Content Creator คืออะไร

Content Creator คืออะไร
Content Creator คืออะไร

“Content Creator” เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่กำลังมาแรงในโลกออนไลน์ในยุคนี้ หากพูดถึงไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันของคนยุคใหม่ มีการเข้าสู่โลกออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะวัยไหนก็สามารถเข้าถึงโซเชียลมีเดียได้อย่างทั่วถึง หากมองไปถึงอนาคตโลกออนไลน์เปรียบเสมือนโลกไร้พรมแดน ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสาร ขายสินค้า แสดงตัวตนได้อย่างไม่มีสิ้นสุด ปัจจุบันผู้คนหันมาใช้โซเชียลมีเดียในการหาความรู้ ซื้อสินค้า

ซึ่งอาชีพนี้สามารถสร้างตัวตนของตนเองเพื่อสร้างคอนเทนท์ให้มีเอกลักษณ์ นำมาสู่รายได้ให้กับตนเอง โดยอาชีพนี้จำเป็นต้องมีทักษะสำคัญในการทำ Storytelling เล่าเรื่องและการทำ Personal branding ให้คนจดจำเราได้ จากนั้นจึงค่อยใช้ข้อมูลที่เราสังเกตผู้ชมของเรามาวิเคราะห์ในการสร้างคอนเทนท์อย่างต่อเนื่องให้ผู้คนติดตาม

อาชีพ Content Creator คืออะไร

หากมองในมุมมองคนทั่วไป อาชีพนี้อาจจะต้องมีความเชี่ยวชาญทางด้านการเขียน การออกแบบกราฟิก หรือการเล่าเรื่อง โดยนำทักษะที่มีอยู่มาใช้ในการผลิตสื่อลงบนโลกโซเชียลให้ดูน่าสนใจ น่าติดตาม ผ่านการแสดงตัวตนของครีเอเตอร์ ที่ออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคลิปวิดีโอ รูปภาพ หรือข้อความ บนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, YouTube, TikTok โดยคอนเทนท์จะถูกนำเสนอเป็นรายวัน รายสัปดาห์ ก็ได้แล้วแต่กำหนด และจะได้รับผลตอบแทนเป็นรายได้ตั้งแต่เงินจากผู้เข้าชมจนไปถึงการมีคนมาจ่ายค่าสปอนเซอร์ให้เราทำการช่วยโปรโมทสินค้าหรือบริการของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

อาชีพนักสร้างคอนเทนต์ หรือ Content Creator

คือ ผู้ที่มีหน้าที่สร้างสรรค์และผลิตเนื้อหาบนสื่อต่างๆ บนโซเชียมีเดีย ทั้งสื่อออฟไลน์ และ ออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์ในการ สื่อสารเนื้อหาไปยังกลุ่มเป้าหมาย หรือ ผู้ติดตามบนช่องทางของตนเอง

ส่วนมาก Content Creator จะสื่อสารออกมาผ่านการเขียน การถ่ายวิดีโอ ตามหัวข้อต่างๆที่สนใจ และนำเสนอออกมาสู่ผู้ติดตาม อาชีพเหล่านี้มีอยู่หลากหลายรูปแบบ เช่น Influencer , Blogger , Vlogger  การทำอาชีพนี้อาจจะทำเองเพียงคนเดียว หรือทำภายในองค์กรก็ได้

Content Creator มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง

หากมองในมุมมองของคนทั่วไปอาจคิดว่า Content Creator มีหน้าที่ทำทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนจบไม่มีกระบวนการที่แท้จริง แต่ความจริงแล้วเราสามารถจำแนกหน้าที่ออกมาได้ชัดเจน ดังนี้

  1. ทำความรู้จักแบรนด์หรือสินค้า

ก่อนที่เราจะรีวิว หรือ สื่อสารสินค้าไปยังลูกค้า ครีเอเตอร์ต้องทำความรู้จักแบรนด์ก่อน มีการทดลองใช้ การเข้าถึงสินค้าอย่างแท้จริง เพื่ออธิบายถึงแบรนด์ไปยังลูกค้าได้ รวมถึงการวิเคราะห์กลุ่มป้าหมายของแบรนด์ ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ช่วงวัยอายุเท่าไหร่ สามารถนำเสนอออกมาแบบไหนเพื่อให้ถูกใจกลุ่มเป้าหมายนั้น เมื่อทราบสิ่งเหล่านี้แล้วครีเอเตอร์จะสามารถสื่อสารออกมาได้อย่างดี รวมถึงผู้ชมสามารถเข้าถึงแบรนด์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งที่กล่าวมานี้สามารถศึกษาได้จาก Business Canvas, SWOT, Customer Persona หรือ Communication Strategy Plan  ของแบรนด์นั้นได้

  1. ผลิต Content ให้เหมาะสมกับแบรนด์และสินค้า

เมื่อเราทำความรู้จักแบรนด์แล้ว ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ Mood & Tone ของคลิปที่ต้องการจะสื่อออกมาได้ ให้มีความเหมาะสม สร้างสรรค์ ผสมผสานกับเอกลักษณ์ของครีเอเตอร์และสินค้าของแบรนด์

  1. เขียนข้อความ ภาพ วิดีโอให้น่าดึงดูด

การที่เราจะทำให้กลุ่มเป้าหมายมาสนใจโพสต์ของเราได้ เราต้องจูงใจผ่านคำโฆษณาที่น่าสนใจ ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ด้วยคำอธิบาย และภาพหน้าปกที่น่าดึงดูดใจ

  1. วางแผนกำหนดการของ Content

ไม่ว่าอาชีพไหน การวางแผนในการทำงานถือเป็นเรื่องสำคัญ ในอาชีพ Content Creator ส่วนมากมักจะวางแผนเกี่ยวกับการนัดคุยกับลูกค้า วันที่คิดคอนเทนท์ วันที่ต้องการผลิตสื่อ วันที่ต้องโพสต์สื่อลงโซเชียล โดยการวางแผนจะช่วยให้งานสำเร็จเร็วขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

  1. ตรวจสอบความเรียบร้อยของ Content

เมื่อครีเอเตอร์ผลิตคอนเทนต์ออกมาเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการตรวจสอบความเรียบร้อยของคอนเทนต์ทั้งหมด ตั้งแต่ตรวจสอบว่าเนื้อหาและ Key Message ที่สื่อสารออกไปตรงตามความต้องการที่ได้รับจากแบรนด์หรือไม่ รวมถึงการตรวจสอบคำผิดทั้งข้อความบนรูปภาพ แคปชันหรือบนคลิปวิดีโอ

  1. ดูผลตอบรับของ Content หลังเผยแพร่

คอนเทนต์ที่ประสบความสำเร็จนั้นวัดผลได้จากยอด Engagement, View หรือ Search Engine ว่าผู้ชมมี Interact กับโพสต์นั้นอย่างไร ผู้ชมชอบคอนเทนท์แบบไหน แบบไหนที่ผู้ชมให้ความสนใจมากที่สุด ซึ่งสามารถช่วยในการวางแผนการทำคอนเทนท์ครั้งต่อไปได้

ประเภทของ CONTENT

  1. คอนเทนต์ประเภทงานเขียน

คอนเทนต์ประเภทนี้จะเป็นลักษณะของบทความ เช่น การเขียนบทความลงเว็บไซต์บล็อก หรือ  การเขียนรีวิว โดยส่วนมากครีเอเตอร์จะมีความชื่นชอบ และถนัดทางด้านการเขียนเป็นพิเศษ ผ่านการให้ความรู้ข้อมูล การเขียนรีวิวจากประสบการณ์ของตนเอง หรือเขียนคอนเทนท์จากความสนใจของตนเอง

  1. คอนเทนต์ประเภทรูปภาพ

คอนเทนท์ลักษณะนี้สามารถเห็นได้ตามแพลตฟอร์ม Facebook IG เนื่องจากเป็นแอปพลิเคชั่นที่พฤติกรรมของผู้บริโภคมีลักษณะของการดูรูปภาพเป็นอย่างแรก ในการตัดสินใจเข้าชม เช่น การทำ Infographic

  1. คอนเทนต์ประเภทวิดีโอ

เป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มัลักษณะบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบ Short Video มีความยาวไม่เกิน 3 นาที และแบบ Long Video เช่น การทำคลิปรีวิวบน tiktok , Instagram Stories ,Instagram Reels , Youtube

ทักษะสำคัญที่ CONTENT CREATOR ควรมี

Hard Skills

ช่วยให้ครีเอเตอร์สามารถออกแบบสร้างสรรค์ คลิปวิดีโอ รูปภาพ หรือกราฟฟิกต่าง ๆ ได้ ซึ่งทักษะเหล่านี้อาจได้เรียนรู้จากการทำงาน แล้วนำไปต่อยอดเป็นเทคนิคส่วนตัวในการทำงานในรูปแบบของตัวเอง โดยสมารถวัดผลได้อย่างชัดเจน

1.1 Research Skill (ทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูล)

เมื่อเราได้รับโจทย์จากลูกค้ามาเราควรมีการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งการค้นหาครีเอเตอร์ควรศึกษาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ มีที่มา สามารถอ้างอิงได้ และมีความถูกต้องแม่นยำ เพื่อนำมาปรับใช้กับคอนเทนท์ได้อย่างเหมาะสม

1.2 Creation Skill (ทักษะในการผลิตคอนเทนต์)

เมื่อครีเอเตอร์ได้รับโจทย์มา ควรมีความสามารถในการผลิตคอนเทนท์ให้มีความสร้างสรรค์ในแบบเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น การเขียนข้อมูล คำบรรยายในคลิป ลักษณะการตกแต่งภาพ การตกแต่งคลิป หรือวิธีการพูดให้มีความสร้างสรรค์ สามารถดึงดูดผู้ฟังได้ดี

1.3 SEO Skill (ทักษะความเข้าใจในการทำงานของ Search Engine)

เมื่อครีเอเตอร์สามารถวิเคราะห์ข้อมูล และเข้าใจการทำงานของ Search Engine ได้ ก็จะสามารถปรับให้ Content ของตัวเองไปเจอกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงทำให้คนเห็น Content ของเรามากยิ่งขึ้นผ่านการค้นหาผ่าน Keyword ซึ่งเป็นการเพิ่ม Awareness ให้กับ Content เราได้มากยิ่งขึ้น

1.4 Techincal & Program Skill (ทักษะในการใช้โปรแกรมและเครื่องมือในการทำงาน) 

ทักษะนี้เป็นการใช้โปรแกรมตั้งแต่การตกแต่งบทความ งานเขียน งานภาพ และงานวีดิโอ เช่น โปรแกรม Chat GPT, Photoshop, CANVA, Capcut, Final Cut Pro, Premiere Pro และ InShot เป็นต้น ทักษะเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญสายต่าง ๆ ซึ่งสามารถช่วยในการทำงานได้ง่ายขึ้น

1.5 Marketer Skill (ทักษะการทำการตลาด) 

ทักษะการส่งเสริมการตลาดให้ขายให้ถูกที่ ถูกเวลา มีความเข้าใจสินค้า แบรนด์ กลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี เพื่อตอบสนองความต้องการสูงสุดของลูกค้า 

1.6 Social Media Skill (ทักษะการใช้โซเชียลมีเดีย)

ครีเอเตอร์ต้องมีความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าในแต่ละแพลตฟอร์มว่ามีลักษณะนิสัยอย่างไร ชอบอ่านข้อความ ชอบดูจากภาพ หรือชอบดูเป็นแบบคลิปวิดีโอ สำหรับเนื้อหา Content ที่แตกต่างกันไปต่างกลุ่มเป้าหมายของผู้ชม

1.7 Storytelling Skill (ทักษะการเล่าเรื่อง)

ครีเอเตอร์สามารถใช้เทคนิคการพูด การเล่าเรื่องที่มีเอกลักษณ์ ลำดับความสำคัญของเรื่องราวให้ถูก น่าติดตามซึ่งถือเป็น Key Skill ที่ Creator หลายคนที่ประสบความสำเร็จมีเอกลักษณ์เฉพาะในการเล่าเรื่องของตัวเอง

Soft Skills

2.1 Adaptability Skill ( ความสามารถในการปรับตัว )

คอนเทนท์ส่วนมากที่ผู้คนให้ความสนใจ คือ คอนเทนท์ที่มีความทันสมัย ทันข่าวสารในโลกปัจจุบัน มีลักษณะคลิปที่มีความทันสมัย ดังนั้นครีเอเตอร์ควรมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อเทรนด์ใหม่ ๆ ในปัจจุบัน

2.2 Creativity Skill ( ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ )

เนื่องจากการทำคอนเทนท์ต้องผลิตสื่อขึ้นใหม่ในทุก ๆ ครั้ง แต่ละรอบอาจมีลักษณะแตกต่างกันไป ควรมีความสร้างสรรค์เพื่อสร้างคลิปที่มีความแตกต่างจากผู้อื่น เพื่อสร้างความโดดเด่นให้แก่ครีเอเตอร์เอง

2.3 Curiosity Skill ( ทักษะในอยากที่จะเรียนรู้ )

ครีเอเตอร์ควรเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา คอยตามกระแสและพฤติกรรมของผู้ชม เพื่อนำไปพัฒนาคอนเทนท์และพัฒนาตนเอง 

2.4  Detail-Oriented Skill (ทักษะในการใส่ใจรายละเอียด)

ทักษะในการใส่ใจรายละเอียดถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ Content Creator เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดต่อแบรนด์และครีเอเตอร์

2.5  Management Skill (ทักษะการจัดการ)

ทักษะในการจัดการ การวางแผน ลำดับความสำคัญของงาน เช่น คอนเทนท์ไหนควรทำก่อน ส่งก่อน วางกำหนดการการทำคอนเทนท์อย่างไร

สรุป

อาชีพนี้เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ต้องอาศัยทักษะทั้ง Hard Skill ควบคู่ไปกับ Soft Skill โดยจะมี Key Skill หลัก ๆ คือการทำ Storytelling หรือการเล่าเรื่องอย่างไรให้ผู้คนสนใจจนติดตามเรา นอกจากนี้อาชีพนี้ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงานออกมาตลอดเปรียบเสมือนการวิ่งมาราธอน ดังนั้นสำหรับคนที่ต้องการจะเริ่มต้นสายอาชีพนี้ ควรจะฝึกที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา โดยอาจจะเริ่มต้นจากการศึกษา Content Creator ที่เราชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นในช่องทางไหนก็ตาม เพื่อศึกษาวิธีการนำเสนอไอเดียของ Creator เหล่านั้น หรือการเล่าเรื่องของเขาว่าเขาเล่ายังไงให้เราอยู่ฟังจนจบ และเขามีการวางแผนในการนำเสนอ Content ของเขาอย่างไร

References

อ้างอิง 1, อ้างอิง 2, อ้างอิง 3, อ้างอิง 4, อ้างอิง 5, อ้างอิง 6

หากผู้อ่านต้องการอ่านบทความเพิ่มเติมโดยผู้เขียนสามารถกดที่ตรงนี้ได้เลย

Brainbruch

Analyst คนนึงที่ชื่นชอบการหาความรู้ใหม่ ๆ และอยากจะมาแชร์ให้ทุกคนได้ลองอ่านกันครับ!

One thought on “Content Creator คืออะไร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *