube channel ที่นับจากคลิป “ยอดวิว” สูงที่สุดของช่องเท่านั้น
- น็อตฮังกี้ (Knot.TK) 5.85M views
- kinkakoi กินกะก้อย 5.07M views
- NAT VS FOOD 4.58M views
- Guy Haru Family 3.64M views
- คนอีสาน 3.16M views
Data Research Insight ข้าวแกง ร้านเด็ด เมนูกันตายของคนไทย
ทั้งหมดนี้หวังว่าทุกคนที่ได้อ่าน Data Research Insight ข้าวแกง โดยทั้งเห็นเทรนด์การพูดถึงบนโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นประเภทอาหารผัด > ต้ม > ทอด วัตถุดิบสุดฮิตหมู > ไก่ > ปลา ไปจนถึงท็อปปิ้งไข่ดาวที่ครองอันดับ 1 ในใจคนไทย คำแนะนำสำหรับธุรกิจที่วิเคราะห์จากดาต้านี้จะนำไปต่อยอดเป็นได้ไอเดียใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจกันไม่มากก็น้อยนะคะ และขอให้เต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด Insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^
*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ
ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AI, MHA Makro, LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership Torpenguinและ Brand Communication
คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ราเมง ผัดไทย
สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com
โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment
ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊
หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้เลย
https://bit.ly/sociallisteningclass
แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น
ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 28
นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง
จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก
ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา
เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%
และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ 🙂
ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย