C2C Marketing เทรนด์การตลาดใหม่ Creator 2 Consumer

C2C Marketing เทรนด์การตลาดใหม่ Creator 2 Consumer

ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ นักการตลาดน่าจะคุ้นเคยกับคำว่า B2C = Business 2 Consumer หรือ D2C = Direct 2 Consumer เป็นอย่างดี โดยเฉพาะคำว่า D2C ค่อนข้างเป็นเทรนด์มาแรงเมื่อไม่กี่ปีก่อน แต่ดูเหมือนว่า ณ วันนี้ในปี 2023 จะมีอีกหนึ่งเทรนด์การตลาดใหม่ที่ชื่อว่า C2C Marketing ที่มาจาก Creator 2 Consumer (ผมขออนุญาตอุบัติคำนี้ขึ้นมาเอง ในนิยามใหม่) ที่มาจากการที่ Creator ต่างๆ พยายามทำคอนเทนต์ดีๆ ทำ Live ดีๆ เพื่อขายสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ จนปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแส Live Commerce นั้นมาแรงมากจนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา แถม Creator บางคนยังสามารถทำยอดขายให้กับแบรนด์ได้ชั่วโมงละหลักล้านบาทขึ้นไป

ดังนั้นมาทำความรู้จักเทรนด์ C2C Creator 2 Consumer ให้ชัดกันครับ ว่ากับผู้บริโภคชาวไทยและอาเซียนนั้นใช้เงินช้อปกับช่องทางไหนอย่างไรบ้าง จากรายงาน Facebook Digital Consumer 2023 บอกเลยว่าตอนนี้สนุกกว่าทุกตอนที่ผมเขียนสรุปรายงานฉบับนี้มา

Ecommerce และ Social Commerce โตจนเบียดส่วนแบ่งช่องทางอื่น

อย่างที่รู้กันมาจากบทความก่อนหน้าว่าผู้บริโภค Digital Consumer ไทยและอาเซียนนั้นมีนิสัยที่ชอบเปลี่ยนแบรนด์ไปมา และก็ชอบซื้อสินค้าจากหลากหลายแพลตฟอร์ม (คนไทยเทียบราคา 16.4 ช่องทางก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นนั้นครับ) แต่ก็ยังมีอีกหนึ่งพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่น่าสนใจของคนไทยและอาเซียน นั่นก็คือชอบซื้อเพราะความสนุก

สนุกที่ได้ซื้อ สนุกจากการดู LIVE สนุกจากคาแรคเตอร์ของ Creator คนนั้นที่เราตามดูเป็นประจำ

เท่ากับว่าวันนี้ Creator ที่ชอบโพสหรือ Live ขายของบนโซเชียลมีเดียของตัวเองไม่ว่าจะช่องทางไหนก็ตาม มักจะกลายเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ Ecommerce ใหญ่ๆ หรือแพลตฟอร์มต่างๆ อยู่กลายๆ ส่วนหนึ่งเพราะลำพังแค่ซื้อของที่รู้อยู่แล้วว่าต้องซื้อมันไม่สนุกหรือน่าตื่นเต้นเท่าไหร่ แต่พอได้ดู Creator Live ไปขายของไป กลับรู้สึกสนุกจนมักเผลอกดซื้อสินค้าอยู่เรื่อยๆ เป็นประจำ

แต่นั่นก็หมายความว่าช่องทางการขายแบ D2C หรือ Direct 2 Consumer ที่แบรนด์ใหญ่ๆ ห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าปลีกต่างๆ พยายามทุ่มทุนทำเว็บ ทำแพลตฟอร์ม ทำระบบขนส่งของตัวเองที่ใช้เงินไม่รู้กี่สิบกี่ร้อยล้าน กำลังจะถูกแย่งส่วนแบ่งจากโซเชียลมีเดียที่สนับสนุนให้ Creator Live ขายของ ด้วยการขอส่วนแบ่งสักเล็กน้อย ส่วน Creator เองก็ยังได้ส่วนแบ่งจากยอดขายที่ทำได้โดยไม่ต้องตรวจสอบยืนยันให้วุ่นวายครับ

และนั่นก็ส่งผลให้สัดส่วนการซื้อสินค้าออนไลน์ในช่องทางอย่าง แอปสั่งอาหาร เว็บไซต์ของแบรนด์ใหญ่ หรือเว็บไซต์ของรีเทลค้าปลีกเอง หรือแม้แต่ร้านค้าออนไลน์ของรายเล็กต่างได้รับผลกระทบจากสัดส่วนยอดขายที่หดตัว เพราะสัดส่วนไหลไปยังสองช่องทางอย่าง Ecommerce ที่โตขึ้นมาก และ Alternative Ecommerce หรือการซื้อผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียเองมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นแม้จะดูเล็กน้อยก็ตาม

The Age of Creator and Live Commerce บนโซเชียลมีเดียใหม่ๆ

จากเดิมการ Live ขายสินค้าดูไม่เป็นเรื่องไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มเดิมๆ เท่าไหร่ อย่าง Facebook และ Instagram ก็ไม่ได้คิดระบการ Live มาให้ง่ายต่อการซื้อขายแต่อย่างไรครับ

แต่พอเจอโซเชียลมีเดียน้องใหม่ที่กลายเป็นนิวแมสอย่าง TikTok ทำให้เกมการใช้โซเชียลมีเดียกับตาลปัตร จากที่โซเชียลมีเดียมีไว้เพื่ออวดชีวิตดีๆ ไลฟ์สไตล์น่าอิจฉา กลายเป็นมีไว้เพื่อสร้างรายได้ให้ Creator คนทำคอนเทนต์ดีๆ เป็นหลัก แถมยังทำระบบให้ง่ายต่อการ LIVE ขายของ สามารถจัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ ได้จบใน TikTok แอปเดียวไม่ต้องต่ออะไรให้ยุ่งยากวุ่นวาย

และนั่นก็ทำให้เมื่อเจาะลึกลงไปในการซื้อสินค้าออนไลน์ภายใต้หัวข้อ Alternative Ecommerce ของรายงาน Facebook Digital Consumer Insight 2023 ฉบับนี้พบว่า การซื้อสินค้าผ่านแอปแชทที่เป็นโซเชียลมีเดียนั้นสูงสุดสำหรับชาวอาเซียน เมื่อเทียบกับแอปแชทอย่างเดียวที่ไม่ได้เป็นโซเชียลมีเดียด้วยครับ

แต่ก็ไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ เพราะมีสัดส่วนอยู่ที่ 44% กับ 39%

ส่วนการ Live ขายของก็มีสัสด่วนเกิดขึ้นบน Social media เยอะสุด มากถึง 60% ส่วนยอดขายที่มาจากการ Live บน Ecommerce Marketplace Platform กลับทำได้แค่ 34% เท่านั้น เรียกได้ว่าต่างกันเกือบเท่าตัวเลยก็ว่าได้

แล้วในกลุ่มการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านพวกเว็บประกาศขายของ หรือโพสประกาศขายของก็พบว่าบนแอปโซเชียลมีเดียยังคงครองสัดส่วนมากสุด เพราะมากถึง 46% ตามมาด้วยเว็บหรือแอปประกาศขายของใหญ่ๆ ในระดับภูมิภาค ที่ได้ส่วนแบ่งแค่ 14% เท่านั้น

สุดท้ายคือการซื้อสินค้าออนไลน์แบบกลุ่ม หรือ Group buy เพื่อให้ได้ดีลที่ดีที่สุด ซึ่งเจ้าตลาดก็เป็นผู้เล่นภายในประเทศ ที่ครองสัดส่วนถึง 39% ส่วนผู้เล่นระดับภูมิภาคกลับได้ส่วนแบ่งแค่ 14% เท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตามแบรนด์ต้องพยายามทำธุรกิจแบบ D2C หรือ Direct 2 Consumer ให้ได้ เพราะนั่นคือโอกาสในการเก็บ Customer Data ตรงจากลูกค้า เพื่อจะได้เอาไปต่อยอดในการทำ Personalization การตลาดแบบรู้ใจให้ได้มากที่สุด

แต่แบรนด์อาจต้องเจอปัญหาเรื่องการส่งสินค้าให้เข้าถึงลูกค้าถ้าจะทำทุกอย่างด้วยตัวเอง แต่นั่นก็คือสิ่งที่ควรทำ ไปจนถึงการเชื่อมโยงช่องทางการขายต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ลูกค้าได้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดแบบ Omni channel จากเรา

เมื่อเจาะลึกดูในรายละเอียดของ 22% ที่เป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ไม่ได้ผ่าน Ecommerce หรือ Marketplace ตรงๆ จะพบว่าของประเทศไทยนั้นสูงเป็นอันดับหนึ่งร่วมกับฟิลิปปินส์ ด้วยสัดส่วนการซื้อผ่านช่องทาง Alternative Ecommerce ที่สูงถึง 25% ครับ

และใน 25% นี้ก็แยกออกเป็นการซื้อผ่าน Live Commerce มากที่สุดถึง 10% หรือคิดเป็น 40% ของทั้งหมด ตามมาด้วยการซื้อผ่านแอป แล้วก็เว็บบอร์ดหรือเว็บประกาศ ปิดท้ายด้วย Group buy ที่เป็นแพลตฟอร์มการจับกลุ่มซื้อสินค้าราคาพิเศษร่วมกัน

คำแนะนำทิ้งท้ายสำหรับการตลาดยุค C2C Marketing หรือ Creator 2 Consumer

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการดู Live ขายของเป็นเรื่องปกติของผู้คนทุกวันนี้ ว่างๆ เบื่อๆ พวกเขาไม่ได้เข้า Netflix ไม่ได้ดูแต่ YouTube แต่พวกเขาเข้าไปดู Live ของร้านที่ตัวเองชอบใจ หรือ Creator ที่ตัวเองประทับใจ แล้วระหว่างดู Live ไปพวกเขาก็มักกดซื้อสินค้าที่กำลังรีวิวอยู่เป็นประจำ

คำแนะนำแรก แบรนด์ต้องหา Creator ที่ใช่ โดยดูจากกลุ่มเป้าหมายที่ติดตาม ดูจากสไตล์หรือคาแรคเตอร์ของครีเอเตอร์คนนั้น แล้วก็นอกจะจ้างเพื่อให้ช่วย Live ขายของเราเป็นพิเศษแล้ว ก็อย่าลืมคิดถึงเรื่องส่วนแบ่ง หรือที่เรียกว่าการทำ Affiliate marketing ให้เปอร์เซนต์จากการขายกับ Creator คนนั้นด้วยครับ

คำแนะนำที่สอง ก็อย่าเอาแต่จ้าง Creator ให้มาช่วย Live ขายของให้เรา แต่เราก็ต้องหาวิธีเรียนรู้ที่จะ Live ขายของตัวเองควบคู่กันไปด้วย ลองผิด ลองถูก ลองเรียนรู้ดู หรือจะจับมือกับ Creator ที่สร้างยอดขายให้เราดีๆ แบบยาวๆ เพื่อจะได้ขอส่วนลดพิเศษในการทำงานร่วมกัน เชื่อเถอะครับว่า Creator ก็ต้องการแบบนั้น ชอบผูกปิ่นโตมากกว่าเที่ยวหาลูกค้าใหม่ไปเรื่อยๆ ครับ

ในบทความ Facebook Digital Consumer Insight 2023 ไทยและอาเซียนเราจะมาดูกันว่าเทรนด์ Video Content นั้นมาแรงจนกลายเป็นคอนเทนต์หลักของผู้คนในวันนี้ไปมากขนาดไหน วิดีโอเหล่านี้ช่วยยอดขายได้จริงไหม และ Creator ที่พูดถึงเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำวิดีโอคอนเทนต์อย่างไร จนก่อให้เกิดเทรนด์ C2C Marketing ทั้งหมดที่ว่ามา

ทั้งหมดนี้ติดตามอ่านต่อได้ที่การตลาดวันละตอน เว็บเพื่อนักการตลาดโดยคนทำงานการตลาดครับ

อ่าน Insight การเทียบราคาก่อนซื้อของผู้บริโภคไทยและอาเซียนก่อนหน้า > https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/คนไทยเทียบราคาก่อนซื้อ-digital-consumer-insight-2023-thai-and-asean-compare-16-channel-before-pu/

Source: https://www.facebook.com/business/m/sync-southeast-asia

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *