Data Research Insight เจาะธุรกิจ บุฟเฟ่ต์ by Social Listening

Data Research Insight เจาะธุรกิจ บุฟเฟ่ต์ by Social Listening

Data Research Insight เจาะธุรกิจ บุฟเฟ่ต์ by Social Listening Tools

ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์ที่พิสูจน์ความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการในยุคนี้ ทั้งการเอาตัวรอดด้วยการตลาดและคุณภาพอาหาร และห้ามทิ้งความคุ้มค่าของราคาที่ลูกค้าต้องจ่าย

เพื่อส่องธุรกิจบุฟเฟ่ต์ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร มีอาหารประเภทไหนบ้าง หรือสัญชาติอาหารที่เปิดให้บริการอยู่ เทรนด์มีมากน้อยแค่ไหน คนที่กำลังทำธุรกิจบุฟเฟ่ต์หรืออยากจะทำธุรกิจนี้ต้องอ่านเพื่ออัปเดตกันนะคะ เพื่อนำไปประกอบกับวิจัยการตลาดและลูกค้าแบบอื่น ๆ ต่อไปค่ะ

เน้นย้ำอีกครั้งสำหรับ Report ฟรีเล่มนี้

เหตุผลที่การตลาดวันละตอนมักใช้ Social Listening มาใช้เป็นแหล่งข้อมูล เพื่อให้ผู้อ่านได้ประโยชน์เกี่ยวกับแทรด์บน Social Data นอกจากเป็นสิ่งที่เราถนัดและเชี่ยวชาญแล้ว เพราะตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่อยู่บนออนไลน์กันอย่างปฏิเสธไม่ได้ค่ะ

อีกทั้งการทำ Digital Marketing ไม่สามารถมองข้าม Social Trend หรือการหาข้อมูลตลาดผ่าน Social Media Platform ได้อีกแล้ว จะอาศัยการสัมภาษณ์คนไม่กี่คน หรือนั่งเดากันในออฟฟิศอาจทำให้แบรนด์ของคุณตามไม่ทันคู่แข่งค่ะ ใครที่กำลังงงว่าทำไมร้านเราเงียบมาก ไม่รู้จะทำบุฟเฟ่ต์แบบไหนดี น่าจะได้ประโยชน์จากรายงานเล่มนี้อย่างแน่นอนค่ะ

Social Listening จะพาคุณไปสู่ทุกการพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้ กระแส เทรนด์ โพสต์ที่มี Engagement สูง และอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำให้ไม่ต้องนั่งคาดเดาอีกต่อไปค่ะ 

เกี่ยวกับธุรกิจบุฟเฟ่ต์

เช่นเดิมก่อนเข้าดู Social Data นุ่นสปอยให้ทุกคนเล็กน้อยว่า ธุรกิจบุฟเฟ่ต์อาจจะไหลไปตามกระแสบ้าง แต่ร้านที่ยังขายดี มีรีวิวเยอะและได้รับ Engagement สูงสุดนั้นเป็นอาหารที่เราติดบุฟเฟ่ต์มานานแล้ว อาจจะมีร้านใหม่ ๆ อาหารแนวใหม่เกิดขึ้นบ้าง แต่ก็มาเร็วไปเร็วหากไม่รักษาคุณภาพและทำการตลาดบน Social Media ให้ดีค่ะ

อีกทั้งจุดเด่นของการทานบุฟเฟ่ต์ ลูกค้าต่างมองหา อาหารที่อยากทาน > ความคุ้มค่ากับราคาที่จ่าย เป็นหลักเมื่อโพสต์รีวิวร้านต่าง ๆ ค่ะ สิ่งที่สนุกเมื่อทานบุฟเฟ่ต์คือความวาไรตี้ของรสชาติและเมนู จุดขายที่เสิร์ฟไม่อั้นโดยที่เลือกทานได้เอง เป็นสิ่งที่ดึงดูดลูกค้ากลุ่มบุฟเฟ่ต์

ปัจจุบันมีร้านอาหารที่เปิดให้ทาน 1 คนขึ้นไปเพื่อขยายฐานลูกค้าที่มาคนเดียวมากขึ้นแทนที่จะรับเฉพาะลูกค้าเป็นกลุ่มเพียงอย่างเดียวค่ะ

เอาล่ะสปอยมาเยอะพอแล้ว เรามาดูกันว่านุ่น Setting Social Listening Tools อย่างไรบ้างในโปรเจ็คนี้ค่ะ

นุ่นเลือกใช้ Keyword ซึ่งเป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ ดังนี้ : บุฟเฟ่ต์ Buffet และ บุฟเฟ่ต์ (เผื่อคนชอบพิมพ์ผิดค่ะ)เพราะเป็นคำที่เห็นข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจบุฟเฟ่ต์ได้ดีที่สุดค่ะ 

ซึ่งกำหนดระยะเวลาดึงข้อมูลย้อนหลังที่ : 02/02/2022 – 02/02/2023 หรือ 1 ปีเต็ม มีข้อมูลประมาณ 128,004 Mention บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok 

และข้อมูลที่ได้เป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ

Social Data Stat Overview by Timeline

ดูเทรนด์การพูดถึงแบบ Timeline ก่อนค่ะ เพราะจะได้เห็นสัดส่วนการพูดถึงและเอนเกจผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ 

BY MENTIONS > จุดที่น่าสนใจคือแพลตฟอร์ม Twitter เริ่มมามีสัดส่วนการพูดถึงในช่วงเดือน September เป็นต้นมา เพราะเริ่มมีการใช้ #อร่อยบอกต่อ แนะนำร้านบุฟเฟ่ต์สไตล์เกาหลีบนทวิตเตอร์มากขึ้นค่ะ

BY ENGAGEMENT > ก่อนกรอง Youtube ออกซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่กินพื้นที่เอนเกจด้วยยอดวิว Spike สูงสุดของปีเกิดขึ้นในเดือน หนึ่งในคลิปยอดวิวปังคือ บุฟเฟ่ต์! ซีฟู๊ดปูไข่ดอง+กุ้งมังกรไซส์ยักษ์ ช่องของ PEACH EAT LAEK

BY ENGAGEMENT IGNORE YOUTUB VIEWS > เมื่อ Ignore Engagement ยอดวิวบน Youtube แพลตฟอร์มที่มาแรง มีคอนเทนต์กิน รีวิวร้าน มี Engagement ได้สูงปรี๊ดเพราะ TikTok เองก็ชอบดันคลิปแนว ๆ นี้ขึ้น Feed For You ค่ะ ซึ่งช่องที่รีวิวร้านบุฟเฟ่ต์ได้น่าสนใจและมีคนติดตามมากคือช่อง hector.book

Social Data Stat Overview by Hashtag Cloud

ฟีเจอร์ที่นุ่นใช้อ่านภาพรวมข้อมูลและเทรนด์เสมอ คือ Hashtag Cloud

นำโด่งมาเลยคือ #อร่อยบอกต่อ #หม่าล่า #ชาบู #TikTokพากิน #สุกี้

ทำให้เริ่มเห็นกลุ่มก้อนของข้อมูล และแพลตฟอร์มที่น่าสนใจสำหรับการโปรโมตร้านบุฟเฟ่ต์ค่ะ เห็นความคันไม้คันมืออยากเจาะแต่ละหัวข้อ ที่นุ่นและนักการตลาด เจ้าของธุรกิจ น่าจะอยากทราบ Data Research Insight เจาะธุรกิจ บุฟเฟ่ต์ จากข้อมูล 128,004 Mention บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok ว่ามี Insight ที่น่าสนใจอยากไร สัดส่วนเท่าไหร่ 

Categories overall ร้านบุฟเฟ่ต์

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน  

มาดูกันว่า 128,004 Mention นั้นเมื่อแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เราจะเจออะไรบ้าง ซึ่งการวางหัวข้อไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นแบบนุ่นเสมอไป เราสามารถวิเคราะห์และจัดกลุ่มได้เอง ตามวัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องมือ 

นักเรียนที่เคยเข้าคลาสออนไลน์กับการตลาดวันละตอนเองก็เคยสร้างกลุ่มแบรนด์คู่แข่งมาเพราะเป็นสิ่งที่อยากดูด้วย เป็นต้นค่ะ สนใจอยากเรียนบ้างเลื่อนไปที่ท้ายบทความได้เลยนะคะ

  1. ประเภทอาหารบุฟเฟ่ต์ 61.3%
  • ปิ้งย่าง 
  • หมูกระทะ
  • สุกี้ชาบู
  • ซูชิ
  • ขนมหวาน ในบุฟเฟ่ต์อื่น ๆ มีรวมของหวานอยู่ในบุฟเฟ่ต์ด้วย
  • ผลไม้ ทุเรียน
  • ก๋วยเตี๋ยว ไก่
  • ซีฟู้ด
  • ข้าวแกง
  • บุฟเฟ่ต์โรงแรม

2. สัญชาติอาหารบุฟเฟ่ต์ 26.5%

  • อาหารไทย
  • อาหารญี่ปุ่น
  • อาหารจีน
  • อาหารเกาหลี
  • อาหารตะวันตก
  • อาหารอินเดีย
  • รวมอาหารนานาชาติ

3. ประมาณราคาบุฟเฟ่ต์ 12.2%

  • ไม่เกิน 99฿
  • 100 – 399฿  
  • 400 – 899฿
  • 900 – 1599฿
  • 1600 – 2999฿
  • 3000฿ ขึ้นไป จนถึงหลักหมื่น

เรามาเจาะกันทีละหัวข้อ ไล่ 1 2 3 กันเลยนะคะ

1. Categories ประเภทอาหารบุฟเฟ่ต์

สิ่งที่แรกที่อยากรู้มากที่สุดเลยอาหารประเภทไหนกันนะ ที่มีมากน้อยที่สุดบนพื้นที่ Social Data ใช้ฟีเจอร์ Tag management ในการจัดกลุ่มข้อมูลเป็น Layer ที่ 2 นำเสนอเป็น 2 รูปแบบ

  • คือแบบ Line chart เพื่อให้เห็นเส้นลำดับอย่างชัดเจน พร้อมตัวเลข Mention
  • กับอีกแบบที่จะโชว์สัดส่วน พร้อมเปอร์เซ็นของแต่ละประเภทค่ะ

อันดับ 1 : ปิ้งย่าง เป็นอาหารที่อยู่คู่บุฟเฟ่ต์มานานและยังคงฮิตมากที่สุด

อันดับ 2 : ซึฟู๊ด นอกจากอยู่อันดับสองแล้วน้องซีฟู้ดยังเป็นซัพเซ็ตในปิ้งย่างด้วยค่ะ

อันดับ 3 : สุกี้ชาบู แอบหลุดจากอันดับที่คาดไว้ค่ะ แต่ก็สู้ชีวิตติด TOP3 มาได้ถือว่าเป็นความเก๋าของชาบู เป็นทางเลือกให้คนที่ไม่อยากหัวเหม็นระหว่างปิ้ง ๆ ย่าง ๆ

ที่นุ่นสนใจจริง ๆ คือขนมหวานที่อยู่อันดับ 4 และบุฟเฟ่ต์แปลก ๆ อย่าง ผลไม้ ก๋วยเตี๋ยว หม่าล่า ขนมจีน ข้าวแกง เป็นเทรนด์ที่น่าจับตามอง เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาบุฟเฟ่ต์แบบใหม่เพื่อลงทุนค่ะ

นุ่นนำเสนอแพลตฟอร์มที่โพสต์ถึงบุฟเฟ่แต่ละประเภทเป็น 2 มุมมอง

Mention By Platform สูงที่สุดคือ Facebook ซึ่งปิ้งย่างมีกราฟโดดขึ้นมาใน Instagram ด้วยเช่นกันค่ะ

Engagement By Platform เลือกดูแบบ Ignore YouTube view ออกเพราะติดไบแอสยอดวิวจนกินพื้นพี่แพลตฟอร์มอื่น ๆ เหลืออันดับสูงสุดคือ TikTok ที่เหมาะกับคลิป สุกี้ชาบูมากที่สุด ตามมาด้วยปิ้งย่าง ซีฟู้ด หมูกระทะ ก๋วยเตี๋ยว และซูชิ

ใครทำร้านเหล่านี้อยู่จับ TikTok เป็นหลักได้เลยค่ะเพราะเอนเกจสูงมาก ๆ

สรุป Social Data ของประเภทอาหารบุฟเฟ่ต์คือแพลตฟอร์ม TikTok น่าสนใจที่สุด และธุรกิจบุฟเฟ่ปิ้งย่างเป็นประเภทที่คนพูดถึง มีร้านทำการตลาดบนออนไลน์มากที่สุดในบรรดาอาหารบุฟเฟ่ต์ค่ะ หลังจากไล่อ่านแล้วเจอปิ้งย่างหลายอย่างมาก ๆ ทั้งเนื้อวากิว สามชั้นเกาหลี ซีฟู้ดสด

คอนเทนต์ที่ Top ในแพลตฟอร์มมากที่สุดและเป็นปิ้งย่างก็พาเอาท้องร้องสุด ๆ คือ > https://www.tiktok.com/@mawin_twp/video/7063755416500571419

เป็นที่มาของ Categories ที่ 2 คือความสงสัยในสัญชาติของอาหารทานไม่อั้น มาดูกันต่อเลยนะคะ

2. Categories สัญชาติอาหารบุฟเฟ่ต์

ในเมื่อเรารู้แล้วว่า ปิ้งย่างฮอตฮิตมาที่สุด คำถามถัดมาคือแล้วอาหารสัญชาติไหนล่ะที่ร้านอาหารมักจัดบุฟเฟ่ต์ล่ะ จัดอันดับให้ดู 2 มุมมองเหมือนหัวข้อแรกเลยนะคะคือ

  • คือแบบ Line chart เพื่อให้เห็นเส้นลำดับอย่างชัดเจน พร้อมตัวเลข Mention
  • กับอีกแบบที่จะโชว์สัดส่วน พร้อมเปอร์เซ็นของแต่ละสัญชาติ

อันดับ 1 : อาหารญี่ปุ่น มีทั้งปิ้งย่าง ชาบู ซูชิ ที่ร้านใช้คำว่าสไตล์ญี่ปุ่นแท้ในการโพสต์โปรโมต ถือว่าเป็นที่นิยมมากจริง ๆ ในคนไทยค่ะ

อันดับ 2 : อาหารเกาหลี การตลาดที่ใคร ๆ ก็อยากจับต้องก็คือเทรนด์เกาหลี ทุกอย่างที่เกี่ยวกับเกาหลีมีฟีเวอร์มานานแล้วโดยเฉพาะของกินค่ะ ยิ่งถ้าใครเป็นแฟนซีรีย์เห็นพระเอกนั่งย่างหนังหมูก็แทบจะเสิร์จหาร้านใกล้บ้านเดี๋ยวนั้นเลย เทรนด์ร้านบุฟเฟ่ต์เลยมีทั้งอาหารจานเดี่ยว ปิ้งย่าง และไก่ทอดเกาหลีไม่อั้นประปรายค่ะ

อันดับ 3 : อาหารนานาชาติ ร้านบุฟเฟ่ต์ใหญ่ ๆ ใช้ความหลากหลายของสัญชาติอาหารดึงดูดลูกค้าสายกินทุกเจ้าไม่ว่าคุณจะชอบอาหารไทยหรือเกาหลีก็สามารถนัดเพื่อนมาทานด้วยกันได้ค่ะ

นุ่นนำเสนอแพลตฟอร์มที่โพสต์ถึงสัญชาติอาหารบุฟเฟ่แต่ละประเภทเป็น 2 มุมมอง

Mention By Platform สูงที่สุดคือ Facebook เหมือนเดิมแต่ละสัญชาติดูมีแพลตฟอร์มคล้ายกัน แต่อาหารจีนมี Instagram โดดขึ้นมาด้วยค่ะ

Engagement By Platform อย่างที่นุ่นอธิบายเลยค่ะว่าเลือกดูแบบ Ignore YouTube view ออกเพราะติดไบแอสยอดวิวจนกินพื้นพี่แพลตฟอร์มอื่น ๆ เหลืออันดับสูงสุดคือ TikTok อาหารเกาหลีนี่พุ่งเพดานสูงสุดเลย เพราะมีครีเอเตอร์ ที่ไปรีวิวร้านบุฟเฟ่ต์เกาหลีทำยอดเอนเกจมากมาย มีคนรุมและปักตามเยอะเลยค่ะ

ใครอยากรู้ชื่อร้านบ้างแล้ว เดี๋ยวมาตีวงให้แคบลงจากราคา และอันดับร้านกันนะคะ

สรุป Social Data ของสัญชาติอาหารบุฟเฟ่ต์คือแพลตฟอร์ม TikTok น่าสนใจที่สุด และอาหารสัญชาติญี่ปุ่นมีคนโพสต์ถึงมากที่สุดค่ะ คลิปสั้นเป็นสื่อที่รีวิวอาหารได้ดีอันดับแรก ๆ จริงค่ะ และด้วยแพลตฟอร์มที่สามารถตัดต่อง่าย ลงเสียงง่าย เลยอาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ สร้างรายได้ให้นักรีวิวอย่างต่อเนื่องเลย

คอนเทนต์ที่ Top ในแพลตฟอร์มมากที่สุดและเป็นซูชิและซาชิมิคุณภาพ ที่เน้นตัดให้ดูอาหารเน้น ๆ > https://www.tiktok.com/@heychaaim/video/7067096801559498011

3. Categories ราคาอาหารบุฟเฟ่ต์

พูดถึงธุรกิจบุฟเฟ่ต์จะไม่ดูกลุ่มราคาไปได้อย่างไรจริงไหมคะ เป็นหัวข้อที่นุ่นใช้เวลามากที่สุดในการจัดกลุ่มเลยค่ะเพราะต้องใช้ความละเอียดเรื่องตัวเลข และวิเคราะห์แบบภาพรวมออกมา จัดอันดับให้ดูดังนี้นะคะ

อันดับ 1 : 400 – 899฿ มากที่สุดซึ่งบุฟเฟ่ต์ราคาเริ่มขึ้นห้าง มีอาหารหลากหลายมากอยู่ในระดับพึงพอใจ ร้านค้าก็ทำราคานี้กันเพราะเห็นกำไรมากกว่าและไม่แพงเกินพันค่ะ เป็นราคาตัวเลือกระดับกลางในตลาดบุฟเฟ่ต์ เริ่มมีไอศกรีมขนมหวานจัดเต็ม

อันดับ 2 : 100 – 399฿ บุฟเฟ่ต์ราคาถูก อาหารหลากหลายขึ้นในราคาที่มีผู้เข้าถึงได้อยู่ ซึ่งมีมากที่สุด  

อันดับ 3 : ไม่เกิน 99฿ ส่วนมากเป็นอาหารทั่วไป ไม่ขึ้นห้าง ก๋วยเตี๋ยว ซูชิ ข้าวแกง มีแพตเทิ้นคำว่า อิ่มละ 

อันดับ 4 : 900 – 1599฿ บุฟเฟ่ต์ราคาพรีเมี่ยมขึ้น มักมีอาหารนานาชาติ หรืออาหารทะเลที่ปรุงพิเศษกว่าเช่น กุ้งแม่น้ำผ่าหัวคัดไซส์ ฟัวกราส์ และมีรับรองคุณภาพระดับโรงแรม มีน้อยเพราะมักเป็นราคาหลังรวม VAT ร้านไม่ค่อยตั้งโพสต์กัน 

อันดับ 5 : 1600 – 2999฿ เป็นระดับราคาสูงสุดของบุฟเฟ่ต์ premium มักเพิ่มเมนูที่ปรุงเสิร์ฟจานต่อจาน และที่เห็นบน Social Data ส่วนมากจะขายบรรยากาศของร้านร่วมด้วย หรือเป็นแพ็คเกจห้องพักโรงแรม/ห้องพักพร้อมบุฟเฟ่ต์ดินเนอร์ 

อันดับ 6 : 3000฿ ขึ้นไป จนถึงหลักหมื่น มักเป็นอาหารสัญชาตินั้น ๆ โดยเฉพาะ ขายความสด เชี่ยวชาญ และบริการทุกระดับประทับใจ รับรองคุณภาพอาหารแบบซุปเปอร์ premium เช่น อูนิ ปูอลาสก้า เนื้อวากิว A5 ที่นั่งเริ่มน้อยกว่าร้านในราคาอืน ๆ ส่วนมากมีห้องไพรเวทให้เลือกใช้บริการเสริมด้วย ระดับของผู้รีวิวก็จะขยับขึ้นจากบุฟเฟ่ต์ทั่วไป  ไม่ค่อยโพสต์บ่อย ๆ เพราะมีกลุ่มลูกค้าอยู่แล้ว 

การจับกลุ่มราคานุ่นตั้งจากการไล่อ่าน Social Data ที่มีและประสบการณ์ที่เคยทาน หลังอ่านกราฟนี้นุ่นเชื่อว่านักการตลาดจะเริ่มได้กลุ่มลูกค้าและเลือกยิงแอดตั้งต้นจากข้อมูลนี้ได้ถูกจาก Insight นี้เลยนะคะ ลองดูว่าบุฟเฟ่ต์ของคุณอยู่ในกลุ่มราคาไหนกัน

Mention By Platform สูงที่สุดคือ Facebook เหมือนเดิมเพราะมีเพจร้านอาหารบุฟเฟ่ต์โพสต์อยู่เป็นประจำ ที่โดดเด่นคือ 900 – 1599฿ ไปอยู่บน TikTok แม้แพลตฟอร์มจะปิดกั้นโพสต์ที่ใส่เลขราคาก็ตาม

Engagement By Platform มีเงื่อนไข Ignore YouTube view หัวข้อนี้ไม่ใช่ TikTok แต่เป็น Facebook ค่ะ เพราะมีเพจรีวิวชื่อดัง เพจบอกโปรที่คนเอนเกจเยอะเป็นประจำอยู่แล้ว และอย่างที่นุ่นบอกว่า TikTok เค้ามีนโยบายปิดกั้นคลิปที่ระบุราคาหรือพูดราคาตัวเลขก็โดน วิธีที่ครีเอเตอร์ทำคือพูดว่า 5 ใบแดง สื่อว่า 500 บาทเป็นต้นค่ะ ใครทำการตลาดบนแพลตฟอร์มนี้อย่าพลาดกันนะคะ

สรุป Social Data ของราคาอาหารบุฟเฟ่ต์คือแพลตฟอร์ม Facebook ที่สามารถโพสต์รายละเอียดราคาได้อย่างอิสระ และราคา 400 – 899฿ เป็นกลุ่มราคาที่มีโพสต์ถึงมากที่สุดเพราะถือเป็นราคากลาง ๆ ถ้าเทียบในตลาดบุฟเฟ่ต์ค่ะ

คอนเทนต์ที่ Top ในแพลตฟอร์มมากที่สุดและเป็นซูชิและซาชิมิคุณภาพ ที่เน้นตัดให้ดูอาหารเน้น ๆ > https://www.facebook.com/loistories/posts

TOP5 Engagement เหล่าครีเอเตอร์บน TikTok

*Social Listening Tools จัดอันดับ Engagement เฉพาะคลิปที่อยู่ในเงื่อนไข Keyword และ Timeline ที่กำหนดเท่านั้นนะคะ

  1. @hector.book แฟนผมกินเก่ง 6,648,942 engagement : พาแฟนไปกินของอร่อยพร้อมรีวิวร้านอาหาร
  1. @best_apicha เบสเบบี๋ 5,821,713 engagement : Food & lifestyle content ตะลุยกินและทานร้านบุฟเฟ่ต์ทุกเมนู
  1. @toeyyk_ เต้ยนักกินแหลก 4,447,668 engagement : นักกินแหลกรุ่นใหม่ ถล่มบุฟเฟ่ต์ตามคำขอในคอมเมนต์
  1. @mild.prapaipan กินเข้าไป 3,824,616 engagement : แอคเคาท์เพื่อนนุ่นเอง ติดอันดับมาแบบเซอร์ไพรส์สุด ๆ แต่คอนเทนต์พากินบุฟเฟ่ต์มีคนติดตามจากช่องนางเยอะจริง ๆ ค่ะ 
  1. @J100.KG จูนพากิน 3,028,699 engagement : พากินบุฟเฟ่ต์หลากหลาย จุใจแบบเน้นจอย ๆ กับรสชาติอาหาร

TOP5 Engagement เหล่าครีเอเตอร์บน Youtube Channel

Social Listening Tools จัดอันดับ Engagement เฉพาะคลิปที่อยู่ในเงื่อนไข Keyword และ Timeline ที่กำหนดเท่านั้นนะคะ 

  1. PEACH EAT LAEK 36,221,520 engagement : Food content creator นักกินแหลกชื่อดัง 
  1. Mojiko 26,974,980 engagement : Food content creator มีคอนเทนต์อาหารและตะลุยร้านเด็ดมากมาย 
  1. Laitang ลายแทง  3,635,891 engagement : Food&Lifestyle content creator มีคอนเทนต์รีวิวร้านอาหาร บุฟเฟ่ต์ และคอนเทนต์ไลฟ์สไตล์ 
  1. EaterOat  3,775,925 engagement : Food content creator นักกินแหลกชื่อดัง
  1. โมมากิน ชาแนล Momakin  3,752,753 engagement : Youtuber ที่นำเสนอคอนเทนต์ร้านอาหารในไทย เน้นร้านทั่วไป ในตลาดหรือข้างทาง เช่น ข้าวขาหมูและข้าวมันไก่บุฟเฟ่ต์  ไข่เจียวบุฟเฟ่ต์  น้ำผลไม้ปั่นบุฟเฟ่ต์

TOP5 Engagement เหล่าครีเอเตอร์บน Facebook Page

ถือเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในวงการบุฟเฟ่ต์อย่างมาก

  1. PEACH EAT LAEK 827,044 engagement : Food content creator นักกินแหลกชื่อดัง
  1. ชีวิตติดรีวิว 480,466 engagement : เพจรีวิว ข่าว และเอ็นเตอร์เทนเมนต์ 
  1. Mojiko 319,872 engagement : Food content creator มีคอนเทนต์อาหารและตะลุยร้านเด็ดมากมาย 
  1. ชอบโปร – ShobPro 275,115 engagement : เพจโปรโมชันที่บอกโปรฯ อัปเดตข่าวทุกวัน 
  1. Sale Here 275,062 engagement : เพจที่รวบรวมโปรโมชั่น อัปเดตข่าวทุกวัน  

TOP5 Engagement ร้านบุฟเฟ่ต์บน Facebook Page

  1. Tenjo Sushi & Yakiniku Premium Buffet  255,654 engagement  : เท็นโจ ซูชิและยากินิกุ พรีเมี่ยมบุฟเฟ่ต์สไตล์ญี่ปุ่นแท้ๆ
  2. Senju Shabu&Sushi Premium Buffet 197,066 engagement : เป็นร้านบุฟเฟ่ต์ซูชิและชาบู 4 ช่อง สไตล์ญี่ปุ่นแท้ ในเครือเท็นโจ 
  3. ติดเกาะ ทะเลเผา แยกเทพารักษ์ 157,509 engagement : บุฟเฟต์ อาหารทะเล ทานได้ 10 ชม
  4. You&I Premium Suki Buffet 136,714 engagement  : สุกี้ชาบู เนื้อคุณภาพนำเข้า ซุปเปอร์ซีฟู๊ด และเมนูคุณภาพอีกกว่า 100 เมนู
  5. Copper Buffet  134,227 engagement  : ร้านอาหารสไตล์บุฟเฟต์นานาชาติ

Data Research Insight เจาะธุรกิจ บุฟเฟ่ต์ by Social Listening

ทั้งหมดคือข้อมูลที่อัดแน่นมาให้ทุกคนได้อัปเดตกันกับ Data Research Insight เจาะธุรกิจ บุฟเฟ่ต์ เพื่อส่งดูเทรนด์ต่าง ๆ ในแวดวงร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ค่ะ ทำให้เราได้เห็นอันดับประเภทอาหารอย่างปิ้งย่าง และสัญชาติญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในปีที่ผ่านมา และอยู่ในช่วงราคา 400 – 899฿ นุ่นนำเสนอแพลตฟอร์มของแต่ละหัวข้อเพื่อให้ทุกคนได้ลงรายละเอียด นำไปวางแผนการตลาดกันต่อได้แม่นยำมากขึ้นนะคะ

ปิดท้ายด้วย TOP5 ของครีเอเตอร์บนช่องทาง Youtube และ Facebook page โดยเฉพาะและร้านอาหารที่มีเพจบน Facebook ที่ได้รับเอนเกจเยอะมาให้อัปเดตเป็นหัวข้อสุดท้ายค่ะ

โดยรวมแล้วรายงานเล่มนี้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงอื่น ๆ ในแวดวงธุรกิจบุฟเฟ่ต์มาเล่าในบทความอาจจะไม่หนำใจ ก็สามารถโหลดตัวเต็มไปอ่านได้ที่ท้ายบทความ ฟรีได้เลยนะคะ ขอแค่เครดิตกลับมาที่การตลาดวันละตอน และ Sellsuki ที่เป็นสปอนเซอร์ใจดีที่มาสนับสนุนการแชร์ข้อมูลดี ๆ แบบนี้ค่ะ

อ่านบทความโปรเจค Data Research insight เพื่อ SME ไทยทั้ง 76 จังหวัด และการตลาดวันละตอน X Sellsuki เพิ่มเติมเรื่องครีมซอง

ติดตาม Sellsuki ช่องทางอื่น ๆ Webstie Facebook LINE : @sellsuki Tel. : 02-026-3250

ฝากอีกนิดหากใครต้องการข้อมูลไปทำสื่อแชร์ต่อ ทำซ้ำ หรือต่อยอด แค่ส่ง Backlink กลับมาที่บทความนี้ และส่งลิงก์สื่อที่คุณนำไปต่อยอดมาที่ [email protected] เท่านั้นเอง

ถ้าใครอยากเรียนรู้การใช้ Social Listening ด้วยตัวเอง หรืออยากให้ทีมของตัวเองใช้เป็น สามารถสมัครเรียนสดทางออนไลน์กับการตลาดวันละตอนด้วยตัวเองได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้

https://bit.ly/sociallisteningclass

ขอแค่คุณใช้ Social Listening เป็นด้วยตัวเองก็จะพบว่ามี Data มากมายรอให้ใช้งาน และยังมี Consumer Insights ล่องลอยอยู่อีกมาก เหลือแค่ว่าใครจะหยิบมาใช้โอกาสได้ก่อ

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *