Data research insight ไอศกรีม ส่องพฤติกรรมการกินไอศกรีมของคนไทย

Data research insight ไอศกรีม ส่องพฤติกรรมการกินไอศกรีมของคนไทย

Data Research Insight ไอศกรีม บอกเลยใครทำธุรกิจไอศกรีม หรือกำลังจะใช้ไอศกรีมในการทำการตลาดต้องได้อ่านบทความนี้ เพราะสำหรับเมืองร้อนอย่างบ้านเรา ที่ออกจากบ้านแต่ละทีเหมือนหลวงปู่เค็มเดินลุยกองไฟยาว 8 เมตรนั้น การกินไอติมเป็นอะไรที่ตอบโจทย์ Pain Point ตรงนี้มากๆ 

แต่ๆๆ เชื่อไหมครับว่าพฤติกรรมการกินของคนไทยยังมีอะไรเหนือความคาดหมายอีกเยอะ ถ้ารู้แค่ว่าไอติมต้องกินตอนอากาศร้อน อาจไม่เพียงพอที่จะไปทำการตลาดแข่งกับเจ้าอื่น เพราะตอนอากาศหนาวคนไทยก็ชอบกินไอติม ตอนป่วยก็ยังกิน หรือบางคนกินไอติมเป็นยาเลยก็มี

ซึ่งรีพอร์ตนี้เราจะใช้ข้อมูลจาก Social Listening Tools ที่ทำหน้าที่ช่วยกวาด Social Data โพสต์ที่มีคำว่า ‘ไอศกรีม’ แบบเจาะจง แล้วเราจะมาค่อย ๆ เจาะลึกข้อมูลที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการทั้งหลาย ที่ต้องการจะใช้ Insight Driven Marketing 

เราจะมาดูกันว่าเทรนด์หรือพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดไอศกรีมเป็นยังไงบ้าง พวกเขาชอบรสอะไร ซื้อที่มีร้านแบบไหน กินตอนไหน หรือมี Pain Point อะไร ที่ผู้ประกอบการต้องรู้บ้าง

นี่ก็เป็นหนึ่งในเล่มโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน ที่ผ่านมาแล้วหลายเมนู ตัวอย่างเช่น ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง ผมอยากให้ทุกคนติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะเราจะมีข้อมูลมาอัปเดตให้อ่านกันทุกเดือนแน่นอน

และโปรเจค #​Dataอร่อยร้อยร้าน จากการตลาดวันละตอนของเราได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดีอย่าง Mandala, MHA Makro ,LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership กับ Torpenguin และ Brand Communication 

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ โดยใช้คำคีย์เวิร์ด คือ ไอศกรีม ไอศครีม ไอติม Iscream Ice Scream Icescream และ Ice cream

โดย Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/09/2023 – 31/03/2024 หรือตรวจสอบ 6 เดือนย้อนหลังมีข้อมูลอุทยาน 27,547 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok

และข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ

STEP 3 Cleansing Data

ซึ่งในการดึง Mention เราอาจเจอทั้งโพสต์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทที่เราต้องการ เลยเกิดขั้นตอนคลีนซิ่งในลักษณะนี้ขึ้นมา

สามารถอ่านเพิ่มเติมในเรื่องคลีนดาต้าได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความครับ >  https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/top10-influencers-investment -money-2023-บน tiktok/

STEP 4 Conversation Analysis

อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล จะได้อ่าน Social Data ที่หลังไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้พอจะเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึงไอศกรีมจริงรึปล่าว แล้วคัด insight ที่จะเป็นประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับไอศกรีม

แต่ตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ insight อะไรไม่ได้มากนัก เหมือนน้ำมันดิบที่ยังไม่กลั่น เพราะฉนั้นเราต้องมาเริ่ม STEP ที่ 5 กันต่อซึ่งในการอ่านข้อมูล เรามักจะเริ่มจากฟีเจอร์พื้นฐานในหน้า Dashboard แรกไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม หรือ Top Post เพื่อรู้ภาพรวมข้อมูลนั่นเองครับ

สัดส่วนการกล่าวถึง หรือ Mentions(จำนวนโพสต์+จำนวนคอมเมนต์ที่มีคีย์เวิร์ด) ข้อมูล 41% เป็นข้อมูลจาก Facebook ซึ่งมีทั้งเพจเพจรีวิวอาหาร และคอนเทนต์หรือแคมเปญจากทางร้าน

การมีส่วนร่วม (Engagement + YouTube views) จากพายจะเห็นได้ว่าสัดส่วนของ Youtube แย่งพื้นที่ไปมากกว่าครึ่ง ทำให้เห็นสัดส่วนแพลตฟอร์มอื่นไม่ชัดเจนนัก ซึ่งการมีส่วนร่วมส่วนใหญ่ของ Youtube จะมาจากวิดีโอคอนเทนต์รีวิวไอศครีม สอนทำไอศกรีม หรือคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับไอศกรีม 

การมีส่วนร่วมแบบไม่นับรวมยอดวิว (Engagement ignore view) – หากไม่นับ Youtube Views เราจะเห็นสัดส่วนแพลตฟอร์มอื่นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่ง TikTok และ IG เป็นสองแพลตฟอร์มที่มียอด Engagement พอๆ กัน ส่วน Facebook ก็ไม่ได้ทิ้งห่างนัก และสุดท้ายคือ X ที่มียอด Engagement น้อยกว่า 1% เท่านั้น

บางครั้งดูแนวโน้มจาก Hashtag & Word Cloud ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงการพูดถึงรสชาติที่อาจจะพบอะไรบ้างซึ่งมักจะกล่าวถึงร้านที่จะไป รสชาติที่กินราคา รวมไปถึงรีวิวต่างๆ ทั้งการรีวิวรสชาติ รสสัมผัส และ ท็อปปิ้ง

Facebook – คมชัดลึก เมื่อหลานถูกห้ามกินไอติมตอนป่วย คุณปู่เลยอาสาช่วยดูต้นทางให้

Twitter – Bon Appetit BKK รีวิวคาเฟ่ลับ ในตึกย่านพร้อมพงษ์

Instagram – first.kp กับไอติมหมดอายุของเขา

Tiktok – tuklittlemonster ลองกินไอติมญี่ปุ่นในเซเว่น

@tuklittlemonster

ลองกินไอติมในเซเว่นญี่ปุ่น🇯🇵😆

♬ original sound – Little Monster Family – Little Monster Family

Youtube – TwintravelOfficial ทำคลิปไปซื้อไอติมแบบนักเรียน

STEP 5 Categorize Data 

การจับกลุ่มข้อมูลเป็นหมวดหมู่จะช่วยให้ง่ายต่อการนำไปวิเคราะห์ และเห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี หรืออาจจะอิงจาก Hashtag & World Cloud โดยระหว่างการคลีนเราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่ 

ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกหัวข้อในการจัดกลุ่มข้อมูลคือ ข้อมูลต่างๆ จะต้องมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด โดยเราจะใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่ม

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ครับ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่ายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความเลยครับ

STEP 6 Data Visualization

ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำใน PPT,​ Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยครับ

STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation

ทุกคนจะได้อ่านข้อมูลที่ผ่านขั้นตอนที่แล้วเพื่อ Summary & Insight / Recommendation ไอศกรีม ในประเทศไทยตามเนื้อหาด้านล่างนี้ครับ ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอีกขั้นตอนที่ต้องผ่านการกลั่นกรองเหมือนการกลั่นน้ำมันดิบให้ออกมาเป็นเบนซิล ให้เพื่อนๆ นำไปใช้ขับเคลื่อนการตลาดได้เลย แต่กลวิธีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป จากทั้งหมด 8 Step หลักวิธีการใช้ Social Listening ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ มาดูกันว่าผู้เขียนเตรียมข้อมูลแบบไหนมาแชร์ทุกคนกันบ้าง

Data Research Insight ไอศกรีม

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่าจากข้อมูลดิบที่เราคัดกากออกแล้วนั้น เมื่อแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เราจะเจออะไรบ้าง

ซึ่งผมได้เลือก Analysis การพูดถึงไอศกรีม จัดเป็น 7 กลุ่มตามภาพด้านบนเลยครับ

  1. รสชาติ 32%
  2. ซื้อที่ไหน 24%
  3. ไอติมแบบไหน 17%
  4. แบรนด์ไหน 12%
  5. Topping 12%
  6. กินตอนไหน 2%
  7. Pain Point <1%
Data Research Insight ไอศกรีม

สำหรับรสชาติที่ถูกปากคนไทยคงหนีไม่พ้นไอติมกะทิ ที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังหากินได้ง่ายและมีราคาถูก ซึ่งความที่เป็นไอติมระดับตำนานที่กินมาตั้งแต่รุ่นตายาย ทำให้เมื่อเวลาผ่านไปก็ได้รับการพัฒนาหรือนำมาประยุกต์โดยเหล่าพ่อค้าแม่ค้าหรือแบรนด์ต่างๆ เพื่อสร้างความแตกต่างให้ไอติมกะทิธรรมดาๆ ดูน่ากินมากขึ้น

อีกทั้งการทำไอติมแบบแปลกๆ แหวกแนวและน่าสนใจออกมา ยังช่วยให้ได้พื้นที่สื่อในการประชาสัมพันธ์แบบฟรีๆ อีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งแตกต่างมากเท่าไหร่ ลูกค้าจะแยกคุณออกจากแบรนด์ทั่วไปได้ง่ายและสร้างภาพจำแบรนด์ของคุณได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

Data Research Insight ไอศกรีม

นอกจากรสชาติที่ดีแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างคือความน่ากิน เนื่องจากหากคุณโปรโมททางออนไลน์ สิ่งที่เป็นข้อจำกัดคือเรื่องของสัมผัส ลูกค้าไม่สามารถรับรสสัมผัส หรือกลิ่นได้ ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยแก้ไขข้อจำกัดนี้คือ การทำรูปลักษณ์ให้ดูน่ารับประทาน โดยอาจใช้โปรโมชั่นในการกระตุ้นการตัดสินใจเล็กน้อย 

Data Research Insight ไอศกรีม

จะเห็นได้ว่าแบรนด์ที่มีร้านสำหรับนั่งทานจะมีสัดส่วนการกล่าวถึงมากกว่าแบรนด์ที่ต้องซื้อไปกินที่อื่น สาเหตุอาจมาจากการที่ลูกค้าเข้ามานั่งทานในร้านนั้น ทำให้ได้ใช้เวลาในร้านมากขึ้น ซึ่งตรงจุดนี้ลองนึกภาพสายเที่ยว สายเช็คอิน ที่เข้ามานั่งในร้านทั้งทีก็ขอถ่ายรูปลงโซเชียลพร้อมเช็คอิน หรืออาจทำคอนเทนต์ระหว่างกินได้เช่นกัน

ในส่วนลำดับต่อมานั้นจะเป็นแบรนด์ที่มีหน้าร้านแบบ Popup Store อย่าง Dairy Queen และตามมาด้วยเหล่าแบรนด์ที่เน่นฝากขายตามร้านอื่นๆ หรือใช้รถไอติมเร่ขาย

Data Research Insight ไอศกรีม

จะเห็นได้ว่าแม้จะมีไอติมมากมายหลายชนิดในยุคนี้ แต่ไอติมโคนยังคงเป็นอะไรที่ครองใจชาวไทยได้อยู่หมัด อาจด้วยความเข้ากัน ด้วยความหวานนุ่มละมุนของไอศกรีมบวกกับความกรอบและมีรสชาติเป็นกลาง ทำให้การทานไอศกรีมกับโคนยังคงได้รับความนิยม

ในส่วนของไอติมโฮมเมดนั้นตามมาติดๆ เป็นอันดับสอง โดยไอติมโฮมเมดนั้นจะเป็นไอติมชนิดใดก็ตามที่ทางร้านทำขึ้นหรืออาจจะทำกินกันเองที่บ้าน สูตรใครสูตรมัน และจากการที่ไอติมแบบโฮมเมดมีสัดส่วนเยอะขนาดนี้ สะท้อนถึงความนิยมในการรับชมคลิปสอนทำไอติมได้เป็นอย่างดี

และไอติมประเภทที่มีความแตกต่างหรือใช้ความสร้างสรรค์เข้ามาประยุกต์ ยังช่วยให้ได้รับการกล่าวถึงจำนวนมากบนโซเชียล อาจจะด้วยความที่ผู้คนมักให้ความสนใจกับอะไรที่ดูแปลกใหม่ มากกว่าอะไรเดิมๆ ที่เห็นกันอยู่ประจำนั่นเอง

Data Research Insight ไอศกรีม

การที่ร้านไอติมจะติดอันดับ 1 นั้นผมไม่แปลกใจเลย แต่พอมานั่งคิดดู แล้วแบรนด์ที่ไม่มีหน้าร้านคนจะซื้อจากที่ไหนเยอะที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าในอันดับถัดไปจะเป็นร้านบุฟเฟ่ต์ทั้งหลายแหล่ ตั้งแต่ ชาบู หมูกระทะ ปิ้งย่าง ไปจนถึงร้านบุฟเฟ่ต์แบบหรูหรา รวมทั้งร้านอาหารทั้งหลาย

ซึ่งแน่นอนว่าหลังทานของคาวเสร็จ การปิดท้ายด้วยของหวานๆ เย็นๆ คงเป็นอะไรที่เข้าท่าไม่น้อย ดังนั้นการที่แบรนด์ไอติมจะขอเข้าไปขอตั้งตู้ในร้าน หรืออทางร้านจะเข้าไปขอใ้หแบรนด์มาตั้งตู้ไอติม จะทางไหนก็ Win-Win ทั้งสองฝ่าย แบรนด์ไอติมก็ได้ช่องทางการขายที่หลากหลายมากขึ้น ส่วนทางร้านก็สามารถให้ประสบการณ์การกินที่หลากหลายมากขึ้น

Data Research Insight ไอศกรีม

ดูเหมือนว่า Topping ที่คลาสสิคสุดๆ อย่างขนมปัง ถั่ว และข้าวเหนียว ที่เรากินกันบ่อยๆ กับไอติมกะทินั้น จะยังเป็นที่นิยมในหมู่คนไทยไม่เปลี่ยนแปลง แม้ในปัจจุบันทั้งสามสหายจะถูกพัฒนาต่อยอดให้มีความหลากหลายและความแปลกใหม่มากขึ้น ทั้งไอติมมะม่วงซันเดย์หรือไอติมทุเรียนที่กินกับข้าวเหนียวมูล ซึ่งให้รสชาติเหมือนการกินข้าวเหนียวมะม่วงหรือข้าวเหนียวทุเรียน

หรืออย่างถั่วก็มีการนำถั่วชนิดต่างๆ เข้ามากินกับไอติมมากขึ้น ทั้งถั่วแดง ถั่วเขียว หรือพืชตระกูลถั่วอื่นๆ ซึ่งจากข้อมูลที่เราเห็นก็พิสูจน์ถึงความเข้ากันของ Topping ทั้งสามตัวนี้กับไอติมแล้ว อีกส่วนที่น่าสนใจคือกล้วย เนื่องจากไอติมที่กินกับกล้วยนั้นยังพอเข้าใจได้ 

แต่การที่มีคนนำไอติมมากกินกับกล้วยทอด ที่ปั้นแป้งเป็น… อย่างไอติมกล้วยทอด 9 นิ้วนั้น เป็นอะไรที่คาดไม่ถึงจริงๆ ซึ่งต้องชื่นชมเจ้าของร้านที่กล้าคิดกล้าลอง เพราะผลลัพธ์จากความแปลกใหม่ที่ได้ ทำให้สื่อต่างๆ หันไปให้ความสนใจและให้พื้นที่ในการโปรโมทเป็นอย่างดี

Data Research Insight ไอศกรีม

บางครั้งก็แอบคิดนะ ว่าพี่ๆ คนขายไอติมอาจจะแค่อินดี้แล้วออกมาขับรถฟังเพลงเล่นก็เป็นได้ เพราะปัญหาเรียกแล้วไม่จอดนี่ ทำหลายคนถึงกับต้องวิ่งตามหรืออดกินกันมาแล้วนักต่อนัก เพราะฉนั้นผมจึงอยากแนะนำทางแบรนด์ว่าควรยกปัญหามาแก้ไขแบบด่วนๆ 

ในส่วนของการกินไอติมแล้วป่วย ละลายเร็ว หรือเสียวฟันนั้นเป็นเรื่องที่พอเข้าใจได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป แต่ในอนาคตอาจมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งจะช่วยให้เหล่า Ice Scream Lover สามารถกินไอติมได้แบบจุใจหายห่วง 

เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองร้อน ดังนั้นระยะทางก็เป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เพราะหากตั้งใจจะซื้อมากินที่้บานหรือซื้อไปฝากใคร หากร้านอยู่ไกลเกินไปไอติมก็อาจละลายก่อนที่จะไปถึงที่หมายได้ เพราะงั้นการหา Solution ดีๆ เข้ามาจัดการปัญหาไอติมละลายก็อาจช่วยเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์ได้เช่นกัน

Data Research Insight ไอศกรีม

ถ้าถามว่าช่วงเวลาไหนที่คนกินไอศกรีมกันมากที่สุด หากจะตอบว่าตอนร้อนหรือตอนเครียดก็พอเข้าใจได้ แต่กินตอนหนาวกับตอนป่วยนี่พวกเขาคิดอะไรอยู่ ผมเลยลองไปไล่เช็คดู ปรากฎว่าจริงๆ ไอติมยังมีสรรพคุณในการรักษาทอนซิลอีกด้วย 

แม้ว่าส่วนใหญ่จะหนักไปทางป่วยแล้วดื้ออยากกินไอติมไม่สนใจหมอก็ตาม ซึ่งอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าพฤติกรรมการกินของคนไทยนั้นเป็นอะไรที่ค่อนข้างเหนือความคาดหมาย เพราะไม่ว่าจะร้อนหรือหนาว จะเครียด จะป่วย หรือจะยังไงก็ตาม สำหรับคนคลั่งรักไอติมแล้วนั้นไม่มีจะหยุดพวกเขาจากไอติมรสโปรดได้จริงๆ 

Data Research Insight ไอศกรีม

TOP 5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. คมชัดลึก 128K Engagement
  2. กินไปเหอะ 127.1K Engagemen
  3. กินหนม 123.7K Engagement
  4. ชอบโปร – ShobPro 117.1K Engagement
  5. ตี๋น้อยรีวิวของหวาน 93.9K Engagement
Data Research Insight ไอศกรีม

TOP 5 Instagram account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในแอคเคาท์ที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. punpromotion 714.4K Engagement
  2. first.kp 384.6K Engagement
  3. gindaieek.bkk 224.7K Engagement 
  4. sale_here 216.9K Engagement
  5. eathere.th 203.8K Engagement

TOP 5 X account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในช่องที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. ᴍʏ ᴅᴊᴀʀɪɴ 53.9KEngagement
  2. โดนัทยังมีรูแล้วเมื่อไหร่ยูจะได้พัก 18K Engagement
  3. ๒๓ 15.6K Engagement
  4. bongtao 5.8K Engagement
  5. 𝓳𝓮𝓪𝓷 1.6K Engagement

TOP 5 TikTok account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในช่องที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. tuklittlemonster 405.5K Engagement
  2. shobproth 356.7K Engagement
  3. foodballstylee 343.5K Engagement
  4. happybeingsai 310.6K Engagement
  5. we_love_swensens 214.5K Engagement

TOP 5 YouTube channel ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในช่องที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนด

  1. TwintravelOfficial 29.77M Engagement
  2. Nestle ICE CREAM Thailand 27.37M Engagement
  3. CreamLike 22.21M Engagement
  4. NuDee TV 12.75M Engagement
  5. บ้านกูเอง 11.80M Engagement

Data Research Insight สำรวจจักรวาล ไอศกรีม

ทั้งหมดนี้หวังว่าทุกคนที่ได้อ่าน Data Research Insight ไอศกรีม มาถึงตรงนี้ จะได้เห็นเทรนด์การพูดถึง ไอศกรีม บนโซเชียลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเภทไอศกรีม รสชาติ แบรนด์ หรือพฤติกรรมและ Pain Point ผมเชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันหรือช่วยให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับแคมเปญการตลาดได้แม่นยำมากขึ้นครับ

*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ

Data Research Insight ไอศกรีม

ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AIMHA MakroLINE MAN wongnai ,SME D BANKDaikin รวมถึง Media partnership Torpenguinและ Brand Communication

Coming soon …

Data Research Insight ไอศกรีม

คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ราเมง ผัดไทย ข้าวแกง สเต๊ก ชาไทย หรืออ่านทั้งหมดได้ที่ #Dataอร่อยร้อยร้าน


สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยครับ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาครับ😊

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

Loading…

https://bit.ly/sociallistening30

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 28

นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง

จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก

ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา

เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%

และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี

ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ 🙂

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะครับ

Pongsakorn Inrin

Hi~ I'm Mikey.. ตั้งใจสร้างสรรค์ทุกงานเขียน หวังว่ามันจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครสักคนที่ผ่านมาทางนี้นะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *