Market Segmentation แตกต่างจาก Customer Segmentation อย่างไร?

Market Segmentation แตกต่างจาก Customer Segmentation อย่างไร?

Market Segmentation และ Customer Segmentation สองคำนี้ที่เรามักเห็นบ่อย ๆ ในภาคธุรกิจและการตลาด ดูเผิน ๆ มีความคล้ายคลึงกันแต่จริง ๆ แล้วมีจุดที่แตกต่างกันอยู่ ดังนั้นในบทความนี้เตยจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจสองคำนี้ใหม่ ให้กระจ่างถึงความต่าง จะได้ใช้ได้ถูกต้องกันไปพร้อม ๆ กันค่ะ

Market Segmentation คืออะไร?

การแบ่งส่วนตลาด เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การวางแผนธุรกิจ และ การตลาด ตลอดจนการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม โดยเป็นใช้วิธีการแบ่งกลุ่มตลาดตามลักษณะของผู้บริโภคที่มีความเฉพาะบางอย่างที่คล้าย หรือเหมือนกัน

หรือเปรียบเทียบง่าย ๆ คือ กระบวนการที่นำตลาดทั้งหมดมาแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ที่มีลักษณะเด่น ๆ ที่แตกต่างกัน เพื่อให้เข้าใจลักษณะและความต้องการของกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มนั่นเองค่ะ

โดยจะประกอบไปด้วยการแบ่ง Segment หลัก 4 ประเภทดังนี้

  1. Demographic segmentation-เป็นการแบ่ง Segment ด้วยปัจจัยทางประชากรหรือผู้บริโภค โดยสามารถจัดกลุ่มได้จากปัจจัย เช่น อายุ เพศ สถานภาพการสมรส ขนาดครอบครัว อาชีพ เป็นต้น
  2. Psychographic segmentation-เป็นการแบ่ง Segment ตามหลักจิตวิทยาโดยการแบ่งตลาดตามวิถีการดำรงชีวิตของบุคคล เช่น รูปแบบการดำรงชีวิต บุคลิกภาพ สิ่งจูงใจ
  3. Geographic segmentation- เป็นการแบ่ง Segment ตามภูมิศาสตร์ เช่น ประเทศ จังหวัด ภูมิภาค เป็นต้น
  4. Behavioral segmentation -เป็นการแบ่ง Segment ตามหลักพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงความคาดหวังของผู้บริโภคว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร

<สามารถอ่านบทความตัวเต็มเกี่ยวกับการแบ่ง Segmentation เต็ม ๆ ได้ที่บทความนี้>

ตัวอย่าง: บริษัทโทรศัพท์มือถืออาจแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ เช่น “นักเรียนและนักศึกษา” “สมาชิกที่ต้องการสมาร์ทโฟนสำหรับกิจกรรมกีฬาและการเล่นเกม” และ “ผู้ใช้งานที่ต้องการความพิเศษและคุณภาพสูง”

Customer Segmentation คืออะไร?

การแบ่งส่วนลูกค้า เป็นการแบ่งกลุ่มที่เน้นไปที่การแบ่งกลุ่มลูกค้าที่มีอยู่ในฐานะบริษัทออกเป็นกลุ่มตามพฤติกรรม ความต้องการ หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่มลูกค้า

เน้นการโฟกัสไปที่พฤติกรรมซื้อขาย การใช้งาน และการติดต่อของลูกค้ารายบุคคลของข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้บริการและจัดส่งสินค้าหรือบริการที่ตรงกับความต้องการและความสนใจของแต่ละกลุ่มลูกค้า

ตัวอย่าง: เช่น “คนที่อัปเกรดสมาร์ทโฟนบ่อยครั้ง” “คนที่ซื้อสมาร์ทโฟนโดยคำนึงถึงงบประมาณ” และ “ผู้ใช้งานที่สนใจกล้องถ่ายภาพและคุณภาพสินค้า”

โดยข้อดีของการทำ Customer Segmentation มีดังนี้

  • ทำให้เราเข้าใจว่าใครคือลูกค้าที่ควรโฟกัสและลูกค้าแต่ละกลุ่มควรเข้าถึงและทำการตลาดอย่างไร — เพราะเรารู้ความต้องการของพวกเขาในเชิงลึกมากขึ้น ย่อมทำให้เราเข้าใจและเข้าถึงได้ดีมากขึ้น
  • ปรับปรุง ROI ทางการตลาด — เมื่อเรารู้ว่าใครที่มีแนวโน้มที่จะซื้อหรือใช้บริการของแบรนด์ หรือเข้าใจพวกเขาแต่ละกลุ่มได้ดีมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกค้ายอมจ่ายและเลือกซื้อเรา เพราะเราเข้าหาพวกเขาได้ถูกต้องและถูกจุด
  • ช่วยพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ที่ดีขึ้น — หากเรามีความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าลูกค้าของเราคือใคร เราก็สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น
  • ช่วยยกระดับความพึงพอใจให้กับลูกค้า  — เพราะเรารู้ว่าพวกเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ต้องการสิ่งไหน ไม่ต้องการสิ่งใด

สรุป ความแตกต่างของ Market Segmentation และ Customer Segmentation

สรุปโดยภาพรวมเราจะเห็นได้เลยว่า การทำ Segment ทั้ง Market และ Customer สองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน

โดยสรุปสั้น ๆ คือ

  • Market Segmentation(การแบ่งกลุ่มตลาด) ใช้ในกระบวนการแบ่งตลาดทั้งหมดออกเป็นกลุ่มย่อยๆ
  • Customer Segmentation(การแบ่งกลุ่มลูกค้า) ใช้ในกระบวนการแบ่งลูกค้าที่มีอยู่ในฐานะบริษัทออกเป็นกลุ่มตามพฤติกรรม ความต้องการ หรือลักษณะของแต่ละลูกค้า มีความเจาะลึกและมีรายละเอียดมากกว่านั่นเอง

และหากมองให้ลึกลงไปดี ๆ อีก เราจะเห็นได้เลยว่าการทำงานของสอง Segment นี้ จะไม่มีวันเกิดขึ้นมาได้เลยหากไม่มี Data เพราะฉะนั้นข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาธุรกิจและการตลาดของเราให้ดีขึ้นได้

บทส่งท้าย

เราจะเห็นได้เลยว่าการทำ Segmentation นั้นมีประโยชน์และจำเป็นอย่างมากในการที่จะทำให้แบรนด์สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งยังสามารถช่วยให้ธุรกิจ รวมถึงตัวเราเข้าถึงและเข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้นแล้วนั่นเองค่ะ

การแบ่ง Segment ที่ดีย่อมช่วยให้เราเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้น ตลาดเป้าหมายของเราเป็นใคร กลุ่มเป้าหมายฐานลูกค้าเป็นแบบไหน จากบทความนี้เตยคิดว่าทุกคนคงจะเก็ทไอเดียการทำ Segmentation ได้ละเอียดมากขึ้น

นอกจากนี้เราควรที่จะรู้ทันข้อผิดพลาดที่คนมักทำพลาดโดยไม่รู้ตัว สามารถเข้าไปอ่านได้เพื่อหลีกเลี่ยง ข้อ ‘ผิดพลาด’ การทำ Segmentation ที่พบบ่อย รู้ก่อนที่จะสายเกินไป เพื่อทำให้ Segments ของเราปัง ๆ ยิ่งขึ้นไปอีกค่ะ

หวังว่าตัวอย่างเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *