Data Research Insight เจาะเทรนด์การใช้ ChatGPT ของคนไทย

Data Research Insight เจาะเทรนด์การใช้ ChatGPT ของคนไทย

Data Research insight เพราะวิเคราะห์การพูดถึง เทรนด์ และการใช้งาน ChatGPT ที่ในเวลานี้หันซ้ายหันขวาไปใคร ๆ ก็พูดถึง เพราะเป็นหนึ่งใน Generative Ai ที่จัดอยู่ในหมวด Text-based จากค่าย OpenAI ที่โด่งดังและนิยมใช้งานกันมาก ซึ่งจะเป็นโมเดล LLM ปัจจุบันมีให้ใช้งานเวอร์ชั่น GPT-3.5 และ GPT-4 

และในช่วงต้นปี 2023 ที่ผ่านมาก็มีคอนเทนท์บนโซเชียลมีเดียมากมายที่กล่าวถึงและไม่ใช่แค่กระแสชั่วคราว เพราะได้มีการปรับใช้และมีการเปิดสอนเป็นคอร์สเรียนให้เห็นอย่างต่อเนื่อง และเป็นเทคโนโลยีที่จะแทรกซึมอยู่ในทุก ๆ วงการได้หากใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะมีหลายคนกลัวว่า AI จะมาแย่งงาน แต่ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคือ

คนที่มีโอกาสตกงานจะมีแค่คนที่ไม่ยอมอัปเดตให้ทัน และไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ให้เป็นมากกว่าค่ะ ต่อไปองค์กรจะต้องการทั้งคนที่ Management ได้ทั้งลูกทีมและเทคฯที่จำเป็น ช่วยให้การทำงานเร็วและมีประสิทธิภาพ ได้มากกว่าคนที่รู้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง

เพราะฉะนั้นในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าหนึ่งในเทรนด์ที่มาแรงสุด ๆ อย่าง​ ChatGPT กันว่ามีใครใช้งานแบบไหนบ้าง? ทำงาน-ทำการบ้าน แล้วเจาะดูบริบทชัด ๆ ว่าใช้งานย้งไง เขียนบทความ หาข้อมูล ทำคอนดทนต์ ทำ CV หาไอเดีย ?

โดยข้อมูล Social Data ที่นำมารายงานในบทความนี้จะใช้ Social Listening Tools เพื่อช่วยกวาดข้อมูลบนโซเชียล ภายใต้นโยบายความเป็นส่วนตัว และเหตุผลที่การตลาดวันละตอนมักใช้ Social Listening มาใช้เป็นแหล่งข้อมูล เพื่อให้ผู้อ่านได้ประโยชน์เกี่ยวกับแทรด์บน​​ Social Media เพราะตอนนี้ใคร ๆ ก็อยู่บนออนไลน์กันอย่างปฏิเสธไม่ได้ค่ะ

ซึ่งเราจะใช้ 8 ขั้นตอนที่เราใช้กับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา insight จาก Social Data ออกมาค่ะ 

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

Research Keyword ซึ่งเป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ ดังนี้ : ChatGPT (99%) แชตจีพีที (1%) แชทจีพีที (1%) มีทั้งชื่อเรียน และภาษาไทยที่คนไทนใช้พูดถึงบนโซเชียลกันค่ะ

Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/01/2023 – 01/10/2023 หรือ 9 เดือน มีข้อมูล 25,382 Mention บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok 

TikTok  รวมทั้ง Filter ให้ดึงเฉพาะโพสต์ที่มีภาษาไทยเท่านั้น

และข้อมูลที่ได้เป็นโพสต์สาธารณะ และกวาดเข้ามาภายใต้นโยบาย Policy PDPA ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ 

STEP 3 Cleansing Data

ในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้อง เลยเกิดขั้นตอนคลีนซิ่งเพื่อเคลียสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป ยิ่ง Data สะอาด และมีคุณภาพ ก็เหมือนเราเลือกคนสัมภาษณ์มาดี เป็นต้นค่ะ 

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ค่ะ > https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/top10-influencers-investment-money-2023-on-tiktok/

STEP 4 Conversation Analysis

ในระหว่างที่ทความสะอาดข้อมูล ให้เหลือแต่โพสต์ที่เราต้องการ ก็จะได้อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึง ChatGPT มีข้อมูลแบบไหนบ้าง เราก็เริ่มเจอคอนเทนท์ที่สำนักข่าวทั่วไป และข่าวไอที จุดประสงค์ของการใช้งาน ที่เป็นประโยชน์และอยากมาเล่าต่อในรีพอร์ตเล่มนี้ ซึ่งตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ insight อะไรไม่ได้ลึกนักตอนนี้ค่ะ 

ซึ่งในการอ่านข้อมูล เรามักจะเริ่มจากฟีเจอร์พื้นฐานในหน้า Dashboard แรกไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Top post เพื่อรู้ภาพรวมข้อมูลที่ได้รับความนิยมค่ะ 

Social Data Stat Overview

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions) – กว่าครึ่งเป็นการพูดถึงจากแพลตฟอร์ม Facebook ที่มีเพจข่าวคอยอัปเดตเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และโปรโมตขายคอร์สเรียน รวมทั้งคอนเทนต์ที่ใช้ ChatGPT ช่วยทำงาน สร้างไวรัล ส่วนใน Twitter ก็มีรีวิวความโหดและแชร์ประสบการณ์การใช้ทำให้ชาวทวิตเตอร์มาแชร์ตามจำนวนมาก

ทำให้เห็นเลยว่า สังคม Twitter ไม่ใช่แค่สังคมเด็กน้อยหรือตอ่งศิลปินเท่านั้น แต่เป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่สามารถขับเคลื่อนและกล่าวคือเทรนด์ใหม่ๆ ได้รวดเร็วและลึกซึ้งค่ะ หลายครั้งที่ได้รู้ insight จากทวิตเตอร์ลึกมาก ๆ เพราะไม่ต้องคีพ look เหมือนเล่นแพลตฟอร์มอื่น ๆ

การมีส่วนร่วม (Engagement) – บน YouTube จะมีคอนเทนต์วิดีโอรีวิว สอนใช้งานมากมาย แม้ไม่ใช่สายเทคโดยตรงแต่ก็มีการใช้ ChatGPT มาทำคอนเทนต์ค่ะ เรามาดูตัวอย่างกัน

ดู Timeline by Engagement โดยที่เรา Ignore ยอดวิวจาก YouTube ออกทัังหมดเพราะรู้แล้วว่า YouTube มีคอนเทนต์ประเภทไหนบ้าง ทำให้เห็นว่าแพลตฟอร์มที่สร้างเอนเกจได้ตลอดปีคือ Facebook แต่มีเดือนมีนาคมที่ TikTok ฮิตเล่นคอนเทนต์ที่ใช้ ChatGPT กันมาก ๆ

ซึ่ง TikTok ก็เป็นอีกแพลตฟอร์มที่ทำให้เปิดโลกหลาย ๆ อาชีพได้เหมือนกัน และยังทำให้เข้าใจเทรนด์ได้ง่าย เร็ว หลากหลายเพราะเป็นรูปแบบคลิปสั้นค่ะ

นอกจากนี้เราก็เห็นคอนเทนท์การใช้ ChatGPT ที่หลากหลายจาก creator เช่น การใช้ฝึกภาษาอังกฤษ การเขียนอีเมลให้สุภาพ ทำคู่มือการใช้แจกฟรี เป็นต้นค่ะ

ถัดมากที่ควรดูเพื่อเช็คกระแสที่ได้รับความนิยมของหัวข้อนั้น ๆ คือการใช้ฟีเจอร์ Top Mentions เพราะจะโชว์ให้เห็นเลยว่าโพสต์ไหนมียอด Engagement สูงสุด หมายถึงยอดไลค์แชร์คอมเมนต์ วิว รีทวิตใดใด

Facebook – NerdOptimize.com 11 คำสั่ง ใช้ ChatGPT ทำ SEO

Twitter – Twtter Account อยากให้ทุกคนโดยเฉพาะนักเรียน/นักศึกษาใช่ ChatGPT

Instagram – turktk ให้ #ChatGPT ช่วยเขียนอีเมล ขอขึ้น #เงินเดือน

TikTok – jnjaneee #email #marketing #เรื่องตลกคนทํางาน

YouTube – 9arm วิธีปลดล็อก ChatGPT

เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag จะเริ่มเห็นว่าโพสต์ที่กล่าวถึงจะมาจาก #ข่าวไอที ชื่อของสื่อและมีเดีย และวงการที่เหมาะจะใช้งาน เช่น #วงการธุรกิจ #ผู้ประกอบการ #เจ้าของแบรนด์ #การตลาดออนไลน์ #หาเงินออนไลน์

และเมื่อดูเป็น Word ทำให้เห็น Ai ตัวอื่น ๆ ที่ใช้งานหรือเป็นคู่แข่งใกล้เคียงกับ ChatGPT เช่น Bard, Microsoft หรือคำว่า Chatbot เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เราอ่านเทรนด์โดยรวมได้เลย ผู้เขียนมักใช้เช็กว่าควรจะเริ่มเก็บกลุ่มข้อมูลแบบไหนบ้างค่ะ

STEP 5 Categorize Data

การจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีน และอีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดูที่นี่ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ

STEP 6 Data Visualization

ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำให้ PPT,​ Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ สำหรับ ChatGPT มีตัวอย่างกลุ่ม Category ดังนี้ค่ะ

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่า 25,382 Mentions นั้นเมื่อแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เราจะเจออะไรบ้าง 

ซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis จัดเป็น 5 กลุ่มตามภาพด้านบน

  1. Type of content 37.6%
  2. Industry ใดที่ใช้ ChatGPT 34.2%
  3. Context ใช้ทำอะไร 20.5%
  4. TOP3 Plugin ที่ถูกพูดถึงบนโซเชียล 7.8%

#1 Type of content คอร์สเรียนคึกคัก

  1. คอร์สเรียน 34.9% : สอนใช้ ChatGPT มือโปร ฟรี / เสียเงิน / Youtuber / TikToker
  2. News update 33.5% : ข่าวสาร กระแสไวรัลฮิต เช่นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่างๆ
  3. แนะนำหนังสือ 9.2% : แนะนำหนังสือที่จะทำให้ใช้ ChatGPT เก่งขึ้น
  4. เกี่ยวกับปลั๊กอิน 8.1% : ข่าวปลั๊กอินใหม่แนะนำการใช้ปลั๊กอิน
  5. แชร์ Prompt 8% : เรียกยอดไลค์ แชร์ ด้วยการแจก Prompt
  6. How to use 6.2% : แนะนำการใช้งานทั่วไป คอนเทนต์ How to

ทั้ง 6 ประเภทนี่คือคอนเทนต์เมื่อพูดถึง ChatGPT ค่ะ ก่อนวิเคราะห์ข้อมูลเดาเอาไว้ว่าประเภทข่าวสารน่าจะมีมากที่สุด แต่กลายเป็นว่ามีคอร์สเรียนออนไลน์เยอะมาก ๆ เพื่อสอนใช้งานตั้งแต่เบื้องต้น ไปจนถึงหลักสูตรแบบเฉพาะอาชีพเลยค่ะ กระจายไปทุกแพลตฟอร์ม มีทั้งเสียเงิน และดูได้ฟรี ๆ บนยูทูปเลย

#2 Industry ใดที่ใช้ ChatGPT

  1. Education นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ 25.7% : อ่านต่อเพิ่มเติม > การใช้ ChatGPT & Generative AI ในด้านการศึกษา
  2. Marketing 16.7% > อ่านต่อเพิ่มเติม การใช้ ChatGPT ช่วยทำการตลาดแบบรู้ใจ Personalization
  3. Investment ที่ปรึกษาด้านการเงิน 14.1%
  4. IT / โปรแกรมเมอร์ 14.1%
  5. Writer 8.6%
  6. Content creator 7.2%
  7. Research 4.9%
  8. กฏหมาย 4.1% : นักกฎหมายชุมชน และผู้ช่วยเหลือด้านกฎหมาย 
  9. Graphic design 2.5%
  10. Data Analyst 1.1%

เดี๋ยวจะมาเจาะลึกขึ้นอีกในพาร์ทด้านล่างเลยค่ะ >

เจาะดูตัวอย่าง Social Data : TOP5 Industry เพิ่มเติม

เรามาดูโพสต์ที่น่าสนใจจากหัวข้อ TOP5 เพิ่มเติม เพื่อที่จะได้เห็นบริบทมากขึ้น ส่วนมากจะมาจาก Twitter เพราะเป็นแหล่ง insight ชั้นดีเลยค่ะ

Education มีหลายแง่มุม ทั้งใช้เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และอาจารย์ที่จับ Wording ที่ทำการบ้านด้วย Ai

Marketing ทำได้ทั้งช่วยร่าง Business Planning, Media Planning, ทำแบรนด์ ทำโฆษณา สร้างคอนเทนท์การตลาด

Investment อาทิเช่น Traders มีให้เทียบหุ้น ถามสถานการณ์ในอดีต นักวิเคราะห์ทางการเงิน และผู้ให้คำปรึกษาด้านการเงินส่วนตัว

IT / โปรแกรมเมอร์ หลายคนคงเห็นข่าวบ่อย ๆ เกี่ยวกับการให้ AI ช่วยเขียนโค้ด ตัวช่วยหนึ่งของโปรแกรมเมอร์ วิศวะกรซอฟต์แวร์ หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และนักวิเคราะห์ข้อมูล 

Writer ช่วยร่างไอเดีย เสริมจิตนาการ ตรวจเช็คคำผิดหรือแกรมม่า ความสุภาพของภาษา

#3 รีเสิร์จ Context ใช้ทำอะไร?

ดูกลุ่ม Industry กันไปแล้วมาดูการใช้งานจริง ๆ กันบ้าง ซึ่งจะจำแนกได้ละเอียดขึ้นอีกค่ะ

  1. เขียนอีเมล์ 18.2%
  2. เขียนบทความ 15.8%
  3. ฝึก / แปลภาษา 13.1%
  4. หาข้อมูล 12.9%
  5. สร้างรายได้เสริม 7.8%
  6. Data Analysis 6.8%
  7. สายมู ดูดวง ทำนาย หวย 5.9%
  8. ทำการบ้าน / assignments 5.6%
  9. Presentation / Proposal 3.4%
  10. สร้างวิดีโอ 3.3%
  11. สร้างกราฟิก 2.3%
  12. Grammar 2.3%
  13. Resume 1.7%
  14. เทียบหุ้น <1%

ยังมีจิปาทะอีกมากที่ชาวโซเชียลมีเดียใช้แล้วมาแชร์กัน เช่นการเขียนแพลนทริปเอย ช่วยแนะนำร้านอร่อย เป็นต้น

ตัวอย่าง หัวข้อการเขียนอีเมล

เอาตัวอย่างของอันดับ 1 มาให้ดูเพิ่มเติมอีก นั่นคือการเขียนอีเมลก็มีหลายจุดประสงค์มาก ๆ ไม่แปลกใจที่อยู่อันดับแรกเพราะหลายคนจำเป็นต้องใช้อีเมลในการทำงาน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครงานไปจนถึงการติดต่ออย่างเป็นทางการอื่น ๆ

คอนเทนต์บนโซเชียลแชร์ว่าปกติใช้เวลาเขียนอีเมลนานมากเพราะส่วนใหญ่ต้องเป็น super formal แต่พอให้ ChatGPT ช่วยแต่งเติมหรือร่างให้งานก็เสร็จเร็วขึ้นมาก ไม่ต้องเสียเวลากับการเขียนเมลนาน ๆ อีกแล้ว แถมยังช่วยเช็คคำผิดได้ด้วย

#4 TOP3 Plugin by social data

ในปีนี้มีปลั๊กอินที่เปิดตัวให้ใช้งานบน ChatGPT อยู่จำนวนมาก ราว ๆ 700-800 ปลั๊กอิน ซึ่งก็จะมีคอนเทนต์การสอนใช้ส่วนมากจากต่างประเทศค่ะ ส่วนในไทย ขอจัดอันดับ TOP3 ที่มีข่าวประชาสัมพันธ์และได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ มีดังนี้ (Based on social data mentions)

Canva

CapCut อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน อย่างละเอียด > เริ่มต้นใช้ ChatGPT x CapCut ตัดคลิปวิดีโอ เพื่อสร้างรายได้ ครีเอทบรีฟ

Botnoi Voice

@botnoivoice

🗣️ Botnoi Voice x CapCut x ChatGPT ~///~ ใครว่าเสือ 3 ตัวอยู่ถํ้าเดียวกันไม่ได้ วันนี้เรามาดูวิธีสอนการทำคลิป “สร้างวิดีโอด้วย AI” ง่าย ๆ เท่านี้ก็สามารถสร้างคอนเทนต์ขั้นเทพได้แบบเหงื่อที่มือยังไม่ออก 👉 https://voice.botnoi.ai/ ใครอยากลองของใหม่เวอร์ชัน Line 👉 @117oiwsv ด้วย ฟรี! 10 points #Botnoi #Botboivoice #AI #VoiceAI #Capcut #ChatGPT

♬ เสียงต้นฉบับ – Botnoi Voice – Botnoi Voice

ตัวอย่างการใช้ Noteable plugin ของ ChatGPT เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้ค่ะ >

DeFiLlama สายคริปโต  สุดยอดการคำนวณ แก้สมการ สร้างกราฟ อินทิเกรต อนุพันธ์ และ Wolfram

ฟีเจอร์เสียง Voice Conversation ก็มีการพูดถึงมาก

มีการอัปเดตเรื่อย ๆ เลยสำหรับฟีเจอร์เสียงนี้ แต่จะเปิดให้ใช้ในระดับ Plus และ Enterprise เท่านั้นเลยไม่ค่อยมีคอนเทนต์สอนฟรี หรือพูดถึงเท่าไหร่นอกจากข่าวสารเท่านั้นค่ะ ว่ากันง่าย ๆ คือถือเป็นฟีเจอร์ที่เรียกเสียงฮือฮาได้แต่ยังไม่มีใครต่อยอดมาทำคอนเทนต์ให้ไวรัลได้เหมือนช่วงแรก ๆ

ฟีเจอร์ Advanced Data Analysis (อัพโหลดไฟล์ได้) ถูกใจสาย Data Analyst 

โดยรวมแล้วการพูดถึงปลั๊กอินและฟีเจอร์มีให้ติดตามอยู่ไม่น้อย แสดงว่าเทรนด์การใช้ ChatGPT ไม่สามารถมองข้ามได้ไม่ว่าคุณจะอยู่ในสายงานไหนค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม ทุกคอนเทนต์จะมี concern เสมอว่าอย่าเชื่อทันที จะต้องเช็คข้อมูลให้ดีอีกครั้ง เพราะมีความมั่วอยู่พอสมควรหากเรา Prompt ไม่ได้ดีมากจริง ๆ

ลองสรุป Feedback หลังใช้งานมาดังนี้ คือข้อดีก็มีมาก ลดระยะการทำงานอย่างเห็นได้ชัดกับการทำงานที่ต้องการดราฟเร็ว ๆ เช่นกันเขียนอีเมล หาข้อมูล แปลภาษา หลายคนสนับสนุนอยากให้ทุกคนลองใช้ดู แต่ยังต้องระวังว่าข้อมูลจะมั่ว และบางคนไม่ยอมรับการใช้ ChatGPT มาช่วยทำงานค่ะ เช่น การบ้าน ที่มีทั้งอาจารย์ที่จับได้และไม่อนุญาตเด็ดขาด จุดนี้ต้องดูบริบทกันให้ดีค่ะ

ทั้งช่วงต้นปีก็มีข่าว่า The NewYork Times บล็อกโปรแกรมเก็บข้อมูลของ OpenAI ไม่ให้ใช้ฝึก ChatGPT อีกด้วย

TOP5 Facebook page by engagement

TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจากทุกโพสต์ที่มีคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. ทันโลกกับ Trader KP 216.9K Engagement
  2. Extreme IT 63.8K Engagement
  3. CatDumb 53.7K Engagement
  4. Blognone 49.5K Engagement
  5. THE STANDARD WEALTH 48.4K Engagement

TOP5 Instagram by engagement

TOP5 Instagram ที่นับยอดเอนเกจจากทุกโพสต์ที่มีคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. Turktk 16.1K Engagement
  2. Thairath 12.7K Engagement
  3. iphonemod 11.8K Engagement
  4. BrandThink 10.5K Engagement
  5. long.longthun 9.6K Engagement

TOP5 Youtube by engagement

TOP5 YouTube channel ที่นับยอดเอนเกจจากทุกโพสต์ที่มีคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. 9arm 1.02M Engagement
  2. THE STANDARD WEALTH 702.8K Engagement
  3. ก๊อปวาง – สอนหาเงินออนไลน์ 508.1K Engagement วิธีหาเงินออนไลน์2023 แบบ Passive income
  4. DroidSans 503.7K Engagement
  5. TNN Online 481 K Engagement

Data Research Insight การใช้และการพูดถึง ChatGPT ของคนไทย

เป็นอย่างไรบ้างคะกับบทวิเคราะห์เทรนด์ที่จะเข้ามาทำให้ทุกวงการรวมทั้งการตลาด ทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพได้ โดย Data Research Insight เกี่ยวกับ ChatGPT ในไทยนี้ก็เน้นไปที่การหาว่าคนไทยใช้ทำอะไรบ้าง ผลคือเพื่อการศึกษาจะได้รับการพูดถึงมากที่สุดเลยค่ะ

ไม่ใช่แค่ฝั่งนักศึกษาแต่ฝั่งอาจารย์เองต่างก็เร่งปรับหลักสูตรให้ทันยุคสมัยเพื่อที่จะผลิตคนให้พร้อมทำงาน แต่ตามที่เราเห็นก็ยังมีอาจารย์ที่ไม่เข้าใจและไม่ยอมรับว่าการใช้เทคโนโลยีช่วยทำการบ้าน = ไม่ได้ใช่ความสามารถ และไม่ต้องการให้ใช้ Ai ถึงขั้นหาเครื่องมือจับผิดอีกที

ซึ่งเรื่องแบบนี้อาจะขึ้นอยู่กับ Case by case ที่บางเนื้อหาต้องการการวิเคราะห์จากตัวนักศึกษาเองจริง ๆ แต่ส่วนตัวผู้เขียนมองว่า เป็นตรรกะเดียวกับที่เรามีเครื่องคิดเลขและนักเรียนไทยก็ยังต้องท่องสูตรที่หลาย ๆ อย่างพอมาทำงานจริงมันไม่ได้ใช้ กลายเป็นว่าการศึกษาหลักสูตรเก่านั้นล้มเหลวสำหรับนักศึกษาบางคนและไม่ช่วยให้เราพัฒนาได้เร็วกว่าหลายประเทศได้ เพราะเรามีตัวช่วยอย่างเทคโนโลยีขนาดนี้แล้ว

ทำไมเราถึงไม่ผลักดันวงการศึกษาให้พัฒนาจริง ๆ ซักทีโดยการสอนให้คนใช้เทคโนโลยีเป็น แทนที่จะเน้นจำไปสอบ เพราะผลก็เห็น ๆ อยู่แล้วว่าแบบไหนจะทำให้ตลาดแรงงานพัฒนาได้มากกว่ากัน หรือใครจะได้เปรียบมากกว่ากันเมื่อไปสมัครงาน

แต่อย่างไรก็ตามนี่เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนหลังได้อ่านเทรนด์การใช้ ChatGPT ทั้งหมดค่ะ เพราะเราจะเห็นว่าเราสามารถใช้ได้จิปาทะมากกว่าที่คิด แค่วางแผนทริปก็ช่วยได้ ใครทำงานเลขาที่ต้องใช้หัวทั้งวิชาการสรุปประชุม แล้วต้องทำแพลนให้ทริปธุรกิจของหัวหน้าอีก ตัวนี้ก็ช่วยได้ แต่ต้อง***ไว้เลยว่าความมั่วของข้อมูลยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะถ้าถามเป็นภาษาไทยหรือบริบทไทย เจ้า ChatGPT ชอบนั่งเทียนเขียนตอบกลับมาค่ะ

สิ่งที่แนะนำคือ

ต้องฝึกสร้าง Prompt ให้เป็น บรีฟเป็นก็จะได้งานที่ถูกใจมากกว่า

ให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก และค่อย ๆ ตีกรอบข้อมูลให้ลึกขึ้นทีละขั้น พร้อมขอแหล่งอ้างอิงเสมอ และรีเช็คซ้ำ ๆ ไม่ต่างอะไรกับการทำงานเป็นทีมเลยค่ะที่เราต้องช่วยเช็คงานกัน ข้อมูลอินเทอร์เน็ตมีทั้งจริงและมั่วเช่นกัน อย่างเช่น 1. ถามทฤษฎีหนึ่งก่อนพร้อมอ้างอิง > 2. แล้วค่อยขอตัวอย่างเคสจากเรื่องนั้น > 3. ขอบทวิเคราะห์เพิ่มเติม > 4. ขอให้ช่วยแปลภาษา

หลังจากนั้นให้เรานำมาปรับให้เข้ากับจุดประสงค์ที่ต้องการใช้ข้อมูลให้ดี สิ่งที่เกิดขึ้นคือเราประหยัดเวลาเรื่องการหาข้อมูลไปได้ประมาณนึง มีดราฟ หรือไกด์ไลน์ในการทำงานนั้นเองค่ะ

ซึ่ง AI ด้าน Text-based ก็ไม่ได้มีแค่ตัวเดียว ลองดูบทควา เปรียบเทียบความต่าง ChatGPT ChatGPT Plus Google Bard และ Alisa เพิ่มเติมได้ค่ะ

หวังว่าทุกคนจะเต็มอิ่มกับบทความการเจาะลึกว่าคนไทยใช้ ChatGPT กันอย่างไร เทรนด์การพูดถึงมากเท่าไหร่ไปไม่มากก็น้อยนะคะ หากชอบบทความแบบนี้ หรืออยากให้ใช้ Social Listening เจาะลึกเรื่องอะไร ก็อย่าลืมคอมเมนต์เข้ามาบอกกันน้า

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 21 

คุณอุ้มเป็นผู้เรียน Social Listening Analytics รุ่น 21 ของการตลาดวันละตอนที่กลับมา Present การบ้านหลังจากที่ได้เรียนผ่านไป 1 สัปดาห์ เธอเอาไปทำงานกันของลูกค้าอาหารแมวรายหนึ่ง ทำให้พบ Data Insights มากมายที่คาดไม่ถึง

เธอใช้แนวทาง 8 ขั้นตอนการใช้ Social Listening โดยการตลาดวันละตอน (ที่อยู่ในหนังสือ Social Listening ด้วย) ไล่ทำตามทุกขั้นตอนจนทำให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนโดยไม่หลงทาง

  1. Set Objective & Research Keywords
  2. Set Social Listening & Collecting Data
  3. Cleansing Data
  4. Conversation Analysis
  5. Categorized Data
  6. Visualization
  7. Summary Insights
  8. Strategy & Recommendation

ถ้าดูจากภาพจะเห็นว่า เธอพบว่าอาหารแมวชนิดไหนได้รับความสนใจมากที่สุด หรือ Insights อาหารแมวจากช่วงวัยที่น่าสนใจ ว่าคนเลี้ยงแมวใส่ใจเมื่อแมวเริ่มอายุเยอะกว่าแมวโตทั่วไป จนสุดท้ายออกมาเป็นกลยุทธ์เพื่อนำไป Set Business Strategy & Marketing Communication ต่อ

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย~

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *