เข้าใจ YouTube Shorts Algorithm เพื่อทำการตลาด ให้คนเห็นคอนเทนต์มากขึ้น

เข้าใจ YouTube Shorts Algorithm เพื่อทำการตลาด ให้คนเห็นคอนเทนต์มากขึ้น

เข้าใจ YouTube Shorts Algorithm เพื่อทำการตลาด เพิ่มโอกาสให้คนเห็นคอนเทนต์มากขึ้น

เหล่าผู้สร้างคอนเทนต์และใครที่อยากสร้างยอดวิวให้กับคลิปของตัวเอง บนช่องแพลตฟอร์ม Youtube ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 2 พันล้านคนต่อเดือน และ YouTube Shorts เองก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2023 มีผู้ใช้มากกว่า 150 ล้านคนต่อเดือน

และ Shorts ยังเป็นวิดีโอที่ติดตลาดเร็ว ยูทูปดันเต็มที่ โดยคอนเทนต์จะมีความยาวสูงสุดที่ 60 วินาที และเล่นโดยใช้อัลกอริทึมเดียวกันแต่ต่างกัน

อย่างไรก็ตามมันเป็นโอกาสให้ลูกค้าเจอคอนเทนต์ของเรามากขึ้น ทำให้แบรนด์มีศักยภาพในการเข้าถึงผู้ชมจำนวนมากผ่าน YouTube Shorts นั่นเองค่ะ เพราะฉะนั้นการทำความเข้าใจอัลกอริทึมของแพลตฟอร์มจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้คอนเทนต์ไปโลดแล่นหน้าไทม์ไลน์ของลูกค้าได้ดีกว่าเดิม เรามาดูกันว่ามีอะไรที่ควรรู้บ้าง พร้อมคำแนะนำที่ท้ายบทความนะคะ

ฟีเจอร์ Shorts เกิดมาเพื่อรองรับเทรนด์การเสพสื่อ วิดีโอสั้น

มีใครรู้สึกเหมือนกันไหมคะว่าตัวเองมีสมาธิสั้นลงหลังจากได้รู้สึกกับวิดีโอคอนเทนต์แบบสั้น โดยเฉพาะใครที่เล่น TikTok บ่อย ๆ ก็อาจจะได้รับอิทธิพลไปโดยไม่รู้ตัว ทางแพลตฟอร์มเค้าเลยเร่งปั้น Short มาเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ที่มาแรงที่สุดบนแพลตฟอร์ม โดยเผยว่ามียอดดูมากกว่า 3 หมื่นล้านครั้งต่อวันในปี 2022

จุดประสงค์หลักอีกอย่างคือทำมาท้าชนกับ แพลตฟอร์มคู่แข่งวิดีโอแบบสั้นเช่น TikTok และ Instagram Reels 

ทั้งนี้อย่างที่เราทราบกันดีว่าตั้งแต่ YouTube Algorithm เองไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลมากนัก แต่มีทริคต่าง ๆ ที่น่าสนใจและมีความเป็นไปได้มากมายที่นำไปปรับใช้ได้ทันที ลองหน่อยก็ไม่มีอะไรเสียหายน้า~ 

Algorithm

อัลกอริธึมเป็นเพียง instructions coded ในแพลตฟอร์มเพื่อกำหนดวิธีการทำงานของแพลตฟอร์มนั้นค่ะ ในกรณีของ YouTube นันอาจมีมากกว่า 1 อัลกอริทึม เพื่อที่จะรันคอนเทนต์ให้แสดงแก่ user

การทำงานของ YouTube Shorts Algorithm

อ้างอิงจากคอนเทนต์สัมภาษณ์ Shorts and The Algorithm: TOP Questions Answered! จากช่อง Creator Insider โดยมีการพูดคุยกับ Pierce Vellucci ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของ YouTube 

ทำให้รู้ว่ามีปัจจัยหลักจริง ๆ มีเพียง 2 Factor ที่กำหนดว่าคอนเทนต์วิดีโอแบบสั้นใดจะถูกแนะนำให้ชมต่อ ได้แก่ 1. ประวัติการดู และ 2. การมีส่วนร่วม ที่เคยเค้าไปดูหรือคอมเมนต์แชร์ช่องต่าง ๆ นอกจากนี้จะมีปัจจัยอื่นที่เป็นไปได้อีกค่ะ เช่น

  • จับจากชื่อวิดีโอคอนเทนต์
  • จับจากคำอธิบายใต้คลิป
  • จับจากแฮชแท็ก
  • user ที่เค้ามาคอมเทนต์ใต้คลิป

Youtube จะเรียนรู้จากการใช้งานเบื้องต้นเหล่านั้น และวิเคราะห์ว่าวิดีโอแต่ละตัวเกี่ยวกับอะไร จะได้แนะนำในหน้าแรกของ user ที่อาจสนใจเรื่องนั้น ๆ ต่อไปค่ะ

2023 อัลกอริทึมของ Shorts ถูกแยกออกจากอัลกอริทึม YouTube ทั่วไปโดยสิ้นเชิง โดยแพลตฟอร์มให้ข้อมูลว่าคนที่ดู Shorts อาจมีความสนใจที่แตกต่างกับวิดีโอยาว

สิ่งที่เกิดขึ้นกับฝั่งลูกค้าก็คือ ถ้าเสิร์จคอนเทนต์เจอช่อง A ในฟีดเจอร์ Shorts > ช่อง A นั้นจะไม่มาโชว์วิดีโอยาวในหน้าแรกเสมอไป 

Pierce Vellucci ยังกล่าวอีกว่า คอนเทนต์วิดีโอแบบสั้นทุกรายการ “จะได้โอกาสในการแนะนำหน้าแรก และ go viral” ไม่ได้จำกัดว่าช่องของแบรนด์คุณจะต้องมียอดผู้ติดตามหลักแสน หลักล้านเสมอไปนะคะ

ซึ่งสิ่งนี้จากประสบการณ์ส่วนตัวยังไม่รู้สึกว่าจริงซักเท่าไหร่แหะ อาจจะเพราะไม่ได้ใช้ Youtube Short บ่อยเท่ากับแพลตฟอร์ม TikTok เลยเกิดการเปรียบเทียบว่าอัลกอริทึมเค้าเหมือนมานั่งอยู่ในใจ คลิปไหนดูนานหน่อยไม่ได้ เดี๋ยวมาให้เห็นอีกไม่เกิน 2-3 ปัด

แต่ในฐานะการตลาด การนั่งรอให้ลูกค้าเข้าร้านหรือรอโชคเข้าข้างให้ลูกค้าเข้าหาเองฝ่ายเดียวคงจะไม่ท้าทายเท่าไหร่ใช่ไหมคะ เลยมีทริคอื่น ๆ เพิ่มเติมที่จะเอาใจเจ้าอัลกอริทึมได้ค่ะ

แนะนำสำหรับนักการตลาด

#1 ไม่จำเป็นต้องสร้างช่องใหม่เพื่อไว้ลง Youtube Short  

2023 อัลกอริทึมของ Shorts ถูกแยกออกจากอัลกอริทึม YouTube ทั่วไปแยกกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องอวตารช่องให้เปลืองทรัพยากรค่ะ คลิปยาวไม่โชว์หน้าแรก แต่ Short อาจจะไปเป็นนางกวักอยู่ในหน้าแนะนำก็เป็นได้

#2 YouTube Shorts เหมาะกับคอนเทนต์แบบไหนบ้าง?

YouTube Shorts มีความแตกต่างจากวิดีโอที่ลงช่องหลักธรรมดา อาจใช้เป็นการลง Highlight หรือ Teaser และ เหมาะกับคอนเทนต์แบบสั้น ๆ ที่กระชับ เข้าใจง่าย หากเป็นสินค้าก็ใช้คำให้ง่ายที่สุดในการสื่อสาร

หรือเลือกใช้ Youtuber ที่เป็นที่รู้จัก จะได้ช่วยให้คลิปรันมาอยู่ในหน้าแรกของผู้ติดตาม และเพิ่มโอกาสให้แนะนำไปยังแอคเคาท์อื่นๆที่อาจสนใจคอนเทนต์คล้ายกันนี้นะคะ โดยนุ่นรวบรวมคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมบน YouTube Shorts มาเบื้องต้นได้แก่

  • คอนเทนต์เพื่อความบันเทิง หรือ Entertainment เช่น คอนเทนต์ฮา ๆ คอนเทนต์เต้น คอนเทนต์เพลง ที่เราจะเห็นตัดเฉพาะช่วงที่น่าสนใจเพื่อเรียกให้ไปดูคลิปหลักต่อ 
  • คอนเทนต์ความรู้ เช่น คอนเทนต์สอนทำอาหาร คอนเทนต์สอนแต่งหน้า คอนเทนต์สอนทำ DIY เป็นต้น
  • คอนเทนต์รีวิว เช่น รีวิวสินค้า รีวิวร้านอาหาร รีวิวสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น
  • คอนเทนต์ไลฟ์สไตล์ เช่น คอนเทนต์ท่องเที่ยว คอนเทนต์ความงาม คอนเทนต์แฟชั่น เป็นต้น

#3 YouTube Shorts เพื่อ วิดีโอสั้น เหมาะกับอุตสาหกรรมไหน?

ทุกอุตสาหกรรมสามารถปรับใช้ฟีเจอร์นี้ได้ทั้งหมด ยิ่งถ้าคุณลงวิดีโอยาวในช่องหลักอยู่แล้ว ให้แบ่งคอนเทนต์มาทำแบบสั้นได้เลยค่ะ แต่ๆๆๆ อย่างไรก็ตาม การทำการตลาดผ่าน YouTube Shorts จำเป็นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย โดยแบรนด์ควรสร้างสรรค์เนื้อหาที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของตน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีนะคะ ^^


จากประสิทธิภาพทั้งหมด และวิธีการทำงานของอัลกอริทึมนั้น แนะนำอย่างยิ่งโดยเฉพาะชาวครีเอเตอร์ ยูทูปเบอร์ และแม้แต่แบรนด์ควรใช้ Youtube short ทำการตลาด เพิ่มโอกาสในการสร้าง Engagement และการรับรู้จากคนที่สนใจคอนเทนต์คล้ายกันได้ กล่าวคือเป็นตัวช่วยเรียกคนมาดูวิดีโอคอนเทนต์หลักในช่อง เริ่มต้นจากการใช้ Footage เดิมนี่แหละค่ะ ตัดเอาช่วงสำคัญแล้วกั๊กไว้นิดหน่อยให้คนตามมาดูตัวเต็ม

หลังรู้จักเบื้องต้นแล้วอย่าลืมนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับธุรกิจของตัวเองนะคะ คอนเทนต์ที่ดีต้องมีช่องทางทีเหมาะสมองค์ประกอบอื่น ๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งการเข้าใจอัลกอริทึมก็จะยิ่งสามารถผลิตคอนเทนต์ให้มีทิศทางมากขึ้นแน่นอน รวมทั้งควรศึกษา SEO และอัปเดตเทรนด์อย่างสม่ำเสมอด้วยค่ะ 🙂

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *