Data Research Insight ท็อปเปอร์ เครื่องนอนที่มากกว่าปูนอน

Data Research Insight ท็อปเปอร์ เครื่องนอนที่มากกว่าปูนอน

ในนี้มีผู้อ่านท่านไหนเป็นคนติดที่นอนบ้าง วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูดาต้าเรื่องนอน ๆ กัน ด้วย Data Research Insight ท็อปเปอร์ โดยเราจะใช้ Social Listening Tools กวาด Social Data โพสต์ที่มีคำว่า ‘ท็อปเปอร์’ อย่างเจาะจงกันค่ะ 

แล้วเราจะมาค่อย ๆ เจาะรายละเอียดยิบย่อยของท็อปเปอร์กัน อยากให้ทุกคนอ่านจนถึงบรรทัดสุดท้ายเลยนะคะ แอบกระซิบว่าใครมองหาที่นอนใหม่ ห้ามพลาดเลยนะคะ

และอย่างที่เกริ่นไปว่าเครื่องมือที่เราใช้กวาดข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ Social Data ท็อปเปอร์ คือ Social Listening : Mandala เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้เราได้เห็นเทรนด์ตลาดทั้งหมดมากขึ้น และสามารถเจาะการพูดถึงแบบลงลึก จากแพลตฟอร์ม Social Media ที่มีลูกค้าของทุกธุรกิจรอให้เราใช้ประโยชน์อยู่ 

ต้องยอมรับเลยนะคะ ว่าทุกวันนี้ใคร ๆ ก็ใช้ช่องทางออนไลน์ Social Media ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งในส่วนของลูกค้า ที่ใช้บ่นเรื่องสัพเพเหระ หรือ แบรนด์ต่าง ๆ ออกมาทำแคมเปญ โปรโมท ทำให้ Social Media กลายเป็นแหล่งข้อมูลให้เราทำ Reseach แบบเข้ากับยุคสมัยมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีกค่ะ

พูดถึงเครื่องนอน ที่นอนทีไร ผู้เขียนก็รู้สึกง่วงเหงาหาวนอนทุกที งั้นเรามาดึง Social Data และหา Data Research Insight ท็อปเปอร์ ไปพร้อมกันก่อนที่จะมีใครแอบหลับไปซะก่อนดีกว่าค่ะ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ โดยใช้คำ Keywords คือ ท็อปเปอร์ และ ที่นอน เพราะฉะนั้นเราจะได้ข้อมูลที่มีคำว่า ท็อปเปอร์และที่นอน เท่านั้น อย่างเครื่องนอนอื่นที่ไม่ได้มีคำที่ระบุ เช่น หมอน ผ้าห่ม เพราะเราต้องการดูในส่วนท็อปเปอร์เป็นหลักค่ะ

นอกจากนั้นยังมีการดึง Keywords คำว่า ปูนอน เพราะท็อปเปอร์มีลักษณะที่ใหญ่ ทำให้เป็นเครื่องนอนที่ผู้ใช้นิยมนำไปปูนอน ทั้งบนพื้นหรือบนเตียงเองก็ตาม

โดย Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/08/2023 – 31/01/2024 หรือประมาณ 6 เดือนย้อนหลัง มีข้อมูลประมาณ 3,970 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok 

จะเห็นว่าแม้เราดึงข้อมูลย้อนหลัง 6 เดือน ข้อมูลที่เข้ามาจะมีเพียง 3,970 Mentions ผู้เขียนมองว่า เนื่องจากอาจไม่ใช่ช่วงพีคของเครื่องนอน อย่างในช่วงโควิดที่ผู้คนอยู่ในบ้านเป็นหลัก ทำให้ข้อมูลเข้ามาไม่มากเท่าที่คาด แต่ก็เพียงพอต่อการดึง Insight ของท็อปเปอร์ค่ะ

และนอกจากนั้นข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ

STEP 3 Cleansing Data

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เวลาเราเลือกใช้ Keywords เพื่อดึงโพสต์ที่เกี่ยวข้องเข้ามาในโปรเจค แต่คำว่า ท็อปเปอร์ นั้นอาจมาจากโพสต์ความหมายอื่น หรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับที่เราต้องการได้ค่ะ

ตัวอย่างแคมเปญนี้ผู้เขียนต้องทำการ Clean ข้อมูล หรือลบโพสต์ที่ไม่เกี่ยวข้องออก การวิเคราะค์ Social Data จะได้มีความแม่นยำมากขึ้น เช่น topper ที่พูดถึงเครื่องสำอาง ที่ทาเคลือบแล้วปากฉ่ำ

ซึ่งในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอน Cleansing Data ดังกล่าว เพื่อ Clear สิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป ยิ่ง Data สะอาดและมีคุณภาพ ก็ทำให้การวิเคราะห์ของเราตรงจุด และได้ Data ตรงตามที่เราต้องการมากขึ้น

ถ้าเปรียบก็เหมือนเราเลือกคนที่จะมาแฟน เราก็ต้องคัดคนที่ตรงตามคุณสมบัติตามที่เราต้องการที่สุดใช่ไหมค่ะ

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ Clean Data อย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ค่ะ > https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/top10-influencers-investment-money-2023-on-tiktok/

STEP 4 Conversation Analysis

อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล จะได้อ่าน Social Data ที่ไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้สามารถเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ ต่อมาก็อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึงท็อปเปอร์จริง ๆ

คัด insight ที่จะเป็นประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับท็อปเปอร์ เพื่อสามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อ ซึ่งจะมีข้อมูลแบบไหนบ้าง ผู้เขียนจะเล่าต่อจากนี้ ซึ่งตอนนี้โซเชียลจะมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อน ทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณ ตอนนี้ค่ะ ต้องมาเริ่ม STEP ที่ 5 กันต่อ 

ซึ่งในการอ่านข้อมูล เรามักจะเริ่มจากฟีเจอร์พื้นฐานในหน้า Dashboard แรก ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Top post เพื่อรู้ภาพรวมข้อมูลที่ได้รับความนิยมค่ะ 

Social Data Stat Overview

Data Research Insight ท็อปเปอร์ เครื่องนอนที่มากกว่าปูนอน

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions) – เพจ Influencer เพจรีวิว รวมไปทั้งเพจแบรนด์ต่าง ๆ จะเน้นไปที่แพลตฟอร์ม Facebook ค่ะ รองลงมาคือ TikTok เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ขายเยอะ ทั้งผู้ขายตรงจากโรงงาน และ ผู้ที่นำสินค้าไปทำ นายหน้า TikTok shop นั่นเองค่ะ

การมีส่วนร่วม (Engagement + YouTube views) – การไลฟ์สดขายสินค้า การทำคลิปขายสินค้า เป็นคอนเทนท์ที่ผู้ขายชอบทำบน TikTok แต่อีกไอเดียที่เป็นคอนเทนท์ที่นิยมทำบน Youtube แต่ยังไม่มีคนทำบน TikTok มากนะ คือการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ด้านการขาย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจเผื่อผู้ประกอบการธุรกิจท่านไหนอยากนำไปปรับใช้ได้ค่ะ

Data Research Insight ท็อปเปอร์ เครื่องนอนที่มากกว่าปูนอน

การมีส่วนร่วม (Engagement ignore view) – จากไทม์ไลน์จะเห็นว่าความนิยมจะค่อย ๆ ลดลงไป โดยเฉพาะแพลตฟอร์มที่มียอด Engagement อันดับ 1 อย่าง TikTok โดยจากกราฟจะเห็นได้เลยว่าช่วงเดือนสิงหาคมปี 2023 จะมียอดในช่วงนี้เยอะมาก และทยอยลดลงเรื่อย ๆ ในส่วนนี้ผู้เขียนมองว่าเผ็นผลต่อเนื่องจากโควิดที่คนนิยมอยู่บ้านทำให้ตลาดท็อปเปอร์โตและมีคนเข้ามาในตลาดนี้เยอะที่นอกจากร้านค้า โรงงานยังมีทั้งนายหน้า Influencer นักรีวิวต่าง ๆ

แต่พอเข้าช่วง 4 เดือนสุดท่ายของปี 2023 ซึ่งสถานการณ์เริ่มกลับมาสู่ปกติทำให้กระแสไม่ได้นิยมเท่าเดิม จึงเหลือเพียงนายหน้า ร้านค้าละโรงงานเท่านั้นที่อยู่ในตลาด และ ยิ่งช่วงท้ายปี 2023 จนถึง ต้นปี 2024 จะเหลือเพียงโรงงาน ร้านค้า เจ้าใหญ่ เจ้าเดิมที่ยังคงทำคอนเทนท์อยู่บนแพลตฟอร์ม TikTok นั่นเองค่ะ

เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ทำให้เห็นว่าภาพรวมของ Social Data ทั้งหมดกำลังพูดถึงท็อปเปอร์แบบไหนกันบ้าง จุดขายเด่นมีอะไรบ้าง จุดขายไหนที่คนพูดบ่อย ไว้สำหรับนำเสนอออกไปสู่ลูกค้า นอกจากนี้เราก็เริ่มเห็นแบรนด์ที่นอน pop-up ขึ้นมาบ้างแล้วค่ะ

Data Research Insight ท็อปเปอร์ เครื่องนอนที่มากกว่าปูนอน

Facebook – มิลค์เศษใจ Influencer รีวิวท็อปเปอร์ยกเซ็ต

ขอขอบคุณภาพจาก เพจ มิลค์เศษใจ

Twitter – Twitter Account โบนัสเป็นแม่แมว รีวิวท็อปเปอร์

ขอขอบคุณภาพจาก Twitter Account โบนัสเป็นแม่แมว

Instagram – oopm_ ไอจีแนวไลฟ์สไตล์ แนะนำรีวิวท็อปเปอร์แต่งห้องคุมโทน

Data Insight ท็อปเปอร์ เครื่องนอนที่เป็นมากกว่าเครื่องนอน
ขอขอบคุณภาพจาก oopm_

TikTok – kintun_siwa รีวิวท็อปเปอร์ยกเซ็ต

ขอขอบคุณวิดีโอจาก TikTok – kintun_siwa

YouTube – Kingoftopper.official รีวิวท็อปเปอร์ใน 7 วิ

ขอขอบคุณวิดีโอจาก Kingoftopper.official

STEP 5 Categorize Data 

ต่อมาเป็นการจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจนค่ะ ซึ่งโจทย์ที่เราจะนำมาตั้งเป็นกลุ่มนั้นควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี ซึ่งเราก็จะได้อ่านข้อมูลจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการ Clean Data พอจะทำให้ทราบว่าข้อมูลไหนบ้างแล้วจะสามารถจับกลุ่มได้อย่างไร

และอีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้และสิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่ายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความเลยค่ะ 

STEP 6 Data Visualization

เป็นการทำให้ข้อมูลที่มีมากมายมหาศาลอ่านได้ง่ายขึ้น วิธีนี้ถือว่าสำคัญไม่แพ้กับวิธีอื่นที่กล่าวมาเลยค่ะ เพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยค่ะ หากไม่สามารนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้

ลองนึกภาพหากเราต้องนำข้อมูลนี้ไปเสนอต่อผู้บริหาร หรือไป Pitcing เพื่อเอาเงินมาลงทุน โดยมีระยะเวลาที่จำกัด หากเราไม่สามารถทำให้ข้อมูลนี้อ่านง่าย เข้าใจจากภาพที่สื่อออกไป เท่ากับเราปล่อยให้โอกาสหลุดไปเลยนะคะ น่าเสียดายสุด ๆ

โดยเราสามารถใช้เครื่องมือตามที่ถนัดได้เลยค่ะ บางคนอาจถนัดทำใน PPT,​ Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกันค่ะ มาดูกันว่า 3,970 Mentions Clean Data ที่ไม่ต้องการบางส่วนออกแล้ว นั้นเมื่อแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เราจะเจออะไรบ้างค่ะ 

โดยผู้เขียนได้เลือก Analysis การพูดถึงของดอง จัดเป็น 6 กลุ่มตามภาพด้านบน โดยเรียงจากมากไปน้อย เพื่อความสะดวกในการอ่าน ดังนี้

  1. Top จุดขายที่ร้านค้านำเสนอ 27.8%
  2. แบรนด์ของ Topper 25%
  3. Top ปัจจัยที่ลูกค้าใช้ตัดสินใจซื้อ 13.9%
  4. ความหนาของ Topper 13.9%
  5. ขนาดของ Topper 12.5%
  6. ช่วงราคาของ Topper 6.9%

ซึ่งอย่างที่ผู้เขียนแจ้งไว้ข้างต้นว่าเราจะได้ข้อมูลที่มีคำว่า ท็อปเปอร์และที่นอน เท่านั้น อย่างเครื่องนอนอื่น ๆ อาจไม่ได้ถูกนำเข้ามาวิเคราะห์ด้วยค่ะ เช่น ผ้าห่ม หมอน หมอนข้าง เป็นต้น

ถ้าพร้อมแล้วเรามาเจาะดูกันทีละหัวข้อกันเลยค่ะ

1. ความนุ่มฟู จุดเด่นหล้ก ร้านมักโชว์ขาย

จุดเด่นหลักที่ร้านมักโชว์ขายก็คือความนุ่นฟู 45.5% เพื่อสื่อถึงความหนานุ่มน่าทิ้งตัวลงนอนนั่นเองค่ะ ตามมาด้วยทำจากขนเทียม 16.1% ซึ่งในนัยยะก็คือความนุ่มอีกนั่นแหละค่ะ เพราะวงการเครื่องนอน หากบอกว่าทำจากขนห่าน ขนเทียม มักจะการันตีต่อด้วยความนุ่นนั่นเองค่ะ

ตามมาด้วยปัญหาหลักของชาวออฟฟิศ วัยรุ่นที่เข้าสู่ช่วง 20 ปลาย ๆ อย่างเรา ๆ ก็คือ อาการปวดหลัง 13.6% ค่ะ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่ร้านนิยมชูขายเลยค่ะ นอกจากนั้นยีงมีเพื่อสุขภาพ 13.1% ที่นิยมมาคู่กับลดอาการปวดหลังเลยค่ะ และ ปิดท้ายด้วยผลิตจากโรงงาน 12.7% เพื่อชูในเรื่องของคุณภาพส่งตรงจากโรงงาน และราคาที่ถูก ประมาณว่าโรงงานมาขายเองได้ราคาถูกค่ะ

ดังนั้นนักธุรกิจท่านไหนกำลังสนใจทำธุรกิจเครื่องนอนอย่างท็อปเปอร์ จะต้องรู้นะคะว่า เราควรชูจุดเด่นไหน จะลงไปเล่นในกลุ่มที่มีผู้เล่นเยอะ ซึ่งอาจมีผู้เล่นหลักเจ้าถิ่นอยู่ หรือ จะไปในกลุ่มที่ผู้เล่นน้อย ยังไม่มีผู้เล่นหลักค่ะ

2. แล้วตอนนี้แบรนด์ไหนบ้างนะที่ครองพื้นที่อยู่

ต่อมา แบรนด์ของ Topper จะเรียงลำดับคือ Beneath 47.2% เป็นแบรนด์เครื่องนอนที่เน้นขายผ่าน Instagram เป็นแบรนด์ที่มี Branding ชัดเจน ถึงแม้จะสินค้าหลากหลายแต่อธิบายและแยกสินค้าชัดเจนมีการระบุทั้งชื่อแบรนด์และสินค้าลงในโพสต์แบบชัดเจน

ถือว่าสื่อสารออกมาได้ดีมากค่ะ ทำให้ผู้ที่อ่านโพสต์ หรือ เห็นโพสต์ทราบได้เลยว่า สินค้าคืออะไร และมาจากแบรนด์อะไรค่ะซึ่งเป็นวิธีการที่ดีและธุรกิจน่านำไปปรับใช้ค่ะ เพราะ ถ้าเราไม่ระบุสินค้า และแบรนด์ให้ชัดเจน ลูกค้าก็อาจจะหาเราไม่เจอก็ได้นะคะ

รองลงมาคือ Home Best 20.7%เป็นแบรนด์ที่ชาวทวิตเตอร์ได้นำไปทำ Affiliate เยอะมากค่ะ เรียกว่าแทบทุก Reply จะเป็นแบรนด์นี้เป็นหลักเลยค่ะ

King of topper 13.2% จะอยู่บน Youtube และกระจายบนแพลตฟอร์มอื่น ๆ ค่ะ อย่าง Top Post Platform ที่ผู้เขียนได้อธิบายไว้ช่วงแรกก็มาจากช่องของแบรนด์เช่นกันค่ะ

Welcare 9.8% จะเป็นแบรนด์ที่ขึ้นเยอะใน Facebook ค่ะ ส่วน Topper.Story 9.2% มาจากช่องทาง TikTok และ Instagram ค่ะ หลังจากที่ได้ทราบไปแล้ว ทุกท่านคงจะมีช่องทางที่อยู่ในใจแล้วใช่ไหมคะ ว่าอยากทำการตลาดบนแพลตฟอร์มไหนเป็นหลัก และตอนนี้เจ้าถิ่นเป็นใคร หวังว่านักธุรกิจที่สนใจจะนำไปวางแผนกลยุทธ์ต่อยอดได้นะคะ

3. ความนุ่ม ปัจจัยที่ลูกค้าใช้ตัดสินใจซื้อมากที่สุด

Data Research Insight ท็อปเปอร์ เครื่องนอนที่มากกว่าปูนอน

หลังจากพูดถึงฝั่งแบรนด์ไปแล้วมาฟังเสียงจากลูกค้ากันดีกว่าค่ะ ซึ่งสิ่งที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อมากที่สุดก็คือ ความนุ่มนั่นเองค่ะ อยู่ที่ 38.8% ถือว่าสิ่งที่ผู้ขายนิยมชูขายกับความต้องการของลูกค้าค่อนข้างตรงกันเลยทีเดียวค่ะ โดยลูกค้านิยมเอาความนุ่มไปเทียบกับโรงแรมค่ะ

เพราะลำดับต่อมาก็คือ ช่วยลดอาการปวดหลัง 27.1% หลับสบาย 14.9% แต่งห้อง 12.8% และเพื่อสุขภาพ 6.4% ถือว่าใกล้เคียงกับสิ่งที่ผู้ขายเสนอขายเลยค่ะ แต่ก็มีบางข้ออย่าง แต่งห้องที่จุดนี้จะแตกต่างกับจุดขายที่ผู้ขายเสนอขายค่ะ ผู้เขียนมองว่าก็เป็น 1 ในจุดขายที่ควรเพิ่มเข้าไป เพื่อกระตุ้นการซื้อของผู้ซื้อมากขึ้นได้ค่ะ

4. ขนาด 5 ฟุต ขนาดกลาง ๆ ที่โดนใจคนมากที่สุด

Data Research Insight ท็อปเปอร์ เครื่องนอนที่มากกว่าปูนอน

ในส่วนของขนาดที่ถูกเมนชั่นมากที่สุด คือ 5 ฟุต 36.3% นั่นเอง ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าเป็นขนาดที่กลาง ๆ ไม่เล็กเกินไป ไม่ใหญ่เกินไป จะนอนคนเดียวก็กว้างสบาย นอนสองคนก็ยังไหวเลยเป็นขนาดที่ถูกเมนชั่นมากที่สุดค่ะ

รองลงมาก็เป็นขนาด 6 ฟุต 34.3% เพราะปกติเวลามีคเมนชั่นถือขนาด 5 ฟุต มักพูดต่อกันเป็น 5-6 ฟุต เลยทำให้ขนาด 6 ฟุตรองลงมาอันดับสองต่อมาก็เป็น 3.5 ฟุต 21.9% ครบSet 7 ชิ้น 10 ชิ้น 6.5% และ 3 ฟุต 1.1% ค่ะ

หวังว่าข้อมูลยี้จะเป็นประโยชน์กับธุรกิจท็อปเปอร์ ทำให้ทราบว่าขนาดไหนเป็นที่ต้องการ สามารถนำมาทำโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นลูกค้าเป็นครั้งคราว หรือ ขนาดไหน คนไม่นิยมก็อาจลดการผลิตในส่วนนั้นลงได้ค่ะ

5. ไม่ต้องหนามากไป แค่ความหนา 4 นิ้ว ก็โดนใจแล้ว

ในส่วนของความหนาที่เมนชั่นเยอะที่สุดคือ 4 นิ้ว 56.7% เพราะเป็นความหนาที่ไม่ว่าแบรนด์เล็ก แบรนด์ใหญ่นิยมใช้กัน รองมาเป็น 5 นิ้ว 16%>6 นิ้ว 12.1% >8 นิ้ว 9.9% >3 นิ้ว 5.4% ค่ะ

จะเห็นว่าหนาไปหรือบางไปก็ไม่ดี ดังนั้นความหนาปานกลางจึงเป็นตัวเลือกที่มากที่สุดค่ะ

6. 100-499 ช่วงราคาที่ดุเดือด

Data Research Insight ท็อปเปอร์ เครื่องนอนที่มากกว่าปูนอน

ด้านราคานั้นในช่วงราคาที่ดุเดือดที่สุด มีคนกล่าวถึงมากที่สุดจะเป็น 100-499 บาท อยู่ที่ 54% เนื่องด้วยสินค้าราคาช่วงนี้จะอยู่บน TikTok ค่อนข้างเยอะ ซึ่ง TikTok ก็เป็นแพลตฟอร์มที่มียอดการมีส่วนร่วมสูงที่สุด เลยทำให้สินค้าช่วงราคานี้มีมีการกล่าวถึงมากที่สุดนั่นเองค่ะ

รองลงมาจะเป็นราคา 500-999 บาท 24.8% กระจายอยู่ทุกแพลตฟอร์ม และ 2,000 ขึ้นไปจะเป็นแบรนด์เพื่อสุขภาพ หรือแบรนด์ที่นอน เช่น Lotus ในส่วนราคา 1,500-1,000 ที่ 3.4% และ 1,000-1,499 ก็กระจายตัวเช่นกัน แต่ส่วนมากจะพบบน Instagram ค่ะ

หลังจากดูข้อมูลนี้ เราก็พอเห็น Segment ของราคาแล้ว ก็ช่วยทำให้ตัดสินใจได้ว่าหากเราทำสินค้าราคานี้ ควรจะอยู่ หรือ ไม่อยู่บนแพลตฟอร์มไหน รวมถึงจริง ๆ หากจะสร้างข้อได้เปรียบเราควรตั้งราคาเท่าไหร่กันแน่ค่ะ

หลังจากดูรายละเอียดในแต่ละส่วนแล้ว เพื่อให้เราทราบว่าในละแพลตฟอร์มตอนนี้มีแบรนด์ไหนอยู่บ้าง เผื่อท่านไหนจะนำไปวางแผนต่อ ผู้เขียนจึงทำ Top ในแต่ละแพลตฟอร์มมาให้ค่ะ เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจในการวางแผนกลยุทธ์ของสินค้าท็อปเปอร์ค่ะ

Data Research Insight ท็อปเปอร์ เครื่องนอนที่มากกว่าปูนอน

TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. Lotus Bedding 763 Engagement แบรนด์เครื่องนอน ท็อปเปอร์ 𝗔𝗬𝗔𝗠𝗘 𝗖𝗟𝗢𝗨𝗗 𝗧𝗢𝗣𝗣𝗘𝗥
  2. Welcare 475 Engagement ท็อปเปอร์ Premium
  3. Blanket home ja 62 Engagement ท็อปเปอร์มือสอง
  4. พิกัดของถูก 59 Engagement รีวิวสินค้า บอกต่อท็อปเปอร์
  5. Sleephappy 59 Engagement แบรนด์ท็อปเปอร์
Data Research Insight ท็อปเปอร์ เครื่องนอนที่มากกว่าปูนอน

TOP5 TikTok account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในช่องที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

ขอบคุณวิดีโอจาก nutchabedding
  1. nutchabedding 3.2K Engagement ท็อปเปอร์ราคาย่อมเยาว์
  2. topper_story 1.2K Engagement ท็อปเปอร์สไตล์เกาหลี
  3. bedelo.thailand 878 Engagement ท็อปเปอร์จากโรงงาน
  4. topper_byaoy 58 Engagement ท็อปเปอร์สีสด
  5. oofmalai2570 35 Engagement รีวิวสินค้า

Data Research Insight ท็อปเปอร์ เครื่องนอนที่เป็นมากกว่าปูนอน

ทั้งหมดนี้หวังว่าทุกคนที่ได้อ่าน Data Research Insight ท็อปเปอร์ ที่เป็นมากกว่าปูนอน ทั้งการซื้อไปเพื่อลดอาการปวดหลัง ซื้อเพื่อตกแต่งห้อง แบรนด์ที่นิยมต่าง ๆ รวมทั้งกระแสท็อปเปอร์ที่เริ่มลดลงตั้งแต่ท้ายปี 2023 หวังว่าทุกท่านจะได้คำแนะนำสำหรับธุรกิจที่วิเคราะห์จากดาต้านี้จะนำไปต่อยอดเป็นได้ไอเดียใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจกันไม่มากก็น้อยนะคะ และขอให้เต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด Insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^

*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ

─── ⋆⋅☆⋅⋆ ──

สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 21 

คุณอุ้มเป็นผู้เรียน Social Listening Analytics รุ่น 21 ของการตลาดวันละตอนที่กลับมา Present การบ้านหลังจากที่ได้เรียนผ่านไป 1 สัปดาห์ เธอเอาไปทำงานกันของลูกค้าอาหารแมวรายหนึ่ง ทำให้พบ Data Insights มากมายที่คาดไม่ถึง

เธอใช้แนวทาง 8 ขั้นตอนการใช้ Social Listening โดยการตลาดวันละตอน (ที่อยู่ในหนังสือ Social Listening ด้วย) ไล่ทำตามทุกขั้นตอนจนทำให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนโดยไม่หลงทาง

  1. Set Objective & Research Keywords
  2. Set Social Listening & Collecting Data
  3. Cleansing Data
  4. Conversation Analysis
  5. Categorized Data
  6. Visualization
  7. Summary Insights
  8. Strategy & Recommendation

ถ้าดูจากภาพจะเห็นว่า เธอพบว่าอาหารแมวชนิดไหนได้รับความสนใจมากที่สุด หรือ Insights อาหารแมวจากช่วงวัยที่น่าสนใจ ว่าคนเลี้ยงแมวใส่ใจเมื่อแมวเริ่มอายุเยอะกว่าแมวโตทั่วไป จนสุดท้ายออกมาเป็นกลยุทธ์เพื่อนำไป Set Business Strategy & Marketing Communication ต่อ

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลยค่ะ ヽ(•‿•)ノ

Mywmint

มิวมิ้น เรียก มิ้น ก็ได้ค่ะ ● ⋏ ● เป็น Junior Marketing Content Creator ของการตลาดวันละตอนค่ะ รับบท Marketer ฝึกหัด ٩(◕‿◕)۶ ตั้งใจสรรสร้างทุกบทความ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ และ ชอบนะคะ ขอฝากเนื้อฝากตัวไว้ด้วยฮะ ʕっ•ᴥ•ʔっ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *