รวมมาให้แล้วจ้า! Copywriting เขียนแบบไหนได้บ้าง?

หนึ่งในงานที่สำคัญของการทำการตลาดและโฆษณาตั้งแต่อดีต – ปัจจุบันจะขาดงาน Copywriting ไปได้อย่างไรจริงไหมคะ ^ – ^
บางคนอาจจะใช้เวลากับน้องเป็นเดือน ๆ เพราะปรับแล้วปรับอีก หรือบางคนที่กำลังเริ่มศึกษา Marketing skill ก็ต้องทำความรู้จักและสนิทสนมกับ copywriting ไว้เลย แต่อย่าเร่งเร้าตัวเองมากเกินไป ขอแค่ฝึกฝนทุกวัน เชื่อว่ามันต้องมีผลลัพย์ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ ลองมาอ่านบทความนี้เป็นการเริ่มต้นทำความรู้จัก จะได้เอาไปใช้ได้โปรขึ้นนะคะ
ซึ่งในบทความนี้นุ่นเลือกเอา Type of copywriting ที่สำคัญ ๆ มาพูดคุยกับทุกคน 4 ประเภทหลักก่อนค่ะ
ขอแนะนำ Copywriting ให้รู้จักสั้น ๆ
Copywriting หรือ ‘การเขียนคำโฆษณา’ เป็นโทรโข่งขายของใช้ทำมาหากินของวงการการตลาดและโฆษณา
เรามักจะเห็นในรูปแบบสั้น ๆ แต่กระชับ ตรงประเด็น ไม่ยืดยาว ใครอยากฝึกเขียนให้เน้นไปทาง Shot Form
ป๊าดเดียว ป๊าดแรกต้องปัง Content ด้านในจะดีเลิศแค่ไหน สินค้าจะมีประโยชน์ล้นฟ้า แต่ Copywriting ไม่ส่ง ไม่เรียกแขกให้เข้ามาลองก็น่าเสียดายแย่เลยค่ะ
ถือเป็นศิลปะหนึ่งในการโน้มน้าวนั่นเองค่ะ ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่งานเขียน ชื่อบทความ ป้ายโฆษณา OOH โบรชัวร์ อีเมล ฯลฯ แต่รวมทั้งการพูดเกริ่นรายการ Podcasting TVC ก็ล้วนเป็นบทเริ่มจากงานเขียนทั้งสิ้น
– Copywriting ที่น่าสนใจ
สร้างสรรค์ ตรงประเด็น มีประโยชน์กับการขาย เช่น อะไรว้าว? คุณลักษณะ ประโยชน์ และราคา คำอุทาน คำใหม่ ๆ อย่างตัวตึง อย่างจึ้ง เป็นต้นค่ะ
นุ่นรู้ว่าทุกคนกำลังไถหาตัวอย่างอยู่ แต่ใจเย็น ๆ นะคะ จะใส่ให้ชมแน่นอนในพาร์ทถัดไป ที่เป็นพาร์ทหลักของเราต่อไปนี้ค่ะ :
Copywriting เขียนแบบไหนได้บ้าง?
จริง ๆ การเขียน copywriting สามารถเขียนได้เป็น 10 20 แบบ แต่มีจำพวกหลัก ๆ 4 ประเภทที่นักการตลาดจำเป็นต้องรู้เบื้องต้นค่ะ
#1 Brand Copywriting
เป้าหมายของการเขียนโฆษณาในรูปแบบ Brand คือสามารถทำให้แบรนด์เราเข้าไปเป็น Top of mind สร้าง Brand awareness ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นกันอยู่บ่อย ๆ เจอตั้งแต่จำความได้
จะใช้กับสินค้าหลักที่ขายมานานนนน หรือโปรโมตสินค้าใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวอย่าง IPAD mini จริง ๆ Apple เป็นแบรนด์ที่สร้างเสียงฮือฮาได้ทุกปีเพราะความเรียบง่าย แต่ Impact มาตลอดอยู่แล้วค่ะ
มีแบบสำรวจจาก Twitter รายงานว่า 70% อยากให้แบรนด์เขียนคำโฆษณาด้วยคำที่ถูกต้อง จริงใจ และเน้นแง่บวก งด Trigger ค่ะ จะเป็นการเน้นประสิทธิของสินค้า ใช้คำที่เข้าใจง่ายหรือตามกระแสหน่อย ไม่จำเป็นต้องตีลังกาพิมพ์วลี 4 สุภาพ แต่เน้น less is more ก็ไวรัลได้ค่ะ
เคสในไทยอีกเคสที่จำได้และอยากเอามาแชร์คือการเขียนโฆษณาของ Netflix ค่ะ จริง ๆ ก็จี๊ดกันหลายประเทศและเราเห็นกันอยู่ตลอด ด้านบนเป็นช่วงวันปีใหม่ ที่ชวนให้คนที่กำลังขับรถไปเที่ยวหัวหิน วนรถกลับมานอนดู Netflix สบาย ๆ ที่บ้านดีไหมจ๊ะ ถือเป็น OOH หนึ่งที่เป็นตัวอย่างน่าแชร์ อยากให้นักการตลาดไทยมาเล่นกันเยอะ ๆ จัง
ยิ่งถ้าหากเป็นแนว Pepsi vs Coke ในต่างประเทศที่แบรนด์แอบหยุมหัวกันบ่อย ๆ ฝั่งลูกค้าก็จกป๊อปคอร์นรอแล้วจ้า
นักการตลาดลองหาอ่านเคสแบบนี้ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อย ๆ และเอากลับมามองในแบรนด์ของเรา เผื่อจะมีไอเดียให้ต่อยอดในแคมเปญหน้าแบบปัง ๆ น้า
#2 SEO Copywriting

ช่วง 1 ปีที่ผ่านมาการตลาดวันละตอนมีบทความเกี่ยวกับ SEO Copywriting และ SEO ให้อ่านแบบจุกเลยล่ะค่ะ อธิบายอย่างง่ายคือเป็นส่วนย่อย ที่สรุปมาจาก Content และมีความสำคัญในการดันบทความให้ติดอันดับสูงที่สุด เวลาเสิร์จบน google
เพราะเวลาลูกค้าสนใจจะซื้อสินค้า หรือหาข้อมูลอะไรซักอย่างเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ ก็มักจะใช้การเสิร์จบน googls นี่แหละ เลยทำให้ SEO copywriting สำคัญอันดับต้น ๆ ในการเรียกแขก ดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาเชยชมข้อมูลสินค้าของเรา หรือแบรนด์เรา
มีบทความที่แนะนำให้อ่านต่อ หากต้องการศึกษาอย่างจริงจังด้วยค่ะ >
#3 Social Media Copywriting
แต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีนโยบายที่ต่างกัน ไม่ควรใช้ 1 แคปชั่นหรือคำโฆษณาแพนเทินเดียวแล้วโพสต์ทุกแพลตฟอร์มค่ะ Facebook สามารถบรรยายยาว ๆ กว่า IG และ twitter ที่จำกัดตัวอักษรในการทวีตค่ะ จะใส่อีโมจิหรือดึงความสนใจด้วยการเว้นวรรคก็ใช้กันแพร่หลาย
ทริคสำหรับนักการตลาดคือให้ใช้คำที่เฟรนลี่ เข้าใจง่ายมาพาดหัวค่ะ ไม่ต้องเป็นทางการมากเพราะไม่ใช่ email คนที่เล่นโซเชียลมักเป็นช่วงเวลาที่ก่อนเข้างาน เบรกกลางวัน หรือหาอะไรจรรโลงใจดู เจอโฆษณาก็อย่าให้รกหูรกตาเลยนะคะ มาธีมสนุกสนานจะเซฟจากการโดนกดบล็อกที่สุดค่ะ
#4 Public Relations Copywriting
อย่างที่ทุกคนทราบดีว่าเนื้อข่าวส่วนมากมักยาวววว แล้วจะทำยังไงให้คนอยากอ่าน หรือรู้ว่านี่คือข่าวอะไรในหมัดแรกดีล่ะ? ถ้าคนไม่อยากอ่านข่าวยาว ๆ การเขียน PR copywriting ให้ดี สรุปประเด็นสำคัญที่อยากจะสื่อให้ได้คือจุดสำคัญที่สุดนั่นเองค่ะ
หากเฮดไลน์ปัง แม้จะรู้แล้วว่าเป็นไอติมรสซอสน้ำปลาฮอตชิลลี่ครบรอบ 34 ปี แต่ก็มีโอกาสอยากกดเข้ามาอ่านรายละเอียดสูงมาก
ต้องใช้ความเข้าใจในเนื้อหา และฝึกจับประเด็นสำคัญ ดึงความน่าสนใจออกมา ฝึกบ่อย ๆ ทุกวันเชื่อว่ายังไงก็จะมีผลที่ดีขึ้นแน่นอน นักการตลาดที่กำลังเร่งเครื่องอยู่ก็อย่าลืมลองหาข่าวอ่านทุกเช้า แล้วเขียนเฮดไลน์เองทุกวันดูนะคะ
แนะนำสำหรับผู้อ่าน
Copywriting ทั้ง 4 ประเภทหลักที่นุ่นเอามาแชร์ในบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่นักการตลาดต้องเรียนรู้ต่อเท่านั้น ยังมีประเภทอื่น ๆ ที่ทุกคนควรศึกษาต่อเพื่อพัฒนาตัวเองไปอีก และอย่าลืมว่า Copywriting จะปังแค่ไหน Content writing ที่เป็นเนื้อหาข้างในสำคัญพอกัน ต้องใส่ใจทั้ง 2 จุดเพื่อให้ได้ทั้ง Attention และ Audience ที่นำไปสู่โอกาสทางการขายต่อนะคะ
ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง Brand ที่ต้องดึงศักยภาพและความเป็นตัวตน การเขียนแบบ SEO ที่จะช่วยดันหน้าเสิร์จ หรือการเขียนเพื่อโพสต์บน Social Media อื่น ๆ ที่ต้องตามแพลตฟอร์ม ไม่ใช้แพนเทินเดียวกันทั้งหมด สุดท้ายที่ยกมาคือการเขียนเฮดไลน์ข่าวให้สามารถบรรลุเป้าหมายของคำว่า ‘PR’ สรุปประเด็นให้เป๊ะ ดึงดูดให้คนเข้ามาอ่านต่อยิ่งดี
– ทักษะที่จำเป็น
ทักษะแรกคือความคิดสร้างสรรค์และจับประเด็น เข้าใจกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการอ่านอะไร สนใจอะไร คำไหนเรียกแขก รวมทั้งการเขียน วิเคราะห์ การสื่อสารที่ดีค่ะ ทั้งหมดนี้ไม่ยากถ้าฝึกทุกวัน
น่าเสียดายที่บทความนี้นุ่นต้องขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อน แต่ยังมี Copywriting 101 อื่น ๆ ที่นุ่นจะมาแชร์ในบทความหน้าอย่าลืมติดตามกันด้วยน้า