5 Social Media Trends & Insight 2024 จากรายงาน We Are Social

5 Social Media Trends & Insight 2024 จากรายงาน We Are Social

สรุป 5 Social Media Trends & Insights 2024 กับรายงานพฤติกรรมการออนไลน์ หรือการใช้โซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนไปของผู้คนในปีหน้า จากรายงาน Think Forward 2024 ของ We Are Social ที่การตลาดวันละตอนนำมาสรุปและเรียบเรียงให้เพื่อนๆ นักการตลาดไทยได้รู้เท่าทันเทรนด์การออนไลน์ของผู้คนที่เปลี่ยนไป

ถ้าอยากรู้เทรนด์การออนไลน์ในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ลองอ่านจากลิงก์เหล่านี้ย้อนหลังดูได้ครับ

Social Behavior Trends & Insights 2023 : https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/5-trends-social-behavior-insight-2023-think-forward-we-are-social/

Social Behavior Trends & Insights 2022 : https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/5-digital-marketing-and-social-trends-2022-we-are-social/

Social Behavior Trends & Insights 2021 : https://www.everydaymarketing.co/knowledge/summary-6-key-social-media-trend-2020-from-think-forward-2020-we-are-social-part-1/

ถ้าอยากอ่าน Social Behavior Trends & Insights 2024 แล้ว เลื่อนลงไปอ่านต่อได้เลยครับ

The Social Reckoning ภาพรวม 2024

ในปีที่ผ่านมา 2022-2023 ที่ผ่านมา เราเห็นพฤติกรรมการเล่นโซเชียลมีเดียแบบใหม่ๆ ที่ไม่ได้เน้นการดูอะไรสนุกๆ หรือไร้สาระเพื่อผ่อนคลายไปเรื่อยๆ แต่กลายเป็นเริ่มมีกลุ่มคนที่สนใจดูอะไรแบบเฉพาะเจาะจงในบางเรื่อง หรือที่เรียกว่าเป็น Niche Social มากๆ

อย่างกลุ่ม ButterTok กลุ่มคนที่หลงไหลในเรื่องเนยอย่างจริงจังแค่บนแพลตฟอร์ม TikTok เท่านั้น จนแฮชแท็ก #ButterTok มียอดวิวรวมกันเกือบ 700 ล้านวิวแล้วในเวลานี้

หรือกลุ่มคนที่ชอบโพสรูปที่ดูร้างใน Reddit ที่ใช้ชื่อเรียกว่า LiminalSpace ภาพที่ไร้ผู้คนอยู่ในสถานที่จริง เห็นแล้วก็ทำให้รู้สึกเหงาเปล่าเปลี่ยวอย่างบอกไม่ถูก หลายภาพดูร้างแบบน่ากลัว แต่กลุ่มนี้ก็กลับมาผู้คนเข้ามาโพสภาพแนวนี้มากมายจนเลื่อนดูเท่าไหร่ก็ไม่หมด

นี่คือสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นอย่างจริงจังมาก่อนของการใช้หรือเล่นโซเชียลมีเดียในปีที่ผ่านๆ มา และดูเหมือนว่าการใช้โซเชียลมีเดียในปี 2024 นั้นจะขยับทิศทางไปเรื่องของการรวมกลุ่มคนเล็กๆ ที่เหนียวแน่น มากกว่าจะเป็นกลุ่มคนใหญ่ๆ ที่ไม่ได้รู้จักกันจริงจัง แต่ละคนในกลุ่มเล็กๆ เหล่านั้นก็พยายามมีส่วนร่วมหรือแชร์แบ่งปันกันอย่างจริงจัง ดูเหมือนการเล่นโซเชียลมีเดียในปี 2024 ดูจะเป็นอะไรที่เน้นความสัมพันธ์ที่เริ่มจากความสนใจอะไรคล้ายๆ กันแบบเฉพาะเจาะจงหรือ Niche Social มากๆ ครับ

ในปี 2023 เองก็เป็นช่วงเวลาแห่งวิกฤตค่าครองชีพสูงที่พุ่งทะยานไปทั่วโลก และนั่นก็ทำให้โซเชียลมีเดียที่เราคุ้นเคยกันมาสิบกว่าปี เริ่มจะปรับตัวจากการปล่อยให้ผู้คนได้เล่นฟรี มาสู่การเก็บเงินเพื่อเล่นแบบเป็นรายเดือนเสียแล้ว

เริ่มต้นจาก Elon Musk เจ้าพ่อ Twitter คนปัจจุบันประกาศว่าจะเก็บเงินกับผู้ใช้งานทุกคนในอนาคตแทน เพื่อแลกกับการใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่จะสาธารณะสุดๆ ลดการพึ่งพาเงินจากโฆษณาลง ส่วนคนที่เคยได้ Blue Stamp หรือตราประทับมาว่าเป็นเจ้าของ Profile นั้นในชีวิตจริง จากที่เคยได้รับฟรีก็กลายเป็นต้องเสียเงินเพื่อรักษาตราประทับสีน้ำเงินไว้

แน่นอนว่าล่าสุดก็เริ่มได้ยินข่าวนี้จากทาง Facebook เหมือนกัน ว่าอาจมีบริการให้จ่ายเงินเพื่อใช้งาน แลกกับการไม่ต้องเห็นโฆษณาอีกต่อไป ดูเหมือนว่าจากที่ YouTube ทำแล้วค่อนข้างเวิร์ค ก็เริ่มเป็นโมเดลต้นแบบให้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มอื่นได้ลองทำดูครับ

ส่วนคอนเทนต์ที่จะเป็นที่รู้จักได้ก็ต้องปังมากๆ เพราะ Algorithm ของ​ TikTok เองก็ดูเหมือนจะออกแบบมาอย่างนั้น ทำให้คอนเทนต์กลางๆ ทั่วไปเริ่มถูกลดการมองเห็นลง หรือเอาเข้าจริงแล้วก็ต้องบอกว่าเราทุกคนต่างขยันกันทำคอนเทนต์มากขึ้นในทุกวัน ทีนี้เมื่อจำนวนดูเสพมีเท่าเดิม แต่คนสร้างกลับเพิ่มขึ้น ก็ไม่แปลกว่าทำไมเรามักบ่นว่าโพสไปก็ไม่ค่อยมีคนดู ก็ไม่ค่อยมีคนเห็นครับ

หรือกระแสดราม่าหรืออาจเรียกได้ว่าทัวร์ลงกับเหล่าแบรนด์และ Influencer ก็มีให้เห็นกันบ่อยๆ ในระดับโลกเองที่ประเทศอเมริกาก็มีเคสดราม่าและทัวร์ลงไม่น้อย อย่างเช่นตอนแบรนด์ Fast Fashion อย่าง Shein ที่ถูกเสียงต่อว่าเรื่องการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม โรงงานผลิตมีการใช้แรงงานหนักมาก แบรนด์ก็เลยจัดพา Influencer ที่มีผู้ติดตามมากๆ ไปทัวร์โรงงานจริงๆ เพื่อให้เห็นสภาพบรรยากาศการทำงานว่าไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ชาวเน็ตเขาพูดกัน

แต่กลายเป็นว่าคนยิ่งต่อว่าหนัก คนยิ่งไม่เชื่อ และบรรดา Influencer เองก็โดนทัวร์ลงเละเทะเป็นว่าเล่น

ลองกดเข้าไปอ่านต้นทางดูครับ : https://www.independent.co.uk/life-style/fashion/shein-factory-tour-influencers-trip-b2364739.html

เรื่องแบบนี้ในบ้านเราก็มีเรื่อยๆ อย่างกระแสร้านราเมง Ichiran ที่มาเปิดในไทยแล้วชวนเหล่า Influencer มากินพร้อมกับพูดรีวิวว่าเส้นสด หมูชาชู แต่พอดูของจริงกลายเป็นแค่หมูชาบู และก็ถูกตั้งคำถามว่าตกลงเส้นสดหรือแค่แกะจากซองมาต้มให้กินกันแน่ ทั้งนี้ยังไม่นับเคสอื่นๆ อีกมากมายที่มีกระแสทัวร์ลงจากการพยายาม PR แบบเก่าๆ ที่คิดว่ากลยุทธ์ยุค Analog จะยังได้ผลในยุค Social ที่ทุกคนเสิร์จหาทุกอย่างด้วยตัวเองได้แบบง่ายๆ

และดูเหมือนว่าวันนี้โลกโซเชียลจะขับเคลื่อนโลกจริงไปจนถึงเศรษฐกิจระดับมหาภาคจริงได้มากกว่าที่คิด ถ้าใครเคยดูภาพยนต์ Documentary เรื่อง Eat the Rich: The GameStop Saga

มันคือเรื่องราวของกลุ่มคนธรรมดาที่รวมตัวกันบนเว็บบอร์ดดังอย่าง Reddit (คล้ายๆ พันทิปบ้านเรา) เพื่อเอาคืน Broker บริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่พยายาม Shot Sell หุ้นเพื่อเอากำไร แต่กลับเจ๊งหลายพันล้านเพราะถูกรายย่อยที่รวมตัวกันซื้อเข้าไปเรื่อยๆ จนราคาหุ้นพุ่งทะยานไม่ตกลงมาเลย

และนี่คือหนึ่งในปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Eat the Rich หรือการปล้นคนรวยเพื่อให้คนทั่วไปมีกินมีใช้บ้าง ในวันที่ความไม่เท่าเทียมในสังคมถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ และโซเชียลมีเดียเองก็กลายเป็นพื้นที่ที่คนจริงเข้ามรวมตัวกันเพื่อร่วมก่อการปฏิวัติอะไรสักอย่างบนโลกจริง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับ The GameStop Saga

อีกหนึ่งโซเชียลเทรนด์ที่สำคัญมากในปี 2023 ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ นั่นก็คือ Deinfluencing จากเดิมบรรดาชาวเน็ต หรือชาวโซเชียล หรือ Influencer ทั้งหลายมักจะทำคอนเทนต์ที่ชวนให้คนมาซื้อโน่นนี่นั่นกัน ไม่ว่าจะด้วยแฮชแท็ก #ของมันต้องมี ที่ถูกใช้มายาวนาน

ล่าสุดในปีนี้มีกระแสใหม่นั่นก็คือ #Deinfluencing หรือบอกกับคนดูตรงๆ ว่าไม่ต้องซื้อไอ้ของสิ่งนี้ก็ได้ จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ปัจเจกชนไป ถ้าอยากทำความเข้าใจเพิ่มเติม ลองอ่านบทความเรื่องกระแส Deinfluencing ที่การตลาดวันละตอนเคยเขียนไว้ก็ได้ครับ

ดูเหมือนกระแสชาวโซเชียลในปีนี้จะไม่ได้เน้นไปทางบริโภคนิยม ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำบวกกับค่าครองชีพสูงประกอบ เทรนด์โซเชียลในปีหน้าจะไปในทางการแสวงหาสมดุล การใช้โซเชียลเป็นส่วนหลักของชีวิตที่ไม่ใช่แค่ส่วนหนึ่งหรืออีกโลกที่ไม่เกี่ยวกันอีกต่อไป

อะไรดีก็ว่าดี อะไรชอบก็ว่าชอบ อะไรรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องมีก็บอกตรงๆ เพราะมันสิ้นเปลืองกับเงินที่จ่ายไป แต่อย่างไรก็ดีกับกระแสการซื้อตามโซเชียลก็ไม่ได้ตายจากไปเสียทีเดีย ยังคงเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่จะทำให้คนสนใจจนอยากซื้อได้นั้นต้องเป็นอะไรที่สุดจริงๆ อย่างกระแสของสินค้าจากภาพยนต์เรื่อง Barbie ทำให้สินค้าสีชมพูนั้นกลับมาขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

มันคือยุคที่ทำอะไรต้องสุด ถ้ากลางๆ พอผ่านอย่าเสียเวลาทำ ไม่งั้นคุณจะไปต่อได้ยากในปีหน้า ถ้าจะเพี้ยนก็เอาให้มันสุดขั้วไปเลย เพราะคนรู้แล้วว่ามันคือเรื่อง Entertain ไม่ถือสาเอาสาระแต่อย่างไร

สุดท้ายเทรนด์ของ Social media trends & insight 2024 ปีนี้จะเปลี่ยนแปลงไปอีกระดับจากปีก่อน ผู้คนไม่ยอมรับในการกำหนดกรอบกติกาใดๆ จากแบรนด์หรือแพลตฟอร์มอีกต่อไป พวกเขาจะหาทางสร้างสรรค์อะไรที่แปลกใหม่ในแบบของตัวเองขึ้นมาเรื่อยๆ

ฟีเจอร์นึงอาจถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานวัตถุประสงค์นึง แต่เอาเข้าจริงผู้คนอาจใช้มันไปแบบคนละเรื่องเลย ในแบบที่แพลตฟอร์มเองก็คาดไม่ถึง

ส่วนแบรนด์บนโซเชียลที่คิดจะทำการตลาดให้เวิร์คในปี 2024 ก็ไม่สามารถใช้วิธีคิดหรือกลยุทธ์แบบเดิมๆ ได้อีกต่อไป ทุกคอนเทนต์จาก Creator หรือ Influencer จะถูกจับผิดง่ายขึ้นว่าตกลงมันคือโฆษณาที่ถูกจ้างให้มาทำคอนเทนต์ หรือเป็นคอนเทนต์จริงๆ ที่อยากทำขึ้นมาเองด้วยความชอบหรือเหตุผลส่วนตัว

ดูเหมือนว่าการทำ Social Media Marketing ในปี 2024 จะไม่ง่ายเหมือนเดิมอีกต่อไป หรือจริงๆ ต้องใช้คำว่ามันยากยิ่งขึ้นกว่าเดิมมากกว่า แต่ทั้งหมดนี้ผมอยากจะบอกเกริ่นก่อนจะเข้าสู่ 5 Social Behavior Trends & Insights 2024 ว่า เทรนด์การตลาดโซเชียลปีหน้ามันคือการกลับไปที่ความเป็นคนมากขึ้นในทุกด้าน และสิ่งใดๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วก็จะถูกนำมาตีความใหม่ให้มีความเรียบง่ายบวกจริงใจมากขึ้น

เพราะเราเข้าสู่โลกยุค Metaverse แล้วจริงๆ แต่เป็นโลกที่ O&O หรือ Online and Offline กลายเป็น Online in everylife ที่เราทุกคนล้วนปฏิเสธสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วบนออนไลน์ไม่ได้ หรือชีวิตในโลกออฟไลน์เรานี่แหละที่ถูกออนไลน์หรือโซเชียลเป็นตัวขับเคลื่อนหลักแล้ว

ถ้าพร้อมแล้วเรามาทำความเข้าใจแต่ละเทรนด์โซเชียลปีหน้ากันครับ

  1. Attention Layering
  2. Post Representation
  3. The Offline Internet
  4. Everyday Fandom
  5. Mischief Mode

1. Attention Layering หมดยุคคอนเทนต์ฉาบฉวย เข้าสู่ยุคคอนเทนต์ลุ่มลึก

ในเดือนมกราคม 2023 ดูเหมือนการทำ Video Content ปกติที่เคยทำกันมาจะไม่สาแก่ใจ ทาง TikTok เลยออกฟีเจอร์ใหม่ ให้เราสามารถนำคลิปวิดีโอต่างๆ มามิกซ์รวมกันได้ แล้วออกมาเป็นคลิปวิดีโอใหม่ที่ไม่แน่ใจว่าตกลงควรโฟกัสกับอะไรดี

เพราะมันคือการเปิดวิดีโอหลายหน้าจอแล้วเล่นพร้อมกัน แต่มันถูกจับมารวมไว้ในฟีดของ TikTok แค่โพสเดียว ผู้คนก็เอาไปใช้มิกซ์แอนด์มั่วกันอย่างสนุกสนาน หลายคลิปในโพสเดียวกันก็ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกัน อารมณ์แบบอยากใส่อะไรก็ใส่เข้าไป ขอแค่ทำให้คนหยุดดูให้ได้ และให้นานที่สุด เท่านี้คลิปเราก็สามารถติดเทรนด์จนได้ล้านวิวสบายๆ

แล้วคนดูอย่างเราหละ เสียเวลาดูไปแล้วจะได้อะไร ?!

ลองกดดูครับ แต่จะว่าไปมันก็เพลินๆ แบบไม่ต้องความคิดอะไรดีเหมือนกันนะ

และจากกระแสคอนเทนต์โซเชียลรูปแบบใหม่นี้ ทำให้กลุ่มคน Gen X, Y และ Baby Boomer เองก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่ที่ของเราเอาเสียเลย ลำพังแค่โพสรูปภาพให้สวยยังยาก จะให้โพสคลิปยังลำบาก แล้วจะให้มาทำคอนเทนต์แบบมิกซ์วิดีโอต่างๆ มากมายเข้าด้วยกัน ขอยอมแพ้ดีกว่า

กลับไปเล่นโซเชียลมีเดียแบบคนแก่ๆ กับเพื่อนเก่าๆ ในแพลตฟอร์มเดิมๆ ที่คนรุ่นใหม่ไม่เล่นแล้วก็ได้

ส่วนคนรุ่นใหม่ไม่ว่าจะ Gen Z หรือ Alpha เองต่างก็ถูกใจวิธีการทำคอนเทนต์ใหม่ๆ แบบนี้ไม่มากก็น้อย ดูเหมือนคนต่างเจนจะยิ่งอยู่คนละโลกกันอย่างชัดเจน ยุค Gen X กับ Gen Y ยังใช้โซเชียลมีเดียเดียวกัน แต่พอเป็น Gen Z หรือ Alpha เราแทบจะไม่มีทางรู้ความเป็นไปในชีวิตประจำวันของพวกเขาเลย

ไม่ต้องแปลกใจทำไมคนสมัยนี้ส่วนใหญ่จึงสมาธิสั้นมากขึ้น เราโฟกัสหรือจดจ่อกับอะไรๆ ได้น้อยลง เรื่องนี้ส่งผลถึงพฤติกรรมการดูภาพยนต์ในโรงหนังเรียบร้อย

อย่างภาพยนต์ฟอร์มยักษ์เรื่อง Oppenheimer ที่เน้นบทพูดอย่างมาก ทำเอาหลายคนไม่สามารถทดจดจ่อฟังหรืออ่านคำบรรยายได้นาน ทำให้ในโรงหนังมีคนจำนวนไม่น้อยที่อดหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาไถเล่นระหว่างดูหนังเรื่องนี้ไม่ได้

และจากการตัดต่อวิดีโอหลายๆ ตัวใส่เข้าไปได้ในคลิปเดียวกันที่ง่ายขึ้นจนกลายเป็นเทรนด์คอนเทนต์รูปแบบใหม่ ทำให้เกิดคำถามว่าจากคำว่า Second Screen หรือ Third Screen เราจะต้องมีอีกกี่หน้าจอกันในอนาคต หรือหน้าจอเดียวของเราจะถูกยัดเข้ามาอีกกี่หน้าจอข้างในนั้น เราจะต้องอยู่ในยุคสมาธิสั้นไปได้อีกขนาดไหน

น่าเป็นห่วงเรื่องนี้ไม่น้อยนะครับ

และที่สำคัญกว่านั้นในฐานะนักการตลาดคือ บรรดาแบรนด์ทั้งหลายหละ จะต้องปรับตัวในการทำคอนเทนต์อย่างไรที่ดูจะยากขึ้นแบบทวีคูณไม่รู้กี่เท่าต่อกี่เท่า

เพราะลำพังการทำคลิปเดียวให้ดีว่ายากแล้ว ครั้นพอต้องเอาหลายคลิปมาใส่รวมกันมันจะยิ่งทำให้ออกมาดี กลมกล่อม เล่าเรื่องราวที่แบรนด์อยากบอกได้อยู่หรือเปล่า ?

แต่ยังดีครับ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ใช้โซเชียลจะชอบคอนเทนต์ที่กระตุ้นความสนใจหนักๆ อยู่ตลอดเวลา กลายเป็นว่าอีกหนึ่งกระแสโซเชียลที่มีแรงก็คือการพยายามทำคอนเทนต์แบบไม่กระตุกความสนใจ เน้นความธรรมดาที่เรียบง่าย หรือเน้นเรื่องราวของคนธรรมดาในชีวิตประจำวัน

ดูเหมือนว่าคลิปคอนเทนต์แบบนี้จะได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะจากกลุ่มคนที่เบื่อการเสพคอนเทนต์แบบขยันเรียกความสนใจจากเราเหลือเกิน

ท่ามกลางโลกที่หมุนเร็วมากๆ มากแบบเท่าทวีคูณขึ้นทุกวัน ทำให้หลายคนชื่นชมความเนิบช้า ความธรรมดาไม่พิเศษ เพราะมันคือความสวยงามที่ซ่อนอยู่ในชีวิตจริงของเราทุกคน แล้วยิ่งบวกกับเมื่อดูคอนเทนต์บรรดา Super Content Creator ระดับโลกอย่างดาราดัง หรือ Mr.Beast นั้นยิ่งพบว่าเราไม่มีเงินจะไปทำคอนเทนต์ให้ปังแบบเขาหรอก

ก็ในเมื่อเราสู้ในเกมเค้าไม่ไหว ก็ปล่อยคนที่ชอบแบบนั้นให้เสพไป ส่วนพวกเขาขอมาทำคอนเทนต์แบบเรียลๆ ธรรมชาติ บ้านๆ ธรรมดาๆ เน้นความเป็นคนจริงๆ ชีวิตจริงๆ ในเรื่องราวหรือคลิปที่โพสออกไป ลองมาดูปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดเทรนด์การใช้โซเชียลแบบเรียลๆ ในปี 2024 กันดีกว่าครับ

Gen Alpha จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีใช้ Social Media

เด็กยุคใหม่ที่เราเรียกว่า Generation Alpha จะเกิดมาพร้อมกับการเสพดิจิทัลคอนเทนต์หรือโซเชียลมีเดียเป็นปกติ และด้วยความที่พ่อแม่ของ Alpha ก็คือชาว Millennial หรือ Gen Y ก็มีความเป็น Digital Savvy หรือคุ้นเคยกับดิจิทัลเป็นอย่างดี ทำให้การใช้โซเชียลจากนี้จะไปจะมีความเป็นจริงเป็นจัง เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริงๆ ไม่ได้แยกว่าอันนี้โซเชียลหรืออันนี้ชีวิตจริง แบบคน Generation อื่นๆ อีกต่อไป

Hyper Attention Content

@pandkourt

The lemme event was so fun.💕❤️

♬ –

โลกเรากำลังวิ่งเข้าสู่ยุคที่คอนเทนต์ต่างๆ เน้นตัดฉับๆๆ เพื่อเรียกความสนใจจากเราตลอดเวลา เมื่อเป้าหมายของ Algorithm คือทำอย่างไรให้คนหยุดดู และหยุดอยู่ในแพลตฟอร์มนั้นได้นั้นที่สุด บวกกับ TikTok เองก็พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำเรื่องนั้นได้ดีด้วย Short Video Content ในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ทำให้วันนี้คอนเทนต์จำนวนมากกลายเป็นคลิปวีดีโอสั้นๆ แบบตัดฉับๆ ไวๆ ดูแล้วอาจไม่ได้สาระความเข้าใจอะไร แต่มันก็ทำให้คนดูรู้สึกเพลินๆ หรืออาจเป็นจุด​ Trigger ที่ทำให้คนต้องวนกลับมาดูอีกครั้ง

นี่คือยุคที่มนุษยชาติน่าจะมีสามาธิสั้นยิ่งกว่าปลาทอง ถ้าไม่สามารถสะกิดให้หยุดดูคอนเทนต์นั้นได้ภายใน 3 วิ สิ่งที่ทำไปก็แทบไร้ค่า ทำให้หลายคอนเทนต์นั้นเป็นการตัดวิดีโอวกไปวนมา โดยไม่ได้มีเนื้อหาสาระอะไรใหม่ ทั้งหมดก็เพื่อเพียงแค่เรียกความสนใจ ให้ดูเหมือนมีอะไรๆ ทั้งที่ไม่มีอะไรที่น่าสนใจเลย

เรื่องนี้เคยมีการทดลองเมื่อนานมาแล้วว่าจะทำรายการเกี่ยวกับเด็กอย่างไร ให้เด็กสนใจดูได้นาน จากเดิมคิดว่าต้องทำเนื้อหาให้สนุกขึ้น เพิ่มตัวการ์ตูนเข้าไปมากขึ้น แต่สุดท้ายแล้วพบว่าแค่ตัดวิดีโอให้ไวขึ้นก็พอ เป็นไงครับ วิธีเอาชนะเกม Attention Economy นั้นไม่ยาก แค่ขยับขึ้นไปเป็น Hyper Attention Content เท่านั้นเอง

และจากพฤติกรรมการพยายามแย่งชิงความสนใจจากชาวโซเชียลที่เกิดขึ้นนั้น ส่งผลให้เกิดเทรนด์การใช้โซเชียลใหม่ๆ ที่เป็นการพลิกอีกด้านของนิยามคำว่า Attention Economy มาสู่การพยายามทำให้คอนเทนต์นั้นมีความ Immersive หรือที่เราจะเรียกกันว่า Immersion Economy ในปี 2024 เป็นต้นไป

From Attention Economy to Immersion Economy

คอนเทนต์โซเชียลในปีก่อนๆ ที่ผ่านมานั้นแข่งกันว่าใครจะสามารถทำให้มันตื่นเต้น เร้าใจ น่าดู เพื่อสะกดให้คนดูหยุดสนใจได้ตั้งแต่ 6 วินาทีแรกได้ดีกว่ากัน แต่เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่หรือที่เรียกว่าชาวเน็ตในปี 2024 นั้นเริ่มเอียนและเบื่อคอนเทนต์แบบเดิมๆ เหล่านั้นมากขึ้นทุกวัน เลยเป็นที่มาของเทรนด์การเสพคอนเทนต์ที่มีความไม่หวือหวาแต่ลุ่มลึก เลยเป็นที่มาของการเปลี่ยนผ่านจาก Attention Economy มาสู่ Immersion Economy นั่นเองครับ

คอนเทนต์ที่จะได้รับความสนใจในปี 2024 จะไปในทิศทางการไม่เร่งรีบ เร่งเร้า แต่เป็นเสมือนการค่อยๆ นั่งคุย นั่งเล่าแบบชิลๆ แต่ลงรายละเอียดแบบลึกๆ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อกลุ่มคนที่เบื่อคอนเทนต์ประเภทฉึบฉับๆ ที่ทำกันมาหลายปีจนรู้สึกนานเกินไป

From Surreal to Real Life จากคอนเทนต์ประดิษฐ์พิศดาร สู่คอนเทนต์เงียบง่ายแต่งดงาม

เดิมทีเราชอบคอนเทนต์ประเภท #ของมันต้องมี หรือชอบดู Influencer หรือ Celeb ที่อวดชีวิตหรูหราแบบยากทำตามได้ ทำให้กระแสแบบคอนเทนต์ดีเกินจริงเริ่มเสื่อมความนิยมลงไป เทรนด์คอนเทนต์ในปีหน้าจะปรับมาสู่เรื่องราวที่แสนจะธรรมดาของผู้คนที่เห็นได้ในชีวิตประจำวัน

อาจจะเป็นใครสักคนนึงที่กำลังทำอะไรสักอย่างบนชานชาลาสถานีรถไฟ ที่ดูแล้วรู้สึกว่ามีอะไรให้น่าติดตามมากกว่าจะเป็นคลิปแบบตัดฉับๆ แล้วก็ไม่ได้สาระอะไรเลยนอกจากรู้สึกเปรียบเทียบกับชีวิตว่า “ทำไมชีวิตเขาดีกว่าเราจัง”

จากที่ผมทำ Data Research Insights 76 จังหวัดทั่วไทยในปี 2023 ก็พบว่า หนึ่งในคลิปวิดีโอของจังหวัดต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากอย่างไม่น่าเชื่อก็คือคลิปที่ถ่ายคนเดินถนนธรรมดา บวกกับเพลงที่ฟังแล้วสบายลื่นหู ง่ายๆ เท่านี้ก็ทำให้คนเข้ามาดูหลายล้านวิวสบายๆ ครับ

หมดแล้วยุคคอนเทนต์ประดิษฐ์หนักๆ เพื่อเรียกให้เราสนใจ เพราะวันนี้ชาวโซเชียลนั้นหันมาสนใจชีวิตที่เรียบง่ายของคนธรรมดาด้วยกันมาขึ้นนั่นเอง

The Rise of Intellectual Influencer 2024

และเทรนด์ของ Influencer ยุคใหม่วันนี้ไม่ได้มีแค่กลุ่มคนที่อวดชีวิตดี๊ดี หรือเน้นสนุกเอาฮาไม่ได้สาระอีกต่อไป แต่กลายเป็น Influencer สาย Intellectual ที่ให้ความรู้จริงจัง เน้นการทำคอนเทนต์ยาวๆ ที่ต้องใช้เวลาเสพนานๆ

ตัวอย่างบ้านเราก็หนีไม่พ้น เฮียวิทย์ 8 Minute History ผู้ที่รู้แทบจะทุกเรื่องบนโลก แถมแต่ละคลิปก็ย๊าวยาว แต่คนก็ดูกันถล่มทลาย หรือกับช่อง Point of View ที่เล่าประวัติศาสตร์ความรู้ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สารภาพตามตรงตัวผมก็ติดฟังช่องนี้มาก แบบว่าต้องฟังทุกครั้งเวลาอาบน้ำ เพราะสามารถฟังจบได้ 1 ตอน 20 นาทีของเธอพอดี

นี่คือ Influencer ที่เด็กรุ่นใหม่ Gen Z ติดตาม ถ้าจะทำแคมเปญการตลาดก็ต้องมองว่ากลุ่มที่เป็น Intellectual Influencer แทน Content Creator ทั่วไปได้แล้วนะครับ

เมื่อรู้แบบนี้แล้วแบรนด์ควรปรับตัวอย่างไรกับ Social Media Strategy 2024 ในปีหน้า

จากเทรนด์ Attention Layering สู่ Social Media Strategy 2024

อย่างแรกต้องเลิกทำคอนเทนต์แบบฉาบฉวย เลิกคอนเทนต์ประเภท Shortable Content ที่เน้นเร็ว สั้น กระชับ แต่หาสาระอะไรไม่ได้ เพราะผู้บริโภคนั้นถูกเร่งเร้าความสนใจมากเกินไปมานานเกินพอ แบรนด์ต้องรู้จักทำ Content Marketing แบบปล่อยชิลบ้าง ปล่อยให้คนอยู่กับเรานานๆ หรือที่เรียกว่า Immersive Content ให้ซึมเข้าไปในใจกลุ่มเป้าหมายแทน

ตัวอย่างแรกคือของ Nissan กับการทำคลิปวิดีโอคาแรคเตอร์ผู้หญิงคนหนึ่งขับรถไปเรื่อยๆ นานถึง 4 ชั่วโมง แต่กลับมีคนดูมากถึง 18 ล้านครั้ง!!

มีเสียงดนตรีประกอบชิลๆ เสมือนเรากำลังนั่งอยู่ในรถร่วมกับผู้หญิงคนนั้น เรียกได้ว่าสามารถเปิดไว้ประกอบระหว่างการนั่งทำงานก็ยังได้ แม้สายตาจะไม่ได้สนใจว่าเธอขับรถไปไหน ผ่านวิวทิวทัศน์อะไร แต่อย่างน้อยก็ทำให้คนที่คอนเทนต์แนวใหม่แบบนี้คิดถึงแบรนด์ เปิดช่อง YouTube Nissan เข้ามาฟังเพลงชิลๆ ระหว่างวันดีกว่า

รู้แบบนี้แล้วเตรียมวางแผนทำคอนเทนต์ยาวๆ ชิลๆ ให้คนเปิดเราทิ้งไว้ทั้งวันแบบ Nissan ได้แล้วนะครับ

TikTok ก็ Long-form Content ได้

ใครที่เคยคิดว่าคอนเทนต์บน TikTok ที่เป็นแพลตฟอร์ม Short Video นั้นจะต้องเน้นสั้น กระชับ เร็วๆ ไวๆ เท่านั้นจึงจะประสบความสำเร็จ

@meangirls

aaron samuels, duh. but also the new #meangirls trailer 💋

♬ Only In Theatres January 12 – Mean Girls

ไม่อีกต่อไปในปี 2024 เพราะจากตัวอย่างของค่ายหนัง Paramount ที่ได้ปล่อยภาพยนต์เต็มๆ เรื่อง Meangirls ออกมาให้คนได้ติดตามดูเรื่อยๆ จนจบเรื่อง

และที่สำคัญกว่านั้นคือแต่ละคลิปที่ปล่อยออกมานั้นจะอยู่ได้แค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้น เรียกได้ว่าทำเอาผู้คนยิ่งต้องติดตามไปกันใหญ่ เพราะถ้าดูแล้วขาดตอนก็ต้องไปเสียเวลาหาดูเต็มๆ บนเน็ตอีกซึ่งก็ไม่ง่าย

เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สร้างความสนใจได้ดี ในเมื่อใครๆ ก็เน้นสั้นนัก ก็หันมาเน้นความสดและต่อเนื่องเพื่อทำให้ชาวโซเชียลสนใจแทน

Mixed Reality และ Parody ตัวเอง

ไหนๆ แพลตฟอร์มอย่าง TikTok ก็เปิดให้เราสามารถเอาคลิปมากกว่า 1 อันมารวมกันเป็นคลิปวีดีโอใหม่ตัวเดียวได้ ทำไมเราไม่เอาจุดนี้มาทำให้คอนเทนต์เดิมที่มีน่าสนใจยิ่งขึ้นหละ

NFL เองก็มีการเอาคลิปวิดีโอไฮไลท์การแข่งขันอเมริกันฟุตบอลมาตัดใหม่ ด้วยการผสมคลิปของเกม NFL เองที่ตั้งใจเล่นให้เหมือนกับในการแข่งขันจริง ผลคือสามารถเรียกความสนใจได้จากทั้งแฟนเกมเอง และแฟนฟุตบอลเดิมไปพร้อมกัน

ลองคิดต่อยอดดูนะครับว่าเราจะเอาฟีเจอร์ใหม่นี้มาใช้กับ Content Marketing Plan 2024 ของแบรนด์เราได้อย่างไร

2. Post Representation

คำว่า Mass นั้นตายสนิทในปี 2024 จะไม่มีใครที่เป็นที่รู้จักของทุกคนทั่วโลกหรือทุกคนทั่วประเทศได้โดยง่ายอีกต่อไป ยี่สิบปีก่อนผู้หญิงไทยอาจบอกอยากสวยเหมือนอั้ม หล่อเหมือนโดม เสียงดีเหมือนพี่เบิร์ด แต่วันนี้ไม่มีใครสามารถเป็น Mass Idol ที่จะ Represent ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ได้อีกต่อไป เพราะเราอยู่ในโลกที่มัน Fragmented แบบสุดๆ ใครๆ ก็สามารถเป็น Idol ของใครๆ ก็ได้

จากเดิมเราเคยทำการตลาดแบบใช้ไอเดียแบบ Stereotype ได้ ในปี 2024 ไปนั้นจะไม่ได้ผลกับชาวโซเชียลโดยสิ้นเชิง และที่สำคัญไปกว่านั้นคือกลุ่มคนชายขอบ คนที่เคยถูกลืม กลับมามีตัวตนบนหน้าจอโซเชียลมีเดียมากขึ้นเรื่อยๆ

ดูเหมือนว่าโลกออนไลน์จะเผยให้เห็นความหลากหลายในทุกมิติสังคม ไม่มีอีกแล้วว่าจะต้องผิวขาวเท่านั้นถึงสวย ผอมเท่านั้นถึงจะดูดี วันนี้นิยามคำว่าดูดีนั้นไปกว่านั้นมาก ดีไม่ดีมันคือความมั่นใจว่าตัวเองดูดีในแบบของตัวเอง จนรังสีนั้นเฉิดฉายออกไปทุกทิศทาง

เราไม่ได้ฟังเพลงเดียวกันกับคนส่วนใหญ่อีกต่อไป ละครยิ่งไม่ต้องพูดถึง เราต่างคนต่างดูในสิ่งที่ตัวเองชอบ จากนี้ไปจะหาได้ยากยิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมจะพูดถึงเรื่องเดียวกันในเวลาเดียวกัน ยกเว้นว่าเรื่องนั้นมันจะยิ่งใหญ่มากพอจนส่งผลกระทบต่อทุกคน หรือคนวงกว้างในสังคมได้จริงๆ

ในต่างประเทศเองกระแส LGBTQ+ ก็มาแรงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกลุ่มเพศทางเลือกที่มีผิวสีที่เคยถูกมองข้ามมานาน ก็กำลังได้รับความสนใจบนโซเชียลมากขึ้นเรื่อยๆ (ย้ำในต่างประเทศ) เรื่องนี้สะท้อนถึงโซเชียลนั้นเปิดกว้างทำให้คนจำนวนมากมีโอกาสได้ถูกรับรู้ในสังคม ผ่านการทำคอนเทนต์ดีๆ ก็สามารถกลายเป็นไวรัลที่รู้จักได้ไม่ยาก

ส่วนกลุ่มผู้หญิงในสายงานหรืออาชีพต่างๆ ที่ถูกมองข้ามมานานจากสังคมก็เริ่มเป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้นจากการใช้โซเชียลมีเดีย เพราะขนาด Midjourney เองถ้าเราให้มัน gen ภาพนักบอล หมอ วิศวกร หรือ ช่างเครื่องยนต์ขึ้นมา AI มันจะ gen ออกมาเป็นภาพผู้ชายส่วนใหญ่หรือทั้งหมด นั่นก็เพราะมันมี Bias ใน Data ที่ถูกนำไปใช้เทรน AI ตั้งแต่แรกครับ

เมื่อผู้คนรู้แบบนี้ก็เลยพยายามช่วยกันขยายกรอบความคิดหรือ Perception ให้มากขึ้น พยายามทำลายภาพจำเก่า Stereotype ออกไปให้มากที่สุด แน่นอนว่าในเทรนด์นี้จะฉายให้เห็นมิติความหลากหลายของผู้คนจริงๆ ในสังคม ผ่าน Social media trend 2024

และทั้งหมดที่เกริ่นมานี้จะส่งผลถึงแบรนด์ต่างๆ อย่างแน่นอน เพราะถ้าคุณยังทำเฉย ยังฉายภาพ Stereotype แบบเดิมๆ ระวังนอกจากยอดขายจะไม่เพิ่มขึ้น อาจถูกดราม่าทัวร์ลงจนสังคมแบนไม่ซื้อสินค้าหรือบริการของแบรนด์คุณเอาได้

ทั้งหมดนี้มาจากการที่ผู้คนไม่ได้ใช้เวลากับสื่อเก่าที่เคยเป็นสื่อหลักอย่าง TV ที่เคยมีไม่กี่ช่อง หรือวิทยุไม่กี่คลื่น หรือนิตยสารหนังสือพิมพ์ไม่กี่หัวอีกต่อไป แต่วันนี้เราทุกคนมี Personalized Screen ที่ป้อน Personalized Content ให้เราตลอดเวลาโดยไม่มีอะไรมาขวางกั้น (ยกเว้นแต่โฆษณาสำหรับคนไม่ยอมจ่ายพรีเมียม)

ถ้าอยากรู้ว่าเทรนด์ของ Post Representation นั้นจะส่งผลต่อการทำ Social Media Marketing 2024 อย่างไร เรามาทำความเข้าใจทั้งในแง่ของสังคมกับแพลตฟอร์มกันครับ

ในแง่ของสังคม

ชาวโซเชียลนั้นรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นจนสามารถสร้าง impact ต่อสังคมจริงๆ ในโลกออฟไลน์ได้มากมายในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างภาพยนต์สารคดีเรื่อง Eat The Rich: GameStop Saga ที่คนในเว็บบอร์ดอย่าง Reddit รวมตัวกันดัดหลังไม่ให้บริษัทการเงินช็อตหุ้นขาย จนผลทำให้บริษัทนั้นเสียหายหลายพันล้าน

หรือกับ Reddit ที่ประกาศจะเก็บเงินค่าเชื่อมต่อ API จากแอปนอก บรรดาผู้ใช้งานเดิมต่างก็พากันแบนและประกาศว่าจะเลิกใช้อย่างจริงจัง หลายคนที่เป็น Account ดังๆ ก็ถึงขั้นลบแอคตัวเองจริงๆ เลย

งานนี้จะเห็นว่าทัวร์โซเชียลนั้นน่ากลัวกว่าที่คิด อย่าคิดว่าชาวโซเชียลเป็นแค่ชาวเน็ตแบบวันวาน ไม่งั้นธุรกิจหรือแบรนด์คุณที่ปั้นมาอาจพังพินาศได้ภายในไม่กี่นาที

ในแง่ของเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์ม

ในวันที่เราก้าวเข้าสู่ยุค AI ถลำลึกโดยไม่รู้ตัวหนักมากในปีนี้ เราได้รู้จักทั้ง ChatGPT และ Generative AI ต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม Image Generated AI ที่อยากได้ภาพแบบไหนก็แค่พิมพ์ Prompt บอกไป

ผลคือเมื่อผู้คนลองพิมพ์ว่านักบอล นักกีฬา นักบาส หรือวิศวกร ผลคือ AI จะเจนแต่ภาพผู้ชายขึ้นมา หรือแม้แต่นักบาสก็มักจะเจนออกมามีแต่คนผิวสีเท่านั้น แทบไม่มีนักบาสที่เป็นคนผิวขาวที่มีอยู่จริงให้เห็นเลย

สาเหตก็เพราะ Data Training ที่เอาไปสอน AI เองนั้นมี Bias ในตัวโดยที่ผู้สอนก็อาจไม่ทันรู้หรือตั้งใจสังเกตหา มารู้อีกทีก็ตอนที่มีคนเริ่มใช้งานและสังเกตเห็น ดังนั้นถ้า Generative AI ของเรามีให้แต่ผลลัพธ์ที่ Stereotype ก็อาจทำให้คนส่วนใหญ่จำนวนมากที่มีความหลากหลายนั้นปฏิเสธไม่ใช้งาน AI ของเราในระยะยาว

และทั้งหมดที่บอกมานี้ส่งผลต่อ Social Media Trend & Insight 2024 อย่างไร

1. #BlackAlt เกิดกระแสแฮชแท็กนี้ใน TikTok ด้วยความตั้งใจของกลุ่มคนผิวสีที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ ที่หลากหลาย แต่ถูกผู้คนมองข้ามไปนาน พวกเขาก็เลยออกมาทำคอนเทนต์ให้คนทั่วไปรับรู้ว่าคนผิวสีแบบพวกเขานั้นไม่ได้ Stereotype แบบที่เข้าใจกันแต่อย่างไร

บวกกับความ Bias Algorithm ของ TikTok ที่มักจะดันคอนเทนต์ของคนผิวขาวมากเกินไป ก็เลยทำให้บรรดาคนผิวสีพยายามทำคอนเทนต์ของตัวเองให้ติดเทรนด์เพื่อให้โลกได้รู้จักพวกเขามากขึ้น จะว่าไปมันก็คือสงความการแย่งชิงความสนใจจาก Algorithm Social Media ดีๆ นี่แหละครับ

2. เลิกเล่นมุขเหยียดเพศหญิงได้แล้ว

เดิมมีการเล่นมุขเหยียดเพศนั้นมีมานาน และก็เป็นไปทั่วโลกโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่มุขการขับรถที่เวลาหลายคนเห็นรถคันหน้า หรือคันข้างๆ ขับไม่ดี ก็มักจะคุยเล่นกับเพื่อนว่า “สงสัยผู้หญิงขับ” หรือคำล้อของผู้ชายด้วยกันว่า “ทำอะไรให้แมนๆ หน่อย ทำไมดูตุ้งติ้งเป็นผู้หญิงเลย”

ซึ่งเรื่องนี้ก็เคยมีแบรนด์ทำโฆษณาออกมานานแล้วว่า Like a Girl ในความเป็นจริงนั้นทะมัดทะแมงยิ่งกว่าคนแมนๆ อย่างท่าวิ่งของเด็กผู้หญิงเองก็ดูกระฉับกระเฉงเหมือนเด็กผู้ชายไม่ต่างกัน

3. เรียนรู้ชีวิตด้วยโซเชียล

จากเดิมโซเชียลมีเดียมักเป็นพื้นที่ไว้พูดคุยเรื่องไร้สาระ เรื่องสนุกสนาน หรือเอาไว้หยอกล้อแกล้งกันกับคนอื่น แต่วันนี้ผู้คนใช้โซเชียลมีเดียกันเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะในการตั้งกระทู้หรือเขียนโพสเปิดประเด็นถามเรื่องจริงจังของชีวิต เช่น

ขอถามคนอายุ 30 หน่อย….
ขอถามคนอายุ 40 หน่อย….

เรามักเห็นโพสแบบนี้กันเยอะขึ้น มันเหมือนกับการได้ถามความเห็นจากคนที่มีประสบการณ์มากกว่า แม้จะเป็นคนแปลกหน้าบนโซเชียลมีเดียแต่เราก็กล้าที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนกันแบบจริงๆ จังๆ ผิดกับการใช้โซเชียลมีเดียแบบวันวาน

เรากำลังก้าวเข้าสู่เทรนด์ที่เปลี่ยนจาก “การเล่นโซเชียลมีเดีย” มาสู่ “การใช้โซเชียลมีเดีย” เมื่อคนสมัยนี้โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z นั้นมองว่าโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการใช้ชีวิต ไม่ใช่แค่พื้นที่ออนไลน์ไว้สนุกสนานกับเพื่อนเหมือนคนเจนอื่น

และนี่คือเทรนด์การใช้งานโซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนไป แล้วถ้าถามว่าแบรนด์หรือนักการตลาดต้องปรับตัวอย่างไรกับเทรนด์ Post Representation นี้ มาลองดูกันครับ

Brand Content Strategy 2024 เลิก Stereotype และต้องจริงจังกับความ Diversity

1. Ford กับช่างผู้หญิงที่ไม่ได้มีดีแค่สวย แต่ยังเก่งเครื่องยนต์จริงๆ

@syds_garage

Episode 1 | how to check your oil! #BuiltFordProud #ad

♬ original sound – SYD

ช่างเครื่อง หรือช่างรถยนต์ จะมีสักกี่คนที่พอพูดถึงคนทำอาชีพนี้จริงจังโดยเฉพาะความเป็นมืออาชีพนั้น จะคิดถึงช่างที่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่วนตัวผมคิดว่าไม่น่าจะมีครับ เพราะเราถูกทั้งสื่อและโฆษณาต่างๆ ฝังหัวว่างานของช่างเป็นงานของผู้ชาย เป็นงานต้องใช้แรงหรือทักษะเฉพาะที่มีแต่ในผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงเหรอเขาไม่ชอบงานเปรอะเปื้อนหรอก ให้เข้าไปอยู่สวยๆ ในออฟฟิศรอรับลูกค้ากับทำบัญชีดีกว่า

แต่ใน TikTok ก็มีผู้ใช้ Account หนึ่งที่ชื่อว่า @syds_garage หรือช่างเครื่องยนต์ที่เป็นผู้หญิงจริงๆ มีความรู้ความสามารถจริงๆ และก็สามารถซ่อมรถยนต์ให้ใช้งานได้จริงๆ ตัวเธอเองนั้นทำคลิปลง TikTok จนมีผู้ติดตามถึง 1.6 ล้านคน

โดยเธอก็ไม่ได้ทำคอนเทนต์เซ็กซี่หรือขายหน้าตาความสวยแต่อย่างไร สิ่งที่เธอทำออกไปก็มีแต่ความรู้และการซ่อมรถจริงๆ ในอยู่ของเธอ จนทำเอาผู้ชายหลายคนได้แต่อึ้ง บวกกับทำเอาผู้หญิงด้วยกันต่างภูมิใจที่เห็นว่าเราก็เป็นช่างที่เก่งได้ถ้าตั้งใจและพยายามมากพอ

ลองคิดต่อยอดจาก Ford ดูนะครับว่าเราจะใช้กลยุทธ์แบบเดียวกัน ดันผู้หญิงที่เป็นผู้ใช้จริงหรือผู้เชี่ยวชาญตัวจริงผ่านแบรนด์เราได้อย่างไร

2. เปิดโลกใหม่ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ จากแคมเปญ The Unfiltered History Tour

นี่เป็นแคมเปญการตลาดที่ถูกพูดถึงในงานเทศกาลโฆษณามากมาย เว็บสำนักข่าว VICE ได้ทำ AR Filter ขึ้นมาแล้วก็สื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย Gen Z ที่ชอบการใช้ฟีเจอร์นี้รู้ว่าเบื้องหลังข้าวของในพิพิธภัณฑ์ The British Museum นั้นไม่ได้สวยงามแบบที่แปะไว้บนกระดาษให้อ่านกัน

เพราะข้าวของหลายชิ้นนั้นถูกแย่งชิงมาอย่างโหดร้าย และจากแคมเปญนี้ก็เป็นการตีแผ่ประวัติศาสตร์อีกด้านให้กลุ่มเป้าหมาย Gen Z ได้เอาไปขบคิดกันต่อ ซึ่งก็ตรงตามวัตถุประสงค์ของแคมเปญนี้

3. The Greatest Apple ไม่ต้องบอกว่าเรา Represent ใคร แต่ทำให้เห็นว่าเราช่วยใครให้ Represent ได้ดีขึ้น

https://www.youtube.com/watch?v=c2UF26YpPFg

จากแคมเปญการตลาดของ Apple ที่ฉายภาพให้เห็นว่าเทคโนโลยีใน iPhone ใหม่นั้นทำให้ผู้พิการหลายๆ นั้นสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพที่ดีขึ้นแบบที่คาดไม่ถึงมาก่อน แน่นอนว่าก่อนหน้าที่เล่ามามันคือการที่แบรนด์พยายามบอกว่าตัวเอง Stand for อะไร แต่กับเคสนี้ของ Apple นั้นไม่ได้บอกว่าตัวเอง Stand for อะไร แค่ทำให้เห็นว่าผู้คนเหล่านี้สามารถ Stand for ตัวเองได้ดีขึ้นด้วยสินค้าหรือบริการของเรานั่นเอง

นี่เป็นแคมเปญการตลาดที่ฉลาดหลักแหลมในการจับกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มักถูกมองข้ามในสังคม ถูกมองผ่านจากนักการตลาดไปอย่างช้านาน

ลองคิดภาพว่าถ้าคนพิการดูจะรู้สึกอยากได้ iPhone ขนาดไหน ลำพังคนปกติอย่างเราเองเห็นแล้วยังอดทึ่งไม่ได้ ว่าตกลงไอ้มือถือหลายหมื่นที่เราซื้อมาไว้เล่นโซเชียล ไลน์ และตอบอีเมลเป็นหลัก นั้นสามารถทำได้ขนาดนี้เลยหรือ เจ้า iPhone เครื่องเดิมในมือมันช่างดูเท่ห์ขึ้นมาอีกหลายขุมเลย

ดูเหมือนว่าการใช้งานโซเชียลมีเดียนั้นจะเปลี่ยนไปอีกระดับ จากที่เคยเอาไว้เล่นสนุกขำๆ กลายเป็นพื้นที่ของความจริงจัง โดยเฉพาะกับกลุ่ม Gen Z ที่ไม่ได้มีโซเชียลมีเดียไว้แค่เล่นสนุกๆ กับเพื่อน แต่มีไว้เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ใช้ชีวิตได้ดีขึ้นจริงๆ

1. Attention Layering เมื่อผู้คนหันเหความสนใจไปยังสิ่งที่มีความสำคัญหรือควรค่าแก่การสนใจจริงๆ มากกว่าแค่คอนเทนต์สนุกๆ ขำๆ หรือคอนเทนต์ขยะทั่วไปรายวัน

2. Post Representation หมดยุคของคำว่า Mass และนักการต้องต้องเลิกคิดแบบ Stereotype ในปี 2024 อย่างเด็ดขาด ถ้าคุณยังเหมารวมว่าผู้คนแบบนี้น่าจะเป็นอย่างนั้น หรือกลุ่มเป้าหมายเรานั้นน่าจะเป็นแบบนี้ บอกเลยว่าคุณจะพลาดโอกาสอีกมาก จนคู่แข่งคุณอาจเฝ้ารอให้คุณพลาดอยู่ก็ได้

ในบทความตอนหน้าจะพาไปดูอีก 3 Social Media Marketing Trends & Insights 2024 ว่านักการตลาดอย่างเราจะต้องปรับแผนกลยุทธ์การตลาดในปีหน้าอย่างไรครับ

อ่านบทความตอนที่ 2

Source: https://thinkforward.wearesocial.com/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *