รวมมาให้แล้วจ้า! Copywriting เขียนแบบไหนได้บ้าง?

รวมมาให้แล้วจ้า! Copywriting เขียนแบบไหนได้บ้าง?

หนึ่งในงานที่สำคัญของการทำการตลาดและโฆษณาตั้งแต่อดีต – ปัจจุบันจะขาดงาน Copywriting ไปได้อย่างไรจริงไหมคะ ^ – ^

บางคนอาจจะใช้เวลากับน้องเป็นเดือน ๆ เพราะปรับแล้วปรับอีก หรือบางคนที่กำลังเริ่มศึกษา Marketing skill ก็ต้องทำความรู้จักและสนิทสนมกับ copywriting ไว้เลย แต่อย่าเร่งเร้าตัวเองมากเกินไป ขอแค่ฝึกฝนทุกวัน เชื่อว่ามันต้องมีผลลัพย์ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ ลองมาอ่านบทความนี้เป็นการเริ่มต้นทำความรู้จัก จะได้เอาไปใช้ได้โปรขึ้นนะคะ

ซึ่งในบทความนี้นุ่นเลือกเอา Type of copywriting ที่สำคัญ ๆ มาพูดคุยกับทุกคน 4 ประเภทหลักก่อนค่ะ

ขอแนะนำ Copywriting ให้รู้จักสั้น ๆ

Copywriting หรือ ‘การเขียนคำโฆษณา’ เป็นโทรโข่งขายของใช้ทำมาหากินของวงการการตลาดและโฆษณา

เรามักจะเห็นในรูปแบบสั้น ๆ แต่กระชับ ตรงประเด็น ไม่ยืดยาว ใครอยากฝึกเขียนให้เน้นไปทาง Shot Form

ป๊าดเดียว ป๊าดแรกต้องปัง Content ด้านในจะดีเลิศแค่ไหน สินค้าจะมีประโยชน์ล้นฟ้า แต่ Copywriting ไม่ส่ง ไม่เรียกแขกให้เข้ามาลองก็น่าเสียดายแย่เลยค่ะ 

ถือเป็นศิลปะหนึ่งในการโน้มน้าวนั่นเองค่ะ  ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่งานเขียน ชื่อบทความ ป้ายโฆษณา OOH โบรชัวร์ อีเมล ฯลฯ แต่รวมทั้งการพูดเกริ่นรายการ Podcasting TVC ก็ล้วนเป็นบทเริ่มจากงานเขียนทั้งสิ้น

Copywriting ที่น่าสนใจ

สร้างสรรค์ ตรงประเด็น มีประโยชน์กับการขาย เช่น อะไรว้าว? คุณลักษณะ ประโยชน์ และราคา คำอุทาน คำใหม่ ๆ อย่างตัวตึง อย่างจึ้ง เป็นต้นค่ะ 

นุ่นรู้ว่าทุกคนกำลังไถหาตัวอย่างอยู่ แต่ใจเย็น ๆ นะคะ จะใส่ให้ชมแน่นอนในพาร์ทถัดไป ที่เป็นพาร์ทหลักของเราต่อไปนี้ค่ะ :

Copywriting เขียนแบบไหนได้บ้าง?

จริง ๆ การเขียน copywriting สามารถเขียนได้เป็น 10 20 แบบ แต่มีจำพวกหลัก ๆ 4 ประเภทที่นักการตลาดจำเป็นต้องรู้เบื้องต้นค่ะ

#1 Brand Copywriting

เป้าหมายของการเขียนโฆษณาในรูปแบบ Brand คือสามารถทำให้แบรนด์เราเข้าไปเป็น Top of mind สร้าง Brand awareness ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นกันอยู่บ่อย ๆ เจอตั้งแต่จำความได้ 

จะใช้กับสินค้าหลักที่ขายมานานนนน หรือโปรโมตสินค้าใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวอย่าง IPAD mini จริง ๆ Apple เป็นแบรนด์ที่สร้างเสียงฮือฮาได้ทุกปีเพราะความเรียบง่าย แต่ Impact มาตลอดอยู่แล้วค่ะ

มีแบบสำรวจจาก Twitter รายงานว่า 70% อยากให้แบรนด์เขียนคำโฆษณาด้วยคำที่ถูกต้อง จริงใจ และเน้นแง่บวก งด Trigger ค่ะ จะเป็นการเน้นประสิทธิของสินค้า ใช้คำที่เข้าใจง่ายหรือตามกระแสหน่อย ไม่จำเป็นต้องตีลังกาพิมพ์วลี 4 สุภาพ แต่เน้น less is more ก็ไวรัลได้ค่ะ

www.songsue.co

เคสในไทยอีกเคสที่จำได้และอยากเอามาแชร์คือการเขียนโฆษณาของ Netflix ค่ะ จริง ๆ ก็จี๊ดกันหลายประเทศและเราเห็นกันอยู่ตลอด ด้านบนเป็นช่วงวันปีใหม่ ที่ชวนให้คนที่กำลังขับรถไปเที่ยวหัวหิน วนรถกลับมานอนดู Netflix สบาย ๆ ที่บ้านดีไหมจ๊ะ ถือเป็น OOH หนึ่งที่เป็นตัวอย่างน่าแชร์ อยากให้นักการตลาดไทยมาเล่นกันเยอะ ๆ จัง

ยิ่งถ้าหากเป็นแนว Pepsi vs Coke ในต่างประเทศที่แบรนด์แอบหยุมหัวกันบ่อย ๆ ฝั่งลูกค้าก็จกป๊อปคอร์นรอแล้วจ้า

นักการตลาดลองหาอ่านเคสแบบนี้ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อย ๆ และเอากลับมามองในแบรนด์ของเรา เผื่อจะมีไอเดียให้ต่อยอดในแคมเปญหน้าแบบปัง ๆ น้า

#2 SEO Copywriting

ช่วง 1 ปีที่ผ่านมาการตลาดวันละตอนมีบทความเกี่ยวกับ SEO Copywriting  และ SEO ให้อ่านแบบจุกเลยล่ะค่ะ อธิบายอย่างง่ายคือเป็นส่วนย่อย ที่สรุปมาจาก Content และมีความสำคัญในการดันบทความให้ติดอันดับสูงที่สุด เวลาเสิร์จบน google

เพราะเวลาลูกค้าสนใจจะซื้อสินค้า หรือหาข้อมูลอะไรซักอย่างเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ ก็มักจะใช้การเสิร์จบน googls นี่แหละ เลยทำให้ SEO copywriting สำคัญอันดับต้น ๆ ในการเรียกแขก ดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาเชยชมข้อมูลสินค้าของเรา หรือแบรนด์เรา

มีบทความที่แนะนำให้อ่านต่อ หากต้องการศึกษาอย่างจริงจังด้วยค่ะ >

#3 Social Media Copywriting

แต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีนโยบายที่ต่างกัน ไม่ควรใช้ 1 แคปชั่นหรือคำโฆษณาแพนเทินเดียวแล้วโพสต์ทุกแพลตฟอร์มค่ะ Facebook สามารถบรรยายยาว ๆ กว่า IG และ twitter ที่จำกัดตัวอักษรในการทวีตค่ะ จะใส่อีโมจิหรือดึงความสนใจด้วยการเว้นวรรคก็ใช้กันแพร่หลาย

ทริคสำหรับนักการตลาดคือให้ใช้คำที่เฟรนลี่ เข้าใจง่ายมาพาดหัวค่ะ ไม่ต้องเป็นทางการมากเพราะไม่ใช่ email คนที่เล่นโซเชียลมักเป็นช่วงเวลาที่ก่อนเข้างาน เบรกกลางวัน หรือหาอะไรจรรโลงใจดู เจอโฆษณาก็อย่าให้รกหูรกตาเลยนะคะ มาธีมสนุกสนานจะเซฟจากการโดนกดบล็อกที่สุดค่ะ

#4 Public Relations Copywriting

อย่างที่ทุกคนทราบดีว่าเนื้อข่าวส่วนมากมักยาวววว แล้วจะทำยังไงให้คนอยากอ่าน หรือรู้ว่านี่คือข่าวอะไรในหมัดแรกดีล่ะ? ถ้าคนไม่อยากอ่านข่าวยาว ๆ การเขียน PR copywriting ให้ดี สรุปประเด็นสำคัญที่อยากจะสื่อให้ได้คือจุดสำคัญที่สุดนั่นเองค่ะ

หากเฮดไลน์ปัง แม้จะรู้แล้วว่าเป็นไอติมรสซอสน้ำปลาฮอตชิลลี่ครบรอบ 34 ปี แต่ก็มีโอกาสอยากกดเข้ามาอ่านรายละเอียดสูงมาก

ต้องใช้ความเข้าใจในเนื้อหา และฝึกจับประเด็นสำคัญ ดึงความน่าสนใจออกมา ฝึกบ่อย ๆ ทุกวันเชื่อว่ายังไงก็จะมีผลที่ดีขึ้นแน่นอน นักการตลาดที่กำลังเร่งเครื่องอยู่ก็อย่าลืมลองหาข่าวอ่านทุกเช้า แล้วเขียนเฮดไลน์เองทุกวันดูนะคะ

แนะนำสำหรับผู้อ่าน

Copywriting ทั้ง 4 ประเภทหลักที่นุ่นเอามาแชร์ในบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่นักการตลาดต้องเรียนรู้ต่อเท่านั้น ยังมีประเภทอื่น ๆ ที่ทุกคนควรศึกษาต่อเพื่อพัฒนาตัวเองไปอีก และอย่าลืมว่า Copywriting จะปังแค่ไหน Content writing ที่เป็นเนื้อหาข้างในสำคัญพอกัน ต้องใส่ใจทั้ง 2 จุดเพื่อให้ได้ทั้ง Attention และ Audience ที่นำไปสู่โอกาสทางการขายต่อนะคะ

ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง Brand ที่ต้องดึงศักยภาพและความเป็นตัวตน การเขียนแบบ SEO ที่จะช่วยดันหน้าเสิร์จ หรือการเขียนเพื่อโพสต์บน Social Media อื่น ๆ ที่ต้องตามแพลตฟอร์ม ไม่ใช้แพนเทินเดียวกันทั้งหมด สุดท้ายที่ยกมาคือการเขียนเฮดไลน์ข่าวให้สามารถบรรลุเป้าหมายของคำว่า ‘PR’ สรุปประเด็นให้เป๊ะ ดึงดูดให้คนเข้ามาอ่านต่อยิ่งดี

– ทักษะที่จำเป็น

ทักษะแรกคือความคิดสร้างสรรค์และจับประเด็น เข้าใจกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการอ่านอะไร สนใจอะไร คำไหนเรียกแขก รวมทั้งการเขียน วิเคราะห์ การสื่อสารที่ดีค่ะ ทั้งหมดนี้ไม่ยากถ้าฝึกทุกวัน

น่าเสียดายที่บทความนี้นุ่นต้องขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อน แต่ยังมี Copywriting 101 อื่น ๆ ที่นุ่นจะมาแชร์ในบทความหน้าอย่าลืมติดตามกันด้วยน้า

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

source

source

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *