สอนเริ่มต้นใช้ Social Listening Tools ฟรี อย่างละเอียด – Mandala AI.

สอนเริ่มต้นใช้ Social Listening Tools ฟรี อย่างละเอียด – Mandala AI.

บทความนี้เป็น How to ฉบับกระชับสำหรับคนที่ต้องการเริ่มต้นใช้งาน Social Listening Tools ฟรี 15 วันของ Mandala AI. โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการสมัคร ไปจนถึงเริ่มต้นใช้งาน ตั้งค่าการกวาดข้อมูลเบื้องต้นเลยค่ะ 

หากใครสนใจอยากเรียนรู้เครื่องมือที่นักการตลาดยุคนี้ควรมี และมีประโยชน์ได้กับทุก ๆ แบรนด์อุตสาหกรรม ขุด Insight / Update Social Data เกี่ยวกับเทรนด์ที่เราอยากรู้ แม้กระทั่งการทำ Consumer Research ที่การตลาดวันละตอนเองก็ใช้เครื่องมือนี้ทำงานให้กับลูกค้าเป็นหลัก  สามารถลองฝึกเล่นด้วยตัวเองผ่านไกด์บทความนี้ได้เลยค่ะ

อ่านประโยชน์ของ Social Listening Tools เพิ่มเติมที่นี่

บอกเลยว่าเป็น Skill ที่ควรมีติดไว้เพื่อพัฒนากลยุทธ์ วางแผนการตลาดและธุรกิจ หรือจะเป็นนักศึกษาจบใหม่ คนที่อยากเปลี่ยนสายงาน-อัพเงินเดือน อาจารย์มหาวิทยาลัยที่อยากอัปเดตโลกการตลาดเพื่อเอาไปแชร์ให้ลูกศิษย์ก็ได้ทั้งหมดค่ะ

ข้อมูลนี้เขียนขึ้นในวันที่ 25/11/2022 อาจะมีการปรับอัปเดตเพิ่มเติม นุ่นจะพยายามมาปรับเนื้อหาให้ได้มากที่สุด แต่อยากให้ให้ติดตามการตลาดวันละตอนหรือ Mandala AI. แบบล่าสุดอีกครั้งนะคะ

ขั้นตอนการลงทะเบียน Free Account 15 วัน

#1 ไปที่ > www.mandalasystem.com

อัปเดตวันที่ 16/12/2022 เปลี่ยนจาก 7 วันเป็น 15 วัน

#2 ไปที่ > กรอกอีเมล และรายละเอียดเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วน

#3 รออีเมลคอนเฟิร์ม แล้วต้องเข้าไปกด Comfirm Activate อีกครั้ง

#4 รออีเมลคอนเฟิร์ม Account และ Password

เริ่มต้น Log In เพื่อเข้าใช้งานครั้งแรก

หน้าแรกของเครื่องมือ แนะนำให้ชมคลิปแล้วค่อยกด Don’t shoe this again > Got it นะคะ จะได้เข้าใจการทำงานได้รวดเร็วขึ้นด้วยค่ะ

– ตั้งค่า Language และ Time Zone

การเข้าใช้งานครั้งแรกจะมีให้ตั้งค่าภาษาและเวลาค่ะ

ซึ่งตรงนี้เราสามารถปรับเป็น ไทย-อังกฤษ ระหว่างการใช้งานจริงได้อีกครั้งเช่นเดียวกัน

– เช็กความถูกต้องของ Account

ให้กดที่แท็บสีดำ > Project หน้าแรกของเครื่องมือจะเป็นแบบนี้ค่ะ หลังจากนั้นเช็กตัวเลขต่าง ๆ ในข้อ 2

ข้อมูลของแอคเคาท์อาจมีการอัปเดต ขอให้ทุกคนเช็กข้อมูลล่าสุดได้ที่ Mandala AI.อีกครั้งนะคะ

  • Date ระยะเวลาที่สามารถใช้ account นี้ได้
  • Account Mentions จำนวนโควต้า Mentions ที่ใช้ไปแล้ว
  • Monthly Mention Usage มีจำนวนโควต้า Mentions ที่สามารถใช้ได้สูงสุด 10,000 Data ต่อเดือน (แต่อายุแอคเคาท์ฟรีจะแค่ 7 วันนะคะ)
  • User จำนวนผู้ใช้งาน ได้สูงสุด 1 ผู้ใช้งาน
  • Project หรือไฟล์เก็บแคมเปญ สร้างได้ไม่จำกัด
  • Campaigns แคมเปญกวาดข้อมูล สร้างได้ไม่จำกัด
  • Premium Keyword จำนวนพรีเมียมคีย์เวิร์ด สูงสุด 5 คำ
  • Regular Keyword จำนวนคีย์เวิร์ดธรรมดา สูงสุด 5 คำ
  • Focus Channels เพจ/แอคเคาท์ที่ต้องการโฟกัส สูงสุด 16
  • Custom Channels เพจ/แอคเคาท์ที่ต้องการเช็กหรือมอนิเตอร์ สูงสุด 32

กดปุ่ม +Create Project เป็นขั้นตอนถัดไป เราจะเข้าสู่พาร์ทตั้งค่ากวาดข้อมูลเบื้องต้นกันแล้วนะคะ

เริ่มสร้าง Project ที่เป็นไฟล์ใหญ่ > เพื่อเก็บ Campaign ให้เป็นระเบียบ

หลังจากที่กดสร้างแคมเปญ ด้วยปุ่ม +Create Project แล้วจะขึ้นเป็นหน้าดังภาพด้านซ้าย สิ่งที่เปรียบเสมือนไฟล์ที่จะช่วยเก็บ Campaign ของคุณให้เป็นระเบียบ ยังไม่มีผลต่อการดึงข้อมูลนะคะ

ตั้งชื่อ Project แล้วจะขึ้นตามภาพด้านขวา

> จากนั้นให้กดเข้ามาที่ปุ่ม Campaigns เพื่อเข้าไปในไฟล์ได้เลย

เริ่ม Campaign เพื่อกวาดข้อมูล

เข้ามาในไฟล์ (Project) แล้วกดปุ่มสีฟ้าอีกครั้ง แต่เป็นคำว่า +Create Campaign นะคะ

ต่อไปเป็นการเริ่มตั้งค่าเพื่อกวาดข้อมูลจริง ๆ แล้ว มี 5 พาร์ทหลักที่สำคัญทั้งหมด ค่อย ๆ ใส่ตามได้เลยค่ะ

– พาร์ท 1 และ 2 ตั้งค่าชื่อ จำนวน Mentions Data และระยะเวลาเก็บข้อมูล

พาร์ทที่ 1 : คือการตั้งชื่อแคมเปญ ส่วนคำอธิบายจะใส่หรือไม่ก็นะ ถ้าใช้แอคเคาท์ร่วมกันในบริษัทหลาย ๆ คนอาจจะเติมว่าแคมเปญนี้นุ่นใช้ แบบนี้ก็ได้ค่ะ และ Campaign Mentions Limit คือจำนวนข้อมูลที่ต้องการดึงค่ะ ซึ่งสูงสุดของแอคฟรี 7 วันคือ 10,000 Mentions

ซึ่งจะพอหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเรื่องและระยะเวลาที่จะดึงนะคะ

พาร์ทที่ 2 : กดช่วงเวลาที่เราต้องการข้อมูล นุ่นชอบใช้ดึงย้อนหลังเพื่อวิเคราะห์ Insight และดูเทรนด์ที่ผ่านมา ซึ่งแอคเคาท์ฟรี 7 วันตอนนี้สามารถดึงย้อนหลังได้สูงสุด 3 เดือน แต่การตั้งค่าแบบเดินหน้า Mandalal ก็ทำได้ดีเช่นกันค่ะ

ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง สามารถเช็กล่าสุดได้ที่ https://www.mandalasystem.com

– พาร์ท 3 เลือก Platforms ที่ต้องการดึงข้อมูล

เพิ่มเติมตอนนี้จะมี 3 แพลตฟอร์มที่จำเป็นต้องเชื่อมกับแอคเคาท์ของเรา จะสมัครแอคหลุม หรือแอคที่ไม่ได้ใช่แล้วก็ได้ คือ Facebook Twitter และ Instagram ซึ่งไม่มีผลอะไรกับบัญชีโซเชียลของเราค่ะ

– พาร์ท 4 และ 5 เลือกภาษา และตั้งคีย์เวิร์ด

พาร์ทที่ 4 : ถ้าเป็นเทรนด์ทั่วโลก หรือการท่องเที่ยวที่อยากดูการพูดถึงหลายภาษา จะเลือก ALL ไว้ก่อนก็ได้ค่ะ เพราะในเครื่องมือมีฟิลเตอร์เลือกภาษาได้อีกชั้นอยู่แล้ว แต่ถ้ามีจำนวน Mentions Limit ไม่เยอะมาก ต้องการดูแค่ข้อมูลโพสต์จากคนไทย ภาษาไทย ใส่ THAI ก็ได้เช่นกัน

พาร์ทที่ 5 : สำหรับเบื้องต้น ให้กรอก Keyword Set ตั้งชื่อกลุ่มคึย์เวิร์ดของเราก่อน ยังไม่มีผลต่อการดึงข้อมูลอะไรนะคะ

Premium Keyword และ Regular Keyword ขอแชร์ในมุมผู้ใช้งานคือตัวพรีเมียมจะดึงได้เร็ว ไว และเป็น Priority แรก สำคัญกว่า Rrgular ค่ะ ถ้าข้อมูลเต็มที่พรีเมียมแล้ว Regular อาจไม่ถูกดึงข้อมูล

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือก Keyword

-พาร์ท 6 เสร็จแล้วรอข้อมูล และใช้งานได้ทันที

พาร์ท 6 ให้ปล่อยตามที่ตั้งค่าไว้ได้เลย และรอติดตามฟีเจอร์อื่น ๆ เพิ่มเติมจาก Mandala AI. กันได้ที่เว็บไซต์หลัก หรือการตลาดวันละตอนได้เลย จะมาอัปเดตให้ทุกคนเพิ่มเติมแน่นอน

เสร็จแล้วจะขึ้นแคมเปญแบบภาพด้านล่างค่ะ เช็กวันที่ให้ดีน้า หลายคนพลาดเพราะเลือกวันที่ผิด ทำให้ไม่มีข้อมูลไหลเข้ามาค่ะ และสามารถเริ่มใช้ได้ทันที เลือกที่ปุ่ม Social Mentions

และนี่เป็นขั้นตอนการสมัครและสร้างแคมเปญเพื่อกวาดข้อมูลเบื้องต้นค่ะ Social Listening Tools ฟรี ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ นุ่นแคปมาอย่างละเอียที่ควรรู้มารวมกันไว้แล้ว

Case Study เขียนจาก Social Listening

สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

คอร์สเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics Bootcamp รุ่นที่ 29

เนื้อหาที่จะได้เรียน

  1. ทำความรู้จักเครื่องมือ Social listening tool ถึงความสามารถ และข้อจำกัดในการทำงาน
  2. เรียนรู้ผ่าน Case study การใช้ Social listening เพื่อหา Insight และ Opportunity ให้กับธุรกิจจากประสบการณ์ผู้สอนและทีมการตลาดวันละตอน
  3. เรียนผ่านการทำ Workshop ไปด้วยกัน ในการฝึกหา New Insight จาก Data ที่กระจัดกระจายอยู่บนโลกโซเชียล
  4. เรียนผ่านแนวคิด CPVAI Model ตามแบบหนังสือ Data Thinking ในการประยุกต์ใช้จริงเพื่อให้มีประสบการณ์
  5. ปรึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ส่งท้าย สำหรับธุรกิจแต่ละคน

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics รุ่น 29 // เรียนวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 ค่าเรียนคนละ 9,900 รับจำกัด 20 คน // อ่านรายละเอียดและลงทะเบียนก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ https://bit.ly/sociallistening29

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ทุกวันนี้ใช้งบยิงแอดเดือนละเท่าไหร่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอ 1 คำถามให้เอาไปทำโพลแชร์ลงหน้าเพจหน่อยนะ

อยากรู้ว่าทุกวันนี้คุณใช้เงินยิงแอดโฆษณาเดือนละประมาณเท่าไหร่ครับ ?

ทุกวันนี้ใช้งบยิงแอดเดือนละเท่าไหร่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอ 1 คำถามให้เอาไปทำโพลแชร์ลงหน้าเพจหน่อยนะ

อยากรู้ว่าทุกวันนี้คุณใช้เงินยิงแอดโฆษณาเดือนละประมาณเท่าไหร่ครับ ?