Data Research Insight เจาะดาต้า แมวป่วย By Social Listening

Data Research Insight เจาะดาต้า แมวป่วย By Social Listening

กระแส Pet Humanization ในไทยถือว่าบูมเป็นอย่างมาก คนเลือกที่จะเลี้ยงสัตว์เสมือนลูก รักดุจคนในครอบครัว ทำให้การดูแลเอาใจใส่รวมถึงการรักษาจะต้องเป็นไปอย่างดี และแมวก็มีเจ็บไข้ได้ป่วยเหมือนคน ดังนั้น Data Research Insight ฉบับนี้ เราจะพามาเจาะลึกข้อมูล ‘แมวป่วย’ ในไทยกันค่ะ

โดย Insight ในบทความนี้ เราใช้ Social listening tool อย่าง Mandala ที่ทีมการตลาดวันละตอนใช้อยู่เป็นประจำมาเสาะหาว่า คนพูดถึงเกี่ยวกับแมวป่วยอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น สาเหตุที่ทำให้ป่วย โรค/อาการป่วยที่ถูกพูดถึง แนวทางในการป้องกัน วิธีที่คนเลือกรักษาแมว และอื่น ๆ อีกมากมายเราก็เก็บข้อมูลมาให้เช่นกัน เพื่อเป็นประโยชน์และไอเดียให้กับนักการตลาด ผู้ประกอบการ และผู้อ่านทุกท่านค่ะ 

ในบทความนี้เราจะพามาดูทั้งขั้นตอนกระบวนการทำ 8 ขั้นตอนดังรูป และ Insight ที่เจอมาแบ่งปันทุก ๆ คนกันค่ะ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

มาเริ่มกันที่ขั้นตอนแรก Research Keyword โดยตัว Keyword ที่เลือกใช้มีดังนี้ค่ะ

  • Keyword ที่ใช้มีดังนี้ : แมว+ป่วย แมว+โรงพยาบาล แมว+คลินิก แมว+หาหมอ แมว+แอดมิท แมว+แอดมิด แมว+โรงพยาบาล โดยคำพวกนี้เป็นคำที่สื่อถึงบริบทของแมวที่ป่วยได้ทั้งหมดและสามารถเก็บข้อมูลมาให้เราได้มากถึง 6,825 mentions
  • ระยะเวลาที่ใช้ในการดึงข้อมูล : 01/08/2023 – 24/01/2024 หรือประมาณ 1 ปีกว่าย้อนหลัง

ปล. การเลือกใช้ Keyword สามารถอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่

หลังจากเซตตัว Keyword เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การ Collecting Data โดยระบบได้กวาดข้อมูลมาให้เราได้ทั้งหมดจำนวน 6,825 mentions ซึ่งจำนวนนี้ถือว่าเพียงพอต่อการนำไปใช้วิเคราะห์ในเบื้องต้นได้แล้วค่ะ

STEP 3 Cleansing Data

ก่อนที่จะได้ Insight มานั้น ต้องขอบอกว่าข้อมูลที่เราดึงมา มันไม่ได้มีข้อมูลที่เราจะใช้ได้ทั้งหมด 100% เพราะฉะนั้นเราจะต้องมา Cleansing data ซะก่อน โดยการ Cleansing data ของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคนค่ะ 

ยกตัวอย่างเช่น โพสต์จากคลินิกศัลย์กรรมทำจมูกที่คลิกนิก แผลหลังทำเหมือนรอยแมวข่วน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในโพสต์นี้มีคำว่า “แมว+คลินิก” อยู่ในโพสต์ แต่บริบทของข้อความไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อที่เราต้องการ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องคัดกรองข้อมูลก่อนนั่นเองค่ะ 

โดยวิธีการลบข้อมูลที่เราไม่ต้องการออกก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 1. กดที่ปุ่ม Exclude 2. กดลบที่ปุ่มถังขยะ หรือ 3. เลือกคีย์เวิร์ดที่จะ Exclude ในข้อความโดยการคลุมดำคำนั้นได้เลย สามารถเลือกใช้วิธีไหนก็ได้ตามความถนัดเลยค่ะ

STEP 4 Conversation Analysis

หลังจากที่เราทำการคลีนข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อมาที่เราจะเห็นก็คือข้อมูลแบบองค์รวมว่าประเด็นเกี่ยวกับ แมวป่วย ที่มีการพูดถึง คนพูดถึงในแง่มุมไหนบ้าง พูดถึงอย่างและแบบไหน ช่องทางไหนที่มีการพูดถึงบ้าง เทรนด์และไทม์ไลน์การพูดถึงในแต่ละช่วงเป็นอย่างไร 

โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยไกด์ให้เราทำขั้นตอนต่อไปได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งก็คือการทำ Categorize Data หรือการจัดข้อมูลให้อยู่เป็นหมวดหมู่นั่นเองค่ะ 

ทีนี้เรามาดูกันแต่ละส่วนกันดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีการพูดถึงแมวป่วยมากน้อยแค่ไหน

เรามาดูในแง่ของส่วนแบ่งแพลตฟอร์มในมิติของ Mention, Engagement และ Ey Engagement ignore view กันก่อนค่ะ เพื่อที่จะทำให้เราได้มองเห็นภาพกว้างมากขึ้นว่าแพลตฟอร์มไหนคนมีการพูดถึงหรือมีส่วนร่วมกับประเด็นต่าง ๆ ที่ความเกี่ยวข้องกับ ‘แมวป่วย’ 

  • By Mention: จากข้อมูลบ่งชี้ว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีการถูกใช้เพื่อถึง แมวป่วย มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ YouTube, Twitter, YouTube, Instagram และ TikTok ตามลำดับ โดยรูปแบบโพสต์ส่วนใหญ่จะมาจากเพจ Pet Influencer ต่าง ๆ เช่น ไข่ขาวลูกแมร์ ทูนหัวของบ่าว เป็นต้น นอกจากนี้ก็จะเป็นเพจแบรนด์/คลินิก/โรงพยาบาลสัตว์
  • By Engagement: ในทางกลับกับสำหรับด้าน Engagement แพลตฟอร์มอย่าง YouTube ขึ้นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง (นับรวมยอดวิวเข้าไปด้วย) รองลงมาคือ TikTok และอื่น ๆ ตามลำดับ และคอนเทนต์ที่มียอดการมีส่วนร่วมสูงสุดมาจากช่อง Timmy Time โพสต์คลิปอัปเดตอาหารของน้องแมวที่เลี้ยงป่วย
  • By Engagement ignore YouTube view -เพราะ YouTube มีการนับยอดวิวไปด้วย เราเลยกดเอาช่องทางนี้ออกเพื่อให้เห็นภาพรวมของช่องทางอื่น ๆ ค่ะ และ Facebook ยังเป็นช่องทางที่ได้รับเอนเกจเมนท์สูงสุดอีกด้วย

มาต่อกันด้วย Social Data Top Post Engagement By Timeline ในที่นี้เราจะขอเอาแพลตฟอร์ม YouTube ออก เพราะเป็นช่องทางที่นับยอดวิวเข้าไปด้วย ทำให้กินสัดส่วนของแพลตฟอร์มอื่น ๆ จึงเอาออกเพื่อที่จะได้ดูในแพลตฟอร์มอื่นบ้าง ว่าคอนเทนต์ไหนที่ได้รับความนิยมบ้างนั่นเองค่ะ

ซึ่งเราจะเห็นว่า Facebook และ TikTok คือแพลตฟอร์มที่ได้การมีส่วนร่วมเด่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด องค์รวมเราจะเห็นได้เลยว่าคอนเทนต์ส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมจะเป็นไปในเชิงของพาแมวไปรักษา รีวิวอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน รีวิวยาหยอด เป็นต้น

@ssomchunn

หน้าฝนต้องระวังงงงงง! ยุงตัวร้ายอาจนำพาหะมา ทำให้น้องแมวป่วยได้!!! #LOVESolution #LOVESolutionCatPLUS #หยดรักหยดLOVE #รักและห่วงใยปลอดภัยจากปรสิต

♬ Cute – Aurel Surya Lie

STEP 5 Categorize Data 

หลังจากที่เราคัดกรองข้อมูล ได้ข้อมูลที่พร้อมใช้งานจริง ๆ และเห็นถึงภาพรวมของการพูดถึงเกี่ยวกับ แมวป่วย ว่ามีการพูดถึงในมุมมองในบ้าง พูดถึงแบบใด สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือการ จัดกลุ่มข้อมูลค่ะ ซึ่งก่อนที่เราจะจัดกลุ่ม เราต้องมาถามตัวเองก่อนว่า เราต้องการรู้อะไรจากมันบ้าง และข้อมูลบอกอะไรให้เราได้รู้บ้าง เพื่อที่จะวิเคราะห์ข้อมูลออกมา

โดยการจัดกลุ่มข้อมูลบทความนี้ จะแบ่งออกเป็น 10 Category เพื่อหาเป็น Insight ออกมา 10 หัวข้อ ดังนี้ 

  1. สาเหตุที่ทำให้แมวป่วย
  2. Top 10 โรค: ป่วยเป็นโรคอะไรบ้าง?
  3. แนวทางในการป้องกัน
  4. วิธีในการป้องกันเห็บหมัด
  5. ชื่อแบรนด์ของยาหยอด
  6. ช่องทางในการซื้อ/เข้าถึง สินค้าที่ใช้ในวิธีในการป้องกันเห็บหมัด
  7. สิ่งที่ใช้บำรุงร่างกายแมว
  8. แมวป่วยคนพาไปหาหมอ หรือ รักษาเอง?
  9. วิธีที่คนเลือกรักษาแมวป่วยด้วยตัวเอง
  10. ช่วงราคาค่าใช้จ่ายของการรักษา

จากนั้นจะใช้ Tag ในการจัดกลุ่มข้อมูลค่ะ และคำที่ใช้ค้นหาเพื่อทำการจัดกลุ่มให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนจะเป็นตามในรูปด้านบนค่ะ ใครจะแบ่งหัวข้อมากกว่านี้ก็ได้นะคะ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการจะหา และข้อมูลพาเราไปหาได้ค่ะ

STEP 6 Data Visualization

เมื่อทำขั้นตอนของการจัดหมวหมู่ Data เสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 6 คือ การทำ Data Visualization วิธีการทำก็สามารถทำได้หลายทางแล้วแต่ความถนัด เช่น Power Bi, Looker Studio, Excel, Tableau เป็นต้น อย่างผู้เขียนจะเลือกทำใน Canva เพราะเป็นช่องทางที่ถนัดใช้ที่สุด โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่เราได้ทำการเตรียม มาทำการแปลงเป็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น

Insight #1 สาเหตุที่ทำให้แมวป่วย

Data Research Insight เจาะดาต้า แมวป่วย By Social Listening

ข้อมูลจากการใช้ Social listening บ่งชี้ว่าสาเหตุที่ทำให้แมวป่วยมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งมาจากการ ‘ทำหมัน’ ซึ่งคิดเป็น 51.4% ถือเป็นตัวเลขที่เกินครึ่ง ผู้ประกอบการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เจ้าของคลินิก โรงพยาบาลสัตว์ไม่ควรมองข้ามประเด็นนี้ โดยบริบทเราพบว่าการทำหมันแมวทำให้แมวเกิดภาวะเสี่ยงติดเชื้อโรคและไวรัสจากโรงพยาบาลสัตว์/คลินิกที่ไปทำหมัน เนื่องจากสภาพร่างกายอ่อนแอให้ช่วงนั้นทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายนั่นเองค่ะ

นึกภาพง่าย ๆ ก็เหมือนร่างกายของคน ไปโรงพยาบาลทำหัตถการใหญ่ร่างกายจะอ่อนแอเป็นธรรมดา ยิ่งกับสถานโรงพยาบาลสัตว์โดยส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มีห้องแยกเพื่อพักฟื้น แมวที่เข้ามารักษาหรือพักฟื้น (มีเชื้อโรค/ไวรัสจากแมวตัวอื่น) หลายตัวจะต้องอยู่รวมในห้องเดียวกัน จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อนั่นเองค่ะ

โดยประเด็นนี้ทำให้ฝั่งเจ้าของสัตว์เลี้ยงหลาย ๆ คนกังวลที่จะนำแมวไปทำหมัน กลัวว่าเอาไปทำแล้วน้องจะป่วย จะติดเชื้อโรค/ไวรัสกลับมา ดังนั้น หากโรงพยาบาล/คลินิกรักษาสัตว์ มีห้องเดี่ยวสำหรับการพักฟื้นก็ถือเป็นอีกหนึ่ง Solution ที่น่าสนใจที่จะเข้ามาแก้ Pain point ของฝั่งผู้เลี้ยงได้

@pinsingto

ตอบกลับ @mint.nrd เกิดจากการติดเชื้อไวรัส FPV (เหตุเกิดตอนเมษา ปี65)

♬ ลาก่อน cover by Joey Phuwasit – mingky

สาเหตุที่ทำให้แมวป่วยรองลงมาคือ อากาศเปลี่ยน 26.5% ซึ่งเรามักจะเจอคู่กับบริบทในช่วงของหน้าฝนและหน้าร้อน ที่อากาศชื้น ฝนตก ทำให้แมวป่วย หรืออากาศร้อนจัดทำให้แมวเป็นฮีทสโตรกป่วยเป็นลมแดดได้นั่นเองค่ะ

ส่วนการโดนกัด 10.6% มักจะเกิดมาจากแมวที่ไปกัดหรือสู้กับแมวตัวอื่น ทำให้ได้แผลกลับมา บางตัวถึงขั้นป่วยซึมไปเลยก็ดี และส่วนใหญ่มักเจอคู่กับแมวที่ยังไม่ได้ทำหมัน เพราะแมวที่ยังไม่ได้ทำหมันฮอร์โมนจะพลุ่งพล่าน คึกที่จะออกเที่ยวไปสู้รบกับแมวตัวอื่น

ปิดท้ายด้วยสองสาเหตุสุดท้ายคือ ภูมิตก 5.9% และ เห็บ/หมัด/ยุง 5.5% บริบทจะตรงด้วยกับสาเหตุเลยค่ะ กล่าวคือ แมวภูมิตก อันเนื่องมาจากเครียด สภาพร่างกายไม่เต็มร้อยก็จะป่วย และเห็บ/หมัด/ยุง ที่กัดก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาทำให้เกิดอาการป่วยได้นั่นเอง

Insight #2 Top 10 โรค: ป่วยเป็นโรคอะไรบ้าง?

Data Research Insight เจาะดาต้า แมวป่วย By Social Listening

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจจากการใช้ Social listening ทำหัวข้อแมวป่วยคือ โรคที่ป่วยมีอะไรบ้าง? ซึ่งในที่นี้เราเก็บมาให้ด้วยกัน 10 อันดับแรกที่มีการถูกพูดถึงมากที่สุดค่ะ โดยเราพบว่า Top 10 โรคมีดังต่อไปนี้

  1. ไข้หวัดแมว 25.6%
  2. หัดแมว 16%
  3. ไต 15.2%
  4. ลิวคีเมีย (โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว) 13.2%
  5. FIP (โรคเยื้อบุช่องท้องอักเสบ) 9.1%
  6. เชื้อรา 7.7%
  7. ตาอักเสบ 6.2%
  8. เอดส์ 4.2%
  9. มะเร็ง 2.1%
  10. เนื้องอก 0.7%

ซึ่งความน่าสนใจอยู่ที่บริบทส่วนใหญ่ของโรคไข้หวัดแมวและหัดแมว มักเจอคนพูดถึงว่าเกิดจากการติดหวัดหลังทำหมัน จึงสะท้อนกลับไปยังสาเหตุของการป่วยได้ซึ่งมีความสอดคล้องกันกับโรคที่แมวมักป่วย

ดังนั้น หากใครที่เป็นผู้ประกอบ เจ้าของโรงพยาบาล/คลินิกสัตว์ การทำคอนเทนต์สร้างความมั่นใจ เช่น ทำหมันกับเราปลอดภัย หรือเสนอการรักษาที่ตรงโรค เช่น โรค…เรารักษาได้ และสื่อสารออกไปเพื่อสร้าง awareness และความมั่นใจให้กับเจ้าของสัตว์เลี้ยงถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะสร้าง Credibility ให้กับแบรนด์ของเราได้ค่ะ

@panisnurse

หลังพาไปทำหมัน ภูมิตก ติดหวัดมาเฉย ไม่ยอมกินไร IV ก็มา clavumox ,osel,bisolvon พ่นยา ครบสูตร ลูกช้านนน…น้องต้องหายนะลูก…😿 #ทาสแมว #คลิปสัตว์เลี้ยง #แมวป่วย

♬ Sleepy Cat – Calming Cat Music
@kungjulalak

#ลูกแมวจรในวันนั้นกับลูกแม่ในวันนี้ น้องป่วยเป็นหวัดแมว หลังจากหาหมอกินยาแล้วน้องหลับสนิทเลย #พักผ่อนเยอะๆนะลูก

♬ เสียงต้นฉบับ – tw02ero – tw02ero

Insight #3 แนวทางในการป้องกันไม่ให้แมวป่วย

Data Research Insight เจาะดาต้า แมวป่วย By Social Listening

เรามาดูแนวทางในการป้องกันกันบ้างค่ะว่าคนเลือกมีแนวทางในการป้องกันไม่ให้แมวป่วยอย่างไรกันบ้าง โดยเราพบว่าการฉีดวัคซีน คือแนวทางหลักที่ผู้คนเลือกใช้มากถึง 39% โดยวัคซีนที่พบจะเป็นวัคซีนประจำปี หรือวัคซีนรวมป้องกันไข้หัดหวัดแมว ที่เป็นโรคสุดฮอตฮิตที่แมวมักป่วยนั่นเองค่ะ

รองลงมาก็จะเป็นการใช้ยาหยอดประเภทต่าง ๆ เพื่อป้องกัน/กำจัดเห็บหมัดที่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้แมวป่วย การทำหมัน 19.8% ในที่นี้เราว่า 2 สาเหตุที่คนเลือกทำหมันคือ

  1. ลดความก้าวร้าว จะได้ไม่ต้องออกไปกัดกับแมวตัวอื่น (ตอบโจทย์สาเหตุจากการที่แมวไปกัดกับตัวอื่น ทำให้ป่วย)
  2. หวังผลให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดีขึ้น ซึ่งอันนี้ก็มีผลวิจัยรวมถึงสถานพยาบาลสัตว์ต่าง ๆ ก็ออกมาทำคอนเทนต์ให้ความรู้ว่าทำหมันช่วยในเรื่องนี้ได้จริง ๆ

ถัดมาก็จะเป็นตรวจสุขภาพประจำปี 9.6% ใส่ใจอาหารการกิน 5.1% และปิดท้ายด้วยการรักษาความสะอาดสภาพแวดล้อมที่แมวอยู่ 4.4%

@shabuwingscat

พาลูกแมวทั้งห้าตัวมาทำวัคซีนที่โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขาระยองกัน ลูกแมวสก็อตติชโฟลด์แก๊งค์ชาลูกๆของมินนี่และแม็กนั่มจะซนแค่ไหนไปดูกัน #สวนสัตว์tiktok #ทาสแมว #แมวงอก #ลูกแมวน่ารัก #ฉีดวัคซีนแมว💉💉🐈🐈

♬ เสียงต้นฉบับ – Maew Ngok : แมวงอก – ชาบูแมวมีปีก

Insight #4 & 5 วิธีในการป้องกันเห็บหมัด และชื่อแบรนด์ของยาหยอด

Data Research Insight เจาะดาต้า แมวป่วย By Social Listening

ต่อเนื่องจาก Insight #1 สาเหตุที่ทำให้ป่วย เราจะเห็นว่าหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้แมวป่วยมาจาก เห็บหมัด ดังนั้น ในส่วนนี้เราจะพามาเจาะกันว่าวิธีใดบ้างที่คนใช้ในการป้องกันเห็บหมัด โดย Social listening ทำให้เราได้พบว่า วิธีที่คนใช้ในการป้องกันเห็บหมัดมากที่สุดคือ การใช้ยาหยอดหลังคอ 56.5% รองลงมาคือ ยาแบบสเปรย์พ่น 18.6% ยาแบบกิน 17.8% ผงแป้งโรยตัว 5.6% และปิดท้ายด้วย Innovation สุดเจ๋งอย่าง ปลอกคอป้องกันเห็บหมัด 1.5%

จากการสืบเสาะทำให้เราได้พบว่าสาเหตุที่ทำให้ยาหยอดหลังคอฮอตฮิตมาที่สุด เพราะเป็นวิธีที่ลงมือทำได้ง่ายและได้ผลมากที่สุด คนเลี้ยงแมวคงทราบกันดีว่าป้อนยาแมวเป็นเรื่องที่ยาก และหากเอาอะไรไปทาที่ตัวหรือพ่นใส่ แมวก็จะเลียตัวอยู่เสมอ ทำให้ประสิทธิภาพของยาไม่ได้ผลเท่าที่ควร

การหยอดยาป้องกันเห็บหมัดที่หลังคอจึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แมวไม่สามารถเลียหลังคอได้อย่างแน่นอนทำให้ตัวยาสามารถซึมลงกระแสเลือดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเองค่ะ

ทีนี้เรามาดูข้อมูลของแบรนด์ยาหยอดที่ถูกพูดถึงกันบ้างค่ะว่ามีแบรนด์ใดบ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ค้ายา สถานพยาบาล ผู้ประกอบการ ร้านขายสินค้าที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลตรงนี้ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ สั่งสต็อกสินค้าเพื่อตอบโจทย์ Demand ในส่วนนี้ค่ะ

โดยชื่อแบรนด์ของยาหยอดที่ได้จากการใช้ Social listening มีดังต่อไปนี้

  1. Frontline Plus 28.2%
  2. Revolution 17%
  3. Advocate 15.8%
  4. Broadline 10.1%
  5. Frontguard plus 9.5%
  6. Cleartix 8.5%
  7. Fiproline 6%
  8. Virbac Effipro Duo Spot-On 4%
  9. Bravecto Plus <1%

Insight #6 ช่องทางในการซื้อ/เข้าถึง สินค้าที่ใช้ในวิธีในการป้องกันเห็บหมัด

โดยช่องทางในการซื้อ/เข้าถึงสินค้าที่ใช้ในวิธีในการป้องกันเห็บหมัด เราพบว่าคนมักซื้อสินค้าพวกนี้ผ่านทาง Online 67.9% และทาง Offline 32.1% ทำให้เราสามารถอนุมานในเบื้องต้นได้ว่าพฤติกรรมการซื้อคือ คนมักซื้อเพื่อไปทำเองมากกว่าไปให้ผู้เชี่ยวชาญลงมือทำให้

และหากลงลึกในช่องทาง Online อีกว่ามีช่องทางไหนบ้างที่คนนิยมไปซื้อก็จะพบว่า Shopee มาเป็นอันดับหนึ่ง 54.3% Lazada 25.7% Line 13.8% และ Facebook 6.3% ซึ่งในสองช่องทางหลังเราไม่ได้พบว่าพวกเขาซื้อกับเพจ Official แต่เป็นร้านรวง พ่อค้าแม่ขายที่แปะช่องทางให้ Inbox ไปซื้อมากกว่านั่นเองค่ะ

ในส่วนของทาง Offline คนจะนิยมไปซื้อสินค้าหรือเข้าถึงสินค้าที่ใช้ในวิธีในการป้องกันเห็บหมัดที่โรงพยาบาลสัตว์มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง 57.9% รองลงมาคือ คลินิกสัตว์ 27.4% และปิดท้ายด้วย Pet Shop ต่าง ๆ อีก 14.7%

Insight #7 สิ่งที่ใช้บำรุงร่างกายแมว

Data Research Insight เจาะดาต้า แมวป่วย By Social Listening

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจจากการใช้ Social listening คือ อาหารเสริม/วิตามิน คือทางเลือกแรกที่คนมักมองหาในการเลือกใช้บำรุงร่างกายแมวไม่ให้ป่วยนั่นเองค่ะ ซึ่งคิดเป็น 30.5% กันเลยทีเดียว รองลงมาก็เป็น แมวเลีย 29.2% ซึ่งความพิเศษอยู่ที่ว่าแมวเลียจะต้องมีคุณสัมบัติที่ดีต่อสุขภาพ เช่น บำรุงไต บำรุงเลือด ไม่ได้เป็นแมวเลียดาษดื่นทั่วไป

@marvinpetshop

ไม่ใช่แค่แมวเลีย !!! แต่น้องจะได้ประโยช์ และบำรุงสุขภาพด้วย 😻 #แมวเลีย #อาหารแมว

♬ ditto – ↷🎧 ⫶ ⌕ 4ever.s0ngs ❛ 🎤 ๋˖

25.4% จะเป็นอาหารสูตรเฉพาะ ในทีนี้เราพบว่าคนเลือกให้ทานอาหารสูตรเฉพาะมีสองสาเหตุด้วยกัน คือ

  1. ป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้เป็นโรค
  2. ป่วยเป็นโรคอยู่แล้ว เพื่อไม่ให้เป็นหนักกว่าเดิม

และสิ่งสุดท้ายที่พบจาก Social listening คือ ขนมแมว คิดเป็น 14.9% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนมฟรีซดราย เนื้อสัตว์ฟรีซดราย กินเล่นก็ได้ กินหลักก็ดี เสริมโปรตีนมีประโยชน์ต่อร่างกาย

หากท่านเป็นผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ขายแล้วล่ะก็ หวังว่า list เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการใช้ตัดสินใจจัดการสินค้า คัดสรรสต็อกให้กับธุรกิจคุณได้นะคะ หรือจะทำสื่อโฆษณาออกไปเพื่อดึงดูดให้คนเลือกซื้อไปบำรุงให้น้องแมวก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้กันค่ะ

@kykaju

เปิดคลังแสง!!..แมวโรคไต..ใครที่สงสัยว่าแมวโรคไตกินอะไรได้บ้าง..ต้องดูคลิปนี้ให้จบ #พี่ลัคกี้แมวโรคไต #แมวป่วยโรคไต #สวนสัตว์tiktok #อาหารแมวโรคไต #vfcoreสุขภาพดีที่แสนอร่อย #tiktokshopครีเอเตอร์

♬ Very cute melody by marimba tone(39813) – Mitsu Sound
@namwhanany13

ใครกำลังหาซื้อขนมให้แมส ต้องดูคลิปนี้ ‼️ ถือเป็นอีก 1 ทางเลือกที่เรารู้สึกว่า มันคุ้มแล้วก็มีประโยชน์มักๆ 😍 #อกไก่ #อกไก่ฟรีซดราย #อาหารแมวทําเอง #อาหารแมว #เลี้ยงแมว

♬ Heartwarming weakness system “3 minutes cooking song”(941517) – ラフティープロダクション

Insight #8 แมวป่วยคนพาไปหาหมอ หรือ รักษาเอง?

เราพบว่าเมื่อปมวป่วยคนเลือกที่จะพาแมวไปหาหมอมากกว่ารักษาเอง คิดเป็น 84% ต่อ 16% โดยสาเหตุที่คนเลือกไปหาหมอก็เพราะว่า

  1. 81% เชื่อมั่นในความรู้/ ทักษะของหมอ
  2. 19% รักษาเองไม่เป็น ทำไม่ถูก

ในทางกลับกันสาเหตุที่คนเลือกที่จะรักษาเองมีดังนี้

  1. 53% บอกว่าค่ารักษาแพง
  2. 25% มองว่าอาการไม่หนัก รักษาเองได้
  3. 14% บ้านไกลจากโรงพยาสัตว์ /คลินิก
  4. 5% คิดว่าไม่จำเป็นต้องหาหมอ
  5. 3% ไม่เชื่อใจในการรักษา (บางเคสที่นำไปรักษาแล้วแมวเสียชีวิต จึงทำให้ความมั่นใจลดลง)

จึงก่อให้เกิดแนวทางในการรักษาด้วยตัวเองต่าง ๆ มากมายที่จะมาแชร์กันในส่วนถัดไป

Insight #9 วิธีที่คนเลือกรักษาแมวป่วยด้วยตัวเอง

Data Research Insight เจาะดาต้า แมวป่วย By Social Listening

โดยในส่วนของ Consumer Insight ของวิธีที่คนเลือกรักษาแมวป่วยเอง อันนี้ต้องบอกว่าเซอร์ไพร์สมากจริง ๆ ค่ะ เพราะเราพบว่าวิธีบางส่วนเป็นวิธีที่มาจากความเชื่อผิด ๆ และเป็นวิธีที่ส่งผลร้ายต่อตัวแมวเป็นอย่างมากอย่างการให้ทานพาราเซตามอลเพื่อรักษาอาการป่วย ซึ่งแนวคิดนี้จะเกิดมาจากผู้สูงวัยเป็นส่วนใหญ่ค่ะ แถมยังมีสัดส่วนมากถึง 23.4% อีกด้วย!

หากยังมีการส่งต่อชุดความคิดนี้อยู่ ผู้เขียนมองว่าสิ่งนี้จะไม่ส่งผลดีสักอย่าง ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการต้องให้ความใส่ใจและจับตามองเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างเร่งด่วน

และสองวิธีแรกอย่างป้อนยาเขียว (ยาเขียวตราใบโพธิ์/ตราดอกบัว) และการเช็ดตัวถือว่าฮอตฮิตเป็นอย่างมาก เพราะมีการรีวิว ทำคอนเทนต์แชร์ประสบการณ์การรักษาอาการป่วยแมวด้วยการป้อนยาเขียวว่าแมวฉันหาย รอดตายมาจากเพราะสิ่งนี้ และยาเขียวมักเป็นตัวเลือกแรก ๆ ในการเลือกใช้เพื่อรักษาโรคไข้หัดหวัดแมว หากแมวใครตัวร้อน เป็นไข้ การเช็ดตัวมักจะเป็นวิธีที่พวกเขาเลือกใช้นั่นเองค่ะ

@minipukkikpg

มาแนะนำวิธี #เช็ดตัวแมว เวลาน้องมีไข้นะคะ สามารถช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายน้องได้ #ทาสแมว #แมวป่วย #แมวมีไข้ #อย่าปิดการมองเห็น

♬ เสียงต้นฉบับ – Minipukkik WG – Minipukkik

Insight #10 ช่วงราคาค่าใช้จ่ายของการรักษา

Data Research Insight เจาะดาต้า แมวป่วย By Social Listening

ส่งท้ายกันด้วย Insight ของเม็ดเงินที่คนยอดจ่ายเพื่อทำการรักษาอาการป่วยต่าง ๆ ของแมวกันค่ะว่า Price Range มีช่วงไหนกันบ้าง ซึ่งจากการใช้ Social listening ทำให้เราได้ข้อมูลมาด้วยกัน 4 ช่วงราคาดังนี้

  1. 0-999 บาท: รักษาอาหารป่วยหรือบาดเจ็บทั่วไป คิดเป็น 12.9%
  2. 1,000-9,999 บาท: รักษาโรคที่แมวมักป่วย เช่น ไข้หวัด หัด คิดเป็น 68.1%
  3. 10,000-99,999 บาท: มักเป็นการรักษาโรคร้าย/ โรคเรื้องรัง/ โรคที่เกี่ยวกับระบบภายใน คิดเป็น 16.3%
  4. 100,000-999,999 บาท: มักเป็นการรักษาโรคร้าย/ โรคเรื้องรัง/ โรคที่เกี่ยวกับระบบภายใน คิดเป็น 2.7%

จากช่วงราคาที่คนจ่ายไปเพื่อรักษาแมวป่วยทำให้เราได้รู้เลยว่าเท่าไหร่ถึงไหนถึงกัน คนยอมจ่ายเพื่อรักษาสิ่งที่รักถึงแม้ว่าตัวเลขจะมากก็ตามที ยกตัวอย่างเช่น คุณโบนัส เป็นแม่แมว ยอมที่จะจ่ายเงิน 70,000 บาทภายในสองอาทิตย์เพื่อรักษาแมวที่ป่วยเป็นมะเร็ง ซึ่งตัวเลขนี้ไม่ได้สิ้นสุดเพราะยังต้องพาน้องแมวไปหาหมอติดตามอาการอยู่ตลอด

ยิ่งตอกย้ำกันเข้าไปอีกว่าเทรนด์ Pet Humanization ในไทยเติบโตเป็นอย่างมาก มี Segment คนรักสัตว์เหมือนคนในครอบครัว สิ่งดีย่อมสรรหามาปรนเปรออย่างแบบไม่ต้องคิดมาก ดังนั้นการออกสินค้าหรือบริการที่ดีและไปสู่อีกระดับ สามารถตอบโจทย์กลุ่มคนเหล่านี้ได้ ถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าจับตามองไม่แพ้เทรนด์อื่น ๆ ในประเทศไทยค่ะ

Data Research Insight เจาะดาต้า แมวป่วย By Social Listening

จากการใช้ Social listening ทำให้เราเห็นได้เลยว่าสาเหตุที่ทำให้แมวป่วยมากที่สุดคือ การทำหมัน และโรคที่แมวชอบป่วยคือ โรคไข้หวัด หัดแมว ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของการทำหมันว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้แมวป่วย เพราะติดเชื้อโรค ไวรัส เป็นโรคไข้หวัดหัดแมว และวัคซีนถือเป็นแนวทางแรก ๆ ที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงเลือกที่จะใช้ป้องกันไม่ให้แมวป่วย

มากไปกว่านั้น ยาหยอดหลังคอ คือวิธีที่คนเลือกใช้ในการป้องกันเห็บหมัดกัดแมวและเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด วิตามิน/อาหารเสริม เป็นสินค้าอันดับหนึ่งที่คนเลือกใช้เป็นทางเลือกในการป้องกันไม่ให้แมวป่วย รวมถึงทำให้เราได้รู้ว่า Perception ของการรักษาของหมอและรักษาเองมีอะไรบ้าง วิธีที่คนเลือกที่จะรักษาแมวแบบถูก ๆ กึ่งกูกกึ่งผิด และผิด ๆ มีอะไรบ้างอีกด้วย

สำหรับกลุ่มคนบางกลุ่ม ราคาคือ สิ่งที่คนไม่เดือดร้อนที่จะจ่าย เท่าไหร่ก็ยอมจ่ายได้เพื่อแมวที่รัก เข้าข่ายประโยคที่ว่า ‘เราอดได้ แมวต้องอิ่ม’ การพัฒนาหรือเพิ่มรูปแบบสินค้าหรือบริการเพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนหลาก Segment จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ภาคธุรกิจ การทำการตลาด ไม่ควรมองข้ามหรือมองให้เป็นระนาบเดียวกัน เพื่อตอบโจทย์กับความหลากหลายให้มากที่สุดค่ะ

และนี่ก็คือ Data Research Insight ทั้งหมดที่ได้จากการใช้ Social listening tool เจาะดาต้า แมวป่วย ที่มาพร้อมประเด็นที่น่าสนใจและอยากนำมาแชร์ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจทั้งที่ดำเนินกิจการอยู่ และกำลังหาไอเดียใหม่ ๆ ได้ปรับตัวตาม Consumer Insight เจ้าของสัตว์เลี้ยงและน้องแมวกันค่ะ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

❖ ————————————— ❖

สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

ปล. สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *