เริ่มต้นใช้ ChatGPT x CapCut ตัดคลิปวิดีโอ เพื่อสร้างรายได้ ครีเอทบรีฟ

เริ่มต้นใช้ ChatGPT x CapCut ตัดคลิปวิดีโอ เพื่อสร้างรายได้ ครีเอทบรีฟ

บทความที่จะพาทุกคนมาดูวิธีติดตั้ง ChatGPT x CapCut เพื่อช่วย ตัดคลิปวิดีโอ และแนะนำการใช้งานเบื้องต้น รวมถึงไอเดียที่ควรนำไปปรับใช้ได้ทันที เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้เสริมหรือทำบรีฟให้ชัดเจนราวกับเสกได้

เพราะในเวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก ChatGPT ที่เป็นแชทบอท Al สร้างการสนทนา ค้นหาข้อมูล ปรึกษา ขอความคิดเห็น ประมวลผลภาษาที่ซับซ้อน และจนวันนี้มีปลั๊กอินฟรีที่เข้ามาให้ใช้งาน ช่วยปรับปรุงฟุตเทจวิดีโอ จากช่วงแรก ๆ ที่คนรู้จัก ChatGPT หรือ “Generative Pre-trained Transformer” ในภาพลักษณ์ผู้ช่วย และสร้างค่าตอบที่มีข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ตรวมทั้งได้ได้รับการฝึกสอนต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแมชชีนเลิร์นนิ่ง

ดังนั้นการที่เราจะอยู่ร่วมกับโลกที่มี AI นั้นจะต้องเรียนรู้ ศึกษาถึงการทำงานเพื่อที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชิ้นงานได้ เราอาจจะคิดว่าคงไม่ได้ใช้หรอก แต่จริง ๆ ตอนนี้ AI ก็อยู่รอบตัวคุณแทบตะ 24 ชั่วโมงเรียบร้อยแล้วนะคะ วันนี้จะเน้นไปที่การใช้สร้างวิดีโอที่น่าสนใจได้เบื้องต้นค่ะ ให้ทุกคนลองไปเล่นต่อกันได้เลย

Video Plugins

CapCut: เป็นแอปอันโด่งดังที่ใช้สร้างและตัดวิดีโอโดยใช้งานได้ง่ายกว่าโปรแกรมใหญ่ ๆ ที่สำคัญคือเมื่อเป็นปลั๊กอินแบบนี้เค้ามีให้ดาวน์โหลดฟรีค่ะ ถ้าคุณใช้ GPT-4 แต่ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งจากอีกหลาย ๆ AI ที่ยังลองไปใช้ได้ เพื่อหาตัวที่เหมาะกับสไตล์การทำงานของคุณมากที่สุดน้า

*ข้อมูลในบทความนี้เป็นของวันที่ 17 Sep 2023

เริ่มจากการติดตั้ง CapCut Plugin

ไปที่ GPT-4 AI และหาปลั๊กอิน

จะต้องสร้างบัญชี ChatGPTและลงชื่อเข้าใช้ก่อนนะคะ หากใครยังไม่เคยมีบัญชีสามารถดูวิธีสมัคร ChatGPT อย่างละเอียดเพิ่มเติมในบทความนี้ค่ะ

นี่คือวิธีติดตั้งปลั๊กอิน CapCut ในครั้งแรก

  • เช็คให้แน่ใจนะคะว่าเป็นเวอร์ชั่น GPT-4
  • ไปที่ Plugins (Beta)
  • หากยังไม่เคยใช้งาน ให้ไปที่ Plungin Store
  • อ่านรายละเอียดแล้วให้กด OK ได้เลย

วิธีเสิร์จและติดตั้ง

  • หลังจากเข้ามาใน Plugin Store แล้วให้เสิร์จชื่อ CapCut
  • เจอแล้วกด Install ได้เลย รอไม่นานก็ติดตั้งเสร็จค่ะ
  • หากมีโลโกของ Plugin อยู่จุดเดียวกับในรูปแล้ว คือสามารถเริ่มใช้งานได้เลย

หากทุกคนต้องการเชื่อมต่อก็สามารถใช้วีธีนี้ได้เช่นกันนะคะ แค่เปลี่ยนชื่อในช่องเสิร์จ ‘CapCut’ เป็นชื่อปลั๊กอินที่ต้องการเท่านั้นเองค่ะ

เขียน Prompt ใน ChatGPT

การเขียน Prompt นั้นควรมีคำสั่งที่เป็นขั้นตอนไป ค่อย ๆ เจาะลงมาถึงรายละเอียดที่เราอยากรู้จริง ๆ ค่ะ เหมือนการทำรีเสิร์จที่เรามักจะเริ่มจากวงกว้างก่อน เมื่อถามตอบไปเรื่อย ๆ ถึงจะเริ่มรู้ว่าต้องถามแบบไหนให้ได้คำตอบที่ต้องการอย่างละเอียด และใกล้เคียงคำว่าความถูกต้องมากที่สุด

อ้างอิงค่ะ rattibha.com ที่ได้แนะนำการเขียนคำสั่งเกี่ยวกับการสร้างวิดีโอไว้ดังนี้ค่ะ

→ อธิบายเกี่ยวกับวิดีโอที่ต้องการสร้าง ระบุสถานที่ เพลง พร้อมแนะนำสถานที่ฮิต ๆ Prompt (e.g.): “Created a square video to encourage tourists to visit Korea. Describe the main places to visit and use upbeat music.” (ตัวอย่างจาก capcutedit.com)

แนะนำให้ใช้ภาษาอังกฤษเพราะเป็นภาษาทีเครื่องมือรับคำสั่งได้ดีที่สุด การนับคำก็จะแม่นยำมากที่สุดด้วยค่ะ หรือจะระบุขนาดไปตรง ๆ เลยก็ได้ เช่น แจ้งสคริปที่เรากําหนดเอง อัตราส่วนภาพของวิดีโอที่ชัดเจนว่าเป็น 9:16, 4:3, 1:1 เป็นต้น

เมื่อเราได้ยืนยันสคริปต์แล้ว ChatGPT และ CapCut จะทำงานควบคู่กันไปเพื่อสร้างวิดีโอ AI ต่อค่ะ และวิดีโอจะถูกสร้างขึ้น ให้คลิกที่ลิงก์และเข้าสู่ระบบของ CapCut ผ่านโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้เลย

ChatGPT CapCut ตัดคลิปวิดีโอ

ทีนี้อยากจะใช้เป็น Storyline หรือ ไกด์ Footage ไว้คุยกับทีมฏก็ง่ายขึ้นแล้ว สำหรับประสบการณ์การใช้งานครั้งแรกของผู้เขียนนั้นรู้สึกว่าต้องคุ้ยเคยกับคำสั่ง และ​CapCut โดยการลองป้อนไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าใครที่เคยใช้ CapCut มานานแล้วน่าจะชอบและจัดการต่อได้คล่องเลยล่ะค่ะ ลองไปเล่นกันดูนะคะ

ไอเดียการสร้างวิดีโอผ่าน AI

#IDEA 1 ไกด์ Footage สร้างคลิปวิดีโอจากข้อความ / บทความ

อ้างอิง How to จากช่อง Sabba Quidwai

ดาวน์โหลดปลั๊กอินสำหรับ Web blog เพิ่มเติม แต่ว่าจะใช้ได้เฉพาะภาษาอังกฤษค่ะ บล็อกภาษาไทยยังไม่สามารถถอดออกมาได้ ต้องตามหาปลั๊กอินกันต่อไป~ หรือถ้าใครมีแนะนำอย่าลืมคอมเมนต์แชร์กันน้า

ตัวอย่าง Prompt : can you create a video 30 seconds on capcut long summarizing the highlight information from this blog post https://digitalmarketinginstitute.com/blog/brand-storytelling-in-the-digital-age

หลังจากนั้น ChatGPT-4 จะเลือกปลั๊กอิน Access Link เพื่อถอดเนื้อหาแปลงเป็น สคริปต์สำหรับวิดีโอก่อน (เห็นไหมคะว่าใช้งานแชท AI จะต้องค่อย ๆ ตบตูดไปเรื่อย ๆ) หากพอใจกับสิ่งที่สรุปให้ ไม่มีแก้ไขแล้วเค้าจะถามว่าให้ Generating video ตามสคริปต์นี้เลยไหม? ระบุขนาดที่ต้องการเพิ่มเติมได้ด้วย (ถ้าต้องการ)

กดที่ Click here to view and download your video เช่นเดียวกับที่สอนในพาร์ทก่อนหน้านี้ค่ะ

ChatGPT CapCut ตัดคลิปวิดีโอ

แล้วก็จะได้ไกด์ Footage ที่ถูกสร้างจากคำสั่งสคริปต์ของ ChatGPT ค่ะ มีทั้งคำอธิบาย ภาพ ดนตรี เราสามารถแก้ไข้ได้ทุกจุด เพื่อใช้เป็นบรีฟงานให้ลูกค้าเห็นภาพ ให้ทีมที่ทำงานได้ลงกองโดยเห็นภาพที่ตรงกันค่ะ

#IDEA 2 ใช้บรีฟงานก็เร็ว หรือหารายได้ก็ปัง

เหตุผลที่เลือกหยิบหัวข้อ ChatGPT CapCut ตัดคลิปวิดีโอ มาแชร์ทุกคนก็เพราะคนรอบตัวผู้เขียนหลายคนไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหนต้องเคยมีประสบการณ์รับบรีฟ ส่งบรีฟมากันไม่น้อยใช่ไหมคะ จะมีทั้งบรีฟที่เข้าใจตรงกัน กับบรีฟที่เกิดความผิดพลาดในการสื่อสาร หรือผู้บรีฟไม่สามารถสื่อสารออกมาให้ผู้รับเข้าใจได้

ยกตัวอย่างผู้เขียนบทความเองก็มีทั้งเรื่องที่ถนัด และเรื่องที่ยังต้องเรียนรู้ ไม่ถนัดทำกราฟิกหรือจัดวางให้อ่านง่ายเท่าไหร่ บรีฟคนทำกราฟิกทีไรก็สงสารคนทำงานด้วยอยู่แฮะ~

เพราะฉะนั้นการให้ AI เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วย generate สิ่งที่อยู่ในหัวออกมาเป็นภาพ หรือไกด์ให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่ต้องการมากที่สุด ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะลดการตบตีระหว่างการทำงานกับฝ่ายอื่น ๆ ได้ไม่น้อยค่ะ หากใช้ให้เหมาะสม

ใช้ Prompt ตัวอย่าง “Created 1:1 video to encourage tourists to visit Korea. Describe the main places to visit and use k-pop idol music”

เพื่อนำไปบรีฟงานทีมตัดต่อเกี่ยวกับ Mood & Tone หรือส่งให้ลูกค้าเป็นตัวอย่างก่อนไปถ่ายทำจริงก็ได้ค่ะ


สรุปไอเดียใช้ ChatGPT AI x CapCut ตัดคลิปวิดีโอ เพื่อสร้างรายได้ ครีเอทบรีฟ

นี่ก็เป็นการใช้งานและไอเดียที่ผู้เขียนนำมาแชร์ทุกคนในวันนี้ค่ะ หวังว่าจะลองใช้กันต่อโดยเฉพาะใครที่ทำฟรีแลนซ์หารายได้ได้มากขึ้น เพราะอาจจะทำงานได้จำนวนเยอะขึ้นในเวลาใกล้เคียงเมื่อก่อนนะคะ และแน่นอนว่าอาจจะต้องใช้เวลาเรียนรู้เหมือนกับที่เราต้องเรียนและฝึกฝนวิชาชีพอื่น ๆ โปรแกรมตัดต่ออื่น ๆ เพื่อให้คุ้นชินและเข้าใจ Prompt ที่จะทำให้เราได้คำตอบที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่อยากรู้ว่าที่สุด

ระวัง error อย่างไว้ใจ AI มากเกินไป ต้องรีเช็คข้อมูลอย่างละเอียดเหมือนเดิม

นอกจากนี้ที่สำคัญคือต้องศึกษาข้อควรระวังอยู่เสมอ เพราะเทคโนโลยีจะถูกใช้งานได้ประโยชน์สูงสุดได้ถ้า ‘คนใช้งาน’ สามารถรีดศักยภาพของเครื่องมือ ฝึกเครื่องมือมาอย่างดี แต่ขนาดเราทำงานอยู่ทุกวันยังสามารถเกิดข้อผิดพลาดได้เสมอ ด้วยปัยจัยหลายอย่าง ข้อมูลมากเกินไป ข้อมูลดีและไม่ดีอยู่ในหัว

บางวันปวดท้อง บางวันข้างบ้านซ่อมแอร์เสียงดังทำให้ไม่มีสมาธิ บางวันอินเทอร์เน็ตล่ม เราต้องรีเช็คอย่างละเอียด และไม่ควรเช็คคนเดียว เราทำเอง อ่านเองว่าดีแล้ว แต่คนอื่นอาจมีมุมมองที่ต่างไป เช่นเดียวกับการใช้งาน AI เลยค่ะ~

สุดท้ายนี้หวังว่าทุกคนจะสนุกกับบทความนี้กันน้า และถ้ามีใครรออ่าน ChatGPT x Canva อยู่คอมเมนต์มาบอกกันนะคะ จะรีบจัดให้เลย

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

source source

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *