เทคนิคการใช้ ChatGPT ตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานสำหรับ Marketers

เทคนิคการใช้ ChatGPT ตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานสำหรับ Marketers

ต้องบอกว่าทุกวันนี้การแข่งขันในธุรกิจมีสูงมาก นักการตลาดก็ต้องปรับตัวเพื่อให้บริษัทสร้าง Compititive Advantage ซึ่งหมายความว่าปริมาณงานที่ต้องทำก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แล้วทีนี้จะทำยังไงในเมื่อเวลาแต่ละวันมีเท่าเดิม แต่ปริมาณงานกลับเพิ่มขึ้น ดังนั้นเหล่า Marketers ก็ต้องหาเครื่องทุนแรง ทีมการตลาดวันละตอนจึงนำ เทคนิคการใช้ ChatGPT เพื่อเป็นเครื่องทุนแรง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับ Marketers ค่ะ

ต้องบอกว่าเนื้อหา และ เทคนิคการใช้ ChatGPT ในบทความนี้ทีมการตลาดวันละตอนต้องขอขอบคุณ คุณ Prin Chamroenpanich  ที่เป็นคนนำข้อมูลเหล่านี้มาถ่ายทอดเรียกว่า เปิดโลกของ AI ไปอีกขั้นเลยก็ว่าได้

ขอบคุณภาพจากคุณ Prin Chamroenpanich 

ทบทวนความรู้จัก ChatGPT

ทุกท่านคงรู้จักเครื่องมือตัวนี้กันดีอยู่แล้ว เพราะค่อนข้างได้ยินบ่อย และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายกว่าตัวอื่น ๆ โดยคุณสมบัติหลักของ ChatGPT คือผู้ช่วยในการทำงานของเรา ซึ่งตอนนี้มี 2 โมเดล คือ ตัว 3.5 และ 4.0

ซึ่งข้อแตกต่างของสองตัวนี้ ผู้เขียนขออธิบายแบบนี้

สิ่งที่ควรรู้ ChatGPT 3.5

  • จะเป็นตัว Free มีการเก็บตัวข้อมูลถึง มกราคมปี 2022
  • จะคิดคำตอบค่อนข้างไวเมื่อเทียบกับตัว 4.0

สิ่งที่ควรรู้ ChatGPT 4.0

  • จะมีความฉลาดกว่า 3.5 มาก
  • แต่คิดคำตอบได้ช้ากว่า
  • เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ผ่าน Bing Browser
  • สามารถอ่านและ วิเคราะห์ รูป และ ไฟล์ ได้
  • ราคา 20$ ต่อเดือน

ซึ่งด้านบนคือข้อแตกต่างเบื้องต้นของทั้ง 2 ตัว แต่ทีนี้ผู้เขียนขอบอกว่าแบบนี้ ในการสั่งงาน ChatGPT ไม่ว่าจะเวอร์ชั่นไหนสิ่งที่ควรรู้คือ เราต้องมีการสั่งงานให้ละเอียด และ ชัดเจน รวมทั้งเพื่อให้การใช้ ChatGPT ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น เราควรกำหรด Role หรือ บทบาทให้กับมันก่อนเริ่มใช้งานค่ะ ดังนั้นขอเข้าสู่ เทคนิคการใช้ ChatGPT เทคนิคแรกกันเลยค่ะ

#1 Good Prompt, Good Responsen. Prompt ที่ดีสำหรับการสั่งงาน

อย่างที่บอกไป Prompt เพื่อให้การใช้ ChatGPT ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น เราควรกำหรด Role หรือ บทบาทให้กับมันก่อนเริ่มใช้งาน ดังนั้น Prompt ที่ดีควรประกอบด้วย

Prompt Structure : ChatGPT
[ Act as ] [ Verb ] [ What ] [ Insight ] [ Context ][ Format ][ Style ][ For Whom ]

  • [ Act as : บทบาทต้องการให้เป็นอะไร ]
  • [ Verb : ให้ทำอะไร เช่น สร้าง/อ่าน/วิเคราะห์ ]
  • [ What : เป็นการขยาย หรือ ระบุสิ่งที่ให้ทำก่อนหน้า ]
  • [ Insight : เป็นการขยาย เพิ่มรายละเอียดให้ชัดเจนในสิ่งที่ต้องการให้ทำ ]
  • [ Context : เป็นบริบทเพิ่มเติมว่าเราจะไปใช้ที่ไหน เพื่อให้ตรงกับบริบทที่เราต้องการ ]
  • [ Format : ต้องการให้แสดงข้อมูลออกมาในรูปแบบไหน]
  • [ Style : ให้โทนหรือสไตล์ของข้อมูลที่ออกมาเป็นแบบไหน]
  • [ For Whom : เป็นการระบุกลุ่มเป้าหมาย ว่าข้อมูลนี้จะนำไปใช้กับใคร]

ตัวอย่างเช่น as a marketer / please create / 10 content articles / for cosmetic business / for posting on Website / show in table form / make it Polite and formal / suitable for girl age 25-35

จากด้านบนจะเห็นว่าผู้เขียนให้ไฮไลท์สีไว้ 2 สี ซึ่งสีเหล่านี้มีความหมายคือ

  • สีฟ้า คือ คำสั่งที่คนส่วนใหญ่มักใช้สั่งเวลาใช้งาน ChatGPT
  • สีม่วง คือ คำสั่งที่ควรจะเป็นเมื่อเราสั่งงาน ChatGPT

นี่อาจเป็นเหตุผลที่หลากคนมองว่าเวลาสั่งงาน ChatGPT จะได้ข้อมูลไม่ตรงใจ ไม่ได้เหมือนที่อยากได้ ซึ่งความผิดพลาดอาจไม่ได้อยู่ที่โปรแกรม และอาจอยู่ที่การป้อนคำสั่งของค่ะ ซึ่งผุ้เขียนก็มีตัวอย่างการใช้ชุดคำสั่งนี้มาให้ชมด้วย

เริ่มจากหากเราสั่งด้วยคำสั่งที่คนมักใช้กัน คือ [ Verb ] [ What ] [ Insight ] : please create / 10 content articles / for cosmetic business โดยผู้เขียนเพิ่มคำสั่ง in thai เข้าไป เพื่อให้เนื้อหาออกมาเป็าภาษาไทย หรือ หากอยากได้ภาษาไทยทั้งหมดสามารถใช้เป็น answer in thai หรือ ans in thai ก็ได้ค่ะ

ซึ่งผลลัพธ์ หรือ คำตอบที่ได้ก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ

เทคนิคการใช้ ChatGPT ตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานสำหรับ Marketers

แต่ถ้าเราเป็ชุดคำสั่งเป็น [ Act as ] [ Verb ] [ What ] [ Insight ] [ Context ][ Format ][ Style ][ For Whom ] : as a marketer / please create / 10 content articles / for cosmetic business / for posting on Website / show in table form / make it Polite and formal / suitable for girl age 25-35 แทนแบบนี้

ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ

ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ ข้อมูลง่ายขึ้น และตัวคอนเทนท์ที่ออกมาจะมีความตรงกับความต้องการของเรามากขึ้นด้วยค่ะ ซึ่งเทคนิคนี้เราสามารถนไปปรับใช้กับชุดคำสั่งเวลาเราสั่งงานได้เลยค่ะ นอกจากนั้นผู้เขียนยังมี ตัวอย่าง Prompt สำหรับที่คนคิดไม่ออกว่าจะสั่งงานยังไงด้วยค่ะ ซึ่งเป็น เทคนิคการใช้ ChatGPT เทคนิคที่ 2 ที่เราจะนำไปใช้ค่ะ

#2 Example Idea for Prompt. ตัวอย่าง Prompt เพื่อเป็นไอเดีย

ตัวอย่างแรกจะพูดในส่วนของ Role หรือ บทบาท ว่าเราต้องการให้ ChatGPT Role Play เป็นอะไร หรือ ใคร อย่างในงานสายการตลาดก็จะมีหลายตำแหน่ง โดยเราสามารถกำหนดได้ดังนี้

Examples : Role ใช้ “As a + Rloe”

เช่น As a customer Relationship Manager

  • Customer Relationship Manager
  • Business Consultant
  • Advertising Specialist
  • Digital Marketer
  • Content Creator

ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เราสามารถกำหนดบทบาทให้กับ ChatGPT ค่ะ และอีกส่วนที่สำคัญ และ มีประโยชน์สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงก็คือ format ที่เราต้องการให้ข้อมูลแสดง โดยเราสามารถกำหนดได้ดังนี้

Examples : Format ใช้ “Show in + format”

เช่น Show in a structured list

  • Bullet Points รูปแบบนี้เหมาะสำหรับการแสดงข้อมูลเป็นข้อ ๆ โดยสามารถ เขียนเพิ่มได้ดังนี้

1. Comparative Analysis : การวิเคราะห์เปรียบเทียบ

Product A:

  • Price: $50
  • Features: Waterproof, 24-hour battery life
  • Best for: Outdoor sports

Product B:

  • Price: $45
  • Features: Sweat-resistant, 18-hour battery life
  • Best for: Gym workouts

ตัวอย่างการใช้งาน โดยหากต้องการสั่งภาษาไทย ให้เปลี่ยนจาก “Show as” เป็น “แสดงเป็น” แทนค่ะ อย่างตัวอย่างนี้ผู้เขียนกำหนดให้วิเคราะห์เปรียบเทียบน้ำหอม 2 ตัว โดยใช้ Prompt : ช่วยสร้างสถานการณ์ สินค้าน้ำหอม 2 ตัว โดยให้มีคุณสมบัติที่ต่างกัน แสดงเป็น Bullet Points แบบการวิเคราะห์เปรียบเทียบ

2. Timeline Events : เหตุการณ์ตามไทม์ไลน์

History of the Internet :

  • 1969: ARPANET launched, the precursor to the internet.
  • 1991: World Wide Web goes live to the public.
  • 2004: Facebook is founded.

ตัวอย่างการใช้งาน ผู้เขียนกำหนดให้วิเคราะห์เปรียบเทียบน้ำหอม 2 ตัว โดยใช้ Prompt : ช่วยอธิบายเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การสร้างน้ำหอม แสดงเป็น Bullet Points แบบเหตุการณ์ตามไทม์ไลน์

เทคนิคการใช้ ChatGPT ตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานสำหรับ Marketers

ซึ่งอีกหนึ่ง format ที่น่าใช้คือ การแสดงเป็น Mindmap แต่ในปัจจุบันถ้าเราจะให้ ChatGPT สร้างเลย ChatGPT จะไม่สร้างสามารถสร้างได้ด้วยตัวเอง แต่เราต้องนำ GPTs มาช่วยค่ะ ซึ่งจะขอเป็นเทคนิคที่ 3

#3 GPTs, the coolest assistant . ตัวช่วยสุดจึ้ง GPTs

อย่างที่ได้บอกไปหากเราต้องการแสดงข้อมูลเป็น mindmap เมื่อเราสั่ง ChatGPT ไป คำตอบที่ได้ก็จะเป็นแบบนี้

แต่อย่าเพิ่งหมดหวังไปค่ะ เพราะเรายังมีตัว GPTs ที่จะแก้ปัญหานี้ให้ค่ะ โดยให้สังเกตที่ซ้ายมือจะมีคำว่า Explore GPTs ให้เรากดเข้าไปค่ะ ซึ่งตรงนี้จะทำหน้าที่คล้ายกับ Plug-in ที่เข้ามาช่วยให้การทำงานบน ChatGPT ง่ายขึ้นค่ะ

ซึ่งพอกดเข้าไปแล้วก็จะมีเครื่องมือให้เลือกใช้มากมาย แต่ตัวที่ผู้เขียนจะแนะนำก็คือ Whimsical Diagrams ค่ะ โดยเจ้าตัวนี้จะเป็นคนสร้าง Mindmap ให้เรา แต่ข้อกำจัดคือข้อมูลที่จะสร้างต้องเป็นภาษาอังกฤษนะคะ

เทคนิคการใช้ ChatGPT ตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานสำหรับ Marketers

อย่างหากเราใช้ข้อมูลประวัติศาสตร์น้ำหอมด้านบนก็จะออกมาประมาณนี้ค่ะ เริ่มจากป้อนคำสั่ง Create Mindmap from this information แล้วก็วางข้อมูลลงไปค่ะ

เทคนิคการใช้ ChatGPT ตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานสำหรับ Marketers

หลังจากป้อนคำสั่งแล้วตัว Whimsical Diagrams ก็จะทำงานสักครู่ แล้วก็จะ Show mindmap ออกมาค่ะ ซึ่งข้อดีก็คือเราสามารถแก้ไขข้อมูล สีได้ด้วยหากเราต้องการค่ะ

โดยการแก้ไขสี หรือ ข้อมูลสามารถกดที่ด้านล่างสุด คำว่า “View or edit this diagram in Whimsical.” ค่ะ ก็จะเด้งหน้าจอไปยัง Whimsical ให้เราแก้ไขค่ะ

เราก็สามารถแก้ไขได้ตามต้องการค่ะ หากอ่านมาถึงตรงนี้รู้สึกว่ายุ่งยาก เพราะ ต้องเข้าไปใน GPTs แล้วนำข้อมูลไปวาง เหมือนทำงานซ้ำซ้อน แต่จริง ๆ มันมีวิธีที่ง่ายกว่านั้นด้วยค่ะ ซึ่งจะพูดในเทคนิคที่ 4 ค่ะ

#4 Knock, Knock Who’s There? เรียกเพื่อน GPTS เข้าแชทกันดีกว่า

อย่างที่บอกไปเราสามารถดึง GPTs เข้าแชทได้ด้วยค่ะ วิธีก็แสนง่ายเหมือนเวลาเราจะเรียกไปในไลน์ เพียงแค่พิมพ์ @ ตามด้วยตัว GPTs ที่เราต้องการ ทีนี้เราก็ไม่ต้องออกไปเข้า GPTs แล้วนำข้อมูลไปวางหลายรอบแล้วค่ะ

อย่างด้านบนคือเราคุยกับตัว ChatGPT อยู่ แล้วเราต้องการสร้าง mindmap จาก Whimsical ก็สามารถกด @ เข้ามาในแชทได้เลยค่ะ แล้วก็พิมพ์สั่งตามที่ต้องการ

ตัวข้อมูลก็จะออกมาเหมือนกับที่เราคุยผ่าน GPTs เลยค่ะ และยังสามารถแก้ไขได้เหมือนเดิมค่ะ

แต่ข้อจำกัดคือ เราต้องการมีเคยเข้าไปใช้งาน GPTs ตัวที่เราต้องการใช้ก่อนนะคะ อาจเป็นการเข้าไปทักทายว่า Hi เพื่อให้ GPTs เขารู้ตัวว่าเราจะเรียกเข้ามาในแชทค่ะ โดยเราทักแค่ครั้งเดียวก็พอค่ะ เหมือนเป้นการ Add Friend หลังจากนั้นครั้งหน้าถ้าจะใช้ก็ @ ได้เลยค่ะ ซึ่งอยากที่บอกไปเทคนิคเหล่านี้ ทีมการตลาดวันละตอนก็ได้เรียนรู้มาจาก คุณ Prin Chamroenpanich นั่นเองค่ะ ซึ่งทางคุณปริญเองก็มี GPTs ของตัวเองด้วยนะคะ

หากท่านไหนอยากทราบเทคนิคเชิงลึก หรือ ข้อมูลการใช้ AI ในการทำการตลาดแนะนำให้กดติดตาม คุณ Prin Chamroenpanich ไว้ได้เลยค่ะ

ส่วนท่านใดชอบ หรือ สนใจอยากอ่านบทความด้านการตลาดแบบนี้อีก ผู้เขียนฝากติดตามด้วยนะคะ หรือ ถ้าใครอยากให้ผู้เขียนนำมุมมองการตลาดแบบไหนมาเล่าให้ฟัง สามารถคอมเมนต์บอกกันได้เลยนะคะ 

สำหรับนักอ่านที่ชอบ และ อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม รวมถึงข่าวสารด้านการตลาดต่าง ๆ สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนได้เลยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะヽ(•‿•)ノ

Source Source

อยากอ่านบทความการตลาดเพิ่มเติม ลองเลือกอ่านบทความด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ

Mywmint

มิวมิ้น เรียก มิ้น ก็ได้ค่ะ ● ⋏ ● เป็น Junior Marketing Content Creator ของการตลาดวันละตอนค่ะ รับบท Marketer ฝึกหัด ٩(◕‿◕)۶ ตั้งใจสรรสร้างทุกบทความ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ และ ชอบนะคะ ขอฝากเนื้อฝากตัวไว้ด้วยฮะ ʕっ•ᴥ•ʔっ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *