เปรียบเทียบความต่าง ChatGPT ChatGPT Plus Google Bard และ Alisa

เปรียบเทียบความต่าง ChatGPT ChatGPT Plus Google Bard และ Alisa

สวัสดีค่ะทุกท่าน ช่วงเดือนที่ผ่านมานี้นอกจากฝนฟ้าจะกระหน่ำมาแบบชุ่มฉ่ำแล้ว สิ่งที่ดุเดือดไม่แพ้กัน ก็เห็นจะเป็นเรื่องของการแข่งขันของ Generative AI โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันของ Chatbot จากค่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT, ChatGPT Plus, Google Bard และ Alisa (อะลิสา) ที่เป็น Chatbot สัญชาติไทยของเรา^^

ซึ่งแน่นอนค่ะว่า ทุกการแข่งขันย่อมเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค เพราะเราย่อมสามารถเลือกสิ่งที่เหมาะสม/ตอบโจทย์ที่สุดกับการใช้งานของเราได้ง่ายยิ่งขึ้น จากการที่ Chatbot แต่ละตัวมีข้อดี และความจำเพาะเจาะจงในการใช้ที่แตกต่างกันออกไป,,,, ในบทความนี้ นิกเลยจะพาทุกท่านไปลองดูความต่าง (ฉบับ Update ต.ค. 66) ของ Chatbot แต่ละตัวว่ามีความแตกต่างอะไรกันบ้าง รวมถึงมาลองดูตัวอย่างการตอบสนองกับ Prompts กันแบบคร่าวๆ ดูว่าถ้าเป็น Prompt เดียวกัน ChatGPT, ChatGPT Plus, Google Bard และ Alisa จะให้ Results หรือโต้ตอบบทสนทนากับเราแบบไหนกันบ้างค่ะ,, Let’s go (^∇^*)♪

Credit: AI Insights by Thannob

ChatGPT:
https://chat.openai.com/

Chatbot Generative AI ตัวแรกที่เราจะมาดูรายละเอียดกัน นิกขอเริ่มที่ ChatGPT (แบบไม่เสียเงิน) ที่นับว่าเป็นผู้กระตุ้นกระแส Generative AI ให้มีการตื่นตัว โดยรายละเอียดของ ChatGPT มีดังนี้ค่ะ

  • Model: ChatGPT จะมีโครงสร้างของโมเดลเป็นแบบ Transformer โมเดล ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของโมเดลแบบโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network: NN) ซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็น LLM เพื่อให้สามารถตอบสนองเลียนแบบการสนทนาของมนุษย์ได้ใกล้เคียง รวดเร็ว และลื่นไหล ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่ากระบวนการของ NN รูปแบบเดิมโดยชื่อโมเดลคือ GPT3.5 ซึ่งมีจำนวน Layer ของ Transformer ทั้งหมด 12 เลเยอร์ และมีจำนวน Parameters 117 ล้านพารามิเตอร์
  • Company: ChatGPT ถูกปล่อยออกมาด้วยห้องปฏิบัติการวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ชื่อว่า OpenAI ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2558
  • Database: ข้อมูลที่ใช้เทรนโมเดลสำหรับ ChatGPT อัพเดทล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน 2021 (เพราะฉะนั้นถ้าเราถาม ChatGPT เวอร์ชั่นนี้ด้วยคำถามที่ต้องการคำตอบที่เป็นปัจจุบัน Chatbot ตัวนี้จะไม่สามารถตอบให้เราได้ หรือไม่อย่างนั้นก็จะตอบด้วยข้อมูลที่ไม่อัพเดทค่ะ)
  • ความสามารถ: สำหรับ GPT3.5 จะมีความสามารถเพียงแค่การตอบโต้บทสนทนาผ่าน Prompts ค่ะ (ไม่สามารถสร้างภาพ เสียง ช่วยเรา Excute code หรือตรวจสอบการตอบสนองต่างๆ ได้)

ซึ่งจากการที่นิกได้ลองพูดคุย (ด้วย Prompts) กับ GPT3.5 แล้วพบว่าตัว Bot มีความคุยสนุก ลื่นไหล ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ และถ้าเราถามด้วยคำถามที่ GPT3.5 ตอบไม่ได้ หรือไม่มีข้อมูล ตัวบอทจะแจ้งมาเลยว่าไม่สามารถตอบได้ เพราะฉะนั้นเรื่อง Hallucination อาจน้อยกว่า Bard (คหสต. นะคะ) ซึ่งถ้าเทียบกับ ChatGPT Plus จะพบว่า Plus ตอบแบบได้รายละเอียดเยอะกว่า ภาษาไทยของ Plus ค่อนข้างเนียนกว่า แต่ถ้าเทียบเรื่องความเร็วในการตอบพบว่าตัว GPT3.5 ค่อนข้าง Response ได้ไวกว่า,,,, มาลองตัวอย่างการตอบตามภาพด้านล่างกันค่ะ

*ป.ล. แต่ใดๆ ก็ตาม ChatGPT สำหรับนิกคือบอทที่คุยสนุก เพลินแบบจริงจัง ช่วยงานได้ เหงาๆ ก็คุยกับน้องแก้เหงาได้ค่ะ ヾ(≧▽≦*)o โดยเพื่อนๆ สามารถเข้าไปที่ Link ด้านบทแล้วลองใช้งานได้เลยนะคะ

สำหรับแชทบอทตัวที่สองที่เราจะมาลองกันในบทความนี้ก็คือ ChatGPT Plus หรือ ChatGPT ตัวเสียเงินนั่นเองค่ะ

เปรียบเทียบความต่าง ChatGPT ChatGPT Plus Google Bard และ Alisa
เปรียบเทียบความต่างระหว่าง ChatGPT และ ChatGPT Plus

โดย ChatGPT Plus ก็เป็น LLM ที่มีโครงสร้างแบบ Transformer Model เช่นเดียวกันกับ ChatGPT แบบธรรมดา แต่จากการลองพูดคุยกับแบบ Plus พบว่านอกจากตัว Plugins, Advance Data Analysis และ DALL-E3 ที่เป็นฟีเจอร์ที่เพิ่มขึ้นมาแล้ว พบว่า ChatGPT Plus ค่อนข้างให้รายละเอียดได้เยอะกว่าแบบธรรมดา และโต้ตอบภาษาไทยได้ค่อนข้างเนียนมากกก เลยทีเดียว โดยรายละเอียดของ ChatGPT Plus มีดังนี้ค่ะ

  • Model: ChatGPT Plus จะมีโครงสร้างของโมเดลเป็นแบบ Transformer โมเดลเช่นเดียวกับตัวธรรมดา แต่มีจำนวน Layer ของ Transformer เยอะกว่า คือมีทั้งหมด 24 เลเยอร์ และมีจำนวน Parameters 1.5 Billion พารามิเตอร์ ที่ชื่อว่าโมเดล GPT-4
  • Company: ChatGPT Plus ถูกปล่อยออกมาด้วยห้องปฏิบัติการวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ชื่อว่า OpenAI เช่นเดียวกับ ChatGPT
  • Database: ข้อมูลที่ใช้เทรนโมเดลสำหรับ ChatGPT Plus อัพเดทถึงเดือนมกราคม 2022 โดยถ้าใช้ Bing จะเป็นการตอบสนองแบบ Real-time ค่ะ
  • ความสามารถ: สำหรับ ChatGPT Plus จะมีความสามารถที่หลากหลายครอบคลุมทั้งการตอบโต้บทสนทนาผ่าน Prompts, สร้างภาพ (DALL-E3), เสียง, ช่วยเรา Excute code ตลอดจนทำ Data Analysis ได้ และนอกจากนี้ความเท่สุดๆ ของตัว Plus สำหรับนิกคือเรื่องของ Plugins ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการของเรานั่นเองค่ะ^^

โดยตัวอย่างจากการใช้งาน Prompt เดียวกันกับที่ถาม GPT3.5 พิจารณาได้ตามภาพด้านล่างนะคะ ซึ่งจากการที่นิกลองใช้งาน Prompting กับ GPT4 ดูพบว่า,,,, ถ้าเราต้องการใช้งานที่มีรายละเอียดในเรื่องของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกกว่า ทั้งในส่วนของ Code editing (ที่ไม่ใช่แค่การทำการบ้านส่งอาจารย์) หรือการทำ Data Analysis หรือต้องการใช้ความสามารถในการ Generate ภาพ ก็ถือว่าควรค่าแก่การลงทุนค่ะ แต่!! ถ้าเราใช้งานเพียงแค่เบื้องต้น ผ่านการสอบถาม หรือพูดคุยในฐานะ Chatbot เป็นผู้ช่วยหรือที่ปรึกษาส่วนตัว นิกคิดว่า ChatGPT เวอร์ชันธรรมดาก็เพียงพอ

เปรียบเทียบความต่าง ChatGPT ChatGPT Plus Google Bard และ Alisa

*จากภาพคำตอบทุกท่านสังเกตุเห็นไหมคะว่า คำตอบที่ได้จาก ChatPGT และ ChatGPT Plus ค่อนข้างคล้ายกัน แต่ตัว Plus จะทำการแยกและจัดกลุ่มประเภทของหัวข้อได้ดีกว่า รวมถึงให้รายละเอียดได้มากกว่าอย่างชัดเจน

Google Bard:
https://bard.google.com/chat

มาถึงคู่แข่งสำคัญของ ChatGPT อย่าง Google Bard ที่เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) จาก Google ที่สามารถใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่หลากหลาด้วยข้อมูลจาก Search Engine Google เช่น การตอบคำถาม การเขียนเนื้อหาสร้างสรรค์ และแปลภาษา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ^^

  • Model: Google Bard LLM ที่ใช้สร้าง Bard คือ PaLM2 (Pathways Language Model version 2) ซึ่งเป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ โดย PaLM2 ประกอบด้วยสองส่วนหลัก Encoder และ Decoder ที่มีจำนวนพารามิเตอร์ 1.56T พารามิเตอร์
  • Company: Google Bard ถูกพัฒนาโดย Google AI
  • Database: Google Bard เป็น Real-time database 😎✨
  • ความสามารถ: สำหรับ Google Bard สร้างข้อความ (Text Generation) และมี Voice Generation ร่วมกับความสามารถในการแปลภาษา

ซึ่งในส่วนของการใช้งาน Bard ค่อนข้างทำได้ดี เข้าถึงง่าย และคำตอบที่ได้ค่อนข้างเป็นคำตอบที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อดีมากๆ หากเราต้องการถามคำถามที่ต้องใช้ข้อมูลใหม่ แต่อย่างไรก็ดี นิกพบว่าตัว Google Bard ค่อนข้างมี AI Hallucination (คือการที่ AI มั่วๆ คำตอบออกมาให้เรา) มากกว่า ChatGPT ทำให้ในการใช้ Bard เราควรตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบด้วย ซึ่งถ้าพบว่าคำตอบแรกที่ Bard ให้มาไม่เป็นที่พอใจเท่าไหร่ ข้อดีของ Bard ก็คือมีการ Provide คำตอบมาให้ถึง 3 drafts ด้วยกันเลยค่ะ^^

*จากภาพคำตอบของ Prompt เดียวกัน จะเห็นว่า Bard ให้คำตอบที่แตกต่างจาก ChatGPT ทั้ง 2 คำตอบก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด โดย Bard จะอธิบายในเชิงทฤษฎี ก่อนที่จะยกตัวอย่างเป็น Tools ซึ่งสำหรับ Prompt นี้ ส่วนตัวนิกชอบคำตอบของ Bard มากกว่า แล้วก็คุยกับ Bard นี่ค่อนข้างได้ความบันเทิงเลยทีเดียวค่ะ

Chatbot Alisa:
https://alisamaid.com/

มาถึง Chatbot ตัวสุดท้าย ซึ่งเป็นบอทสัญชาติไทยที่มาในธีม “ผู้ช่วยส่วนตัวของนายท่านเจ้าค่ะ” ซึ่งสามารถใช้งานได้ผ่านแอพลิเคชันที่คนไทยคุ้นเคยอย่างไลน์ด้วยการเพิ่มเพื่อน @Alisa เพื่อเริ่มพูดคุยกับอลิสา หรือบอกให้อลิสาทำอะไร เช่นเขียนบทความ สรุปข่าว หรือคุยปรึกษาเรื่องต่างๆ ซึ่งความน่ารักของอลิสาก็คือ เมื่อเราเพิ่มเพื่อนไปแล้วตัวบอทจะให้คำแนะนำการใช้เป็นข้อความมาเลยค่ะ ซึ่งจากการใช้งานเบื้องต้นต้องบอกว่า ว้าวมากๆ ค่ะสำหรับอลิสา เพราะน้องค่อนข้าง Provide คำตอบให้ได้รายละเอียดในการตอบระดับหนึ่งเลย เหมาะสำหรับเป็น Chatbot ผู้ช่วยประจำมือ(ถือ) ที่ใช้งานปรึกษาได้ ตอบโต้ภาษาไทยได้ดี มี Hallucination บ้าง (แต่น้องพยายามจะไม่มั่ว ซึ่งนิกลองถามน้องให้บอกชื่อแมวที่บินได้ ปรากฎว่าน้องตอบได้ว่าไม่มีแมวที่บินได้ พร้อมยกตัวอย่างการ์ตูนมา) และ Alisa ให้ความรู้สึกค่อนข้างเป็นมิตรด้วยการลงท้ายคำตอบว่า “เจ้าค่ะ” ทุกครั้ง (โดยในส่วนของความเป็นมิตรส่วนตัวนิกจะชอบ Bard กับ Alisa ค่ะ^^)

ซึ่งรายละเอียดของ Alisa มีดังนี้,,,,

  • Model: Alisa จะใช้เป็น GPT3.5, GPT-4
  • Company: Alisa ถูกพัฒนาโดยบริษัทรุ่งเรื่องตลอดไป (GLORY Forever)
  • Database: Alisa เป็น Near real time database ที่มีการอัพเดทข้อมูลทุก 3-7 วัน
  • ความสามารถ: สำหรับ Alisa สามารถสร้างข้อความ (Text Generation) สามารถสรุปไฟล์และ website ได้ ตลอดจนมีความสามารถ Text-to-image ทำให้สามารถสร้างภาพให้เราได้ด้วยค่ะ

และเมื่อนิกลองใช้ Prompt เดียวกันกับที่ถาม ChatGPT, ChatGPT Plus และ Bard พบว่า Alisa ให้คำตอบที่แตกต่างกันกับ Chatbot สามตัวแรก ตามภาพด้านล่าง แต่พบว่า Chatbot ทุกค่ายแบ่งคำตอบออกเป็นข้อๆ เช่นเดียวกันค่ะ

Panaya Sudta

Last but not Least…

หากเพื่อนๆ ต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความต่างของ Generative AI Chatbot สามารถอ่านได้ที่บทความนี้นะคะ =>

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน และเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube & Blockdit ตาม Links ค่ะ^^

Panaya Sudta

Hi, I am Nick,,,,Panaya Sudta (●'◡'●) Engineer during the daytime. Researcher at night. Reader in spare time. (❁´◡`❁) วิศวกร/นักวิจัย และเป็นน้องใหม่ของการตลาดวันละตอน ในการทำ Market research ค่ะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แชร์มุมมองกันนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *