ข้อ ‘ผิดพลาด’ การทำ Segmentation ที่พบบ่อย รู้ก่อนที่จะสายเกินไป

ข้อ ‘ผิดพลาด’ การทำ Segmentation ที่พบบ่อย รู้ก่อนที่จะสายเกินไป

ข้อ ‘ผิดพลาด’ การทำ Segmentation ที่พบบ่อย รู้ก่อนที่จะสายเกินไป

อย่างที่เรารู้กันดีว่าการทำ Segmentation มีประโยชน์ต่อธุรกิจ รวมถึงการตลาดของเรามาก ๆ และเป็นสิ่งที่เตยมักบอกว่าเราไม่ควรพลาดอย่างแรง เพราะการทำสิ่งนี้จะช่วยให้เราเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งนี้ ข้อผิดพลาดหรือ ‘หลุมพลาง’ ก็ยังมีอยู่ในทุกการกระทำ ที่เราอาจมองข้ามไป

วันนี้เตยพาจะมารู้จักกับ 3 ข้อผิดพลาดจากการทำ Segmentation ที่พบบ่อยที่ไม่ควรพลาดอย่างแรง (อีกแล้ว) เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องพลาดท่า ตามมาแก้ไขทีหลังให้ปวดหัว ปวดหลังกรอบแกรบ ถ้าอยากรู้ก่อนที่จะสายเกินไป เลื่อนอ่านบรรทัดถัดไปกันเลย!

1. Segments มีขนาดเล็กหรือเจาะจงเกินไป

ข้อ ผิดพลาด การทำ Segmentation ที่พบบ่อย เลี่ยงง่าย ๆ ด้วย 3 ข้อนี้

จากในบทความ Market Segmentation 4 ประเภทที่ช่วยเข้าถึงและเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้น ที่เตยเคยเขียนไปคราวก่อน จะเห็นได้ว่าการทำ Segmentation เพื่อจัดกลุ่มเป้าหมายนั้นมีหลากหลายรูปแบบมาก และการจัดกลุ่มนั้นทำให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีเพิ่มมากขึ้น

แต่การทำ Market Segmentation ที่เล็ก ย้ำว่า เล็ก และเฉพาะเจาะจงขึ้นมานั้น จะทำให้เราทำงานกันได้ยากลำบากมากขึ้น และปรับเปลี่ยนได้ยาก เพราะมีความเจาะจงสูง แตกต่างกับการทำ Market Segmentation ที่กว้างแต่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถปรับเปลี่ยน หรือเอาไปผูกกับข้อมูลอื่น ๆ เพื่อทำการตลาดที่เจาะหลาย ๆ คนขึ้นมาได้ 

เตยไม่ได้หมายความการทำ Segments เล็กและเจาะจงเป็นเรื่องที่ผิด เพราะข้อดีของการเจาะกลุ่มเล็กและเจาะจง ทำให้มีคู่แข่งในตลาดเดียวกันน้อยนั่นเอง ทั้งนี้ทั้งนั้น การเติบโตของกลุ่มตลาดนี้ นับว่ามีข้อจำกัดสูง เพราะด้วยตัวสินค้าหรือการบริการมีจำนวนที่ไม่มาก การขยายกลุ่มเป้าหมายจึงมีจำนวนไม่มากตามเช่นกัน

ดังนั้นการเจาะกลุ่มกลุ่มเป้าหมายที่มีขนาดเล็กและเจาะจงไม่เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าหากใจรัก และต้องการเจาะกลุ่มเล็กและเฉพาะตัวจริง ๆ แล้วล่ะก็…ทำได้เลยค่ะ ลุย! ตามเสียงหัวใจของตัวเองไป

2. ยึดติดกับทฤษฎี ไม่มีความยืดหยุ่น

ข้อ ผิดพลาด การทำ Segmentation ที่พบบ่อย เลี่ยงง่าย ๆ ด้วย 3 ข้อนี้

นอกจากประสบการณ์ สิ่งที่เราเรียนรู้อีกอย่างคือ ทฤษฎี ซึ่งเตยก็ไม่ได้จะชี้นำว่าการทำตามทฤษฎีเป็นเรื่องที่ผิด แต่บางครั้งโลกของเรามีการก้าวหน้าและปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ยิ่งในยุคของเทคโนโลยีอย่างนี้ ยิ่งมีการปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แทบจะทุกวินาที ดังนั้น ทฤษฎีอาจไม่ตอบโจทย์มากนักในการทำธุรกิจ หรือ การตลาดในปัจจุบัน

Segmentation ที่ดีคือการที่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามช่วงสมัยหรือแต่ละยุคได้ เราไม่ควรยึดติดกับแม่แบบ Market Segmentation ที่เคยวางเอาไว้ หรือต้องทำตาม Market Segmentation ที่เคยวางมานาน หรือเขาว่ากันไว้ ปรับตัวและยืดหยุ่นให้เขากับสถานการณ์ พฤติกรรมผู้บริโภคและยุคของกาลเวลา จะเป็นการดีที่สุดนั่นเองค่ะ

3. ไม่อัปเดต Segments

ข้อ ผิดพลาด การทำ Segmentation ที่พบบ่อย เลี่ยงง่าย ๆ ด้วย 3 ข้อนี้

อีกหนึ่งในข้อ ‘ผิดพลาด’ ที่ควรมักมองข้ามตอนทำส่วนแบ่งตลาด คือ การไม่อัปเดต Segments ในมุมมองของเตย การทำ Market Segmentation ที่ดี คือ การศึกษากลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง หรือดูการเปลี่ยนแปลงของตลาดว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันเป็นแบบไหน เพื่อเพิ่มข้อมูลต่าง ๆ เข้าไปและทำให้ Market Segmentation นั้นมีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้น

นอกจากความแม่นยำที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังทำให้เราเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของเราได้ดีมากยิ่งขึ้น ครบถ้วนทุกมิติ เมื่อเราเข้าใจพวกเขาได้แม่นยำและดีมากขึ้น ผลที่ตามมาก็ไม่ต้องเดาแล้วล่ะค่ะ ว่ามันจะดีหรือร้าย ร้อยทั้งร้อยก็ต้องส่งผลดีอยู่แล้ว

การทำ Market Segmentation ครั้งเดียวและไม่ได้มีการอัพเดทข้อมูล หรือไม่ได้มีการตรวจสอบว่า Market Segmentation ที่ทำไปนั้นกลุ่มข้อมูลที่ใช้นั้นยังใช้ได้อยู่ไหม หรือมีข้อมูลที่ดีขึ้นในการใช้งานไหม จะทำให้การทำ Market Segmentation นั้นไม่ได้ผลอีกต่อไปนั่นเองค่ะ

เวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน แต่เราไม่เปลี่ยน คนจะเปลี่ยนแทนเราน่ะซิคะ เปลี่ยนใจไปแบรนด์อื่นนนน

สรุป ข้อ ‘ผิดพลาด’ การทำ Segmentation ที่พบบ่อย รู้ก่อนที่จะสายเกินไป

การทำ Segmentation นั้นมีประโยชน์และจำเป็นอย่างมากในการที่จะทำให้แบรนด์สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งนี้ ข้อผิดพลาดหรือ ‘หลุมพลาง’ ก็ยังมีอยู่ในทุกการกระทำ

อย่างในบทความนี้เองเราจะเห็นได้ว่า ข้อผิดพลาด เหล่านั้น เป็นสิ่งที่เราคิดไม่ถึงหรือมองข้ามมัน จนก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคตได้ และการที่เรารู้ถึงข้อผิดพลาดนั้น ๆ ได้ก่อน ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงของความผิดพลาดได้ รวมถึงลดแรงประทะในหลาย ๆ ด้าน เช่น การวางกลยุทธ์ การทำโฆษณา การทำการตลาด การลงทุน ที่จะต้องทำขึ้นมาใหม่ เมื่อเราต้องมานั่งแก้ไข ‘ความผิดพลาด’ ที่เกิดขึ้น

เตยหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาด หรือข่าวสารการตลาด แบบจัดหนักจัดเต็ม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *