Data Research Insight ราเมง อาหารญี่ปุ่นขวัญใจคนไทย by Social Listening

Data Research Insight ราเมง อาหารญี่ปุ่นขวัญใจคนไทย by Social Listening

หลาย ๆ คนต้องเคยได้ยินประโยคที่ว่า “อาหารไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก” ไม่ว่าจะเดินไปมุมไหนของเมืองก็จะมีของอร่อยซ่อนอยู่ในทุกซอกซอย แต่เพื่อน ๆ รู้ไหมคะว่า “อาหารชาติอื่น คนไทยก็ไม่แพ้ใคร” เหมือนกันค่ะ ในบทความนี้จึงจะมานำเสนอ “ผลการวิจัยเชิงลึก Data Research Insight ราเมง อาหารญี่ปุ่นขวัญใจคนไทย by Social Listening” จะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้างตามไปอ่านกันต่อได้เลยค่ะ 

 “ราเมง” อาหารเส้นยอดนิยมจากแดนอาทิตย์อุทัย กลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้น ๆ ของคนไทย ยามอยากจะกินอะไรอร่อย ๆ สักเมนู และเพื่อน ๆ รู้ไหมคะว่าร้านอาหารญี่ปุ่นบ้านเราอร่อยเกินหน้าเกินตาต้นตำรับอย่างญี่ปุ่นไปมาก อาจจะฟังดูเป็นเรื่องตลก แต่เรื่องนี้ได้รับการยืนยันจากคนญี่ปุ่นเองเลยค่ะ

สำนักข่าวเดลินิวส์ ได้ไปสัมภาษณ์ ‘Ikuna Kamezawa’ นักข่าวชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เล่าถึงประสบการณ์การไปนั่งกินร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย เธอบอกว่าอาหารญี่ปุ่นในไทยมีตั้งแต่อร่อยแบบต้นตำรับ ไปจนถึงอร่อยยิ่งกว่าต้นตำรับซะอีก แถมราคาก็ถูกอีกด้วย ซึ่งทำให้เธอประทับใจเป็นอย่างมากจนต้องนำไปเขียนบทความกันเลยทีเดียว

ที่กล่าวไปในตอนแรกว่าวันนี้เราจะมาแชร์ Data Research Inside ราเมง จากการทำ Social Listening ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันค่ะ โดยเครื่องมือที่เราจะใช้รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลนั้นก็คือ Mandala AI. ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของเรานั่นเอง 

ซึ่งเป็นเครื่องมือนี้จะช่วยให้เราเห็น Trend & Insight ในสิ่งที่เราศึกษาได้มากขึ้น ทำให้เราเห็นว่าบนโซเชียลกำลังพูดถึงสิ่งที่เราศึกษาว่าอย่างไร ช่วยเราในการเก็บข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ และวางแผนการตลาดให้ธุรกิจของเราตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น 

นี่จึงเป็นที่มาของโปรเจค #ดาต้าอร่อยร้อยร้าน ของการตลาดวันละตอนนั่นเอง ทั้งนี้ก็ต้องขอขอบคุณการสนับสนุนจาก Partner อย่าง Mandala, MHA Makro ,LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin และ Media partnership อย่าง Torpenguin และ Brand Communication ด้วยเช่นกันค่ะที่ทำให้เกิดโปรเจคนี้ขึ้น 

โดยการทำ Research ในครั้งนี้ผู้เขียนโฟกัสไปที่ “Mention & Engagement ที่มาจากผู้บริโภค” เป็นหลัก และกำหนดสิ่งที่ต้องการทราบไว้ ดังนี้ค่ะ 

  • ร้านราเมง : ที่คนพูดถึงมากที่สุด
  • ย่านที่คนให้ความสนใจ : เมื่อพูดถึงราเมง
  • Perception : ของผู้บริโภคที่มีต่อราเมง
  • เมนูสั่งเพิ่ม : เมื่อมากินราเมง 

ขั้นตอนแรกต้องรู้ก่อนว่า Keyword ของเราคืออะไร โดยใช้เทคนิค 4 Level of Keyword ในการหา Keyword ซึ่ง Keyword ที่เราได้ก็คือ Ramen, ราเมง, ราเมน, ราเม็ง และได้เพิ่ม มาม่า+ญี่ปุ่น, มาม่า+Japan เพื่อเก็บข้อมูลในส่วนของราเมงสำเร็จรูปไว้ด้วยค่ะ

จากนั้นก็ทำการรวบรวมดาต้าทั้งหมดที่พูดถึงราเมงได้เลยค่ะ รอสัก 30 นาทีระบบก็เริ่มที่จะดึงข้อมูลมาครบแล้ว ซึ่งข้อมูลที่ Mandala AI. ดึงนั้นก็จะมาทั้งจาก Meta, Instagram, X, TikTok และ Youtube 

ซึ่งครั้งนี้ผู้เขียนได้ตั้งค่า ดังนี้ค่ะ

  • Campaign Time Frame : ให้ดึงข้อมูลย้อนหลัง 1 ปีใน ช่วงวันที่  27/02/2023 – 27/02/2024 
  • Campaign Mentions Limit : ไว้ที่ 30,000 Credits ข้อมูลที่ระบบดึงได้ในแคมเปญนี้คือ 15,882 Credits
  • **ฟิลเตอร์ให้ดึงเฉพาะโพสต์เป็นภาษาไทยเท่านั้น**

และแล้วก็มาถึงส่วนที่ใช้เวลานานที่สุดในการทำ Data Research Inside ราเมง ก็คือ “Data Cleaning” นั่นเองค่ะ เพราะถึงแม้ AI จะรวบรวมข้อมูลมาให้เราแล้ว แต่ก็ยังต้องใช้ Manpower คัดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออก เพื่อให้ข้อมูลของเรามีความถูกต้อง และแม่นยำมากที่สุด

ในแคมเปญนี้สิ่งที่ผู้เขียนคัดออกก็จะมีดังนี้ค่ะ

  • คอนเทนต์ที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์, การรับสมัครงาน, การซื้อขายทัวร์, การซื้อขายแฟรนไชส์ 
  • ข้อมูลเพื่อการโฆษณา ที่มาจากตัวร้านค้า หรือห้างร้านต่าง ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์จากห้างสรรพสินค้า, โปรโมชัน, งานประชาสัมพันธ์งานอีเวนต์
  • คอนเทนต์ที่ถูกจ้างให้รีวิว & ให้โพสต์ โดยตัวของแบรนด์ หรือห้างสรรพสินค้าเอง สังเกตได้ง่าย ๆ เลยก็คือ ข้อมูลประเภทนี้จะมาในรูปแบบของการก๊อปวาง เหมือนกันทุกประการแต่โพสต์โดย User หลาย ๆ คน 
  • คอนเทนต์ที่เป็นสแปม

ทั้งนี้ต้องอาศัยระยะเวลานานพอสมควรในการคลีนข้อมูล เพราะผู้เขียนต้องการข้อมูลที่มาจากการพูดถึง และการมีส่วนร่วมของคนจริง ๆ ที่ไม่ใช่การโฆษณา แต่ด้วยจำนวนข้อมูลที่มหาศาล, ระยะเวลาที่จำกัด และ Human Error ของตัวผู้เขียนเอง ข้อมูลจึงอาจจะไม่ได้สะอาด 100% แต่ก็เป็นข้อมูลที่สะอาด และน่าเชื่อถือมากพอที่จะนำไปอ้างอิงต่อได้แน่นอนค่ะ

ระหว่างที่ทำการ Data Cleaning เราก็จะได้เห็นคร่าว ๆ แล้วว่าบนโลกโซเชียลเขาคุยอะไรกันเรื่องราเมง แต่ยังไม่สามารถวิเคราะห์อะไรได้เพราะว่าข้อมูลยังกระจัดกระจายกันอยู่ สิ่งที่เราต้องทำในขั้นตอนต่อไปก็คือการจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อบันทึกเป็นสถิติ ให้ออกมาเป็นกราฟ แผมภูมิต่าง ๆ ที่สามารถวิเคราะห์ได้ เมื่อคลีนเสร็จแล้ว ก็กดกลับไปยังหน้าหลักเพื่อดูภาพรวมของข้อมูลได้เลยย! ที่นี่ Data Research Insight ราเมง ของเราก็เริ่มที่จะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้วค่ะ

เมื่อ Data Cleaning เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็เป็นขั้นตอนของการจัดหมวดหมู่ข้อมูล (Data Categorization) ที่ได้มา ซึ่งการจัดหมวดหมู่นั้นก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เรามี, สิ่งที่เราจะศึกษา โดยใช้ Feature ‘Tag’ ในการจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ ซึ่ง Categories ที่ผู้เขียนจัดไว้มี ดังนี้ค่ะ 

  • แบรนด์ร้านราเมง
  • ย่านร้านราเมง
  • Perception ของราเมงที่คนพูดถึง
  • ประเภทน้ำซุป
  • ประเภทราเมง
  • เมนูที่สั่งเพิ่ม
  • คำที่ใช้ค้นหาเกี่ยวกับราเมง

เมื่อจัดหมวดหมู่ข้อมูลด้วยการติดแท็กแล้ว ก็ถึงเวลานำข้อมูล Data Research Insight ราเมง เหล่านั้นมาแสดงในรูปแบบที่เข้าใจง่ายค่ะ ซึ่งผู้เขียนเลือกใช้แผนภูมิแท่ง และแผนภูมิวงกลม ที่เพื่อน ๆ จะสามารถอ่านได้ง่ายมาใช้ในการแสดงข้อมูล

เมื่อทำให้ข้อมูล Data Research Insight ราเมง ของเราอยู่ในรูปแบบที่อ่านง่ายแล้ว ทีนี้เพื่อน ๆ ก็จะได้ข้อมูลไฟนอลที่สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้แล้วค่ะ และนี่คือข้อมูลที่ได้จากการใช้ 8 Steps of Social Listening ของผู้เขียนเองจ้า 

  • สัดส่วนการมีส่วนร่วม (Engagement Ignore Youtube View) : มียอด Engagement สูงสุดอยู่บน TikTok (49%) ตามด้วย Meta (26%), IG (22%) และ X (3%) ตามลำดับ
  • สัดส่วนการพูดถึง (Mentions) : มียอด Mention สูงสุดอยู่บน Meta (30%) ตามด้วย X (24%), Youtube (22%) และ IG (14%), และ TikTok (10%) ตามลำดับ
  • สัดส่วนการมีส่วนร่วม (Engagement, including Youtube Views) : มียอด Engagement สูงสุดอยู่บน Youtube (88%) ตามด้วย TikTok (6%), IG (2.7%) และ X (0.3%) ตามลำดับ

TOP POST MENTION BY USER

Data Research Insight ราเมง เมนูครองใจคนไทย by Social Listening

ทีนี้ผู้เขียนจะพามาเจาะลึกถึงโพสต์ที่มี User พูดถึงมากที่สุดบนแต่ละแพลตฟอร์มกันค่ะ ซึ่งหากเพื่อน ๆ ต้องการดูต้นโพสต์ สามารถคลิกที่ Hyper Link ที่ฝังไว้ในชื่อแอคเคาท์ได้เลยค่ะ

  • X : โพสต์ที่บอกเล่าประสบการณ์การสั่งราเมง ของแอคเคาท์ @phuwintang นักแสดงชายจากค่าย GMM TV โดยมีการพูดถึงอยู่ที่ 1,126 Mentions
  • Meta : คลิปบุกร้านร้านอิชิคะระ ตะลุยยย ราเมนโคตรเผ็ดทะลุเมนู!! ของแอคเคาท์ Mawinfinferrr อินฟลูเอ็นเซอร์สายกิน โดยมีการพูดถึงอยู่ที่ 829 Mentions
  • TikTok : คลิปรีวิวร้าน Menya Itto #ซูดเดิ้ลชาเลนจ์ ของแอคเคาท์ maxdicine อินฟลูเอ็นเซอร์สายกิน โดยมีการพูดถึงอยู่ที่ 179 Mentions
@maxdicine

ราเมงจ๋า เธอซู้ดดดสนุกกกมากจ้า รอเธอมาซู้ดด้วย @Foet Durongjirakan #menyaitto #ซู้ดเดิ้ลชาเลนจ์ #maxdicine

♬ original sound – maxdicine – maxdicine
  • Instagram : คลิปรีวิวร้าน Joesan Izakaya ของแอคเคาท์ eathere.th สื่อรีวิว & โฆษณาอาหาร โดยมีการพูดถึงอยู่ที่ 244 Mentions

TOP POST ENGAGEMENT BY TIMELINE

Data Research Insight ราเมง เมนูครองใจคนไทย by Social Listening

ทีนี้มาดูโพสต์ที่ User มีส่วนร่วมมากที่สุดในแต่ละแพลตฟอร์มกันบ้างค่ะ 

  • Meta : VLOG ฮอกไกโดกินถวายชีวิต 5 ร้านในวันเดียว ของยูทูปเยอร์สายกิน & เที่ยว I Roam Alone โดยมียอด Engagement อยู่ที่ 229,847 
  • X : โพสต์ที่พูดถึงวัฒนธรรมการผูกเพจไว้กับอาหารของ แอคเคาท์ อุ๋มอิ๋มเอง โดยมียอด Engagement อยู่ที่ 48,1274
  • Instagram : คลิปเทคนิคการกินบะหมี่เย็นของ Hachiban Ramen ของแอคเคาท์ gindaieek.bkk อินฟลูเอ็นเซอร์นักรีวิวอาหาร โดยมียอด Engagement อยู่ที่ 175,054
  • TikTok : โพสต์พากินราเมงร้าน Ramenna @เซ็นเตอร์วัน ของแอคเคาท์ salehere สื่อรีวิวและโฆษณา บอกโปรโมชัน โดยมียอด Engagement นี้อยู่ที่ 567, 654
@salehere

🍜พากินราเมน 25.- ใจกลางกรุง😳 เอาจริงราคานี้ไม่จกตาเด้อมีจริงๆค่า ส่วนใครอยากลองก็แวะไปได้เลยนะ ร้านเปิดตั้งแต่ 10.00-20.00 น. จ้าาา🫶🏻 #SaleHere #ramen #อร่อยบอกต่อ #ราคาถูก #ราเมน #bangkok #review

♬ เสียงต้นฉบับ – Alex_อเล็กซ์💙💖🐈🐕🌻🌼 – Alex_อเล็กซ์💙💖🐈🐕🌻🌼

นอกจากนี้เรายังเก็บข้อมูลต่ออีกด้วยว่า “Perception ราเมงแบบไหนที่คนพูดถึงกัน” ข้อมูลตรงนี้จะทำให้ผู้ประกอบการร้านราเมง และร้านอาหารญี่ปุ่นรู้ว่าราเมนที่ผู้บริโภคตอบโจทย์คนไทยนั้นเป็นแบบไหน จากผลการสำรวจพบว่า… 

รองลงมาจึงเป็นรสชาติต้นตำรับ (18%), ราคาที่ไม่แรง (15%), ร้านดัง (8%), รสชาติที่ไม่ซ้ำ (7%), ร้านเก่าแก่ (3.5%), และคนญี่ปุ่นแนะนำ (0.5%) ค่ะ 

และด้วยความที่ Perception ราเมงที่คนไทยชื่นชอบคือ “ความเข้มข้น” ทำให้อันดับ 1 ตกเป็นของ “ทงคตสึ (42%)” ยังไม่ต้องสงสัย ด้วยรสชาติของน้ำซุปเข้มข้น หอมมัน กลมกล่อมของน้ำซุปที่เคี่ยวกับกระดูกหมูเป็นเวลานาน ยิ่งจับคู่กับท็อปปิงยอดนิยมอย่างหมูชาชู, ไข่ต้มยางมะตูม แล้วรสชาติเข้ากันได้เป็นอย่างดี

ตามมาด้วย “ไพตัน” (17%) ทำชุดที่เคี่ยวกับกระดูกหมูเช่นกันแตกต่างที่ว่ามีการใส่ผักลงไปเคี่ยวด้วย ตามมาด้วยซุปมิโสะ (9%), โชยุ (9%), สึเคะเมน (7%), ชิโอะหรือซุปเกลือ (6.5%), ตามด้วยสิ่งที่น่าสนใจอย่าง ราเมงข้าวซอย (1.5%), ซุปไก่ (1%), และอะไรที่น่าประหลาดใจอย่างราเมงเค้ก (0.5%)

ถัดมาอีกนิดก็จะเป็น “ท็อปปิง/เมนู ที่คนจะสั่งเพิ่มมากที่สุด” ซึ่งผู้เขียนพบว่า “เกี๊ยวซ่า” นั้นมาเป็นอันดับ 1 (29%) นำ “หมูชาชู” (25%) ไปเลยค่ะ และในระหว่างทำ Data Cleaning ก็พบว่าเมื่อคนบ่นว่าอยากกินราเมงก็จะพ่วงมาด้วย “ซูชิ” (11%) อยู่บ่อยครั้ง และการสั่ง “แกงกะหรี่” (10.7%) เพิ่มนั้นมักจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ลูกค้าไปร้านแกงกะหรี่แต่สั่งราเมงซะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือก็จะเป็น ข้าวผัด (4%), ดงบุริ (4%), ไก่ทอด (2.8%), ทาโกยากิ (2.8%), หนังไก่ย่าง (1%), และทาโกะวาซาบิ (0.7%) ตามลำดับ 

ดูเหมือนว่าย่าน “ทองหล่อ” จะเป็นย่านที่เมื่อพูดถึงราเมงแล้วจะต้องนึกถึงย่านนี้ ตามมาด้วยสีลม (14%), บางนา (11%), อารีย์ (10%), เมืองทอง (9%), ศาลายา (8%), ปทุมวัน (7%), ลาดพร้าว (6%), เอกมัย (6%), และคลองสาน (5%) ตามลำดับ

Data Research Insight ราเมง เมนูครองใจคนไทย by Social Listening

และหนึ่งในหัวข้อที่ราเมงเลิฟเวอร์ไม่ควรพลาดก็ต้องเป็นการจัดอันดับ TOP  20 ร้านราเมงยอดฮิตในไทยปี 2024 โดยการจัดอันดับนี้เกิดขึ้นจากการติด Tag โพสต์ที่มีการพูดถึงร้านนั้น ๆ ทั้งหมด ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมา ดังนี้ค่ะ 

Data Research Insight ราเมง เมนูครองใจคนไทย by Social Listening
  • อันดับ 1 : Ichiran Ramen (443)
  • อันดับ 2 : A Ramen (270)
  • อันดับ 3 : Hachiban (230)
  • อันดับ 4 : Ebisu (127)
  • อันดับ 5 : Ippudo (102)
  • อันดับ 6 : Yuzu (67)
  • อันดับ 7 : Chabuton (54)
  • อันดับ 8 : No Name (48)
  • อันดับ 9 : Tonchin (45)
  • อันดับ 10 : Lust (44)
  • อันดับ 11 : Bankara (42)
  • อันดับ 12 : Menya Itto (41)
  • อันดับ 13 : Ramen Desu (32)
  • อันดับ 14 : Ozawa (30)
  • อันดับ 15 : Shindo (28)
  • อันดับ 16 : 39 Ramen (27)
  • อันดับ 17 : Tsuta (26)
  • อันดับ 18 : Ajisai (25)
  • อันดับ 19 : Modan Japanese Restaurant (25)
  • อันดับ 20 : UMA UMA (24)

และส่วนนี้เป็นสิ่งที่สำคัญหากร้านนั้นมีการทำ SEO ซึ่งผู้เขียนก็ได้นำ Keywords ราเมงที่คนนิยมค้นหามาไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

  • อันดับ 1 : ราเมง (48%)
  • อันดับ 2 : ราเมน (30%)
  • อันดับ 3 : Ramen (12%)
  • อันดับ 4 : ราเม็ง (10%)
  • อันดับ 5 : มาม่าญี่ปุ่น (0.6%)
  • อันดับ 6 : ราเม็น (0.2%)

แวะมาดูที่ Hashtag Cloud กันนิดนึง เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้เห็นภาพรวมของ Data Research Insight ราเมง นี้ทั้งหมด ว่านอกจากราเมงแล้วเรายังเห็นอะไรอีกบ้าง ซึ่งเราจะเห็นว่ามีการใช้ #tiktokพากิน เพื่อเพิ่มการมองเห็นอีกด้วย

Data Research Insight ราเมง เมนูครองใจคนไทย by Social Listening

ปี 2024 ไม่ว่าใครก็เป็นอินฟลูเอนเซอร์ได้ ประกอบกับผู้บริโภคสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะซื้อของตามรีวิวของบุคคลที่พวกเขาติดตามมากขึ้น เพราะรู้สึกว่ามีความน่าเชื่อถือ และความจริงใจมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์ในระดับ Nano และ Micro 

ดังนั้นในช่วงสุดท้ายนี้ผู้เขียนจึงนำ TOP 5 อินฟลูเอนเซอร์ และยูทูปเบอร์ คัดมาแล้วว่าเชื่อถือได้ จ้างแล้ว Engagement ปัง ยอดขายถล่มทลายแน่นอน เผื่อผู้ประกอบการที่อ่านบทความนี้ กำลังมองหาอินฟลูเอนเซอร์สำหรับแบรนด์ตัวเอง แล้วไม่รู้จะจ้างใครดี สามารถชอปปิงจากตรงนี้ได้เลยค่ะ 

Data Research Insight ราเมง เมนูครองใจคนไทย by Social Listening
Data Research Insight ราเมง เมนูครองใจคนไทย by Social Listening

จากนั้นก็มาดูข้อมูลที่เราคิด วิเคราะห์ แยกแยะมาว่าสามารถนำมาวิเคราะห์ ต่อยอดอะไรได้บ้าง ซึ่งจาก Insight ที่ได้มานั้น ทางผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นประโยชน์สำหรับ Influencer Marketing เป็นอย่างมาก เพราะแบรนด์ต้องการที่จะทำ Influencer Marketing ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้แบรนด์ทราบว่าควรใช้ Influencer สไตล์ไหน ทำคอนเทนต์แบบใด ช่องทางไหน ถึงจะมีประสิทธิผลต่อแบรนด์มากที่สุด

หากเพื่อน ๆ เสิร์ชคำว่า “ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย” จะเห็นได้ว่าในปี 2024 นี้ มีธุรกิจอาหารญี่ปุ่นเกิดขึ้นใหม่จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น Red Ocean เลยล่ะค่ะ ทั้งนี้ก็เพื่อตอบรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปรับตัวของผู้ประกอบการว่าจะปรับตัวอย่างไรเพื่อให้อยู่รอดในตลาดธุรกิจอาหารญี่ปุ่นนี้ 

และสิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่าสำคัญมาก ๆ ต่อการทำธุรกิจก็คือการทำ Social Listening ค่ะ แม้แต่ในรายละเอียดเล็กน้อยก็สามารถช่วยให้ธุรกิจของเราไปต่อได้ การใช้ Social Listening Tools จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถคิดกลยุทธ์การตลาดที่ตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าได้มากขึ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ๆไม่มากก็น้อยนะคะ 

Data Research Insight ราเมง เมนูครองใจคนไทย by Social Listening

ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AI, MHA Makro, LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership Torpenguinและ Brand Communication

Data Research Insight ราเมง เมนูครองใจคนไทย by Social Listening

คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ราเมง ผัดไทย


สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

Sasiwimon Chumart

"แตงกวา" - ชอบภูเขา หลงรักทะเล หาเงินไปเล่นเซิร์ฟที่แหลมหญ้า กินกาแฟเพื่อมีชีวิตรอด นอนน้อยเป็นกิจวัตร ชอบกินเป็นชีวิตจิตใจ ตั้งใจเขียนงานมาก เพราะทุกคนต้องได้อ่านผลงานที่ดีที่สุด!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *