ทำการตลาดแบบ B2B2C Campaign ยังไงให้ได้ใจคน

ทำการตลาดแบบ B2B2C Campaign ยังไงให้ได้ใจคน

สวัสดีครับทุกท่าน หลังจากหายไปนาน ผมขอกลับมาต่อเรื่องราวของงานแบบ Creative Effectiveness แต่วันนี้ แคมเปญที่จะมาเล่าให้ฟังจะเป็นลักษณะของการทำ B2B2C Campaign ซึ่งโดยปกติเราจะคุ้นชินกับการทำการตลาดแบบ B2B หรือ B2C กันใช่ไหมครับ

ในบทความ The Challenges Of B2B2C Marketing In Major Corporations ของ Forbes ได้พูดถึงประโยชน์ของการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยกัน จากผู้ผลิตไปยังผู้เกี่ยวข้องมากมาย แต่ก็มีความท้าทายในการปฏิบัติจริง เพราะไม่ง่ายที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ทุกฝ่ายพึงพอใจร่วมกัน เพราะไม่ใช่แค่การทำการตลาด แต่คือความสัมพันธ์ และคุณค่าที่ทุกภาคส่วนต้องส่งต่อให้กัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย

B2B2C Campaign
ร้านอาหารถือเป็นกลุ่มที่ใช้ก๊าซหุงต้มอย่างสม่ำเสมอ และในปริมาณที่มาก รวมถึงขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน

ความเฉพาะตัวของตลาดก๊าซหุงต้มในประเทศไทย

เพราะผลิตภัณฑ์ก๊าซหุงต้ม ถือเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับปากท้องของผู้บริโภค เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบอาหาร ทั้งในครัวเรือน และร้านอาหารจำนวนมาก ที่มีการกระจายตัวอยู่ทั่วไปในประเทศไทย ดังนั้น การทำการตลาดของผลิตภัณฑ์นี้ จึงต้องเป็นการทำการตลาดที่ทุกฝ่าย “ต้องได้” ไปพร้อมๆกัน เช่น คุณภาพจากผู้ผลิตต้องปลอดภัยในระดับสูงสุด ตัวแทนจัดจำหน่ายต้องมีความเข้าใจในผลิตภัณฑ์เป็นอย่างดีเพื่อให้คำแนะนำในการใช้งาน รวมไปถึงการเก็บรักษาให้กับผู้ใช้งาน ทั้งในร้านอาหารต่างๆ และผู้ใช้งานในครัวเรือน ทั้งนี้ พวกเขาจะต้องได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ดีสำหรับการประกอบอาหาร ที่มาพร้อมกับราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ ดังนั้น งานประเภทนี้ไม่ใช่แค่การทำการตลาด แต่คือการสร้างความพึงพอใจ และส่งต่อคุณค่าให้กันตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ

B2B2C Campaign
การสร้างแบรนด์เจ้าตลาดให้เป็น Enduring Icon คือการรักษาความเป็นผู้นำโดยทำให้แบรนด์ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้บริโภคในระยะยาว

ทำยังไงให้อยู่อันดับ 1 “ในใจ” คน

โจทย์ของก๊าซหุงต้ม ปตท. ไม่ใช่อยู่ที่การเพิ่มยอดขาย เพราะมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 อยู่แล้ว แต่มันคือการทำอย่างไรให้คนที่ทานอาหาร ร้านอาหารชุมชน ร้านขายส่งก๊าซหุงต้ม ได้รับคุณภาพ และความสุขไปพร้อมๆกัน เราจึงมีแนวคิดที่จะมอบรางวัลให้กับร้านอาหารขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ได้รับประโยชน์ และคุณค่าร่วมกัน

  • B2B ร้านตัวแทนจำหน่ายได้รับการส่งเสริมการขาย ไปยังร้านอาหารชุมชนรอบ ๆ
  • B2C ร้านอาหารชุมชนที่ประสบปัญหาต่อเนื่องหลังโควิด และต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในการแข่งขัน
  • B สุดท้าย คือ Be a good BRAND เพราะแบรนด์ที่ดีต้องให้คุณค่าที่ส่งถึงผู้คน โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ที่รับประทานอาหารร้านประจำใกล้บ้าน 

เรื่องการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ 1 ในใจ ผมเคยเขียนไว้ในบทความ Creative Effectiveness ก่อนหน้านี้ ในการทำแบรนด์ให้เป็น Enduring Icon สามารถไปอ่านขยายความต่อได้

Tips ออกแบบกติกาให้ง่าย ไม่เอาที่แบรนด์สะดวก แต่ต้องให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสะดวก

เริ่มต้นที่การ “ให้” ไม่ใช่ “รับ” 

ความตั้งใจของก๊าซหุงต้ม ปตท. คือมีความตั้งใจที่ดีตั้งแต่แรก ที่จะส่งเสริมธุรกิจชุมชน
ดังนั้น จึงเกิดเป็นไอเดียในการแจกรางวัลให้กับร้านอาหาร ซึ่งไม่ใช่แค่การประกวดแบบทั่วไป
แต่เป็นการหาร้านอาหารที่เป็นขวัญใจของชุมชน โดยให้ผู้คนในชุมชนร่วมกันโหวตร้านที่อร่อย และบอกเล่าเรื่องราวประทับใจที่ดีๆต่อกัน จากนั้นส่งต่อให้ทีมงานไปเยี่ยมชม และประกาศรางวัลให้กับผู้รับการคัดเลือก ทั้งหมดนี้ ถือเป็นการสนับสนุน และช่วยโปรโมตร้าน รวมถึงส่งเสริมการตลาดผ่านสื่อที่มีจำนวนผู้ติดตามจำนวนมากของ ก๊าซหุงต้ม ปตท.ไปในตัว

นอกจากนั้น ความพิเศษของแคมเปญนี้อยู่ที่ “เงื่อนไข” ที่ใจกว้างมากๆ เพราะไม่ว่าร้านนั้นจะใช้ผลิตภัณฑ์ของ ปตท. หรือไม่ ก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ สุดท้ายแล้ว ถ้าหากได้รับการคัดเลือกจากการเสนอชื่อเข้าร่วม ก็จะได้ก๊าซหุงต้ม ปตท. ไปใช้ฟรีๆอีกครึ่งปี หรือถ้าหากติดใจในมาตรฐานก็สามารถสั่งต่อ และฝากตัวเป็นลูกค้าประจำกับตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่ใกล้ๆได้

ผลลัพธ์ของความใส่ใจ

  • เกือบ 500 ร้านเล็กๆได้รับการเสนอชื่อจากลูกค้าประจำ
  • 150 ร้านที่ได้รับการโปรโมตจากก๊าซหุงต้ม ปตท.
  • 6 ล้าน Engagement ที่เกิดขึ้นตลอดเเคมเปญ

เกิด Positive Feedback มากมายที่ส่งตรงถึงตัวแทนจำหน่าย รวมถึงการสร้างความสุขให้กับร้านอาหารใกล้บ้าน และลูกค้าประจำที่ประเมินมูลค่าไม่ได้ จากเรื่องราวความประทับใจที่ถูกส่งเข้ามาโดยลูกค้าประจำจากร้านต่างๆ

ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นในระยะเวลา 1 เดือนครึ่งของแคมเปญ จะเห็นได้ว่าการทำ B2B2C Campaign ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้อง “เข้าใจ” และ “ใส่ใจ” ในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ระหว่างแคมเปญจำนวนมาก มันไม่ใช่แค่การทำหนังโฆษณาหรือโพสต์ในออนไลน์ เพื่อจัดการมอบรางวัลให้กับร้านต่างๆ แต่มันคือการเริ่มต้นจากการ “ฟัง” เสียงของผู้เกี่ยวข้องทุกคนในกระบวนการ จนกลายมาเป็นผลลัพธ์ของความใส่ใจ ที่ทำให้กลายเป็น Brand Engagement ที่ช่วยให้แบรนด์อยู่ในใจของผู้บริโภคต่อไป

References:

https://www.forbes.com/sites/forbescommunicationscouncil/2018/05/18/the-challenges-of-b2b2c-marketing-in-major-corporations/?sh=722af1a1776a

https://tanktankboktor.com/

https://theecommmanager.com/ecommerce/b2b2c/

บทความที่แนะนำ

Dissara Udomdej

CEO & Founder of Yell Advertising - อดีตบรรณารักษ์ ที่กลายมาเป็นนักโฆษณา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *