Data Research Insight เจาะ แฟรนไชส์ ร้านอาหาร by Social Listening

Data Research Insight เจาะ แฟรนไชส์ ร้านอาหาร by Social Listening

Data Research Insight เจาะ แฟรนไชส์ ร้านอาหารคาว by Social Listening

แฟรนไชส์คือกลยุทธ์การขยายธุรกิจรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหากมีระบบที่ดีก็ช่วยเร่งให้ธุรกิจเติบโต ซึ่งมีความแตกต่างจากการเพิ่มสาขาด้วยเจ้าของเอง เพราะแฟรนไชส์เปรียบกับการขายลิขสิทธ์กลาย ๆ ให้คนอื่นบริหารต่อโดยยังคงสูตรตามต้นฉบับเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังนับว่าเป็นสูตร (เกือบ) สำเร็จให้นักธุรกิจได้ลงทุนต่อเนื่อง เพราะอาจไม่มีเวลาสร้างแบรนด์ด้วยตัวเอง

Value ของธุรกิจร้านอาหารแฟรนไชส์ คือการต่อยอดจากสิ่งที่เรามีอยู่ ขายให้คนอื่นไปทำต่อโดยที่ยังมี Passive Income ที่มาของสิ่งนี้มักมาจากรสชาติของอาหารที่ถูกปากลูกค้า เกิดการบอกต่อ มีกลยุทธ์การตลาดช่วยให้เป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงย่อมมีการติดต่อขอซื้อแฟรนไชส์มา เป็นทางเลือก “สร้างรายได้” ได้มหาศาลกลับมานั่นเอง 

ตัวอย่างความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ที่เห็นได้ตั้งแต่ตามข้างทาง อย่างก๋วยเตี๋ยวแชมป์ หรือระดับมาสเตอร์แฟรนไชส์อย่าง Minor Group นอกจากจะทำให้ธุรกิจเติบโตได้รวดเร็วแล้วยังเป็นท่อน้ำเลี้ยงให้สาขาแม่ไม่น้อยค่ะ 

แต่ในการเลือกทำธุรกิจย่อมมีความเสี่ยง เราจะเห็นจากข่าวได้ทุกวันทั้งหลอกลวงให้ซื้อแฟรนไชส์ หรือเรียกราคาวัตถุดิบที่ต้องซื้อจากบริษัทแม่เท่านั้นจนเจ้าของจมทุนเจ๊ง แต่ก็ยังมีคนส่วนมากที่ใช้ช่องทาง Social Media เป็นช่องทางโปรโมตให้มาซื้อแฟรนไชส์ และเพจเกี่ยวกับธุรกิจ การตลาดที่ให้ความรู้เรื่องการลุงทุน

เราเลยจะลองใช้ Social Listening Tools เพื่อช่วยกวาดข้อมูลบนโซเชียล ภายใต้นโยบายความเป็นส่วนตัว 

เพื่อส่อง Data Research Insigh แฟรนไชส์ ร้านอาหารคาวในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร มีอาหารประเภทไหนบ้าง หรือสัญญาชาติอาหาร เทรนด์มีมากน้อยแค่ไหน ขุด insight แบบลึกพิเศษโดยขุดถึง Sentiment Social Data และ 3 Key Factor สำหรับธุรกิจที่คนพูดถึงบนโซเชียลเยอะ ๆ 

ซึ่งเราจะกวาดข้อมูลของแฟรนไชส์ร้านอาหารคาว ในไทย ทั้งนี้จะรวมถึงแบรนด์ที่อยู่ในระบบมาสเตอร์แฟรนไชส์ด้วยค่ะ

ใครที่กำลังทำธุรกิจนี้หรืออยากจะทำต้องอ่านเพื่ออัปเดตกันนะคะ สามารถนำไปใช้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมเติมเต็มข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ โดยผู้สนับสนุนใจดี Sellsuki  บริการ Solution ครบวงจรสำหรับคนทำธุรกิจออนไลน์

ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยค่ะ

ซึ่งเราจะใช้ 8 ขั้นตอนที่เราใช้กับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา insight จาก Social Data ออกมาค่ะ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

Research Keyword ซึ่งเป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ ดังนี้ : แฟรนไชส์ fanshine เฟรนไช (เป็นคำที่คนชอบพิมพ์ผิด)

Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 07/03/2022 – 07/03/2023 หรือ 1 ปีเต็ม มีข้อมูลประมาณ 48,335 Mention บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok 

และข้อมูลที่ได้เป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ

STEP 3 Cleansing Data

ขั้นตอนนี้นุ่นจะทำเมื่อข้อมูลเข้ามาหมด ไม่มีตัวเลขเพิ่มแล้ว เป็นการ Review ว่ามีข้อมูลแบบไหนบ้าง และข้อมูลที่ไม่เกี่ยวหากมีเวลาก็ลบออก ในแฟรนไชส์อาจจะลบโพสต์ Spam โฆษณาหรือชื่อแบรนด์ที่ติดแฟรนไชส์ แต่ไม่ได้ขายแฟรนไชส์ร้านอาหารคาว อย่างที่เราต้องการเป็นต้นค่ะ อยากรู้ว่ามีทริคคลีนอย่างไร อ่านรายละเอียดคอร์สได้ที่ท้ายบทความเลยน้า

Social Data Stat Overview by Timeline

ดูเทรนด์การพูดถึงแบบ Timeline ก่อนค่ะ เพราะจะได้เห็นสัดส่วนการพูดถึงและเอนเกจผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ 

BY MENTIONS > จุดที่น่าสนใจคือ Facebook ในเดือน June 2022 ที่วัดแล้วสูงสุดเพราะมีข่าว มหากาพย์ #ดารุมะ หลายคนเลยพูดถึงธุรกิจแฟรนไชส์กันว่ามีความน่ากลัวอย่างไรค่ะ

BY ENGAGEMENT > ก่อนกรอง Youtube ออกซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่กินพื้นที่เอนเกจด้วยยอดวิว Spike สูงสุดของปีเกิดขึ้นในเดือน September October เพราะมีช่องดังลงคลิปแฟรนไชส์ร้านยำป้ากบสามแซ่บ และยูทูปเบอร์ด้านอาหารเบอร์ต้น ๆ ของไทยคุณพีท อีทแหลก สเต็ก700ไร่สัตหับ

BY ENGAGEMENT IGNORE YOUTUB VIEWS > เมื่อ Ignore Engagement ยอดวิวบน Youtube ออกเราก็จะเริ่มเห็น TikTok ขึ้นมาแต่ไม่มากเท่าโปรเจกต์ก่อน ๆ ค่ะ Top Engagement คือ #เจ๊มะลิเป็ดย่างไฟแดงจอหอ

Social Data Stat Overview by Hashtag Cloud

ฟีเจอร์ที่นุ่นใช้อ่านภาพรวมข้อมูลและเทรนด์เสมอ คือ Hashtag Cloud

ทำให้เริ่มเห็นกลุ่มก้อนของข้อมูล การลงทุน สร้างรายได่ SmartSME มีชื่อร้านแฟรนไชส์พิซซ่า ไก่ทอด ชื่อแบรนด์ จนอยากจะจับให้แยกชัดเจนมากขึ้น เข้าสู่ขั้นตอนต่อไปดังนี้ค่ะ

STEP 4-5 Conversation Analysis, Categorize Data

จริง ๆ ทุกขั้นตอนใช้เวลาเกิน 1 วันเป็นอย่างน้อยในการทำนะคะ สำหรับแฟรนไชส์นุ่นเริ่มแยกกลุ่มข้อมูลได้ตั้งแต่ช่วงคลีนข้อมูลเพราะความเคยชินที่ทำทุก ๆ เดือน ค่อย ๆ อ่านเพื่อหาบริบทที่น่าสนใจ แต่ใครที่เพิ่งเริ่มก็ไม่ต้องเร่งตัวเอง และค่อย ๆ มอง Data ให้นำไปใช้ต่อได้ตามจุดประสงค์ของแต่ละเคสได้เลย ไม่มีถูกผิดค่ะ

STEP 6-7 Data visualization, Summary & Insight

ทุกคนจะได้อ่านข้อมูลที่ผ่านขั้นตอนที่ 6-7 ในบทความนี้และหลาย ๆ บทความของการตลาดวันละตอน ซึ่งมิติที่นำเสนอเลี่ยง Bias จากผู้เขียนได้อยากเพราะ 1 Data ตีความได้ 100 แบบ เพราะฉะนั้นขอให้สนุกและนำไปต่อยอดกันได้เต็มที่เลยนะคะ เพราะนุ่นจะแอบแทรก STEP ที่ 8 ไปในทุก ๆ หัวข้อเลยค่ะ

Categories overall แฟรนไชส์ ร้านอาหารคาว

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน  

มาดูกันว่า 48,335 Mention นั้นเมื่อแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เราจะเจออะไรบ้าง ซึ่งการวางหัวข้อไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นแบบนุ่นเสมอไป เราสามารถวิเคราะห์และจัดกลุ่มได้เอง ตามวัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องมือค่ะ

ซึ่งนุ่นเลือก Analysis จัดเป็น 4 กลุ่มตามภาพด้านบน

  1. TOP10 ประเภทอาหาร 53.7%
  2. 3 Key Factor 17.9%
  3. Sentiment social voice 16.3%
  4. สัญชาติอาหาร 12.2%

1. Categories ประเภทอาหารคาว

สิ่งที่แรกที่อยากรู้มากที่สุดเลยอาหารประเภทไหนกันนะ ที่มีมากน้อยที่สุดบนพื้นที่ Social Data ใช้ฟีเจอร์ Tag management ในการจัดกลุ่มข้อมูลเป็น Layer ที่ 2 นำเสนอเป็น 2 รูปแบบ

TOP10 ประเภทอาหารคาว พร้อมตัวอย่างร้านจาก Social DATA จับโดย keyword แฟรนไชส์

อันดับ 1 : ก๋วยเตี๋ยว เป็นร้านที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศ และมีหลายสูตร

ตัวอย่างร้าน ก๋วยเตี๋ยวเรือ ป.ประทีป, ก๋วยเตี๋ยวแห้งโบราณ, ก๋วยเตี๋ยวต้มยำกากหมู สูตรโบราณ ห้วยขวาง, โกเด้ง-โฮเด้ง, ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว

อันดับ 2 : ยำ ไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วยก็พอเดากระแสยำได้เลย เพราะคนไทยชอบกินยำมาก คอนเทนต์ก็แรงในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ค่ะ

ตัวอย่างร้าน ยำยั่ว by ปูขี่พริก, Only Yum, สะแตกยำ StrackYum กรุ๊ป, Chicky Zeed Eat Bar

อันดับ 3 : พิซซ่า อาหารที่ทำขายง่าย และทานง่าย รวมทั้งแบบทั่วไปและมาสเตอร์แฟรนไชส์

ตัวอย่างร้าน พิซซ่าอะโลฮ่า, Pizza Company, Pizza Hut, SCOOZI PIZZA, Domino’s Pizza

อันดับ 4 : สเต๊ก รวมทั้งแบบทั่วไปและมาสเตอร์แฟรนไชส์

ตัวอย่างร้าน ฮิปสเตอร์ สเต็ก, สเต็กลุงหนวด, Eat Am Are,Sizzler, สเต็กลุงใหญ่

อันดับ 5 : สุกี้ ชาบู

ตัวอย่างร้าน ชาบูอินดี้, ชาบู ชาบู นางใน, ชาบูอู๊ดเป็นต่อ, สุกี้นายพัน แฟรนไชส์ราคาถูก, Shabuku ชาบูกู

อันดับ 6 : ซูชิ

ตัวอย่างร้าน ซูชินินจา, ดารุมะ ซูชิ, ไข่หวานบ้านซูชิ, ซูชิมั้ย

อันดับ 7 : ไก่ทอด รวมทั้งแบบทั่วไปและมาสเตอร์แฟรนไชส์

ตัวอย่างร้าน KFC, ไก่ทอด ชิกกี้ชิก, ห้าดาว, Bonchon Chicken, แฟรนไชส์ เด็กมันส์

อันดับ 8 : ปิ้งย่าง ส่วนมากเจ้าของร้านจะเป็นผู้เปิดสาขาเอง ไม่ค่อยเปิดเป็นแฟรนไชส์มาก และไม่มี Social Data เท่าอันดับบน ๆ ค่ะ

ตัวอย่างร้าน AKA บุฟเฟ่ต์ปิ้งย่างยากินิกุ, Sukishi, nice two Meat u, SINDOSEGI, Maple Tree House BKK

อันดับ 9 : ส้มตำ

ตัวอย่างร้าน ตำมั่ว เดอนัว ลาวญวน บาย ตำมั่ว

อันดับ 10 : หมูกระทะ

ตัวอย่างร้าน SKA หมูกระทะ, ย่างเนย, ย่างให้, หมูกระทะริมทาง, หมูกรทะทักเรย

นำเสนอแพลตฟอร์มที่โพสต์ถึงบุฟเฟ่แต่ละประเภทเป็น 2 มุมมอง

Mention By Platform สูงที่สุดคือ Facebook

Engagement By Platform เลือกดูแบบ Ignore YouTube view ออกเพราะติดไบแอสยอดวิวจนกินพื้นพี่แพลตฟอร์มอื่น ๆ เหลืออันดับสูงสุดคือ Facebook เช่นกัน

จากการอ่าน Social Data วิเคราะห์ได้ว่าเพราะ Facebook เป็นพื้นที่ของคอนเทนต์ร้านอาหารแฟรนไชส์ เพราะต้องใช้ความน่าเชื่อถือ เพจหลักและการโปรโมตบ่อย

Content Creator เวลาไปรีวิวก็มักจะติดชื่อร้านเลย ไม่เมนชั่นคำว่า แฟรนไชส์ เท่าไหร่ค่ะ

สรุป Social Data ของประเภทร้านอาหารแฟรนไชส์ คือแพลตฟอร์ม Facebook น่าสนใจที่สุด

แต่นุ่นอยากให้คนที่ทำคอนเทนต์อาหารไม่ว่าจะด้านอะไร ลองใช้ TikTok โดยเฉพาะ #TikTokพากิน เพราะมีโอกาสที่แพลตฟอร์มจะดันให้ติดหน้าฟีดสูง และเป็นแพลตฟอร์มที่ฮอตมากแรงในตอนนี้ด้วยค่ะ

คอนเทนต์ที่ Top ในแพลตฟอร์ม เห็นแล้วเปิดแอปเขียวสั่งด่วนๆ > https://www.facebook.com/1621283291471213/posts/4477879849144862/

2. Categories สัญชาติอาหาร

ในเมื่อเรารู้แล้วว่า ก๋วยเตี๋ยวฮอตฮิตมาที่สุด คำถามถัดมาคือแล้วอาหารสัญชาติไหนล่ะ โดยนุ่นจับกลุ่มก้อนจาก ประเภทอาหารใน Categories แรก เพื่อให้ข้อมูลมีความละเอียด และถูกรีด Insight มาได้หลายชั้นมากที่สุดค่ะ

อันดับ 1 : อาหารไทย รวมจากก๋วยเตี๋ยวสูตรไทย ๆ หมูกระทะ ยำ ส้มตำ ถือว่านิยมจัดเป็นแฟรนไชส์เพื่อต่อยอดธุรกิจสาขาหลักมากที่สุดค่ะ อาจจะเพราะเป็นอาหารที่ใคร ๆ ก็ชอบทานบางรายการลงทุนไม่มาก ก็ได้ครบเซ็ตเปิดร้านได้เลยทันที

อันดับ 2 : อาหารญี่ปุ่น มีทั้งปิ้งย่าง ชาบู ซูชิ ที่รวมเข้ามา เจอข้อมูลเกี่ยวกับซูชิทุกระดับทั้งตลาดนัดและขึ้นห้างเลยค่ะ

อันดับ 3 : อาหารตะวันตก พิซซ่าและสเต๊กกินพื้นที่ไปค่อนข้างเยอะเลย และหลายเจ้ามีสูตรที่ปรับรสชาติให้ถูกปากคนไทยค่ะ

TOP3 ไม่ห่างกันมากนัก และตามมาติด ๆ ด้วยอาหารเกาหลี ที่ยังมีแววเติบโตได้อีก ส่วนอาหารอิสลามและจีนยังไม่ค่อยสูงเท่าอันดับแรก ๆ ค่ะ

เช่นเดียวกับหัวข้อประเภทอาหาร ที่ Facebook มีสัดส่วนของแต่ละสัญชาติมากที่สุด เพราะเพจการลงทุน ธุรกิจและร้านอาหารใช้เป็นช่องทางหลักของการสื่อสารค่ะ

คนไทยกับหมูกระทะเหมือนเป็นของคู่กัน จากการเข้าไปดูข้อมูล Top Engagement Facebook Post เจอข่าวการขยายแฟรนไชส์ของร้าน SKA หมูกระทะ เป็นธุรกิจใหม่ของคุณ บี้ เดอะสกา Youtuber ชื่อดัง พร้อมเป้าหมายการขายแฟรนไชส์ 100 สาขาค่ะ

3. Sentiment Social Voice คนคิดอย่างไรกับแฟรนไชส์ ร้านอาหารคาว

จากขั้นตอนการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูล เราจะเห็นได้เลยว่ามีทั้งข่าวไม่ดีเช่นเคสดารุมะ และข่าวดีจากเป้าหมายการขยายแฟรนไชส์ 100 สาขา นุ่นเลยอยากจับ Social Data เป็นกลุ่ม Sentiment เพิ่มขึ้นมา ใช้เวลาแทบจะนานที่สุดในเล่มนี้แต่ถึอว่ามีประโยนช์มากค่ะ

ส่วนมากจะเป็นเสียงจากผู้ประกอบการมากกว่า เพราะลูกค้าจะพิมพ์เป็นชื่อร้าน ไม่ได้พิมพ์ว่าแฟรนไชส์ แล้วด่าหรือชม

@smescheechongruay

แฟรนไชส์หมูกระทะริมทาง ราคาหลักหมื่นเปิดได้ทุกที่ ขายง่ายคืนทุนไว #ชี้ช่องรวย #หมูกระทะ #แฟรนไชส์

♬ เสียงต้นฉบับ – SME ชี้ช่องรวย – smescheechongruay

Positive 91.8% พูดถึงธุรกิจแฟรนไชส์ ร้านอาหารคาวในแง่ดี ใช้ฟีเจอร์ Tag management ที่อ่านด้วยตา ติดด้วยมือ เพื่อจับข้อมูลที่สื่อถึง มากที่สุดคือ น่าลงทุน > กำไรดี คืนทุนไว > ชายง่าย สะดวก

Negative 8.2% เนื่องจากข่าวใหญ่เลยมีคนโพสต์ว่าแฟรนไชส์เป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มันจะดูเป็นลบ แต่จริง ๆ แชร์ลูกโซ่แต่อยู่ได้นาน ก็อาจจะเป็นผลดีกับคนที่บริการเป็นค่ะ แต่ที่มันลบก็จะเกิดจากต้องอาศัยคนมาต่อแถวเลี้ยงบริษัทไปเรื่อย ๆ ถ้าล้ม ก็ล้มกันหลายต่อเลย

4. 3 Key Factor แฟรนไชส์ ร้านอาหารคาว

หัวข้อสุดท้ายเกิดจากความอยากรู้ส่วนตัวจริง ๆ นุ่นพยายามหาว่าอะไรคือ Factor สำคัญของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารคาวบ้าง

โดยวัดจากเรื่องที่ทั้งเพจให้ความรู้การลงทุน การตลาด และธุรกิจ เจ้าของแบรนด์โพสต์โฆษณาเอย เค้าใช้อะไรดึงดูดให้คนมาซื้อแฟรนไชส์ เป็นต้นค่ะ

ออกมาเป็น 3 Key Factor หลักตามภาพ

1.Quality คือมาตรฐาน และคุณภาพ

มากที่สุดจาก 3 ข้อเป็นปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจแบบนี้อยู่รอดเลยก็ว่าได้ค่ะ เจ้าของแฟรนไชส์สามารถสนับสนุนโดยการมีระบบ Traning พนักงานและกำหนดมาตรฐานการบริการและวัตถุดิบ มีระบบ Audit ที่รัดกุมข้อนี้ค่ะ ไม่แค่สาขาย่อย แต่ส่งผลกับสาขาหลักด้วยเช่นกัน

2. Location ทำเลที่ตั้ง

ต้องใช้ทำเลที่เหมาะกับประเภทร้านอาหาร และให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ร้านลับไม่ได้เหมาะกับคนที่อยากรวยด้วยธุรกิจเสริมแบบนี้เสมอไปค่ะ เช่นร้านหมูกระทะที่อยากจับกลุ่มนักศึกษาก็ต้องอยู่ใกล้มหาลัยซักหน่อย

3. Branding

ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือ ความเป็นแบรนด์รวมทั้งการทำการตลาดของที่สื่อจากต้นสาขาแม่ส่งผลตั้งแต่การตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์เลยค่ะ และถ้ามีชื่อเสียงมาก ๆ ลูกค้าแห่มากินตามแน่นอน

Data Research Insight เจาะธุรกิจ แฟรนไชส์ ร้านอาหารคาว by Social Listening

ทั้งหมดคือข้อมูลที่อัดแน่นมาให้ทุกคนได้อัปเดตกันกับ Data Research Insight แฟรนไชส์ ร้านอาหารคาว เพื่อส่อง Data Research Insigh แฟรนไชส์ ร้านอาหารคาวในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร จนเจอว่าก๋วยเตี๋ยว ยำ พิซซ่า มีการพูดถึงบนโซเชียล TOP3 เลย และจากทุกแบบอาหารไทยมีสัดส่วนมากที่สุด ต่างจากบุฟเฟ่ต์ ที่เป็นอาหารญี่ปุ่นค่ะ

แล้วก็ขุด insight ต่อแบบลึกพิเศษโดยขุดถึง Sentiment Social Data และ 3 Key Factor สำหรับธุรกิจที่คนพูดถึงบนโซเชียลเยอะ ๆ 

โดยรวมแล้วรายงานเล่มนี้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงอื่น ๆ ในแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์ อาหารคาวมาเล่าในบทความอาจจะไม่หนำใจ (แต่คนเขียนใกล้ขิตแล้ว จัดหนักมาก) ก็สามารถโหลดตัวเต็มไปอ่านได้ที่ท้ายบทความ ฟรีได้เลยนะคะ ขอแค่เครดิตกลับมาที่การตลาดวันละตอน และ Sellsuki ที่เป็นสปอนเซอร์ใจดีที่มาสนับสนุนการแชร์ข้อมูลดี ๆ แบบนี้ค่ะ

ติดตาม Sellsuki ช่องทางอื่น ๆ Webstie Facebook LINE : @sellsuki Tel. : 02-026-3250

แนบลิงค์ดาวน์โหลดไฟล์

ฝากอีกนิดหากใครต้องการข้อมูลไปทำสื่อแชร์ต่อ ทำซ้ำ หรือต่อยอด แค่ส่ง Backlink กลับมาที่บทความนี้ และส่งลิงก์สื่อที่คุณนำไปต่อยอดมาที่ [email protected] เท่านั้นเอง

อ่าน Data Research Insight by Social Listening เพิ่มเติมได้ที่นี่

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *