วิเคราะห์กลยุทธ์การตลาด Duolingo TikTok Marketing Strategy

วิเคราะห์กลยุทธ์การตลาด Duolingo TikTok Marketing Strategy
วิเคราะห์กลยุทธ์การตลาด Duolingo TikTok Marketing Strategy

Duolingo คืออะไร?

Duolingo คือแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้ใช้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้ถึง 38 ภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษาฝรั่งเศษ ภาษาจีน และอีกมากมายอย่างสนุกสนานและฟรี ผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้ภาษาได้ตามความชำนาญของตนเอง โดยมีแอปเป็นผู้วิเคราะห์วิธีการเรียนรู้ของแต่ละคน และปรับแต่งเพื่อผู้ใช้งานแต่ละคน รวมถึงลักษณะของแอปนี้เป็นการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเล่นเกมส์ ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกไม่เหมือนการเรียนในห้องเรียนที่ขาดความบันเทิงอีกด้วย

ถ้าหากเทียบแอปนี้กับแอปเรียนภาษาอื่น หลาย ๆ คนก็อาจจะรู้จัก Duolingo มากกว่าอย่างแน่นอน แอปนี้พึ่งก่อตั้งได้ไม่นาน แต่มีผู้ใช้งานมากถึง 400 ล้านราย และเพิ่มมากขึ้นในช่วง COVID-19 ดังนั้นเจ้าแอป Duolingo มีกลยุทธ์เฉพาะอย่างไรใน TikTok ที่ทำให้แอปนี้เป็นที่รู้จักทั่วโลก มาเรียนรู้กันว่าทำไมแบรนด์นี้ถึงประสบความสำเร็จใน TikTok และเราสามารถนำกลยุทธ์ที่มีความสำเร็จนี้ไปใช้กับแบรนด์ของเราเองได้อย่างไร

กลยุทธ์ของ Duolingo

1.สร้าง Characteristics ให้กับช่อง

การสร้างคอนเทนท์ที่โดดเด่น เน้นแบรนด์ ตลก และทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เช่น การตอบคอมเมนท์ที่สนุกสนาน ทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าคอมเมนท์ของเขาตลกและผู้คนสนใจ แอดมินได้มีลีลาฝีปากในการตอบที่ติดตลกและไม่ทางการจนเกินไป นอกจากนั้นช่องนี้ยังมีจุดเด่นที่ทำให้ผู้ชมนึกถึง คือ มาสคอตนกฮูก Duolingo ที่เป็นตัวดำเนินเรื่องในทุกคลิป รวมถึงมีการ Collab กับดาราดังในช่วงนั้น ๆ ของเทรนด์ Tiktok อีกด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าแบรนด์นี้ให้ความสำคัญกับ Customer experience ที่มอบความบันเทิงให้กับผู้ติดตาม ทำให้นอกจากผู้ติดตามจะทำการดาวน์โหลดแอปแล้ว ยังมีการกระตุ้นให้ผู้ติดตามมีวินัยในการฝึกภาษาในทางอ้อมได้อีกด้วย

2.สร้าง Clip ตามเทรนด์

จากวิดีโอสังเกตได้ว่า Duolingo ไม่ได้เน้นแค่สาระความรู้เพียงอย่างเดียว คลิปต่าง ๆ จะสร้างโดยการสังเกตเทรนด์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ที่ผู้คนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทำให้คลิปเป็นไวรัลได้ง่าย และแฝงความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์เข้าไปในคลิปผ่านตุ๊กตามาสคอตเพื่อเป็นภาพจำแก่ผู้ชม

ปัจจุบันมีการเปิดตัวภาพยนตร์ barbie เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งภาพยนตร์นี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ทำให้ฐานผู้ที่เข้ามาชมคลิปนี้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ไม่ใช่แค่ในประเทศเจ้าของภาษา แต่เป็นถึงทั่วโลกเลย และอีก 1 จุดสังเกต คือ การมีส่วนร่วมระหว่าง Duolingo กับผู้ชมทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกดีกับแบรนด์

Source: Duolingo (@duolingo) อย่างเป็นทางการ | TikTok

3.ทำคอนเทนท์พูดถึงแบรนด์คู่แข่ง

ถ้าหากติดตาม TikTok ของ Duolingo จะเห็นได้ว่ามีการเปรียบเทียบแบรนด์ตัวเอง กับแบรนด์คู่แข่งใหญ่ ๆ เช่น -Google translate แต่ไม่ได้นำเสนอออกมาโดยตรง จะทำคลิปออกมาในแนวให้ความบันเทิง ขำ ๆ มากกว่า ทำให้ผู้ชมเข้าถึงง่าย และเข้าใจถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจนอีกด้วย โดยการที่แบรนด์ไม่ทำให้ภาพลักษณ์อีกแบรนด์เสียหายและอีกหนึ่งข้อวิเคราะห์ คือ Duolingo ใช้เพลงที่เป็นเพลงยอดนิยมทุกเพลง  ลักษณะการพูดที่ติดหูผู้ชม ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่พัฒนาจากเมื่อก่อนมาก 

4.ทำคลิปให้สั้นลงถ้าต้องการให้คนดูหลายรอบ

เมื่อก่อนคลิปที่ถูกสร้างมีความยาวถึง 40 วินาที ถ้าผู้ชมคลิปเจอคลิปที่มีความยาวมากเกินไปก็อาจจะทำให้เขาเลื่อนผ่านได้ แต่ในปัจจุบันความยาวของคลิปไม่ถึง 10 วินาทีด้วยซ้ำ แต่ทางแบรนด์สามารถรวมเนื้อหาให้น่าสนใจ ทำให้ผู้ชมรับรู้ถึงจุดประสงค์ของคลิปได้ง่ายหรือย่อยได้ง่าย ทำให้ผู้เข้าชมรับชมจนจบ และไม่เลื่อนผ่าน มีการเซฟหรือดูซ้ำ โดยปัจจุบันอัตราการมีส่วนร่วมของ TikTok ของ Duolingo เฉลี่ยอยู่ที่ 16.5%

Source: Duolingo’s TikTok Strategy: Insights & Data | Socialinsider

5.วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายจาก Data analytics

การเก็บรวบรวมข้อมูลทำให้แสดงถึงช่วงอายุของผู้ชมที่เข้ามาชม ว่าอายุประมาณไหน แต่ละ Gen จะมีความชอบที่แตกต่างกัน ซึ่งของ Duolingo มีผู้ชมวัยที่เข้ามาชมมากที่สุดอยู่ที่ช่วงอายุ 18-24 ปี ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้วางแผนในการทำคลิปได้ เช่น ทำความยาวคลิปให้สั้นประมาณ 10 วินาที ทำคลิปเกี่ยวกับ pov (มุมมองของบุคคล) ให้มีความตลก สนุกสนานแทนการให้ความรู้

Source: How Duolingo Grew Its TikTok to 6.6M Followers (substack.com)

6.การติดแฮชแท็ก ไว้ในทุกคอนเทนท์

Source: Duolingo อย่างเป็นทางการ | TikTok

การติดแฮชแท็กทำให้เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ติดตามได้ดีมาก เช่น การติดแฮชแท็กตามเป้าหมายของคลิปว่าสื่อถึงอะไร คลิปนี้หมายถึงยังไง หรือติดแฮชแท็กเป็นชื่อ Duolingo เอง ผู้ใช้งานที่สนใจจะเข้ามาติดตาม เข้ามาดูตามแฮชแท็กเป็นส่วนมาก แสดงให้เห็นถึง “การรับรู้ถึงแบรนด์” ได้ดีเช่นกัน

รวมถึงการติดแฮชแท็กทำให้เราเห็นถึงกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของแบรนด์ได้มากขึ้น จากการวิเคราะห์แล้วเป้าหมายส่วนใหญ่ของแอปนี้ เป็นคนกลุ่ม Gen Z ซึ่งเราจะสามารถนำมาวิเคราะห์การสร้างคลิปถัดไปได้ด้วย เช่น คลิปที่เหมาะกับ Gen Z ควรเป็นคลิปที่ตามกระแส มีความสนุก สั้น กระชับ เข้าใจง่าย

สรุป

การที่ Duolingo เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดแบบนี้เกิดจากการสร้างกลยุทธ์ TikTok ที่มีแนวคิดแบบสร้างสรรค์และนอกกรอบ อีกทั้งสามารถสร้างคลิปที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองด้วยการสร้างลักษณะเฉพาะให้คนจำได้ นำเสนอความตลก ความบันเทิงให้คนจดจำ ผ่านการทดลองทำอย่างซ้ำ ๆ เรียนรู้จากข้อผิดพลาด และวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ชมได้อย่างดีเพื่อให้เจอลักษณะการติดตามคอนเทนท์ ทำให้ปัจจุบัน TikTok ของ Duolingo สามารถเป็นกรณีศึกษากับแบรนด์อื่น ๆ และเป็นแอปฝึกภาษาที่ให้ความบันเทิงจนสามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานแอปได้เป็นจำนวนมาก

References:

  1. (63) กรณีศึกษา Duolingo แอปเรียนภาษา ที่เป็นยูนิคอร์นแล้ว – YouTube
  2. Case Study: ไขความลับการเติบโตของ Duolingo แอปเรียนภาษาที่ทุกคนเข้าถึงได้โดยไร้ข้อจำกัด – THE GROWTH MASTER
  3. เกี่ยวกับเรา – Duolingo
  4. Duolingo’s TikTok Strategy: Insights & Data | Socialinsider
  5. How Duolingo Created a Formula for Success on TikTok | Sprout Social
  6. Duolingo | TikTok for Business Case Study
  7. The creative force behind Duolingo’s viral TikTok account – Marketplace
  8. How Duolingo went viral on TikTok to millions of users | TechRadar

Brainbruch

Analyst คนนึงที่ชื่นชอบการหาความรู้ใหม่ ๆ และอยากจะมาแชร์ให้ทุกคนได้ลองอ่านกันครับ!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *