วิเคราะห์ Business Model สุกี้ตี๋น้อย : แตกไลน์ ต่อยอดกลุ่มลูกค้า 

วิเคราะห์ Business Model สุกี้ตี๋น้อย : แตกไลน์ ต่อยอดกลุ่มลูกค้า 

หลายคนคงไม่มีใครไม่รู้จักปรากฎการณ์วงการอาหารที่ชื่อว่า “สุกี้ตี๋น้อย” บุฟเฟต์สุกี้เอาใจสายคุ้ม สายนอนดึกนั่นเอง ที่มีกลยุทธ์แปลกใหม่มาพร้อมกับราคาเป็นมิตร คุณภาพสมราคา และภายใต้แบรนด์ที่สามารถจดจำง่าย วันนี้เราเลยอยากพาทุกคนมาดู Business Model สุกี้ตี๋น้อยกันค่ะ

โดยสุกี้ตี๋น้อยเอง เริ่มก่อตั้งโดยคุณเฟิร์น นัทธมน พิศาลกิจวานิช ที่มีจุดเริ่มต้นจากการต้องมารับช่วงต่อธุรกิจครอบครัวที่ชื่อว่า “เรือนปั้นหยา” เป็นสวนอาหารที่เน้นเสิร์ฟแบบจานต่อจาน คุณเฟิร์นจึงได้เห็นปัญหาเหล่านี้ว่าธุรกิจค่อนข้างเติบโตไปได้ยาก เพราะมีข้อจำกัดเรื่องของการควบคุมมาตรฐานรสชาติให้เหมือนกันทุกจาน ทุกสาขาได้ จึงมีไอเดียที่อยากหันมาเปิดธุรกิจอาหารที่สามารถควบคุมมาตรฐานให้เหมือนกันทุกสาขา และไม่ต้องพึ่งพาเชฟมากจนเกินไป จึงได้หันเข้ามาในธุรกิจสุกี้ และประกอบกับกระแสคนหันมานิยมกินบุพเฟต์อีกด้วย 

ยอดขายดีเกิดคาด 

  • ปี 62 รายได้ 499 ล้าน มีกำไร 15 ล้าน
  • ปี 63 รายได้ 1,223 ล้าน มีกำไร 140 ล้าน
  • ปี 64 รายได้ 1,572 ล้าน มีกำไร 148 ล้าน 
  • ปี 65 รายได้ 3,976 ล้าน มีกำไร 591 ล้าน
  • ปี 66 มีกำไรสุทธิ 913 ล้านบาท (แต่มีการแบ่งกำไรให้ JMART ที่ถือหุ้นอยู่ 30%)

โดยในปี 2566 นั้นตี๋น้อย มีทั้งหมด 55 สาขา ที่เปิดทั้งในกทม. และต่างจากหวัด 

กว่าจะมาถึงตรงนี้เอง เชื่อว่าไม่ได้มาจากโชคช่วยอย่างแน่นอน วันนี้การตลาดวันละตอนเลยช่วยถอดรหัสความสำเร็จของสุกี๋ตี๋น้อยมาฝากกันค่ะ 

 1) สร้างแบรนด์ให้จดจำง่าย 

“ตี๋น้อย” หลายคนคงสงสัยว่าชื่อนี้เกิดขึ้นมาได้ยังไง จากการอ้างอิงใน Wikipedia คุณเฟิร์นได้เล่าว่า พ่อของเขาเป็นลูกคนเล็ก คนในบ้านจึงเรียกว่าตี๋น้อย 

2) แซงหน้าคู่แข่งเพราะ “คิดแบบ Agile” 

หลายๆองค์กรมักจะต้องมีการวางแผนล่วงหน้าเป็นรายปี ไตรมาส หรือรายเดือน จะให้ปฎิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเราเจอ insigt ใหม่ๆ เรามักจะมองข้ามไป เพราะเกิดติดกับดักทางความคิดว่า เพราะเราวางแผนมาแล้ว เลยทำให้หลายๆองค์กรเอาปัญหาหรือว่า insight ที่ได้มาของปีนี้ ไปแก้ปัญหาในปีหน้า 

ซึ่งการทำงานของสุกี้ตี๋น้อย มี Culture แบบแก้เกม ทีมงานพร้อมเปลี่ยนไม่ยึดติดแผนเดิม จึงเป็นการทำงานแบบมี “Growth Mindset” ซึ่งที่พูดถึงไม่ใช่แค่ CEO หรือ Management team แต่พนักงานทั่วก็มี Growth Mindset เหมือนกัน ทุกคนจะพร้อมปรับเปลี่ยนมากกว่าคิดว่า “ทำไมเปลี่ยนแผนอีกแล้ว”

3) สร้างพนักงานให้มี Service Mind บนออนไลน์ ง่ายกว่าสร้างแบบออฟไลน์

การทำธุรกิจร้านอาหารไม่ใช่แค่นำอาหารมาเสริ์ฟให้จบเพียงเท่านั้น แต่ยังมีการบริการหน้าร้านที่ต้องคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อยของแต่ละสาขา และความใส่ใจในการบริการของพนักงาน ซึ่งคุณเฟิร์นเองก็ยอมรับว่าค่อนข้างใส่ใจกับเรื่องนี้มากๆ มีการนำ QA มาตรวจงานถึงเดือนละ 2  ครั้งและยังมีการสุ่มตรวจในแต่ละสาขาอีกด้วย 

ในช่วงแรกอาจจะเป็นส่วนที่ยากในการสร้าง standard ของการบริการ ที่ต้องให้พนักงานเข้ามาอบรมที่ส่วนกลางแต่ก็ยังไม่เวิร์ค จึงลองคิดวิธีใหม่ให้พนักงานสามารถอบรมออนไลน์ได้ แต่มีข้อสอบให้ทำระหว่างหลักสูตรการอบรม และสามารถ tracking ได้ว่าพนักงานคนนี้ผ่านการอบรมแล้วหรือยัง 

ซึ่งปัญหานี้เองทำให้แก้ไขปัญหาเรื่องการบริการแล้ว ยังสามารถแก้ไขปัญหาที่ต้องคอยมาอบรมพนักงงานใหม่อยู่บ่อยๆ เนื่องจากว่าธุรกิจประเภทอาหารมี turnover ค่อนข้างสูง ทำให้ต้องเสียเวลามานั่งอบรมใหม่ 

4) การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย 

การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย เพราะตามสโลแกน “อร่อยไม่อั้นเที่ยงวันยันเช้า” ตอนเที่ยงวันอาจจะเป็นกลุ่มเด็กนักเรียน หรือนักศึกษามากินชาบูเพื่อฉลองวันสำคัญต่างๆ หรือเป็นมื้อดีๆของครอบครัวในวันหยุด แต่ตอนดึกใครจะมากิน? แน่นอนว่าต้องเป็นกลุ่มคนวัยทำงานที่เลิกดึก เช่นสายโรงงาน หรือคนที่สังสรรค์ยามดึก ก็ต้องหาซุปร้อนๆกินก่อนกลับบ้านแน่นอน 

5) กลยุทธ์การตั้งราคา

“ชาบูบุฟเฟต์ราคาเริ่มต้น 199 บาท (ในช่วงแรก)” แค่นี้สายรักบุฟเฟต์ราคาย่อมเยาว์ก็น่าจะตาลุกวาวแล้ว มาพร้อมกับเมนูที่ให้เลือกแบบไม่กั้ก แต่เบื้องหลังของราคามันยังไม่จบแค่เท่านี้ เพราะว่ายังไม่รวมราคาน้ำอีก 39 บาท ที่ใครๆก็ยอมจ่าย เพราะภาพจำแรกคือบุฟเฟต์ในราคาที่ถูก เพิ่มอีกแค่ไม่กี่บาทก็ได้น้ำไปอีกด้วย 

6) วัตถุดิบเกินราคา

ถึงแม้แค่จะราคาบุฟเฟต์จะแค่หลักร้อย แต่ลูกค้ายังได้เลือกทั้งหมวด ซีฟู้ด เนื้อวัวสไลด์ สันคอหมู และเมนูอื่นๆอีก ในราคาเดียว 199 บาท ที่มาพร้อมกับวัถุดิบสดใหม่ที่คัดออกมาแล้วว่าเป็นของที่มีคุณภาพอย่างแน่นอน เพราะก่อนนำมาเสริ์ฟทุกครั้งจะมีการคัดวัตถุดิบที่มีคุณภาพผ่านมาตรฐานออกมาเสริ์ฟเท่านั้น  ซึ่งในช่วงแรกเองทางร้านก็ไม่ค่อยได้กำไรมากนัก แต่ยิ่งสุกี้ตี๋น้อยขยายสาขาได้มากเท่าไหร่ก็จะมีอำนาจการต่อรองซื้อวัตถุดิบที่ดี ราคาถูกได้มากเท่านั้น 

7) บรรยากาศร้าน 

การออกแบบของร้านสุกี้ตี๋น้อยถือว่าทำได้แตกต่างจากร้านสุกี้ทั่วไป เพราะลูกค้าสามารถนั่งกินบุฟเฟต์ในราคาที่ไม่แพง แต่ได้บรรยากาศเหมือนกินในร้านหรู นั่งสบาย และดูสะอาดตา 

8) ฉีกกฎการเลือก Location 

การฉีกกฎว่าสุกี้ต้องอยู่แค่ในห้าง แล้วย้ายออกมาอยู่แบบ Stand alone เพราะเนื่องจากการจอดรถต้องง่ายและสะดวก ไม่ต้องวนตึก 7 ชั้นกว่าจะได้กิน แถมสาขานั้นๆจะต้องมองเห็นได้ง่าย ถึงแม้ว่ามองตอนกลางคืนจะต้องเห็นโลโก้สุกี้ตี๋น้อยสีแดงอยู่เด่นลอยมาแต่ไกล 

9) การตลาดไม่ซับซ้อน 

อย่างที่รู้กันว่าปกติเมนูของตี๋น้อยก็มีให้เลือกเยอะอยู่แล้ว แต่ทางตี๋น้อยก็ขยันออกเมนูใหม่ๆ เพื่อเอาใจลูกค้าอยู่บ่อยๆ ซึ่งนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด UGC หรือ User generate content เพิ่มไปอีก 

ถ้าแม้ว่าธุรกิจดำเนินการดีขนาดไหนก็ย่อมมีอุปสรรคอย่างแน่นอน ทีนี้เรามาดูวิธีการแก้เกมส์ฉบับสุกี้ตี๋น้อยดีกว่าค่ะ 

แตกไลน์เปิด “ข้าวแกงปัญสุข” เพื่อลดปัญหา Food Waste 

Facebook : สุกี้ตี่น้อย

ร้านข้าวแกงที่ขายในราคาย่อมเยา เริ่มต้น 39 บาท หลายคนอาจจะตั้งคำถามเหมือนกันว่าราคานี้จะขายกันได้จริงๆเหรอ? แต่ที่ร้านข้าวแกงปัญสุขสามารถขายได้ราคาไม่แพง แต่คุณภาพของดีได้ เพราะว่าเป็นโปรเจ็คเพื่อลด Food Waste โดยคอนเซ็ปท์คือการนำวัตถุดิบที่ไม่ผ่านเกณฑ์จากร้านสุกี้ตี๋น้อย จึงนำมาปรุงอาหารใหม่นั่นเองค่ะ ซึ่งในปัจจุบันมี 1 สาขา สาขาเลียบทางด่วน 1 นั่นเองค่ะ

ถือว่าเป็นไอเดียที่ดีมากๆ เพราะสามารถเปิดตลาดที่นอกเหนือจากธุรกิจสุกี้มาเป็นชนิดข้าวแกง ที่จะได้เรียนรู้พฤติกรรมจากลูกค้าที่ชอบกินข้าวแกง และกลุ่ม cost concern เพิ่มเข้ามาได้อีกด้วย 

เสริม “ตี๋น้อย ป๊อปอัพ คาเฟ่” เอาใจลูกค้าตอนรอคิว 

Facebook : สุกี้ตี่น้อย

อย่างที่ได้เกริ่นไปด้านบนว่าสุกี้ตี๋น้อยเป็นชาบูบุฟเฟต์ที่ได้รับความนิยมมากๆ จึงทำให้คิวรอเป็นหางว่าวกันเลยทีเดียว แต่ที่นี้เอง ทางสุกี้ตี๋น้อยได้ออกธุรกิจใหม่ที่ชื่อว่า ตี๋น้อย ป๊อปอัพ คาเฟ่ เพื่อแก้ปัญหาการรอคิวนาน โดยขายของหวานระหว่างลูกค้านั่งรอแบบไม่มีอะไรทำ ในราคาแก้วละ 35-40 บาท และเมนูน้ำก็เป็นเมนูในกลุ่มชา โซดา กาแฟ และเครื่องดื่มอื่นๆทั่สไป ที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมในหมู่คนไทย นอกจากนี้ยังออกเมนูของหวานอื่นๆในราคาเริ่มต้น 40 บาท ซึ่งโลเคชั่นนั้นก็คือบริเวณข้างๆร้านสุกี้ตี๋น้อยนั่นเอง 

นอกจากนี้การที่สุกี้ตี๋น้อยยังได้เข้าสู่วงการน้ำและของหวาน ซึ่งเป็นตลาดที่ค่อนข้างนอกเหนือไปจากธุรกิจเดิมค่อนข้างมาก ถึงแม้ว่าการแข่งขันในตลาดนี้ค่อนข้างสูง แต่ก็เชื่อว่าตี๋น้อยจะสามารถกินส่วนแบ่งการตลาดได้บางส่วนก็ถือว่าเป็นการเสริมสร้างแบรนด์ให้คนรู้จักมากยิ่งขึ้น  

เปิดตัว “ตี๋น้อย Express” เจาะกลุ่มตลาดบุพเฟต์ 4 ใบแดง 

Facebook : สุกี้ตี่น้อย

การแข่งขันชาบูบุพเฟต์ไม่ได้มีแค่สุกี้ในราคาเริ่มต้น 100-200 บาทเพียงเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มร้านที่มีราคา 300-400 บาทต่อหัวขึ้นไป ที่มาพร้อมกับวัตถุดิบที่พรีเมี่ยมขึ้น และเพิ่มทางเลือกใหม่ๆมากกว่าการกินบุพเฟต์ในวัตถุดิบคุณภาพทั่วไป ซึ่งตี๋น้อยเองที่มีประสบการณ์ในวงการบุพเฟต์นานพอสมควร จึงได้เห็นโอกาสนี้ เพื่อเป็นการเปิดตลาดไปเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีกำฃังซื้อสูงมากขึ้น เพื่อหวังจะเป็นส่วนหนึ่งในส่วนแบ่งการตลาดนี้ด้วย  

บทเรียนจาก Business Model สุกี้ตี๋น้อย 

มาถึงตรงนี้ Business Model แบบสุกี้ตี๋น้อยมีการคิดธุรกิจที่ค่อนข้างครบถ้วน เริ่มจากการวางราคา หรือทำ Price Strategy ที่ทำให้คนมองว่าเป็นบุพเฟต์ที่ราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับการตกแต่งร้านที่ดูสะอาดตา เข้าถึงง่าย มีที่จอด แถวยังเลือกเวลากินได้ ไม่ต้องกังวลเวลาห้างเปิดปิด ซึ่งเป็นการดึงดูดให้คนเข้ามา ถัดมาคือ Upsale ด้วยการเสนอน้ำดื่มรีฟิลในราคา 39 บาทที่มาพร้อมกับน้ำให้เลือกหลากหลาย ด้วยสิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้คนรู้สึกว่าคุ้ม อร่อย สะอาด

เมื่อธุรกิจเริ่มเป็นที่รู้จัก ตี๋น้อยก็ไม่หยุดเพียงแค่เป็นชาบูบุพเฟต์อย่างเดียว ยังแตกไลน์ธุรกิจออกมา เพื่อเสริมสร้าง ecosystem บริษัทให้แข็งแรงมากขึ้น ทั้งจัดการปัญหา Food waste หรือการนำเมนูของหวานมาต่อยอด สร้างฐานแฟนคลับกลุ่มใหม่ๆ

โดยการทำ Business Model นั้นไม่ได้มีแค่ปัจจัยข้างต้น โดยในบทความหน้า เราจะพามาวิเคราะห์ว่าทำไม “สุกี้ตี๋น้อย” ถึงได้ครองใจผู้คน

Source 1

Pitchakorn Sirimonta

Freelance at Everyday Marketing.co and current social media management who has a passion for business innovation and believe in data-driven marketing.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *