YouTube ลงคลิปเวลาไหนดี 2024 (ล่าสุด)

YouTube ลงคลิปเวลาไหนดี 2024 (ล่าสุด)

หลังจากแชร์บทความเกี่ยวกับเวลาที่ดีของแต่ละแพลตฟอร์ม ก็มาถึงคิวของ ‘YouTube ลงคลิปเวลาไหนดี’ แล้วค่ะ ซึ่งคนที่ใช้แพลตฟอร์ม YouTube หรือเหล่า YouTuber คงทราบกันดีว่าแพลตฟอร์มนี้ไม่เหมือนกับแพลตฟอร์ม Social Media อื่น ๆ แต่ก็มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจช่วยให้การลงคลิปไม่เลื่อนลอย

เพราะอย่างที่ทราบดีว่าแพลตฟอร์ม YouTube ได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญสำหรับการตลาดในยุคดิจิทัล เนื่องจากมีผู้ใช้จำนวนมากและเป็นแหล่งรวมคอนเทนต์วิดีโอที่หลากหลาย การตลาดผ่าน YouTube ช่วยให้ธุรกิจและผู้สร้างเนื้อหาสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ ผ่านวิดีโอที่สามารถสื่อสารเรื่องราว, ข้อมูลผลิตภัณฑ์, หรือบริการต่างๆ ได้อย่างชัดเจนและน่าสนใจ

การเลือกเวลาในการโพสต์วิดีโอบน YouTube จึงมีความสำคัญ ไม่ใช่แค่ในเรื่องของการเพิ่มการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมของผู้ชมเท่านั้นนะคะ แต่ยังรวมถึงการสร้างแบรนด์ การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ และการสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของผู้ชม หลาย ๆ แบรนด์ให้ YouTuber รีวิวหรือมาเยี่ยมชมบูธ เข้าร่วม Event และถ่ายคอนเทนต์เป็น Vlog ก็มีให้เห็นบ่อยมาก ๆ และคนก็ชอบดูคลิปแนวนี้ค่ะ ฟีลได้รู้เบื้องหลัง

เพราะฉะนั้นเป็นเหตุผลว่าทำการโพสต์วิดีโอในเวลาที่เหมาะสมเลยสำคัญค่ะ ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงวิดีโอของเอย ทำให้ผู้ชมมีโอกาสเห็นและมีส่วนร่วมกับเนื้อหาได้มากขึ้นเอย~

ที่สำคัญ ที่หลายคนอาจลืมนึกถึง คือการโพสต์วิดีโออย่างสม่ำเสมอในเวลาที่กำหนดยังสามารถช่วยสร้าง Loyalth เล็ก ๆ ให้คนที่เป็น SUB ของเราอยู่ เพราะเค้ารู้แล้ววันเดี๋ยววันศุกร์ 1 ทุ่มเราลงคลิปแน่ รีบกินข้าวอาบน้ำรอเลย

เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่าทำยังไงดีให้การลงคลิปไม่แป๊ก แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสําหรับเวลาที่จะโพสต์บน YouTube ในปี 2024 คืออะไรค่ะ

Local Timezone Asia/Bangkok

Best Times to Post on You – Most active Followers Time Zones วิเคราะห์จากพื้นที่และไทม์โซนประเทศไทย ตารางด้านบนคือเวลาที่คนไทยมีการออนไลน์ (Active) โดยรวมค่ะ เวลาค่อนข้างชัดเจนมาก ๆ ระหว่างวันธรรมดาและวันเสาร์อาทิตย์

  • วันจันทร์: 14.00 / 15.00 / 16.00 (บ่ายแก่ ๆ)
  • วันอังคาร: 14.00 / 15.00 / 16.00 (บ่ายแก่ ๆ)
  • วันพุธ: 14.00 / 15.00 / 16.00 (บ่ายแก่ ๆ)
  • วันพฤหัสบดี: 12.00 / 13.00 / 14.00 / 15.00 (เที่ยง – บ่าย)
  • วันศุกร์: 12.00 / 13.00 / 14.00 / 15.00 (เที่ยง – บ่าย)
  • วันเสาร์: 09.00 / 10.00 / 11.00 (ช่วงสาย)
  • วันอาทิตย์: 09.00 / 10.00 / 11.00 (ช่วงสาย)

วันธรรมดาแอบเล่นในเวลาเรียน หรือเวลางานกันเยอะเลย พอมากลางสัปดาห์ก็ปรับมาเร็วขึ้นเป็นเที่ยง ๆ แต่ที่น่าสนใจคือวันหยุดอย่างเสาร์อาทิตย์ตื่นเช้ามาดู YouTube กันเลย~ เผลอ ๆ ตื่นเช้ากว่าวันที่ต้องไปทำงานซะอีกนะคะ ครีเอเตอร์ต้องปรับตามพฤติกรรมการดูด่วน ๆ เลยล่ะค่ะ โพสต์ก่อนเวลาด้านบนซัก 2 – 3 ชั่วโมงนะคะ

อ้างอิงจาก Hubspot Social Media Marketing report ร่วมกับนักการตลาดมากกว่า 300 ราย ได้ผลสำรวจที่น่าสนใจเกี่ยวกับเวลาที่ไม่เหมาะจะการเผยแพร่วิดีโอบน Youtube นั่นคือวันจันทร์เพราะอาจจะเป็นวันที่แย่ที่สุดในการทํางานบน Youtube ถัดมาคือ > วันอังคาร > และ วันพุธ เพราะฉะนั้นทุกคนอาจต้องประชุมกันทีมและนัดแนะลงวันลงคอนเทนต์เป็นวันอื่นแทนที่ไม่ใช่ จันทร์ – พุธ นะคะ

อ้างอิงจาก Hubspot วันที่ควรปักไว้ลงคอนเทนต์บน YouTube มากที่สุดคือวันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ผู้เขียนวิเคราะห์ว่าอาจเพราะเป็นวันแห่งการพักผ่อน อัปเดตคอนเทนต์ประจำสัปดาห์เพราะได้เลิกงานอยู่บ้าน~

และนอกจากนี้อย่างที่เราทราบกันว่า YouTube Algorithm เองไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลมากนัก แต่มีทริคต่าง ๆ ที่น่าสนใจและมีความเป็นไปได้มากมายที่นำไปปรับใช้ได้ทันที ลองหน่อยก็ไม่มีอะไรเสียหายน้า~ 

นอกเหนือจากเวลาโพสต์ต้องเช็คตามนี้ควบคู่ด้วย

  • Video Format: Shorts vs Long-form: อยากให้ลองตัดจากคลิปตัวเต็มให้เป็น YouTube Shorts เพื่อเพิ่มโอกาสในการมองเห็น และให้คนตามมาดูคอนเทนต์ตัวเต็มต่อ ให้ลงประมาณ 07.00 – 10.00 โมง ส่วนวิดีโอแบบ Long-form มักจะได้ยอดเอนเกจดีกว่าในตอนเย็นค่ะ อาจเพราะเลิกงานแล้ว มีเวลาดูคลิปยาว ๆ ได้
  • แนวโน้มของคู่แข่งและอุตสาหกรรม: อย่าลืมส่งข้างบ้านนะคะ ปรับโพสต์ให้ไม่ทิ้งห่างมากหรือสอดคล้องกับเพื่อนบ้าน แต่ในมุมนึงก็ต้องสลับแหวกคนละเวลาอย่างสิ้นเชิงไปเลย

เคล็ดลับโพสต์บน YouTube ในปี 2024 ให้ปัง

  • ตั้งชื่อคลิปให้มี keyword ที่สื่อความหมายตรง ๆ รวมทั้งคําอธิบายใต้คลิป คําบรรยายภาพ และแท็ก
  • ถ้ามีคอมเมนต์เข้ามาให้รีบไปตอบกลับ
  • ติดตามการเปลี่ยนแปลงอัลกอริธึมและทดสอบตารางการโพสต์ใหม่ ๆ
  • ใส่การ์ดแนะนำวิดีโอถัดไป หลังจบคลิป

แนะนำการใช้ YouTube Analytics เบื้องต้น

ใครยังไม่เคยคลิกเข้ามาที่ฟีเจอร์ฟรีอย่าง YouTube Analytics คือเครื่องมือที่จะให้ข้อมูลสถิติและการวิเคราะห์สำหรับช่อง YouTube ช่วยให้เราเข้าใจ Audience ได้ดีขึ้นและเห็นว่าคอนเทนต์ของเราปังหรือแป๊ก และสำหรับนักการตลาดแล้ว YouTube Analytics เป็นเครื่องมือที่มีค่ามาก ลองใช้ตามนี้นะคะ:

  1. Log in to YouTube Studio: ต้องเข้าสู่ระบบด้วยบัญชี Google ที่ใช้สำหรับช่อง YouTube ที่มีอยู่แล้ว และเมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว คลิกที่ไอคอนของบัญชี > ที่มุมขวาบนและเลือก > ‘YouTube Studio’
  2. Accessing YouTube Analytics: ใน YouTube Studio > คลิกที่ ‘Analytics’ เพื่อดูข้อมูลสถิติต่าง ๆ ได้เลย
  3. Study Different Dimensions and Metrics: YouTube Analytics ให้ข้อมูลหลากหลายมากค่ะ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนผู้ชม, เวลาที่ดู, แหล่งที่มาของการเข้าชม, ข้อมูลประชากรผู้ชม, และอื่น ๆ นักการตลาดควรใช้เวลาศึกษาและเข้าใจความหมายของแต่ละเมตริกนะคะ ^^
  4. Analyze Data to Improve Your Channel: อย่าลืมใช้ข้อมูลที่ได้จาก Analytics เพื่อปรับปรุงคอนเทนต์ต่อ ๆ ไป ให้ดูว่าวิดีโอตัวไหนได้รับความนิยม คอนเทนต์ที่คนสนใจมากที่สุดคืออะไร และเวลาไหนที่คนดูมากที่สุด
  5. Utilize Reports and Graphs: ใครกลัวอ่านกราฟไม่เป็น ไม่ชอบตัวเลข อยากให้เปิดใจใช้ YouTube Analytics เพราะรีพอร์ตเค้าจะมีการ visualize data ที่ช่วยให้เข้าใจง่ายมาก สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลตามช่วงเวลาที่คุณต้องการศึกษาได้ด้วยค่ะ
  6. Track Results After Making Improvements: หลังจากที่ปรับปรุงคอนเทนต์ตามข้อมูลที่ได้จาก YouTube Analytics ให้กลับมาตรวจสอบผลลัพธ์เพื่อดูอีกทีเรื่อย ๆ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างไหม
  7. Stay Updated with New Features of YouTube Analytics: เหมือนกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ เลยค่ะ โดยเฉพาะ TikTok ที่เค้าขยันพัฒนามาก YouTube เค้าก็มีการอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ ๆ อยู่เสมอเหมือนกัน ติดตาม news and updates เพื่อใช้งาน Analytics ได้อย่างเต็มศักยภาพนะคะ

อยากฝากการใช้ YouTube Analytics อย่างมีประสิทธิภาพให้ได้นะคะ เพราะจะช่วยให้คุณเข้าใจ Audience จริง ๆ นำไปสู่การพัฒนาช่องของคุณให้ปังขึ้น รู้ว่าคนชอบให้ทำคอนเทนต์แบบไหน หรือใส่​ Keyword ดีพอแล้วหรือยัง ควรใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการตัดสินใจทำคอนเทนต์และการตลาดในอนาคตนะคะ

นอกจากนี้อย่าลืมลองโพสต์คลิปในวันและเวลาใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อค้นหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุด พฤติกรรมของ Audience ของคุณจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไปค่ะ เราเลยต้องยืดหยุ่นตาม แล้วคุณจะไม่ต้องเสิร์จหา YouTube ลงคลิปเวลาไหนดี อีกแล้ว ให้ใช้การวิเคราะห์จากเครื่องมือที่วัดมาจากช่องของตัวเองนะคะ

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

source source

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *