Data Research Insight เทรนด์และพฤติกรรมการใช้ Food delivery platform

Data Research Insight เทรนด์และพฤติกรรมการใช้ Food delivery platform

ถึงคิวของเล่ม Data Research Insight ตลาดอาหารที่คึกคักมาก ๆ กันแล้วค่ะ ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า Food Delivery ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของตลาดอาหารและเดลิเวอรี่อย่างเป็นทางการแล้วโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดที่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ เหมาะกับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายและมีความจำเป็นต้องใช้ เพราะประหยัดเวลา ประหยัดค่าเดินทางมากกว่าไปซื้อเองซะอีก

แม้แต่บ้านไหนที่ทำกับข้าวเองแบบบ้านนุ่นก็ยังมีออเดอร์ในฟู้ดแอปอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2-3 ครั้งเป็นอย่างต่ำเลยค่ะ ฟู้ดแอปถือเป็นตัวกลางที่อำนวยความสะดวกให้ทั้งฝ่ายร้านค้า ไรเดอร์ และลูกค้าได้ใช้บริการสั่งอาหารร้านโปรดให้มาส่งได้ถึงหน้าบ้าน ถ้าไม่มีเวลาทำอาหาร หรือฝนตกไม่อยากออกจากบ้านหลายคนก็เลือกจะใช้บริการดังกล่าวค่ะ

และด้วยความแรงอย่างต่อเนื่องของการใช้บริการสั่งอาหารผ่าน Food Delivery ทำให้เหล่าผู้ให้บริการ แบรนด์ที่เป็นพาร์ทเนอร์แอปต่าง ๆ ที่มีในไทย ไม่ว่าจะเป็น LINE MAN, Grab, Robinhood, Foodpanda และ 7-Delivery ต่างก็มีแคมเปญสร้างความคึกคักให้โลกโซเชียลเป็นอย่างมาก เพจรีวิว ร้านอาหารก็ไม่น้อยหน้าขยันทำคอนเทนต์จนทำให้เราเห็นโปรโมชันต่าง ๆ มากมาย และแต่ละเจ้าก็มีโฟกัส Social platform ต่างกัน

ความสนุกสนานของรีพอร์ตเล่มนี้คือเราจะมาใช้ Social Data เหล่านั้นวิเคราะห์ว่าเทรนด์และสิ่งที่น่าสนใจจากฟู้ดแอปจะมีอะไรบ้างค่ะ

  • แอปไหนถูกพูดถึงมากที่สุด?
  • แต่ละแอปถูกพูดถึงบนแพลตฟอร์มไหน?
  • เมนูแบบไหนที่มีการโพสต์โปรโมตคู่ฟู้ดแอปบ่อยๆ
  • insight การพูดถึงบนโซเชียล
  • ช่องทางการชำระ
  • เรื่องอื่น ๆ ที่ควรอัปเดตอีกเพียบ

โดยทั้งหมดนี้เราจะหาคำตอบโดยใช้ Social Listening ที่ชื่อว่า Mandala ค่ะ เพื่อช่วยกวาดข้อมูลบนโซเชียล ภายใต้นโยบายความเป็นส่วนตัว และเหตุผลที่การตลาดวันละตอนมักใช้ Social Listening มาใช้เป็นแหล่งข้อมูล เพื่อให้ผู้อ่านได้ประโยชน์เกี่ยวกับแทรด์บน​​ Social Data นอกจากเป็นสิ่งที่เราถนัดและเชี่ยวชาญแล้ว เพราะตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่อยู่บนออนไลน์กันอย่างปฏิเสธไม่ได้ค่ะ

ใครที่กำลังทำธุรกิจในวงการนี้หรืออยากจะทำต้องอ่านเพื่ออัปเดตกันนะคะ สามารถนำไปใช้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมเติมเต็มข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ โดยผู้สนับสนุนใจดี Sellsuki  บริการ Solution ครบวงจรสำหรับคนทำธุรกิจ โดยสามารถดาวน์โหลดตัวเต็มได้ที่ฟอร์มท้ายบทความค่ะ

ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยค่ะ

โดยการรีดเอา insight จาก Social Data เราจะใช้ 8 ขั้นตอนสำหรับทำงานกับ Social Listening Tools โดยการตลาดวันละตอนกันค่ะ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

Research Keyword ซึ่งเป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ ดังนี้ :  Robinhood Foodpanda LINE MAN 7-Delivery และภาษาไทย แกร็บ ไลน์แมน ฟู้ดแพนด้า โรบินฮู้ด สั่งเซเว่น เซเว่น+เดลิเวอรี่ 7-11+เดลิเวอรี่

หากมีโควต้าของคีย์เวิร์ดเหลือ หรือไม่จำกัด แนะนำให้ใส่คำที่คนมักพิมพ์ผิดเข้าไปด้วยนะคะ และหากอยากให้ลึกขึ้น ลองดูคำที่ความหมายเดียวกันเช่น ‘ฟู้ดแอป’ แต่บทความนี้รีเสิร์จรอบนึงแล้วเนื้อหาเป็นข่าวและคล้ายกับที่มีอยู่แล้วเลยไม่ได้ใส่เข้ามาค่ะ

Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/07/2023 – 01/10/2023 หรือ Q3/2023 มีข้อมูล 68,944 Mention บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok 

และข้อมูลที่ได้เป็นโพสต์สาธารณะ และกวาดเข้ามาภายใต้นโยบาย Policy PDPA ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ

คีย์เวิร์ดที่นุ่นใช้จะเห็นว่ากว้างมาก แต่จำเป็นต้องใช้ค่ะ ดังนั้นข้อมูลที่เราได้มาจะมีบริการอื่น ๆ ของแอปดังกล่าวเข้ามาด้วย ไม่ว่าจะเป็น Grab Express หรือ JustGrab และอีกมากมาย

วิธีที่จะค่อย ๆ คัดกรองข้อมูลที่ไม่ต้องดการออก ณ ที่นี้คือโพสต์ที่ไม่เกี่ยวกับ Food Delivery มีแนะนำดังนี้ค่ะ

STEP 3 Cleansing Data

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ค่ะ > https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/top10-influencers-investment-money-2023-on-tiktok/

เพื่อ overview social data ฟีเจอร์ที่ Social Listening มักมีเป็นพื้นฐานอยู่แล้วคือ hashtag และ word cloud ค่ะ คำที่มีขนาดใหญ่คือมีการพูดถึงคู่กับคีย์เวิร์ดมากที่สุด

เห็นโดยคร่าวเลยว่าข้อมูลจะมีอะไรบ้าง เช่นแท็กที่น่าสนใจ คนใช้เยอะ ๆ อาหารสุขภาพ เมนูอาหาร ชื่อแพลตฟอร์ม พื้นที่ส่งอาหาร ร้านอาหาร ช่องทางการติดต่อ ทำให้เรารู้แล้วว่าเทรนด์ที่ต้องใส่ใจและขุดเพิ่มเป็นพิเศษคืออะไรค่ะ

STEP 4 Conversation Analysis

ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล ให้เหลือแต่โพสต์ Food Delivery ที่เราต้องการ ก็จะได้อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเทรนด์โดยรวมที่มีมากมายเหลือเกินเกือบ 7 หมื่นโพสต์ ซึ่งแปลว่าตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ insight อะไรไม่ได้ลึกนักตอนนี้ค่ะ 

ซึ่งในการอ่านข้อมูล เรามักจะเริ่มจากฟีเจอร์พื้นฐานในหน้า Dashboard แรกไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Top post เพื่อรู้ภาพรวมข้อมูลที่ได้รับความนิยมค่ะ ตัวอย่างเช่น

Social Data Stat Overview

พูดถึงคีย์เวิร์ดผ่าน​ Social Media ช่องทางไหน : ใช้ Platform Sharing และ Platforms Mention & Engagement

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions) – Facebook คือแพลตฟอร์มหลักในการโพสต์ถึงฟู้ดแอปค่ะ ตามมาด้วย Instagram > Twitter >​ YouTube > TikTok ตามลำดับ มาจากโพสต์ที่โปรโมตโปรโมชั่น จากเพจของแอปเอง ร้านอาหาร KOL เพจบอกโปร และเพจรีวิวที่โพสต์บ่อย ๆ ค่ะ

การมีส่วนร่วม (Engagement) – เราจะดูแบบ 2 Pie ค่ะ ซึ่งอันกลางคือ Engagement ที่รวมทุกแพลตฟอร์ม จะเป็นวิดีโอโฆษณาจาก LINE MAN และ Grab ที่มีวิวมากที่สุดจากโฆษณาค่ะ ซึ่งใน Q3/2023 ก็ทำให้เราเห็นว่าใครมาแรง และมากับแคมเปญอะไร โดยที่ไม่ต้องไปนั่งงมเสิร์จหาเองเลยค่ะ เครื่องมือประมวลผลให้เลย

การมีส่วนร่วมลบยอดวิว YouTube (Engagement ignore YT view) – เราควรดูข้อมูลหลาย ๆ มิติค่ะ เมื่อเอาไบแอสจากยอดวิว YT ออกทำให้เราเห็นศักยภาพของแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น Facebook จากโพสต์โปรโมตไอศรีมรถใหม่ผ่าน 7-Delivery App เพจกับข้าวกับปลาโอ

พูดถึงคีย์เวิร์ดผ่าน​ Social Media ช่องทางไหน : ใช้ Platform by Timeline

โพสต์ที่ได้รับเอนเกจสูงสุดของแต่ละแพลตฟอร์ม : ใช้ Top Mentions

Data Research Insight delivery

ทั้งฟีเจอร์ Timeline และ Top Mentions จะโชว์ให้เห็นเลยว่าโพสต์ไหนมียอด Engagement สูงสุด หมายถึงยอดไลค์แชร์คอมเมนต์ วิว รีทวิตใดใด การใช้งานที่แนะนำสำหรับมือใหม่และมือโปรที่เวลาน้อย ให้ดูวันที่มีการพูดถึงมาก ๆ ยิ่งโปรเจคที่ใส่ชื่อแบรนด์ควรจะมาเช็กเพราะอาจมีโพสต์ที่โจมตีแบรนด์ที่เราควรเข้าไปเทคแอคชั่น หรือโพสต์รีวิวที่เราควรเข้าไปขอบคุณ หรือคู่แข่งกับลังดันแคมเปญไหนอยู่บ้างนะ ทำแล้วเวิร์คไหม

Facebook – กับข้าวกับปลาโอ Plaocooking ไอติมเนสท์เล่ข้าวเหนียวมะม่วงน้ำกะทิ

Twitter – @LINEMAN_TH ใส่โค้ด LMFREENBECKY ลด 15% สูงสุด 50.-* ไม่มีขั้นต่ำ

Instagram – bb0un #NescafeGoldIceCream #ไอศกรีมเนสกาแฟโกลด์คาปูชิโน

TikTok – yakdonkao คอนเทนต์โปรโมต #LINEMANxTinderหาคนกินกัน

YouTube – LINE MAN Thailand LINE MAN BONUS สั่งเยอะลดเพิ่ม

จากข้อมูลเราจะเห็นว่าใน Q3/2023 การซื้อสินค้าจาก 7-11 ผ่าน 7-Delivery App นั้นสินค้าที่กำลังโปรโมตมาจากไอศกรีมสองรสชาติ Nestlé Ice Cream VS NESCAFÉ Gold Ice Cream จริงอยู่ที่เค้าขายไอศกรีมแต่มีการใช้คนดังมากมายและมีชื่อแอปติดไปด้วยให้อันดับที่สูง ถือเป็นสถิติที่ดีเลยค่ะ โปรโมตแอปไปกับสินค้าฮอตแบบนี้ก็ไม่เหงาไม่ยัดเยียดเหมือนโฆษณาให้โหลดแอปเฉย ๆ จริงไหมคะ?

STEP 5 Categorize Data

การจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีน อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดูที่นี่ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่ายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ

STEP 6 Data Visualization

ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำให้ PPT,​ Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ สำหรับฟิลเลอร์ มีตัวอย่างกลุ่ม Category ดังนี้ค่ะ

Food Delivery – Social Share

แอปใดจะถูกพูดถึงมากที่สุด : ใช้ Keyword & Hashtag > Share Of Input Keyword 

หิวมื้อดึก?

เพราะว่าคีย์เวิร์ดที่ใช้ในบทความนี้เป็นชื่อแพลตฟอร์มอยู่แล้ว เลยใช้ฟีเจอร์ Keyword & Hashtag > Share Of Input Keyword บนเครื่องมือ Mandala เพื่อดูผลลัพย์จำนวนการพูดถึง และจำนวนการมีส่วนร่วมได้ทันทีเลยค่ะ

โดยเรามาดูกันต่อว่าแต่ละแพลตฟอร์มใช้พื้นที่บน Social Media แบบไหนบ้างนะคะ วิธีการอ่านและวิเคราะห์เทียบกันได้หลายมุมมอง อย่างเช่น Grab > มีการโพสต์มากที่สุดบน Facebook และ Twitter เวลา 11.00 โมงก่อนมื้อเที่ยง และแพลตฟอร์มที่มีคนสนใจให้เอนเกจดีคือ Facebook และ IG เวลา 22.00 (คนโหยมื้อดึก?!)

ที่ผู้เขียนสนใจคือ LINE MAN เน้นใช้ Facebook หนักมากแต่เอนเกจบน TikTok จากครีเอเตอร์ที่ให้โปรโมตแคมเปญก็ดีไม่น้อยเลยค่ะ แคมเปญหน้าใช้ TikTok อีกแน่นอน แต่ปรับเวลามาลงคลิป 23.00 ก็น่าจะเรียกน้ำย่อยคนหิวดึกได้ดีเลยนะคะ

Overall 5 Categories – Food Delivery

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่า 68,944 Mentions นั้นเมื่อแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เราจะเจออะไรบ้าง 

ซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis จัดเป็น 5 กลุ่มตามภาพด้านบน

  1. หมวดอาหาร 44.5%
  2. หมวดเครื่องดื่ม 13%
  3. Insight mentions 10.5%
  4. TOP3 Promotion 26.7%
  5. การชำระเงิน 5.9%

จับกลุ่มข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อน : ใช้ Tag management

#1 ประเทศแห่งยำ และส้มตำ

บอกเลยว่าเมนูอาหารของไทยเราเก็ยข้อมูลไม่หวาดไม่ไหวจริงๆ มีมากกว่า 100 เมนู เลยจะลองจับหมวดหมู่เป็น  Sampling data ให้เห็นกันเพื่อใช้เป็นไกด์ไลน์ต่อได้ค่ะ จากการรีวิวข้อมูลในฟีดเจอร์เบื้องต้น และอ่านข้อมูลในช่วงคลีน ทำให้เห็นดังนี้ค่ะ

ประเทศไทยเรา เมนูยำยังไม่กระแสตกนะคะ นุ่นลองใส่หม่าล่าเข้ามาเทียบแล้วก็ยังไม่แสดงให้เห็นว่าน้องจะแซงเมนูยำใน Food Delivery อาจะเพราะจะต้องเป็นเมนูที่เหมาะกับการจัดส่งได้ง่ายด้วย บอกเลยว่ายำและส้มตำมาแรงค่ะ สำหรับเมนูหวานและของว่างก็เป็นเมนูที่เราเห็นบ่อยและคุ้นเคย

สิ่งนี้หมายถึงเมนู Red Cooking ค่ะ มีคนขายเยอะแล้ว เห็นข้อมูลแล้วก็อยู่ที่เราว่าจะเลือกเกาะกระแสก็ได้หรือจะสวนกระแสดีล่ะ ?

#2 TOP5 เครื่องดื่มที่ถูกโพสต์ กาแฟ No.1

เมนูเครื่องดื่มจากที่ทำเล่ม Data Research Insight ธุรกิจ แฟรนไชส์ เครื่องดื่มในไทย ก็ไม่รู้สึกแปลกใจที่กาแฟจะเป็นอันดับหนึ่งแล้วล่ะค่ะ ต้องบอกก่อนว่าผู้เขียนลองหาข้อมูลของเมนูที่หลากหลายกว่านี้ แต่คิดว่าร้านขายน้ำควรจะมีซิกเนเจอร์ใน TOP5 นี้เพื่อเรียกยอดขายประจำนะคะ

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอ้างอิง Number 24 ยังได้คาดไว้อีกว่าตลาดเครื่องดื่มจะเติบโตขึ้นถึง 66% ถึงปี 2568 ควบคู่ไปกับการจัดส่งอาหารเพระาฉะนั้นไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีเมนูเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้จิ้มหรือไม่ก็ตาม ให้เพิ่มเครื่องดื่มเข้าไปในเซ็ตด้วยดีไหมคะ?​ ^^

#3 การรีวิวเป็น 1 issue สำคัญของการพูดถึงแอป

จากการอ่านข้อมูลมาประมาณนึงก็เริ่มเห็นเลยว่ารูปแบบการพูดถึง หรือเคลมคู่กับการโพสต์โปรโมตเมนูอร่อยของร้านนั้น จะเน้นไปที่รีวิวค่ะ ไม่ว่าจะเป็นรีวิวจากร้านอาหาร ที่แคปมาอวดหน้าเพจ รีวิวรสชาติอาหาร รีวิวไรเดอร์ที่มาส่ง และแพลตฟอร์มที่ตัวเองสั่ง สิ่งเหล่านี้ถือเป็น Factor ที่คนทำธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่ควรใส่ใจมากที่สุดคือ

หากอยากปรับปรุงร้านเรียกยอดขายแต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดีก็ เริ่มจากขอรีวิวลูกค้าเก่า เอารีวิวมาทำคอนเทนต์ หรือจะดึงดูดด้วยภาพ (ที่ต้องตรงปก) ลองอ่าน Guideline เลือกรูปยิงแอด สำหรับธุรกิจอาหาร และ Food Delivery เพิ่มเติมได้เลยค่ะ

#4 TOP3 โปรโมชั่นที่ถูกพูดถึงคู่กับแอป

โปรโมชั่นนี่ขาดไม่ได้เลยที่จะเก็บสัดส่วน Social Data มาฝากค่ะ มาดูกันว่า Q3/2023 Food Delivery เค้ามีโปรแบบไหนกันบ้างจับเฉพาะ TOP3 มาฝากกัน

  1. ส่วนลดค่าอาหาร – ค่าส่ง ลดนิดลดหน่อย ซื้อถึงขั้นต่ำแล้วได้ราคาที่ถูกลง หรือเมนูที่ขายราคาพิเศษ
  2. ค่าส่งฟรี – แต่มีคนบ่นว่าโค้ดหมดเร็ว หรือไม่ได้ลดจริง ๆ ค่ะ อันนี้ระวังน้า ลูกค้าด่ายับเลยค่ะ ^^
  3. 1 แถม 1 / โปรแถมฟรีต่าง ๆ – มีทั้งแถวสินค้าแบบเดียวกัน หรือเมนูอื่น แถมโค้ก เป็นต้น

#5 TOP5 ช่องทางการชำระเงิน

ช่องทางการชำระเงินที่ตอนนี้โพสต์เป็นโพสต์ของร้านค้า แพลตฟอร์มเป็นส่วนใหญ่ จะแนะนำให้จ่ายโดยตัดผ่านธนาคารกัน บางเจ้าก็มีโปรเชื่อมจ่ายด้วยบัตรเครดิตครั้งแรกค่ะ เช่น LINE MAN ตามมาด้วยการจ่ายเงินสดให้ไรเดอร์ปลายทาง แต่มีเสียงบ่นจากไรเดอร์นิดหน่อยว่าไม่ชอบรับงานเงินสดค่ะ ชอบแบบลูกค้าจ่ายแล้วมากกว่า เพราะบางทีลูกค้าไม่รับอาหาร หรือหาลูกค้าไม่เจอะก็ว้าวุ่นเลย

ขอแปะเพิ่มมาฝากเจ้าของธุรกิจกันหน่อยสำหรับฝั่งอาหารคลีน ตอนนี้สายคลีนเค้าไปมุงกันอยู่ในแพลตฟอร์ม IG กันมากกว่าครึ่ง ยอดเอนเกจก็ดีด้วยค่ะ จับกลุ่มมาให้ดู 4 กลุ่มใหญ่ ๆ อาหารคลีน > ขนมคลีน > เครื่องดื่มคลีน > โยเกิร์ต

ใครอยากทำอาหารคลีนขายยังทันค่ะ ลองอ่านเทรนด์อาหารคลีนเพิ่มเติมที่นี่เลย

TOP 10 Facebook Page

ใช้ Top 10 Channels 

TOP10 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจากทุกโพสต์ที่มีคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. วงในบอกโปร 689.1K Engagement
  2. Wongnai 420.7K Engagement
  3. Wongnai for Business 325.7K Engagement
  4. LINE MAN 142.9K Engagement
  5. MK Restaurants 109.7K Engagement
  6. ผู้บริโภค 92.9K Engagement โพสต์ข่าว เรื่องฮา ๆ
  7. กับข้าวกับปลาโอ Plaocooking 70.7K Engagement Influencer
  8. GrabFood 69.7K Engagement
  9. BKreview – Food and Drink Reviews 65.5K Engagement ไอศกรีมโอริโอ 7-Delivery 
  10. ชอบโปร – ShobPro 64.3K Engagement

4 อันดับแรกเป็น LINE MAN แบบนี้ถามว่าทำไมพอจัดอันดับในพาร์ทแรก เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ แล้วอยู่อันดับ 3 ?

เป็นเพราะว่าตอนจัดอันดับ Food Delivery – Social Share เราใช้ข้อมูลจากทุกแพลตฟอร์มรวมกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็น Facebook,​ Twitter, Instagram, TikTok และ YouTube แต่หัวข้อนี้เราดูเฉพาะ Facebook แพลตฟอร์มเดียว ที่ LINE MAN เค้าเน้นสร้างการมีส่วนร่วมมากที่สุด

TOP 10 Instagram account

TOP10 Instagram ที่นับยอดเอนเกจจากทุกโพสต์ที่มีคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. punpromotion 87.2K Engagement
  2. baandokpud 228.7K Engagement ขนมไทย โบราณ บ้านดอกพุด
  3. james.spmk 219.1K Engagement Influencer x ไอศกรีมโอริโอ้ 7-Delivery 
  4. yinyin_anw 182.8K Engagement Influencer x ไอศกรีมโอริโอ้ 7-Delivery 
  5. bb0un 174.3K Engagement Influencer x ไอศกรีมโอริโอ้ 7-Delivery 
  6. phedphed_food 162.7K Engagement PhedPhed-ร้านเผ็ดเผ็ด
  7. bowcakehomemad 152.7K Engagement เค้กวันเกิด เค้กมินิมอล พร้อมส่งทั่วกทม.
  8. coffeebeansbydao 146.6K Engagement เค้กและอาหารสไตล์โฮมเมด
  9. the.earlybake 123.1K Engagement ไดฟูกุกล้วยเจ้าแรกในไทย
  10. skinnylicious.bkk 107.2K Engagement ขนมคลีน อร่อยไม่รู้สึกผิด♥️

Data Research Insight เทรนด์อาหาร Delivery เครื่องดื่มบนแอป โปรโมชั่นเด็ด แคมเปญดัง ดูทั้งหมดได้ในที่เดียวจริง ๆ

เห็นข้อมูลเยอะขนาดนี้ จริง ๆ แล้วนี่เป็นเพียงตัวอย่างที่อยู่ภายในเล่มตัวเต็มของ Data Research Insight Food delivery เท่านั้นนะคะ เพราะยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับร้านค้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องอีกแบบจัดเต็ม

หมวดอาหารคาวที่ย้ำว่าประเทศไทย เป็นประเทศแห่งยำ หมวดเครื่องดื่มไม่ต้องลุ้นเพราะกาแฟเป็น No.1 เสมอ เจาะดู Insight mentions ที่อาจะเป็น Factor สำคัญให้ธุรกิจนำไปปรับใช้และระวังไม่ให้พลาด

TOP3 Promotion ของ Food Delivery เข้าร่วมแล้วใช้ให้ดีระวังลูกค้าคอมเพลนเสียหาย สุดท้ายคือช่องทางการชำระเงินที่ตอนนี้โพสต์เป็นโพสต์ของร้านค้า แพลตฟอร์มเป็นส่วนใหญ่ จะแนะนำให้จ่ายโดยตัดผ่านธนาคารกัน บางเจ้าก็มีโปรเชื่อมจ่ายด้วยบัตรเครดิตครั้งแรกค่ะ เช่น LINE MAN

หวังว่าทุกคนจะเต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^

โดยนักการตลาด เจ้าของธุรกิจ และบุคคลทั่วไปทุกคนสามารถโหลดตัวเต็มได้ที่ด้านนี้เลยค่ะ สามารถนำข้อมูลไปปรับใช้ ช่วยในการตัดสินใจได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ขอแค่เครดิตกลับมาที่การตลาดวันละตอน Backlink กลับมาที่บทความนี้ และส่งลิงก์สื่อที่คุณนำไปต่อยอดมาที่ [email protected] เท่านั้นเอง รวมทั้ง Sellsuki ที่เป็นสปอนเซอร์ใจดีที่มาสนับสนุนการแชร์ข้อมูลดี ๆ แบบนี้ค่ะ

ติดตาม Sellsuki ช่องทางอื่น ๆ Webstie Facebook LINE : @sellsuki Tel. : 02-026-3250

อ่าน Data Research Insight by Social Listening เพิ่มเติมได้ที่นี่ และสำหรับคนที่อยากเรียนรู้การใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเองก็นี่เลยค่ะ

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

Social Data การตลาดวันละตอน X Sellsuki

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *