กลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจ Personalization เพิ่มยอดขายกับกลุ่ม Cart abandon ด้วย Remarketing

กลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจ Personalization เพิ่มยอดขายกับกลุ่ม Cart abandon ด้วย Remarketing

กลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจ 101 Personalized Marketing กับ Cart abandon segment กลุ่มคนที่จะซื้อของเราแต่ยังไม่ยอมซื้อสักที ด้วยการใช้ Remarketing ในแบบ Persoanlization ครับ

Cart abandon หนึ่งในปัญหาใหญ่ของธุรกิจที่มีการขายทางออนไลน์ มันคือการที่มีคนกดสินค้าใส่ตะกร้าทิ้งไว้แต่ไม่ยอมกดชำระจ่ายเงินให้เสร็จสิ้น

จากรายงานพบว่าบรรดาร้านค้าออนไลน์มีปัญหานี้ไม่น้อยกว่า 69% หรือถ้าคิดเป็นเงินยอดขายรวมกันถ้าทำได้ไม่น้อยกว่า 150 ล้านล้านบาททั่วโลก

แต่โชคดีวันนี้เรามีคำตอบให้กับปัญหา Cart abandon ดังกล่าว ด้วยการตลาดแบบรู้ใจ Personalization กับกลยุทธ์ที่จะดึงคนที่เอาสินค้าใส่ตะกร้าค้างไว้ให้กลับมาชำระเงินให้เสร็จง่ายขึ้น เพราะเราสามารถคัดเฉพาะกลุ่มคน Segment Cart abandon นี้ออกมาเพื่อทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงลงไป ไม่ทำต้องการตลาดแบบหว่านออกไปให้ทุกคนที่ไม่เกี่ยวให้เปลืองงบ

เพราะในเว็บไซต์ ​Ecommerce ของเรานั้นสามารถใส่ระบบ Tracking ติดตามผู้ใช้งานได้ทุกอย่าง แต่คำถามสำคัญที่ผมมักเจอบ่อยๆ คือ แล้วเราควรเก็บ Data อะไรดีจากหน้าเว็บ ลองมาดูตัวอย่างดาต้าที่ควรเก็บเพื่อเอามาทำ Personalization กันต่อครับ

Event Name หรือ Behavioral Data

  • Product Clicked คือ คนคลิ๊กดูอะไร
  • Product Viewed คือ คนดูรายละเอียดสินค้าตัวไหน
  • Product Added คือ สินค้าตัวไหนที่ถูกกดใส่ตะกร้า
  • Product Removed คือ สินค้าตัวไหนที่คนกดออกจากตะกร้า
  • Cart Viewed คือ กลับมาดูหน้าตะกร้ารวมสินค้าหรือเปล่า
  • Checkout Started คือ เริ่มกระบวนการการจ่ายเงินชำระค่าสินค้าหรือยัง
  • Checkout Step Viewed คือ อยู่ในหน้ากระบวนการจ่ายเงินหรือยัง
  • Checkout Step Completed คือ กรอกข้อมูลรายละเอียดการซื้อเรียบร้อยหรือยัง
  • Payment Info Entered คือ กรอกข้อมูลการชำระเงินเข้ามาหรือยัง
  • Order Completed คือ จ่ายเงินเรียบร้อยหรือยัง
  • Order Updated คือ มีการเพิ่มสินค้าหรือปรับเปลี่ยนข้อมูลการซื้อหรือเปล่า
  • Order Refunded คือ มีการทำเรื่องขอคืนเงินหรือเปล่า
  • Order Cancelled คือ มีการทำเรื่องยกเลิกออเดอร์ที่สั่งหรือเปล่า

เห็นไหมครับว่าลำพังแค่ในส่วนของเว็บ Ecommerce ก็สามารถเก็บ Data เพื่อเอาไปทำ Personalization ได้มากมาย นี่เป็นแค่ส่วนเดียวไม่ใช่ทั้งหมดของเว็บ เพราะถ้าจะเอาทั้งหมดของเว็บเราสามารถทำการตลาดแบบรู้ใจได้ละเอียดกว่านี้มาก

จากลำดับ Journey ของการซื้อสินค้าทางออนไลน์ที่บอกมา จะเห็นว่าเราสามารถคิดกลยุทธ์การตลาดแบบลงรายละเอียดในแต่ละ Journey ได้มากมาย

คนที่แค่เลือกดูสินค้า กับคนที่กดสินค้าชิ้นนั้นใส่ตะกร้าแล้ว กับคนที่เพิ่งจ่ายเงินเสร็จเรียบร้อย ก็จะเห็นว่าแค่ 3 Segment นี้วิธีทำ Remarketing ก็ต่างกันแล้ว

ทั้งหมดนี้จะวัดกันที่นักการตลาดคนไหนจะใส่ใจใน Customer Data มากกว่า และมีความละเอียดในการทำการตลาดที่เหนือกว่า ทำการตลาดในทุก Customer Journey ลงไป จากนั้นก็วัดผลแล้ว Optimized Campaign ให้ดีขึ้น เพียงเท่านี้คู่แข่งก็ไม่สามารถไล่ตามกลยุทธ์การตลาดทั้งหมดเราได้ทัน เพราะไม่มีใครสามารถอยู่ในทุก Segment ของเราได้ครับ

ในตอนหน้าเราจะไปดูกลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจ 101 Personalization Strategy ที่ 4 กับการปรับหน้าแรกของเว็บที่คนเข้ามาให้รู้ใจมากที่สุดจนเพิ่มยอดขายได้ดีที่สุดครับ

อ่านบทความชุด How to Personalization Strategy ตอนที่ 1

https://www.everydaymarketing.co/knowledge/6-customer-data-collecting-for-start-personalization-101/

อ่านบทความชุด How to Personalization Strategy ตอนที่ 2

https://www.everydaymarketing.co/knowledge/3-martech-for-personalization/

อ่านบทความชุด How to Personalization Strategy ตอนที่ 3 – 6 How to Start Personalization Strategy กลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจ 101

https://www.everydaymarketing.co/knowledge/6-how-to-personalization-strategy-ep1-personalized-marketing-every-segment-of-customer-journey/

อ่านบทความชุด How to Personalization Strategy ตอนที่ 4 – Personalization Strategy กับ Anonymous ID การตลาดแบบรู้ใจได้แม้ไม่รู้จัก

https://www.everydaymarketing.co/knowledge/personalization-strategy-with-anonymous-id-with-cdp-customer-data-platform/

Source: https://learn.segment.com/advanced-personalization-guide/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *