แคมเปญการตลาด Heineken ‘Beer Matchmaking’ ช่วยหาตี้ให้เกมเมอร์  

แคมเปญการตลาด Heineken ‘Beer Matchmaking’ ช่วยหาตี้ให้เกมเมอร์  

แคมเปญการตลาด Heineken ‘Beer Matchmaking’ ช่วยหาตี้ให้เกมเมอร์  

แคมเปญวันนี้มาจากแบรนด์แอลกอฮอล์ระดับโลกที่ใคร ๆ ก็รู้จักดีอย่าง ‘Heineken’ ค่ะ เป็น Case Study ที่น่าสนใจเพราะแบรนด์เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์จะมีข้อจำกัดเกี่ยวการทำโฆษณาและการตลาดมากกว่าสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไป และแคมเปญนี้ก็คงถูกใจเกมเมอร์ที่ชอบหาตี้เล่นด้วยแน่ ๆ ค่ะ

คำว่าตี้ มาจาก ปาร์ตี้ ณ ที่นี่ สื่อถึงกลุ่มแก๊งเล่นเกม

ปกติทุกคนหาตี้  เล่นเกมกันยังไงคะ? ส่วนตัวนุ่นเองเป็นคนแทบไม่แตะเกมเลย แต่มีกลุ่มเพื่อนที่ใช้ Discord แล้วต้องตามกันบ่อย ๆ บ้างก็เพื่อนเทนัด หรือไม่ได้อยากเล่นเกมเดียวกัน กว่าจะได้เข้าเกมนี้ทำเอาเสียพลังงานไปเยอะอยู่ เลยทำให้อ่านเคสนี้แล้วอินจนอยากมาแชร์นักการตลาดไว้เป็นไอเดียค่ะ เพราะถือว่างัดเอา Insight gamer มาเนรมิตเป็น แคมเปญการตลาด Heineken ล่าสุดได้อย่างน่าสนใจทีเดียว

Beer Matchmaking แพลตฟอร์มที่จะช่วยแมปโปรไฟล์

เดือนเมษายนปี 2023 ไฮเนเก้นเปิดตัว Beer Matchmaking ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยแมปโปรไฟล์ของลูกค้า ผ่านการลงทะเบียน ตอบคำถามในหน้าเว็บไซต์ เพื่อเข้าตี้เกมที่สไตล์ใกล้เคียงกับตัวเองมากที่สุดค่ะ เช่น แนวเกมที่ชอบ คอนโซล ตารางการแข่งขัน และ ระดับของผู้เล่นที่เราอยากจอยด้วย เป็นต้น เกมดัง ๆ ก็มีให้เลือกเยอะมาก Fortnite, Valorant, FIFA 23, LoL และ Destiny 2

“Not All Nights Out are Out” แคมเปญที่ช่วยตะโกนว่า – เกมเมอร์ไม่ได้ต่อต้านสังคม

Beer Matchmaking ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ “Not All Nights Out are Out” ถือเป็น global campaign ที่มีจุดประสงค์เพื่อรวม gaming culture เข้ากับแบรนด์ Heineken® โดยเอเจนซี่ Le Pub Brazil เป้าหมายหลักเลยคือ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเกมเมอร์ไม่ได้ ต่อต้านสังคม และการเล่นเกมยังเป็น socializing and celebrating environment ต่างหากค่ะ

adland.tv

วิดีโอโฆษณาของ Heineken ใช้สถานการณ์จริงที่ใครหลายคนน่าจะเคยประสบ แก๊งกำลังจะรวมตัวกัน แต่หนึ่งในทีมงานก็มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดต้องการออกจากงาน ตกรถไฟ เรียกแท็กซี่ไม่ได้ e-Scooter แบตเตอรี่หมด ยังไม่หมดแค่นั้น ถ้าเป็นในไทยก็คงไม่แปลกที่ในวันฝนตกการเดินทางลำบากมาก กว่าจะถึงบ้านก็ปาไปเที่ยงคืน แม้วันนี้มันจะยาวนาน แต่ยังไงตี้เกมก็จะไม่ซ้ำเติมแน่นอนเพราะได้แมชกับแก๊งล่วงหน้าไว้แล้ว ปิดจ๊อบด้วยเกมมันส์ ๆ ก็ไม่แย่เท่าไหร่นะคะ

ทำไมแบรนด์ถึงเลือกกลุ่มเป้าหมายเกมเมอร์?

จากข้อมูลของ Game Brazil Research ซึ่งเป็นการสำรวจประจำปีเกี่ยวกับการบริโภคเกมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศรายงานว่าบราซิลเป็นหนึ่งในตลาดเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยกว่า 88% ของประชากรเล่นวิดีโอเกมบน Device ทุกประเภท 

Activity หลักที่เกี่ยวข้องกับเกมคือ:

  • การเล่นหรือดาวน์โหลดวิดีโอเกมเล่นฟรี (40%) 
  • เล่นวิดีโอเกมกับเพื่อนในชีวิตจริง (35%)
  • ดู Live สตรีมเกม (เช่น บน Twitch, YouTube Gaming, PandaTV เป็นต้น) (20%) อย่างไรก็ตามการเล่นวิดีโอเกมยังคงถูกมองว่าเกมออนไลน์เป็นกิจกรรมต่อต้านสังคมอยู่ดี นี่คือประเด็นหลักที่แบรนด์อยากตั้งต้นเป็นแคมเปญค่ะ

ถ้าเป็นในไทย นุ่นอยากให้ลองตามหาสตรีมเมอร์บน TikTok Live ด้วยค่ะ เพราะไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ เลย

ใช้กลยุทธ์ In-Store Advertising หรือ Point of Purchase

แคมเปญการตลาด Heineken

แคมเปญการตลาด Heineken ในครั้งนี้เพื่อช่วย Connect Gamers ให้ได้รับ Perfect Match นอกจากไฮเนเก้นจะได้ทำขวดรุ่นพิเศษสำหรับให้ลูกค้าสะสม ใส่ลูกเล่นโดยปรับแต่งด้วยโหมดเกมที่แตกต่างกัน 4 โหมด ได้แก่ Moba (Multiplayer Online Battle Arena), FPS (First Person Shooter), Sports และ RPG แล้วทำให้สื่อ ณ จุดขายเราโดดเด่นขึ้น เป็นกลยุทธ์ Point of Purchase ที่แบ่งโซนให้เลือกหยิบตามความต้องการ 4 โหมดดังกล่าวตามภาพเลยค่ะ เป็นสื่อที่น่าสนใจสำหรับสินค้าที่มีหลายรส หลายรูปแบบเช่นกันนะคะ ชวนลูกค้ามาแบ่งทีมเพื่อให้รู้สึกอินและสนุกกับการซื้อสินค้า

กว่าจะรวมตี้เล่นเกมได้ยากมาก เดี๋ยว Heineken ช่วยแมชให้

แคมเปญการตลาด Heineken

QR code บนขวดจะช่วยให้คุณเจอตี้ที่ใช่!

บนขวดจะมี QR code ที่ directs consumer ไปยังแพลตฟอร์มที่ช่วยจับคู่ ผ่านขวดแบบพิเศษที่ระบุหมวดหมู่เกม โดยลูกค้าสามารถหาซื้อได้ในง่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตในบราซิลหรือสั่งให้จัดส่ง และจะวางจำหน่ายจนกว่าสินค้าจะหมดค่ะ

เป็นอย่างไรคะกับเคสที่นุ่นเอามาฝากกันในบทความนี้ นอกจากจะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกของเกมเมอร์อย่างประเทศบราซิลแล้ว เค้าได้มุ่งเน้นไปที่ปัญหาภาพลักษณ์ของเกมเมอร์ ที่ถูกมองว่าเป็นพวกต่อต้านสังคม ทั้ง ๆ ที่เกมก็เป็น Activity หนึ่งที่พัฒนาทักษะพูดอ่านเขียนและสร้างคอมมูได้ อำนาจในการซื้อหรือดาวน์โหลดก็ไม่ธรรมดา

อีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจคือ การเล่นเกมกลายเป็น​อีกหนึ่ง Touch point ในการเข้าถึงกับลูกค้า Gen Z มากถึง 95% ของคนรุ่นมิลเลนเนียลค่ะ ตอนนี้แบรนด์ไหน ๆ ต่างก็อยากได้เจนนี้เข้ามาเป็นลูกค้าหลักเพราะนอกจากอำนาจในการซื้อแล้วยังมีแรงไฮป์ Social Media เพื่อสร้าง Conversion บนออนไลน์ในยุคดิจิทัลนี้ค่ะ

FYI Check! หนึ่งในแพลตฟอร์มฮิต ใช้รวมตี้ของเหล่าเกมเมอร์  

เป็นทั้ง Community และมี Discord servers for gamers สุดฮิตมากมาย ที่มีไว้เพื่อสื่อสารกับคนในทีมได้อย่างเสถียรเมื่อเล่นเกมกับกลุ่มเพื่อนค่ะ ใครที่ไม่เคยใช้ก็ลองคิดว่าเป็นห้องออนไลน์ ที่พอเข้ามาก็จะพูดคุยได้เลย จะแค่เสียงหรือเปิดกล้อง ปิด-เปิดไมค์ก็ตามสะดวก นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์อื่น ๆ ที่น่าสนใจอย่างเช่นการสตรีม สร้างลิสต์ คุยแชท อีกทั้ง Discord ก็ไม่ได้ใช้แค่วงตี้เกมเท่านั้น บริษัทที่ Work Form Home บางที่ก็ใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อประชุม หรือนั่งทำงานกับทีมต่าง ๆ ได้เลย เพราะสามารถสร้างห้องได้ตามต้องการ

เป็นอีกพื้นที่หนึ่งถ้านักการตลาดต้องการเกมเมอร์จ๋า ๆ ก็สามารถศึกษา Discord เพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นที่โฆษณาหรือเก็บไว้เป็นข้อมูล Insight gamer ได้ค่ะ สำหรับข้อจำกัดเพิ่มเติม สามารถอ่านเพิ่มได้ที่ discord.com

แล้วพบกันในบทความหน้านะคะ หากอยากอ่าน Case แบบไหนหรืออยากให้แชร์เรื่องอะไร สามารถคอมเมนต์ไว้ใต้บทความเลยได้เลยค่ะ

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

Source

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *