Data Research Insight คอร์สเรียน แบบออนไลน์และ e-learning

Data Research Insight คอร์สเรียน แบบออนไลน์และ e-learning

สำหรับรีพอร์ตเล่มนี้เราจะมาพูดถึงการทำ Data Research insight เกี่ยวกับ คอร์สเรียน ในรูปแบบออนไลน์ โดยเฉพาะการเรียนผ่านระบบ e-learning ของคนไทยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2023

ซึ่งในเล่มที่ผ่านมาเราเคยเจาะไปที่ Data Research insight ภาคธุรกิจต่าง ๆ ลองมาดูในแง่การศึกษากันดูบ้างนะคะว่าจะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นภาควิชา หรือคอร์สที่มีการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ เทรนด์ Social Data Timeline ไปจนถึงจุดประสงค์และ Semtiment social voice ในแง่มุมต่าง ๆ

ทั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปต่อยอดเพื่อเป็นกรณีศึกษา หรือทำธุรกิจได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมเติมเต็มข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ โดยผู้สนับสนุนใจดี Sellsuki  บริการ Solution ครบวงจรสำหรับคนทำธุรกิจ โดยสามารถดาวน์โหลดตัวเต็มได้ที่ฟอร์มท้ายบทความค่ะ และใช้เป็นตัวอย่างการเล่นกับ Social Listening ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักของการทำรีเสิร์จ เราจะเห็นทั้งเทรนด์ที่วัดด้วยการโพสต์ และการมีส่วนร่วม (Engagement) ของลูกค้าอีกด้วยค่ะ 

ซึ่งเราจะใช้ 8 ขั้นตอนที่เราใช้กับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา insight จาก Social Data ออกมาค่ะ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data 

Research Keyword ซึ่งเป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ ดังนี้ : e-learning และ คอร์ส+ออนไลน์ เพื่อเจาะจงข้อมูลเฉพาะการเรียนการสอนแบบออนไลน์ผ่านระบบ e-learning ค่ะ

และเป็นไฟนอลคีย์เวิร์ดหลังจากลองใช้ อีเลินนิ่ง และ เรียน+ออนไลน์ ซึ่งจะไม่ได้ข้อมูลที่ต้องการ โดยเฉพาะเรียนออนไลน์มีความเฟ้อในข้อมูลมากเกินหากเทียบกับระยะเวลาในการเตรียมข้อมูลเพื่อคลอดบทความนี้ค่ะ ทั้งยังมีบริบทอื่น ๆ ที่ต้องคลีนออกแทบหมด การวิเคราะห์ก็จะเพี๊ยนตามหากมีข้อมูลที่ไม่จำเป็นมากเกินไป ทำให้เหลือเป็น 2 คีย์เวิร์ดที่เหมาะสมสำหรับรีพอร์ตเล่มนี้นั่นเอง

Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/01/2023 – 01/11/2023 หรือ 10 เดือน มีข้อมูล 15,128 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok 

TikTok  รวมทั้ง Filter ให้ดึงเฉพาะโพสต์ที่มีภาษาไทยเท่านั้น

และข้อมูลที่ได้เป็นโพสต์สาธารณะ และกวาดเข้ามาภายใต้นโยบาย Policy PDPA ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ 

STEP 3 Cleansing Data

ในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้อง เลยเกิดขั้นตอนคลีนซิ่งเพื่อเคลียสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป ยิ่ง Data สะอาด และมีคุณภาพ ก็เหมือนเราเลือกคนสัมภาษณ์มาดี เป็นต้นค่ะ 

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ค่ะ > https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/top10-influencers-investment-money-2023-on-tiktok/

STEP 4 Conversation Analysis

ในระหว่างที่ทความสะอาดข้อมูล ให้เหลือแต่โพสต์ที่เราต้องการ ก็จะได้อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึง การเรียนคอร์สออนไลน์ ผ่านระบบ e-learning มีข้อมูลแบบไหนบ้าง เราก็เริ่มเจอคอนเทนท์ที่มีเพจโปรโมต อัปเดตข่าวเกี่ยวกับคอร์สเรียนจากมหาวิทยาลัย การพูดถึงระบบ e-learning ที่เป็นประโยชน์และอยากมาเล่าต่อในรีพอร์ตเล่มนี้ ซึ่งตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ insight อะไรไม่ได้ลึกนักตอนนี้ค่ะ 

ซึ่งในการอ่านข้อมูล เรามักจะเริ่มจากฟีเจอร์พื้นฐานในหน้า Dashboard แรกไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Top post เพื่อรู้ภาพรวมข้อมูลที่ได้รับความนิยมค่ะ 

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions) – กว่าครึ่งเป็นการพูดถึงจากแพลตฟอร์ม Facebook ที่มีเพจข่าวคอยอัปเดตเกี่ยวกับคอร์สดี ๆ ทั้งฟรีและเสียเงิน สถาบันกวดวิชาต่าง ๆ โครงการเรียนระยะสั้นในต่างประเทศ และเราจะเห็นว่าแพลตฟอร์ม YouTube ถูกใช้เพื่อสอนตัวอย่างบทเรียน หรือสอนฟรี ๆ เลย เพราะทำให้เราได้เห็นทั้งภาพและเสียง

การมีส่วนร่วม (Engagement) – อย่างที่เกริ่นไปว่า YouTube สามารถนำเสนอได้ทั้งภาพและเสียงจึงมีประสิทธิภาพในการลงคลิปสอน สรุปเนื้อหา รวมทั้งวิดีโอโฆษณาได้เป็นอย่างดีค่ะ

หากเราดู Engagement by Timeline และ ignore ยอดวิวบนยูทูปออกไปจะเห็นแพลตฟอร์มที่สร้างเอนเกจได้ดีเช่นกันคือ Facebook ที่จะมีเพจคอยอัปเดตโปร ที่น่าสนใจคือ Instagram ก็เป็นแหล่งโปรโมตคอร์สเรียนได้เช่นกัน จะเห็นใช้ในการทำภาพคอร์สแปลภาษาค่อนข้างมากตลอดทั้ง 10 เดือน

นอกจากนี้ยังเห็นเทรนด์บน TikTok ที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับคอร์สการสร้างตัวตน หรือการเป็นครีเอเตอร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีไลฟ์โค้ชที่หลากหลายแขนงทีเดียวค่ะ อย่างไรก็ตามทำให้เราเริ่มเห็นว่านอกจากการพัฒนาตัวเองแล้วเรื่องคอร์สภาษาก็มีมากเช่นกัน

เรามาดูโพสต์ที่ได้รับความนิยมของแต่ละแพลตฟอร์มเพื่อดูเทรนด์โดยรวมได้อย่างง่าย ๆ กันค่ะ

Facebook – โค้ชคลั่ง คอร์สเทรนออนไลน์ ออกกำลังกายที่บ้าน โภชณาการเฉพาะบุคคล

Twitter – ไดอารี่ภาษาเกาหลี🇰🇷 ม.คยองฮี เปิดคอร์สออนไลน์ฟรี

Instagram – chinesetidpeek คอร์สเรียนภาษาจีนออนไลน์ ทำคอนเทนต์แบบภาพ นำเสนอคำศัพท์ ฝึกฟัง-พูด จากเหล่าซือคนจีน

TikTok – sisyongyee15 คอร์สสร้างตัวตน  การตลาดออนไลน์ #tiktokแนะแนว #tiktoknow

YouTube – Abbott Nutrition Thailand คอร์สออนไลน์ ดูแลโภชนาการ แบรนด์ #กลูเซอนาผู้ช่วยที่ใช่เรื่องเบาหวาน

เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag จะเริ่มเห็นว่าโพสต์ที่กล่าวถึงจะมาจาก #ข่าวไอที ชื่อของสื่อและมีเดีย และวงการที่เหมาะจะใช้งาน เช่น #วงการธุรกิจ #ผู้ประกอบการ #เจ้าของแบรนด์ #การตลาดออนไลน์ #หาเงินออนไลน์

และเมื่อดูเป็น Word ทำให้เห็น Ai ตัวอื่น ๆ ที่ใช้งานหรือเป็นคู่แข่งใกล้เคียงกับ ChatGPT เช่น Bard, Microsoft หรือคำว่า Chatbot เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เราอ่านเทรนด์โดยรวมได้เลย ผู้เขียนมักใช้เช็กว่าควรจะเริ่มเก็บกลุ่มข้อมูลแบบไหนบ้างค่ะ

STEP 5 Categorize Data

การจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีน และอีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดูที่นี่ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ

STEP 6 Data Visualization

ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำให้ PPT,​ Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ สำหรับ ChatGPT มีตัวอย่างกลุ่ม Category ดังนี้ค่ะ

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่า 25,382 Mentions นั้นเมื่อแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เราจะเจออะไรบ้าง 

ซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis จัดเป็น 6 กลุ่มตามภาพด้านบน

  1. ภาควิชา / คอร์สเรียน 44%
  2. Learning formats 15%
  3. Learning objective 10%
  4. e-learning hosting 11%
  5. Overall user professions 16%
  6. Sentiment social voice 4%

insight แรกเลยเรามากดูภาควิชาย่อย ๆ ที่ถูกโพสต์บนโซเชียลกันค่ะ

  1. ขายของออนไลน์ / เจ้าของธุรกิจ 22%
  2. ภาษา 22% เท่ากันเลยกับอันดับ 1 และแยกออกมาเป็น ภาษาอังกฤษ > ญี่ปุ่น > เกาหลี > ภาษาจีน เป็นภาษายอดฮิตที่สุดในระยะเวลาที่เก็บข้อมูลค่ะ
  3. Investment 12% หรือด้านการเงิน การลงทุน ทั้งนี้ยังรวมถึงออมเงิน
  4. Marketing 11% เน้นมาในแ่ง่ Digital Marketing
  5. วิชาการ 8% จะมีแตกแขนงมาจาก วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) คณิตศาสตร์ และ อื่น ๆ สังคมศาสตร์ ไม่รวมภาษาไทย
  6. ด้าน IT 8% ไม่ว่าจะเป็น UX / UI การเขียนโค้ด Wsbsite
  7. Wellness 5% สุขภาพ ออกกำลังกาย คอร์สอาหารคลีนลดน้ำหนัก
  8. กฏหมาย / PDPD 3.5%
  9. Editor 2.3% ตัดต่อ ทำคลิป ทำคอนเทนต์
  10. Generative AI, Data Analytics และ Graphic Design <2%
  11. Microsoft, Adobe และ ML <1%

ลำดับ 10 กับ 11 อาจจะทำให้สงสัย แต่จริง ๆ ไม่ได้มีน้อยนะคะ เพียงแต่เทียบกับคอร์สที่ระบุเจาะจงแบบกว้าง ๆ อย่างขายของออนไลน์ ภาษา จะเยอะกว่าค่ะ ซึ่งบรรดาเครื่องมือในข้อ 10-11 มักจะมีสอนในหลักสูตรเช่นกัน

การเรียนการสอนแบบไลฟ์สด หรือคำว่าคอร์สเรียนสด จะมีการโปรโมตบนออนไลน์มากกว่า เพราะคำว่า Live จะสามารถดึงดูดคนได้มากกว่าคอร์สแบบบันทึกเทปแต่แพลตฟอร์มที่ถูกใช้ก็มีความคล้ายกันแต่ต่างที่ทวิตเตอร์ที่จะมีการโพสต์ถี่ ๆ เกี่ยวกับคอร์สสอนสดภาษาที่ 3 ทางออนไลน์เยอะมาก ๆ ค่ะ

ผู้เขียนมองว่าแบบันทึกเทปสถาบันกวดวิชาสามารถขายได้ดีอยู่แล้ว และไม่ค่อยใช้คำนี้ในการโพสต์เท่าไหร่ค่ะ

จุดประสงค์ของการใช้ e-learning หรือการเรียนออนไลน์นั้นพอลองวิเคราะห์แล้วจะมีบริบทกดังนี้ค่ะ

  1. ฝึกอบรม เทรนนิ่ง 30%
  2. ติวสอบเข้า 26%
  3. Up Skill การทำงาน 14%
  4. ทำแบบทดสอบต่าง ๆ 11%
  5. ทำชั่วโมงกิจกรรม กยศ. 10% บริบทน่าสนใจมากเพราะเป็นการรับจ่างทำแบบจริงจังเลยล่ะค่ะ
  6. ติวเพิ่มเกรด 9%

ภาพรวมคือการพัฒนาตัวเองในแง่ต่าง ๆ เป็นทางเลือกของผู้ที่ไม่สะดวกเดินทางมาเรียนแบบ On-site และยังสามารถสร้างรายได้ให้กับสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งเป็นโครงการที่ดีที่ทางมหาวิทยาลัยมักเปิดสอนให้แก่คนนอกเป็นคอร์สเสริมอีกด้วย

ผู้ที่มักจัดคอร์สสอนผ่านระบบอนนไลน์ และ e-learning สามารถกรุ๊ปเป็นภาพใหญ่ได้ดังนี้ ซึ่งจะเห็นว่าอันดับ 1-3 ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนักค่ะ

  1. มหาวิทยาลัย 30%
  2. สภาบันต่างๆ 28.5%
  3. โรงเรียน 28.5%
  4. สำนักงานต่าง ๆ 13%

ภาพรวมของผู้ที่ใช้ระบบ e-learning ในการเรียน

1. คนทำงาน 39.7%

Prompt : create digital image, A professional woman engaging in an online course at home, with a computer, notepad, and coffee mug on the desk

2. คนทั่วไป ที่ต้องการพัฒนาตัวเอง 26%

Prompt : create digital image, an east asian adult office is studying an online course at a home office desk, with a laptop, books, and a cup of coffee, in a bright room

3. นักศึกษา 17.3%

Prompt : create digital image, 2 College student in a dorm room attending an online course, with a laptop, headphones, and textbooks on the desk.

4. นักเรียน 17%

Prompt : create digital image, East Asian little student learning online, Mathematics subject, with a laptop on a small desk, books to the side, exam mood no deformed face

Sentiment social voice แสดงให้เห็นว่าคนส่วนมากโพสต์ว่าชอบการเรียนแบบออนไลน์ 79.6% เพราะอำนวยความสะดวกสบายได้ดี ไม่ต้องเดินทางให้เียเงินหรือเสียเวลา สามารถเปิดเรียนได้ทุกที่ เหมาะกับคนที่ต้องการสมาธิมาก ๆ เมื่ออยู่คนเดียว

หากใครที่สนใจธุรกิจด้านการศึกษาหรือการกวดวิชาแบบออนไลน์ หรือเป็นครูอาจารย์อาจจะยังต้องพิจารณาถึงข้อ concern เกี่ยวกับคนที่ต้องการให้มีการโต้ตอบระหว่างการเรียนอีกด้วยนะคะ

Data Research Insight คอร์สเรียน ผ่านระบบออนไลน์ และ e-learning

เป็นอย่างไรบ้างคะกับการวิเคราะห์ Social Data เพื่อคลอดออกมาเป็นรีพอร์ตตัวเต็ม นอกจากจะทำให้เห็นวิธีการใช้ Social Listening และการอ่านข้อมูลแล้วยังมีพาร์ทเสริมที่ทาง Sellsuki เพิ่มเติมมาให้รีพอร์ตมีความสมบูรณ์พร้อมนำไปปรับใช้งานมากขึ้น

รายละเอียดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ e-learning ใบนแง่ภาควิชา / คอร์สเรียน ผ่านทาง Learning formats ไม่ว่าจะเป็นสอนแบบไลฟ์สดหรือแบบเทปต่างก็มีจุดเด่นและกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน แต่สามารถวิเคราะห์ Learning objective ให้เห็นได้ว่าคนไทยใช้เพื่อเทรนนิ่ง ฝึกอบรม และเพิ่มความรู้พัฒนาตัวเองนั่นเอง

Overall user professions จะเห็นว่าไม่ใช่แค่นักเรียนเท่านั้นที่ต้องเรียนรู้ อัปเดตความรู้ใส่หัวแต่เป็นวัยทำงานที่ต้องปรับตัวและใช้ศักยภาพจริง ๆ เพื่อการทำงานที่เติยโตค่ะ สุดท้ายเราสามารถแบ่ง Sentiment social voice มาปิดท้ายเพื่อแสดงให้เห็นว่าคนส่วนมากชอบการเรียนแบบออนไลน์เพราะสะดวก เรียนได้ทุกที่ เหมาะกับคนที่ต้องการสมาธิมาก ๆ

หากใครที่สนใจการศึกษาหรือการกวดวิชาแบบออนไลน์ยังต้องพิจารณาถึงข้อ concern เกี่ยวกับคนที่ต้องการ interaction อีกด้วยนะคะ รวมทั้งคนที่หากไม่อยู่ในห้องเรียนก็จะเป็นสายชิลไม่มีสมาธิในการจดจ่อ เผลอไถโซเชียลแทนที่จะสนใจบทเรียนซะงั้นค่ะ~

แนวทางการแก้อาจต้องให้ผู้สอนเพิ่มฟีเจอร์หรือช่วงที่นักเรียนต้องตอบโต้กับครูหรือเพื่อนในห้องเป็นช่วง ๆ แทนที่จะสอนยาว ๆ ค่ะ ยังไงลองเอาข้อมูลไปปรับกับคอร์สดูนะคะ

ในบทความนี้ว่าละเอียดแล้ว แต่ยังข้อมูลดี ๆ ยังไม่หมดแค่นี้ค่ะ นักการตลาด เจ้าของธุรกิจ และบุคคลทั่วไปทุกคนสามารถโหลดตัวเต็มได้ที่ด้านนี้เลย สามารถนำข้อมูลไปปรับใช้ ช่วยในการตัดสินใจได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ขอแค่เครดิตกลับมาที่การตลาดวันละตอน และ Sellsuki ที่เป็นสปอนเซอร์ใจดีที่มาสนับสนุนการแชร์ข้อมูลดี ๆ แบบนี้ค่ะ

ติดตาม Sellsuki ช่องทางอื่น ๆ Webstie Facebook LINE : @sellsuki Tel. : 02-026-3250

ฝากอีกนิดหากใครต้องการข้อมูลไปทำสื่อแชร์ต่อ ทำซ้ำ หรือต่อยอด แค่ส่ง Backlink กลับมาที่บทความนี้ และส่งลิงก์สื่อที่คุณนำไปต่อยอดมาที่ [email protected] เท่านั้นเอง

อ่าน Data Research Insight by Social Listening เพิ่มเติมได้ที่นี่

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 21 

คุณอุ้มเป็นผู้เรียน Social Listening Analytics รุ่น 21 ของการตลาดวันละตอนที่กลับมา Present การบ้านหลังจากที่ได้เรียนผ่านไป 1 สัปดาห์ เธอเอาไปทำงานกันของลูกค้าอาหารแมวรายหนึ่ง ทำให้พบ Data Insights มากมายที่คาดไม่ถึง

เธอใช้แนวทาง 8 ขั้นตอนการใช้ Social Listening โดยการตลาดวันละตอน (ที่อยู่ในหนังสือ Social Listening ด้วย) ไล่ทำตามทุกขั้นตอนจนทำให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนโดยไม่หลงทาง

  1. Set Objective & Research Keywords
  2. Set Social Listening & Collecting Data
  3. Cleansing Data
  4. Conversation Analysis
  5. Categorized Data
  6. Visualization
  7. Summary Insights
  8. Strategy & Recommendation

ถ้าดูจากภาพจะเห็นว่า เธอพบว่าอาหารแมวชนิดไหนได้รับความสนใจมากที่สุด หรือ Insights อาหารแมวจากช่วงวัยที่น่าสนใจ ว่าคนเลี้ยงแมวใส่ใจเมื่อแมวเริ่มอายุเยอะกว่าแมวโตทั่วไป จนสุดท้ายออกมาเป็นกลยุทธ์เพื่อนำไป Set Business Strategy & Marketing Communication ต่อ

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย~

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *