Data Research Insight สำรวจจักรวาลบัวลอย เมนูขนมหวานไทยยอดฮิต

Data Research Insight สำรวจจักรวาลบัวลอย เมนูขนมหวานไทยยอดฮิต

Data Research Insight สำรวจจักรวาล บัวลอย เมนูขนมหวานไทยยอดฮิต โดยเมนูบัวลอยนี้ก็เป็นหนึ่งในเล่มโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน ที่มีหลากหลายเมนูผ่านมาแล้วทั้ง ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง ราเม็ง ไอศกรีม สเต๊ก สปาเก็ตตี้ ดังนั้นอยากให้ทุกคนติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะเราจะมีข้อมูลดี ๆ มาให้อ่านกันทุกเดือนอย่างแน่นอนค่ะ

สำหรับในบทความนี้เราจะมาเจาะ Data Research Insight บัวลอย เพื่อเข้าใจพฤติกรรมการทานกันมากขึ้น คนไทยชอบบัวลอยไส้อะไร น้ำราดแบบไหน ร้านเด็ดร้านดังที่มีการพูดถึงมากที่สุด และรูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง เราจะพามาวัดจากกระแสบนออนไลน์กัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทยในหลาย ๆ แง่มุมค่ะ

โดยเครื่องมือที่เราใช้กวาดข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ Social Data บัวลอย คือ Social Listening : Mandala เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้เราได้เห็นเทรนด์ตลาดทั้งหมดมากขึ้น และสามารถเจาะการพูดถึงแบบลงลึก จากแพลตฟอร์ม Social Media ที่มีลูกค้าของทุกธุรกิจรอให้เราใช้ประโยชน์อยู่

ซึ่งโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน จากการตลาดวันละตอนของเราได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดีอย่างกับ Mandala, MHA Makro ,LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership กับ Torpenguin และ Brand Communication ที่จะอยู่กับเราตลอดทั้งปี 2024 นี้เลย ^^

เกริ่นมาเยอะแล้ว ถ้าพร้อมทาน เอ้ย พร้อมอ่านแล้ว ก็ตามมาได้เลยค่ะ~

ซึ่งเราจะใช้ 8 ขั้นตอนที่เราใช้กับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา Insight จาก Social Data ออกมาค่ะ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ โดยใช้คำคีย์เวิร์ด คือ บัวลอย รวมถึง bua loy และ bua loi ในภาษาอังกฤษ เพื่อดูบริบทได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

โดย Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/05/2023 – 30/04/2024 หรือประมาณ 1 ปีย้อนหลัง มีข้อมูลประมาณ 7,608 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok 

และข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ

STEP 3 Cleansing Data

ซึ่งในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอนคลีนซิ่งดังกล่าวเพื่อเคลียสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป อย่างคำว่า บัวลอย นั้นอาจหมายถึงสิ่งอื่น ๆ หรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับที่เราต้องการได้ค่ะ เช่น เล่นมุกตลก หรือชื่อเพลงของคาราบาว เป็นต้น

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ค่ะ

STEP 4 Conversation Analysis

อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล จะได้อ่าน Social Data ที่หลังไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้พอจะเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึงการทำบัวลอยแบบไหน ใส่ไส้อะไร ใส่ท็อปปิ้งอะไรกันบ้าง รูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง และ Insight ที่จะเป็นประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านบัวลอยนั่นเองค่ะ

ซึ่งตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ Insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณ ตอนนี้ค่ะ ต้องมาเริ่ม STEP ที่ 5 กันต่อ

Social Data Stat Overview

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions จำนวนโพสต์ จำนวนคอมเมนต์ ที่มีคีย์เวิร์ด) – สำหรับสัดส่วนการพูดถึงบัวลอย จะอยู่บนเพจ Facebook มากที่สุด ตามมาด้วย Youtube IG TikTok และ X(Twitter) ตามลำดับค่ะ โดยรูปแบบคอนเทนต์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการสอนทำเมนูบัวลอยต่าง ๆ รีวิวร้านเด็ดร้านดัง รวมถึงโฆษณาจากแบรนด์ที่หันมาทำเมนูบัวลอย

การมีส่วนร่วม (Engagement + YouTube views) – สำหรับการนับรวมยอดวิวบน YouTube ส่งผลให้สัดส่วน Engagement ของ Youtube มีสัดส่วนมากถึง 84% ทั้งนี้เพราะคอนเทนต์พี่จองคัลแลน ที่ไปพักจันทบุรี แล้วเป็นที่พักที่มีโปรแกรมสอนทำผัดไทยและบัวลอยนั่นเองค่ะ รวมถึงคอนเทนต์แจกสูตร สอนทำเมนูบัวลอย เป็นต้น

Data Research Insight bua loy 2

การมีส่วนร่วมแบบไม่นับรวมยอดวิว (Engagement ignore view) – หากย้อนขึ้นไปดูกราฟวงกลมขวาสุด ในภาพด้านบนก่อนหน้านี้ ทุกคนจะเห็นว่าเมื่อผู้เขียนจะทำการ Ignore Youtube View หรือไม่นับรวมยอดวิวแล้ว เราจะเห็นว่า TikTok และ Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพเช่นเดียวกันค่ะ

โดยคอนเทนต์ที่ได้รับความสนใจสูง จะเป็นคอนเทนต์เกี่ยวกับการแจกสูตร สอนทำบัวลอยเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการทำบัวลอยที่ใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไป เช่น ทำแป้งเป็นรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปดอกไม้ รูปเป็ด รูปฟักทอง เป็นต้น รวมถึงการรีวิวร้านเด็ดร้านดังที่น่าไปตำตาม

ดังนั้นทุกคนอาจจะเริ่มเห็นภาพกันแล้วว่าส่วนใหญ่คลิปที่ได้รับ Engagement สูง ๆ หรือได้รับความสนใจจากคนในโซเชียลกันมาก คือบัวลอยที่มีความแปลกใหม่ มีการใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปในเมนู ทำแป้งเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทั้งน่ารักและน่ากินในเวลาเดียวกัน

ซึ่งเราสามารถนำไปเป็นไอเดียในการต่อยอดการทำคอนเทนต์ของธุรกิจตัวเองกันได้นะคะ เสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเมนูบัวลอยเพิ่มขึ้นบ้าง หรือนำไปต่อยอดคิดค้นพัฒนาเมนูของตัวเอง ให้มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้านั่นเอง

สำหรับ Hashtag & Word Cloud ภาพรวมของ Social Data ทั้งหมดกำลังพูดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ ‘บัวลอย’ นั่นเองค่ะ เช่น บริบทของการปักหมุดรีวิวร้านอร่อย รวมถึงการสอนทำบัวลอย วัตถุดิบที่นิยมใส่ เป็นต้น

มาดูในส่วนของ Top post กันบ้างว่าในแต่ละแพลตฟอร์มคอนเทนต์อะไรอะไรมาแรงที่สุด

Facebook – มูมมาม แจกสูตรบัวลอยหมูโมจินม

X (Twitter) – @sfkkfs_ ทำบัวลอยดอกเดซี่

Instagram – foodballstylee รีวิวร้านบัวลอยแม่ยิ้ม ตลาดสายใต้เซ็นเตอร์

TikTok – @darunee_toei ทำบัวลอยฟักทอง

YouTube – YingsakfoodTV สอนทำวุ้นบัวลอยฟักทองนมสด

STEP 5 Categorize Data 

การจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีน อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่ายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ 

STEP 6 Data Visualization

ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารถนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำใน PPT, Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ

STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่าเมื่อแบ่งข้อมูลเป็นกลุ่ม ๆ แล้วเราจะเจออะไรกันบ้าง 

ซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis การพูดถึงบัวลอย จัดเป็น 5 กลุ่มตามภาพด้านบน โดยไม่ได้เรียงจากมากไปน้อย แต่เรียงโดย Journey ที่ต้องการเล่าค่ะ

  1. ไส้บัวลอย 10%
  2. น้ำราดบัวลอย 28%
  3. ท็อปปิ้งบัวลอย 30%
  4. เมนูบัวลอย 27%
  5. ร้านขายบัวลอย 5%

เรามาเจาะดูกันทีละหัวข้อกันเลยค่ะ

#1 ไส้บัวลอยต้อง ‘งาดำ’ เข้ากับทุกน้ำราด

สำหรับไส้บัวลอยยอดฮิตที่คนนิยมพูดถึงกันมากเป็นพิเศษในโซเชียล มาเป็นอันดับ 1 เลยก็คือ ‘งาดำ’ ในสัดส่วน 38% ค่ะ ตามมาด้วยมันม่วง, ชาเขียว, ถั่วแดง, ไข่เค็ม, ช็อกโกแลต และเผือก ตามลำดับค่ะ

โดยบริบทของ ‘ไส้งาดำ’ ค่อนข้างมีความหลากหลาย มีทั้งการสอนทำบัวลอยงาดำ การรีวิวร้านบัวลอยงาดำอร่อย ๆ รวมถึงร้านแบรนด์ชานมไข่มุกอย่าง KOI The ก็ยังมีการออกเมนูที่นำบัวลอยงาดำไปประยุกต์ กลายเป็นเมนูนมสดงาดำบัวลอยอีกด้วย

ทั้งนี้ผู้เขียนมองว่าเพราะ ‘งาดำ’ เป็นวัตถุดิบและรสชาติที่เมื่อไปอยู่ในไส้ของตัวบัวลอยแล้ว จะสามารถเข้าได้กับทุกน้ำราดของบัวลอยเลยค่ะ ทั้งน้ำกะทิ นมสด รวมถึงน้ำขิงสำหรับคนที่เป็นสายสุขภาพเช่นกัน

ดังนั้นหากธุรกิจของเรากำลังมองหาไอเดียว่าหากจะทำร้านบัวลอย ควรมีไส้อะไรบ้างดี จากข้อมูลผู้เขียนคงต้องขอแนะนำไส้งาดำ ที่เป็นส่วนผสมที่มาแรงที่สุดในการนำมาใช้ทำไส้บัวลอย และที่สำคัญยังเป็นรสชาติที่เข้าได้กับทุกน้ำราดบัวลอยอีกด้วยค่ะ รวมถึงอาจจะเสริมเมนูอื่น ๆ เข้าไป จากการประยุกต์บัวลอยงาดำ อย่างตัวอย่างของร้าน KOI The ให้ร้านเรามีความหลากหลายมากขึ้นนั่นเองค่ะ

#2 น้ำบัวลอยยอดฮิต ยังคงเป็น ‘น้ำกะทิ’ ตลอดกาล

สำหรับ TOP 3 น้ำราดบัวลอยที่คนพูดถึงกันนะคะ อันดับ 1 เลยคือ ‘น้ำกะทิ’ นั่นเองค่ะ ในสัดส่วนเกินครึ่งสูงมาก ๆ ถึง 70% ตามมาด้วยน้ำขิง และนมสด ตามลำดับค่ะ

ทั้งนี้ผู้เขียนมองว่าเพราะน้ำกะทินั้นมีความหอม เข้ากับรสชาติของบัวลอยได้ทุกไส้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นพวกผักผลไม้ อย่างเช่น ฟักทอง เผือก มะพร้าวอ่อน ที่เข้ากับรสชาติของน้ำกะทิเป็นพิเศษ และมีคนแจกสูตรสอนทำกันค่อนข้างมาก ที่สำคัญคือด้วยความที่บัวลอยเป็นขนมหวานไทย น้ำกะทิก็เป็นเหมือนกับสูตรที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม คนจึงคุ้นชินกับรสชาติของบัวลอยน้ำกะทิ

ทั้งนี้แม้ว่าอันดับ 2 และ 3 ที่เป็นน้ำขิงกับนมสด ผู้เขียนก็มองว่าเป็นโอกาสที่สำคัญเช่นเดียวกันค่ะ เพราะบริบทส่วนใหญ่ของน้ำขิงจะเป็นเรื่องของ ‘สุขภาพ’ มีทั้งคอนเทนต์ที่แชร์ประโยชน์ของน้ำขิง รวมถึงประโยชน์ของงาดำด้วย เพราะบัวลอยไส้งาดำกับน้ำขิงแทบจะเป็นสิ่งที่มาคู่กันเสมอ ดังนั้นบัวลอยน้ำขิงก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีค่ะสำหรับธุรกิจที่ต้องการมี Option ให้กับลูกค้าสายสุขภาพ

ส่วนบัวลอยในน้ำนมสด ก็เป็นสิ่งที่ผู้เขียนมองว่าเหมาะสำหรับเมนูเพื่อเด็ก ๆ อีกด้วยนะคะ สอดไส้ช็อกโกแลต หรือชาเขียว ชาไทย หรือส่วนผสมที่มีความเข้ากับนมสด ทำให้ทานง่าย ยิ่งหากทำแป้งเป็นรูปต่าง ๆ ที่ใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปเพิ่มเติม ก็ทำให้ดูน่ารักน่ากินมากขึ้นค่ะ

#3 Topping บัวลอยยอดฮิตต้อง ‘ไข่หวาน’

Data Research Insight bua loy 8

สำหรับ Topping บัวลอย ที่คนพูดถึงกันมากที่สุด เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเดากันได้ รวมถึงผู้เขียนเองก็คิดเอาไว้ว่าต้องเป็น ‘ไข่หวาน’ นั่นเองค่ะ มาในสัดส่วน 37% ตามมาด้วยมะพร้าวอ่อน, สาคู, ข้าวโพด, ทับทิมกรอบ, แปะก๊วย และไข่แดง ตามลำดับค่ะ

ถ้าจะพูดว่าไข่หวานก็เป็นเหมือนนามสกุลของบัวลอย ก็คงจะไม่เกินจริง เพราะทุกคนคงได้ยินชื่อเมนูบัวลอยไข่หวานกันอยู่เสมอ ทั้งนี้บริบทที่พบเจอสำหรับตัว ‘ไข่หวาน’ ก็คือเรียกว่าเป็น Topping พื้นฐานที่ทุกร้านมี และยังมีการแจกสูตรสอนทำบัวลอยไข่หวานเยิ้ม ๆ อีกด้วย

@j.aumpachine

ร้านนี้ทำถึง บัวลอยใส่ไข่ 30.- ที่ราชบุรี ปั้นไวไม่ได้เพิ่มสปีด หน้าวัดโรงช้างราชบุรี #ของกินราชบุรี #ราชบุรี #บัวลอยไข่หวาน #อร่อยบอกต่อ #thailand #fyp

♬ Truck x You you – Kuya Magik 🪄

ส่วนอันดับ 2 ที่มาแรงไม่แพ้กันนั่นก็คือ ‘มะพร้าวอ่อน’ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นที่น่าแปลกใจมากนักค่ะ เพราะมะพร้าวอ่อนเป็น Topping ที่เข้ากับรสชาติน้ำกะทิและนมสด ทั้งนี้บริบทของมะพร้าวอ่อนที่เจอค่อนข้างมากคือมาคู่กับ ‘บัวลอยเผือก’ เสมอค่ะ ส่วนใหญ่คอนเทนต์ที่แจกสูตร สอนทำบัวลอย หากทำเป็นบัวลอยเผือกมักจะใส่มะพร้าวอ่อนควบคู่กัน

ส่วนสาคูที่ตามมาติดอันดับ 3 มีทั้งใส่เป็น Topping อย่างสาคูรสชาติใบเตย ทานกับบัวลอยในน้ำกะทิหรือนมสด และมีทั้งแบบที่ผสมแป้งสาคูไปกับแป้งบัวลอยด้วยเลยก็มีค่ะ

#4 ‘บัวลอยไข่หวาน’ เมนูยอดฮิตติดใจชาวโซเชียล

Data Research Insight bua loy 9

ต่อมามาดู TOP 7 เมนูบัวลอย ที่คนพูดถึงกันมากที่สุดต่อค่ะ อันดับ 1 แน่นอนว่าเป็น ‘บัวลอยไข่หวาน’ ในสัดส่วน 37% ตามมาด้วยบัวลอยเผือก, บัวลอยน้ำขิง, บัวลอยนมสด, บัวลอยมะพร้าวอ่อน, บัวลอยงาดำ และบัวลอยฟักทอง ตามลำดับค่ะ

อย่างที่ได้เล่ากันได้ด้านบนว่าไข่หวานเสมือนเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญสำหรับเมนูบัวลอยเลยก็ว่าได้ เพราะร้านค้าส่วนใหญ่ที่ขายบัวลอย ก็จะต้องมี Option ให้เลือกว่าจะใส่ไข่หรือไม่อย่างแน่นอน

โดยภาพรวมคอนเทนต์ก็จะเป็นการรีวิวร้านบัวลอยอร่อย ๆ รวมถึงแจกสูตร สอนทำบัวลอย หรือคอนเทนต์แปลกใหม่ อย่างพืชอีทแหลกทำบัวลอยไข่หวานยักษ์ โดยใช้ไข่จากนกกระจอกเทศ

#5 ‘ถิงถิง’ ร้านขายบัวลอยที่คนพูดถึงมากที่สุด

Data Research Insight bua loy 10

สำหรับร้านขายบัวลอยที่คนพูดถึงกันมากที่สุด อันดับ 1 คือ ‘ถิงถิง บิงซูน้ำขิง’ ในสัดส่วน 36% ตามมาด้วย 7-11, McDonald’s, บัวลอยเบญจรงค์, บัวลอยปริญญา, บัวลอยโชคชัยเจ้าเก่าเซียร์รังสิต, บัวลอยวัดฉิม และบัวลอยจิ๋วเมืองนนท์ ตามลำดับค่ะ

สำหรับร้านถิงถิง ถึงชื่อร้านจะเป็นบิงซู แต่มีเมนูหลากหลาย รวมถึงบัวลอยด้วยนั่นเองค่ะ ทั้งเมนูบัวลอยปกติ และยังมีตัวบัวลอยที่ทางร้านใช้เป็น Topping บนบิงซู เช่น ใส่บัวลอยไส้มะพร้าวสดผสมมะพร้าวแห้ง ท็อปบนบิงซูมะพร้าวน้ำหอม เพิ่มเป็นจุดขายที่เรียกความสนใจและ Engagement ได้ดีเลยค่ะ

ในส่วนของอันดับ 2 ที่เป็น 7-11 เนื่องจากกระแสและรีวิวมากมายในช่วงที่เซเว่นวางขายบัวลอยเผือกมะพร้าวอ่อนนั่นเองค่ะ

สำหรับ TOP 5 Facebook Page

  1. เอื้อยเก๋ ติดครัว 52.6K Engagement
  2. มูมมาม 41.8K Engagement
  3. ปันกันปรุง 40.8K Engagement
  4. หิวอีกแล้ว 32.3K Engagement
  5. พี่เชาท์พากินพาเที่ยว 29.6K Engagement

TOP 5 Instagram Account 

  1. baandokpud 33.7K Engagement
  2. punpromotion 25.7K Engagement
  3. foodballstylee 23K Engagement
  4. aroisnap 21.9K Engagement
  5. tid_review 16.4K Engagement

TOP 5 YouTube Channel

  1. 컬렌 Cullen HateBerry 3.57M Engagement
  2. ครัวยายดา 606K Engagement
  3. ammy.cheawtrakul 572K Engagement
  4. Eatguide 557K Engagement
  5. Cinmhef 518K Engagement

TOP 5 TikTok Account

  1. darunee_toei 456.5K Engagement
  2. ammy.cheawtrakul 365.3K Engagement
  3. kaethykitchen 129.5K Engagement
  4. achasai 91.2K Engagement
  5. cinmhef 78.4K Engagement

Data Research Insight สำรวจจักรวาล บัวลอย เมนูขนมหวานไทยยอดฮิต

ทั้งหมดนี้ก็คือ Data Research Insight สำรวจจักรวาล บัวลอย เมนูขนมหวานไทยยอดฮิต หวังว่าทุกคนจะเข้าใจพฤติกรรมการทานบัวลอย คนไทยชอบบัวลอยไส้อะไร ทานน้ำราดแบบไหน แบรนด์เด็ดร้านดัง รวมถึงรูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้างกันได้มากขึ้นแล้วนะคะ

และสามารถนำไปปรับใช้สร้างสรรค์ออกมาเป็นไอเดียใหม่ ๆ ไปต่อยอดในการทำธุรกิจกันได้ไม่มากก็น้อยนะคะ และขอให้เต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด Insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^

*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ

ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AIMHA MakroLINE MAN wongnai ,SME D BANKDaikin รวมถึง Media partnership Torpenguin และ Brand Communication

คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง ราเม็ง ไอศกรีม สเต๊ก สปาเก็ตตี้


สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics 

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 28

นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง

จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก

ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา

เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%

และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี

ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ 🙂

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย

Fern Panassaya

เฟิร์น Junior Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน รักแมวอ้วนและหมาโกลเด้น ตั้งใจสร้างสรรค์ทุกผลงาน ฝากเป็นกำลังใจและติดตามคอนเทนต์ใหม่ ๆ ต่อจากนี้ด้วยค่ะ <3

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *