แนวคิด ESG คืออะไร บริษัทไหนทำ ESG อะไรกันบ้าง

แนวคิด ESG คืออะไร บริษัทไหนทำ ESG อะไรกันบ้าง
แนวคิด ESG คืออะไร บริษัทไหนทำ ESG อะไรกันบ้าง

ปัจจุบัน “แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน” (Environmental, Social, Governance หรือ ESG) ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากบริษัทจดทะเบียนและนักลงทุนทั่วโลก โดยมีหลักการอย่างง่าย คือ ธุรกิจควรให้ความสำคัญ กับ การเติบโตทางเศรษฐกิจ มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยปกติ

หากถามว่า ESG มีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจอย่างไร คำตอบคือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ และแสวงหาผลตอบแทนที่ไม่ใช่อยู่ในรูปของผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ยังคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลของกิจการด้วย

ESG คืออะไร

ESG เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน โดยย่อมาจาก Environment, Social, และ Governance ปัจจุบัน ESG ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลกในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นแนวคิดที่นักลงทุนใช้ประกอบการพิจารณาลงทุน โดยจะให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจ ที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแล แสดงให้เห็นว่าธุรกิจที่มี ESG ที่ดีจะสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพของการเติบโตในระยะยาว

“E” Environmental สิ่งแวดล้อม

ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นผลมาจากการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจต้องมีใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าทุกธุรกิจล้วนมีส่วนในการทำร้ายโลกไม่มากก็น้อย ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่าที่สุดและทำให้ผลเสียจากการดำเนินธุรกิจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น

  • Climate change
  • Biodiversity
  • Energy resources & Management
  • Biocapacity & Ecosystem quality
  • Air pollution
  • Natural resources
  • Water resources  & pollution

“S” Social สังคม

ด้านสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชุมชนท้องถิ่น และผู้ทำงานในห่วงโซ่คุณค่า หรือ เป็นการพิจารณาการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรม และ เท่าเทียม รวมถึงความเป็นอยู่ของสังคมทั้งภายใน และ ภายนอกของบริษัท ตัวอย่างเช่น

  • Human rights
  • Employee relations
  • Skilled labor
  • Health and safety
  • Diversity
  • Customer relations
  • Product responsibility

“G” Governance บรรษัทภิบาล

ด้านธรรมาภิบาล เป็นประเด็นของความโปร่งใสในการดำเนินงานของธุรกิจ รวมไปถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและการตรวจสอบเพื่อผลประโยชน์ที่เป็นธรรมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของธุรกิจทั้งหมด ซึ่งอาจประเมินได้จากความโปร่งใสในการดำเนินงาน วัฒนธรรมองค์กร กฎ ระเบียบ สัดส่วน และนโยบายในการแบ่งผลตอบแทน การจัดการด้านภาษี โครงสร้างผู้บริหาร ความแตกต่างหลากหลายของผู้บริหารและคณะกรรมการของบริษัท ความปลอดภัยทางไซเบอร์ การเปิดเผยนโยบายและขั้นตอนอย่างตรงไปตรงมา การดำเนินการเพื่อลดการทุจริตและคอรัปชั่นในองค์กร โดยทุกขั้นตอนการดำเนินงานต้องโปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้ ตัวอย่างเช่น

  • Business integrity
  • Shareholder rights
  • Executive pay
  • Audit practices
  • Board independence & expertise
  • Fiduciary duty

ทำไม ESG ถึงมีความสำคัญในปัจจุบัน 

หากเราพูดถึงในอดีต นักลงทุนเวลาตัดสินใจในการลงทุนแต่ละครั้งจะคำนึงถึงกำไรสูงสุดเป็นสิ่งแรก แต่ในปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้ม สังคม ธรรมาภิบาลมากขึ้น ดังนั้นนักลงทุนควรหันมาสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อเป็นการต้องรับนักลงทุนใหม่ ๆ ทั่วโลก และโดดเด่นกว่าคู่แข่ง รวมถึงหากบริษัทคำนึงถึงความยั่งยืนที่กล่าวมาข้างต้น จะสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าบริษัทที่แสวงผลกำไรในระยะยาวอีกด้วย เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเกิดจากการลงทุนที่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวก ธุรกิจสามารถบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐาน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับแค่ผลประกอบการเพียงอย่างเดียว 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการปรับใช้แนวคิด ESG

  1. แสดงให้เห็นถึงองค์กรที่มีคุณภาพ

บริษัทสื่อถึงการให้คุณค่าแก่พนักงานได้อย่างดี ทำให้พนักงานมีแรงจูงใจทำงานกับบริษัทที่เห็นคุณค่า คนเก่งอยากเข้ามาเป็นส่วนร่วมในองค์กรมากขึ้น ปัญหาการลาออกลดน้อยลง

  1. ดึงดูดลูกค้าได้ทั่วโลก

การใช้แนวคิด ESG ในการทำธุรกิจ แสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ ทั้งการใส่ใจสิ่งแวดล้อม การจัดการแบบยั่งยืน การดูแลพนักงาน การเอาใจใส่ลูกค้า ที่สำคัญสามารถตรวจสอบการทำงานได้ทุกขั้นตอน ทำให้ลูกค้าเก่าก็จะเกิดความพึงพอใจ ลูกค้าใหม่ก็อยากเข้ามาใช้งานหรือใช้บริการ

ด้วยหลักการที่ทันสมัยสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แนวคิดเรื่อง ESG จึงถูกนำมาพูดถึงและประยุกต์ใช้ในองค์กรทั่วโลก 

ตัวอย่างบริษัทที่นำ ESG เข้ามาใช้ในการทำธุรกิจ

ปตท ESG (PTT) – ประเภท: อุตสาหกรรมการกลั่นและการตลาดน้ำมันและก๊าซ

ปตท. มุ่งเน้นการสร้างความโปร่งใสและพัฒนาธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบของสหประชาชาติโดยให้ความสำคัญกับการตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล


แหล่งที่มา: PPT Official Website

ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE ESG) – ประเภท: การให้บริการโทรคมนาค

บริษัทดำเนินนโยบายด้านความยั่งยืนทั้งหมด 3 มิติ คือ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และมิติด้านสิ่งแวดล้อม

  • Heart ครอบคลุมการทำธุรกิจอย่างโปร่งใส มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี การพัฒนาผู้นำธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม เคารพสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนให้แก้เด็กทั่วประเทศ
  • Health คือ การพัฒนาองค์กร สังคม ชุมชนควบคู่กันไป ส่งมองชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้า และผู้ใช้บริการ รวมถึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาระบบการศึกษา
  • Home หมายถึง สำนักงาน ชุมชนบริเวณใกล้เคียงที่ตั้งของหน่วยงานต่างๆของบริษัท รวมถึงสิ่งแวดล้อม ทางบริษัทมีมาตรการประหยัดพลังงาน ลดการก่อให้เกิดชองเสีย และ มีการใช้นวัตกรรมต่างๆ สร้างความตระหนักรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แหล่งอ้างอิง: True official Wedsite

บริษัท เทสลา (ประเทศไทย) จำกัด (Tesla ESG)- ประเภท: ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

บริษัท เทสลา ได้มีการดำเนินนโยบายด้านความยั่งยืนทั้งหมดภายใต้กรอบ ESG ซึ่งหมายถึงความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (Environmental), ความยั่งยืนทางสังคม (Social), และการบริหารจัดการ (Governance) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 มิติหลัก คือ

  • มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental Dimension) Tesla มุ่งเน้นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปล่องพลังงานและปล่องก๊าซเรือนกระจก และลดการใช้แร่ธาตุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม: Tesla มุ่งเน้นใช้แร่ธาตุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลงในการผลิตรถยนต์ของพวกเขา
  • มิติสังคม (Social Dimension)Tesla มีนโยบายในการสร้างงานและการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างผลกระทบที่เชื่อมโยงกับสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า หรือที่เห็นได้ชัดคือ การใช้การขับด้วย
  • มิติการบริหารจัดการ (Governance Dimension) Tesla มุ่งเน้นการบริหารจัดการที่ดีเพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาดำเนินธุรกิจอย่างรอบด้านและอยู่ในตำแหน่งที่มั่นคงการรายงานการบริหารจัดการ และรายงานผลการบริหารจัดการและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในรายงานการเผยแพร่

Unilever: บริษัท Unilever – ประเภท: ผลิตภัณพ์ความงาม เครื่องใช้ในครัวเรือน

Unilever มุ่งเน้น ESG ในการดำเนินกิจกรรมของพวกเขา โดยใช้แผนยุคใหม่ “Unilever Sustainable Living Plan” หรือ ” USLP ” โดยมีการดำเนินโยบายความยั่งยืนดังนี้

  • มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental Dimension) Unilever มุ่งเน้นในการลดคาร์บอนในการผลิตและในรุ่นสินค้าที่พวกเขาผลิต และการใช้พลังงานสะอาดในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการลดการใช้น้ำและสร้างความยั่งยืนในการจัดการของประเทศในทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไม้และปาล์มน้ำมัน
  • มิติสังคม (Social Dimension) บริษัทนี้มุ่งเน้นในการสนับสนุนสิ่งแวดล้อมสังคมให้ดียิ่งขึ้น โดยการสนับสนุนโครงการสาธารณะและการพัฒนาชุมชน รวมถึงการสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนและสุขภาพที่ดีในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค
  • มิติการบริหารจัดการ (Governance Dimension) Unilever มุ่งเน้นในการจัดการองค์กรให้มีความโปร่งใสและความสอดคล้องกับมาตรฐานทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของพวกเขาสอดคล้องกับความรับผิดชอบทางธุรกิจและความเป็นธรรมในการทำธุรกิจ

สรุปแนวคิด ESG ช่วยบริษัทยังไง

บริษัทที่มีการบริหารจัดการที่ดีในด้าน ESG มักจะสร้างความเชื่อถือจากลูกค้าและผู้ลงทุนที่มีความสนใจในความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมนี้ สามารถช่วยให้บริษัทดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ และเพิ่มฐานลูกค้าและผู้ลงทุนที่มีค่าในระยะยาว และลดความเสี่ยงทางกฎหมายและความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยการป้องกันความเสี่ยงจากเหตุการณ์สิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนโครงการทางสังคมและสิ่งแวดล้อมช่วยสร้างความเชื่อมโยงบวกในชุมชนที่บริษัทดำเนินธุรกิจ ซึ่งสามารถเสริมสร้างความไว้วางใจและความสนใจในตลาดที่เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันในตลาดและเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่อาจมีการเติบโตอย่างมาก

References:

อ้างอิง1, อ้างอิง2, อ้างอิง3, อ้างอิง4, อ้างอิง5, อ้างอิง6, อ้างอิง7, อ้างอิง8

หากผู้อ่านต้องการอ่านบทความเพิ่มเติมโดยผู้เขียนสามารถกดที่ตรงนี้ได้เล

Brainbruch

Analyst คนนึงที่ชื่นชอบการหาความรู้ใหม่ ๆ และอยากจะมาแชร์ให้ทุกคนได้ลองอ่านกันครับ!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *