วิธีทำ Market Segmentation แบบเข้าใจง่าย! มือใหม่เข้าใจได้ไม่ยาก

วิธีทำ Market Segmentation แบบเข้าใจง่าย! มือใหม่เข้าใจได้ไม่ยาก

วิธีทำ Market Segmentation แบบเข้าใจง่าย! มือใหม่เข้าใจได้ไม่ยาก

ในบทความนี้จะพามารู้จักกับการวิธีการทำ Market Segmentation แบบเข้าใจง่าย เพราะเราได้สรุป คัดเนื้อเน้น ๆ พร้อมปูพื้นฐานสำหรับมือใหม่ที่กำลังมองหาหรือศึกษาการทำ Market Segmentation มาให้แล้ว

โดยขั้นแรกเรามาเริ่มต้นทำความรู้จัก Market Segmentation กันก่อนว่าคืออะไร เพื่อที่จะได้เข้าใจตรงกันและเห็นภาพกว้าง ๆ ว่าสิ่งนี้คืออะไรค่ะ

อะไรคือ Market Segmentation?

Market Segmentation หรือ การแบ่งส่วนตลาด เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การวางแผนธุรกิจ และ การตลาด ตลอดจนการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม

สรุปง่าย ๆ ว่าเป็นใช้วิธีการแบ่งกลุ่มตลาดตามลักษณะของผู้บริโภคที่มีความเฉพาะบางอย่างที่คล้าย หรือเหมือนกัน

โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้

#1 Demographic segmentation: The who (ใคร)

เป็นการแบ่งส่วนตลาดด้วยปัจจัยทางประชากรหรือผู้บริโภค เพื่อทำให้เรารู้ว่ากลุ่มเป้าหมายเราเป็น ‘ใคร’ โดยสามารถจัดกลุ่มได้จากปัจจัย เช่น อายุ เพศ สถานภาพการสมรส ขนาดครอบครัว อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ สัญชาติ และ ศาสนา

ซึ่งวิธีการแบ่งส่วนตลาดเช่นนี้ จะแบ่งกลุ่มของลูกค้าได้ชัดเจน และมีความสัมพันธ์กับอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ จึงนิยมนำมาใช้ในการแบ่งส่วนตลาดมากที่สุดนั่นเองค่ะ

#2 Psychographic segmentation: The why (ทำไม)

Market Segmentation 4 ประเภทที่ช่วยเข้าถึงและเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้น

การแบ่งส่วนตลาด ตามหลักจิตวิทยาโดยการแบ่งตลาดตามวิถีการดำรงชีวิตของบุคคล เช่น รูปแบบการดำรงชีวิต บุคลิกภาพ สิ่งจูงใจ ซึ่งเน้นไปที่ข้อมูลเชิงลึกในด้านอารมณ์ ความรู้สึก ที่มีคุณค่าและเกี่ยวกับแรงจูงใจ ความชอบ ตามจิตนิสัย

การทำความเข้าใจลูกค้าในแง่มุมเหล่านี้ ช่วยให้เรารู้ได้ว่า ‘ทำไม’ เขาถึงมาซื้อหรือใช้บริการ ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างเนื้อหาที่ดึงดูดใจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ

#3 Geographic segmentation: The where (ที่ไหน)

Market Segmentation 4 ประเภทที่ช่วยเข้าถึงและเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้น

การแบ่งส่วนตลาด แบบภูมิศาสตร์ เช่น ประเทศ จังหวัด ภูมิภาค ภูมิอากาศ ลักษณะประชากร จำนวนประชากร หรือ ทวีป เป็นต้น

เนื่องจากภูมิภาคแต่ละพื้นที่นั้นมีรูปแบบของประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ความเชื่อ หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าหรือบริการด้วย นอกจากจะรู้ว่าลูกค้าคือ ใคร และทำไมเขาถึงซื้อแล้ว การที่เรารู้ว่าพวกเขาอยู่ ‘ที่ไหน’ จะช่วยทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ง่าย ถูกที่ ถูกจุดและเร็วขึ้นนั่นเองค่ะ

#4 Behavioral segmentation: The how (อย่างไร)

Market Segmentation 4 ประเภทที่ช่วยเข้าถึงและเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้น

การแบ่ง Market Segmentation ตามหลักพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงความคาดหวังของผู้บริโภคว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร

การแบ่ง Segmentation ประเภทนี้จะช่วยทำให้สามารถหากลยุทธ์การทำ Marketing ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ เช่น ผู้บริโภคชื่นชอบการซื้อของออนไลน์มากกว่าหน้าร้าน แต่ระบบการจ่ายเงินของแบรนด์ยังทำได้ไม่ดี ก็อาจจะทำการปรับปรุงช่องทางการชำระเงินออนไลน์ให้ดีขึ้น เป็นต้น

นอกจากนี้ก็จะมี การแบ่งส่วนตลาด แบบอื่น เช่น

  • Technographic segmentation: แบ่งตามการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี เช่น ผู้นำ ผู้ตาม ผู้ที่เฉย ๆ กับเทคโนโลยี ผู้ที่สนใจเพียงราคาถูก
  • Generational and life stage segmentation: แบ่งตามเจเนอเรชั่น เช่น Baby boomer, Gen X, Gen Y, Gen Z เป็นต้น
  • Transactional segmentation: แบ่งตามการจับจ่ายใช้สอย เช่น วันที่ซื้อล่าสุด รู้จักแบรนด์จากช่องทางไหน จำนวนครั้งที่ซื้อ เป็นต้น
  • Firmographic Segmentation: แบ่งตามรูปแบบขององค์กร เช่น ขนาดองค์กร จำนวนพนักงาน อุตสาหกรรม เป็นต้น วิธีนี้เหมาะสมกับสินค้าและบริการที่เน้น B2B เป็นส่วนใหญ่
  • Needs-based Segmentation: แบ่งกลุ่มลูกค้าตามความต้องการและความจำเป็นในการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ โดยจะพิจารณาจากแง่มุมของลูกค้าว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการจริง ๆ คืออะไร และทำไมพวกเขาต้องการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ๆ

ประโยชน์ของการทำ Market Segmentation

การทำ Segmentation มีประโยชน์มากมายหลายด้าน เราจะขอสรุปประโยชน์แบบเน้น ๆ ที่ได้จากการทำ Segment มาฝากกันค่ะ เพื่อเป็นการชี้ทางให้เห็นว่าการทำสิ่งนี้มันมีประโยชน์จริง ๆ!

  • ทำให้เราเข้าใจว่าใครคือลูกค้าที่ควรโฟกัสและลูกค้าแต่ละกลุ่มควรเข้าถึงและทำการตลาดอย่างไร — เพราะเรารู้ความต้องการของพวกเขาในเชิงลึกมากขึ้น ย่อมทำให้เราเข้าใจและเข้าถึงได้ดีมากขึ้น
  • ปรับปรุง ROI ทางการตลาด — เมื่อเรารู้ว่าใครที่มีแนวโน้มที่จะซื้อหรือใช้บริการของแบรนด์ หรือเข้าใจพวกเขาแต่ละกลุ่มได้ดีมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกค้ายอมจ่ายและเลือกซื้อเรา เพราะเราเข้าหาพวกเขาได้ถูกต้องและถูกจุด
  • ช่วยพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ที่ดีขึ้น — หากเรามีความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าลูกค้าของเราคือใคร เราก็สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น
  • ช่วยยกระดับความพึงพอใจให้กับลูกค้า  — เพราะเรารู้ว่าพวกเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ต้องการสิ่งไหน ไม่ต้องการสิ่งใด
  • ลดต้นทุนการเข้าหาลูกค้า (CAC) — เมื่อเราไม่รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายเราคือใคร อยู่ตรงไหน ชอบอะไร การแบ่งส่วนตลาด จะช่วยให้เราลดต้นทุนได้ เพราะเรารู้ว่ากลุ่มเป้าหมายคือใครนั่นเอง
  • สร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ของคุณ — เมื่อเรารู้ว่าพวกเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ต้องการสิ่งไหน ไม่ต้องการสิ่งใด สามารถทำให้เราส่งมอบและบริการผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น

อ่าน ประโยชน์ของการทำ Market Segmentation ได้เต็ม ๆ ที่นี่ <คลิก>

ขั้นตอนการทำ Market Segmentation

หลังจากที่ทำความรู้จักการแบ่งส่วนตลาดมาเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนถัดไปที่ต้องทำคือลงมือทำนั่นเองค่ะ โดย วิธีทำ Market Segmentation จะมีด้วยกัน 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดตลาดเป้าหมาย

ขั้นตอนแรกที่เราต้องทำอย่างเลี่ยงไม่ได้นั่นคือการกำหนดตลาดเป้าหมายของเราซะก่อนว่าจะเป็นตลาดไหน ใหญ่หรือเล็ก ตลาดสินค้าหรือบริการประเภทใด สินค้าอุปโภค เครื่องแต่งกาย อาหาร เป็นต้น รวมถึงเป็นการสำรวจตลาดคู่แข่งไปในตัวด้วยว่าคู่แข่งของเราเป็นใครบ้าง

สาเหตุที่เราต้องทำการกำหนดตลาดเป้าหมายก่อนก็เพราะว่าจะทำให้เราได้เห็นถึงภาพรวมและแนวทางการดำเนินธุรกิจ การทำการตลาดได้ในเบื้องต้นนั่นเองค่ะ จะได้ไม่ต้องหลงทางไปกังวลในตลาดอื่น ๆ

2. แบ่งส่วนตลาด

หลังจากที่เรากำหนดตลาดเป้าหมายของเราได้เรียบร้อยแล้ว สิ่งถัดไปที่ต้องทำต่อมาคือการแบ่งส่วนตลาดนั่นเองค่ะ โดยขั้นตอนนี่ก็จะย้อนกลับไปที่ การแบ่งส่วนตลาด ในตอนต้นที่มีหลัก ๆ ด้วยกัน 4 กลุ่มตลาด

  1. Demographic segmentation-เป็นการแบ่ง Segment ด้วยปัจจัยทางประชากรหรือผู้บริโภค โดยสามารถจัดกลุ่มได้จากปัจจัย เช่น อายุ เพศ สถานภาพการสมรส ขนาดครอบครัว อาชีพ เป็นต้น
  2. Psychographic segmentation-เป็นการแบ่ง Segment ตามหลักจิตวิทยาโดยการแบ่งตลาดตามวิถีการดำรงชีวิตของบุคคล เช่น รูปแบบการดำรงชีวิต บุคลิกภาพ สิ่งจูงใจ
  3. Geographic segmentation- เป็นการแบ่ง Segment ตามภูมิศาสตร์ เช่น ประเทศ จังหวัด ภูมิภาค เป็นต้น
  4. Behavioral segmentation -เป็นการแบ่ง Segment ตามหลักพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงความคาดหวังของผู้บริโภคว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร

ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องยึดติดกับอันใดอันหนึ่งหรอกนะคะ สามารถผสมผสานเพื่อทดลองให้ได้ส่วนตลาดที่ดีที่สุดให้กับแบรนด์ของเราได้

3. ทำความเข้าใจตลาด

ถัดมาคือการที่เราต้องมาทำความเข้าใจตลาดของเราในเชิงลึก สามารถทำได้โดยการทำแบบสำรวจวิจัยเบื้องต้น การสนทนากลุ่ม (Focus group) แบบสำรวจ การใช้ Social Listening ฯลฯ อาจจะเก็บเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative) และปริมาณ (Quantitative) เพื่อนำมาประกอบร่วมกัน ใช้ในการตัดสินใจและดำเนินธุรกิจ

4. สร้าง Segment กลุ่มลูกค้า

เราสามารถสร้าง Segment ของลูกค้าได้โดยการทำ Customer Segmentation ซึ่งจะเป็นการลงลึก เจาะรายละเอียดมากกว่าการทำ Market Segmentation กล่าวคือ ตอนแบ่ง Market เราอาจจะแบ่งด้วยกลุ่มที่ใช้สมาร์ทโฟน แต่ในขั้นตอนการทำ Segment กลุ่มลูกค้า เราจะมีการลงรายละเอียด เช่น “คนที่ซื้อสมาร์ทโฟนโดยคำนึงถึงงบประมาณ” เป็นต้น

ในขั้นตอนนี้เราสามารถสร้าง Segment ของลูกค้าจากข้อมูลที่เราเก็บมาจากขั้นตอนที่ 3 — ทำความเข้าใจตลาด เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วจะทำให้เราเห็นถึงกลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำมากขึ้น

5. ทดสอบกลยุทธ์ทางการตลาด

แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการทดสอบว่าสิ่งที่ทำมาตั้งแต่ต้นมันได้ผลหรือไม่ได้ผล รูปแบบคอนเทนต์ สื่อโฆษณา โปรโมชั่นต่าง ๆ ที่เราทำไปกับกลุ่ม Segment นั้น ๆ ดีหรือไม่ดี เราอาจวัดผลได้จากแคมเปญโฆษณา ยอดขาย เป็นต้น

และหากว่าผลตอบรับมันไม่ดี หรือไม่ตรงตามทีคาดหวังไว้ ให้เรากลับไปทบทวนกลุ่มหรือวิธีการวิจัยของเราใหม่ และทำการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมและทำการทดสอบต่อไป จนกว่าผลลัพธ์ที่ได้จะสัมฤทธิ์ผล

สรุป วิธีทำ Market Segmentation แบบเข้าใจง่าย! มือใหม่เข้าใจได้ไม่ยาก

การแบ่งส่วนตลาดดู ๆ แล้วเหมือนจะยุ่งยากแต่จริง ๆ แล้วไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยค่ะ เพราะการแบ่ง Segment ที่ดีย่อมช่วยให้เราเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้น ตลาดเป้าหมายของเราเป็นใคร กลุ่มเป้าหมายฐานลูกค้าเป็นแบบไหน หวังว่าทุกคนคงจะเก็ทไอเดียการทำ Segmentation ได้ละเอียดมากขึ้น

เราจะเห็นได้เลยว่าการทำ Segmentation นั้นมีประโยชน์และจำเป็นอย่างมากในการที่จะทำให้แบรนด์สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งยังสามารถช่วยให้ธุรกิจ รวมถึงตัวเราเข้าถึงและเข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้นอีกด้วย

หวังว่าตัวอย่างเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

Source

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *