แคมเปญ Pepsi Phone Coolers ดับร้อนด้วยเสียงความถี่ จากตู้แช่เย็น

แคมเปญ Pepsi Phone Coolers ดับร้อนด้วยเสียงความถี่ จากตู้แช่เย็น

แคมเปญ Pepsi ที่หยิบมาเล่าให้นักการตลาดฟังในวันนี้คือ Phone Coolers ซึ่งบริบทมีความน่าสนใจมากทั้งในแง่กลยุทธ์การสื่อสาร และคอนเซปต์ที่นำมาใช้ก็คงความเป็นแบรนด์เครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นเป็นอย่างดีเลยค่ะ

ในโลกที่แบรนด์ต่าง ๆ ขยันปล่อยไอเดียความคิดสร้างสรรค์ที่เต็มไปด้วยนวัตกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคกันไม่มีใครยอมใคร Pepsi ก็เป็นอีกเจ้าที่น่าจับตามองค่ะ แคมเปญนี้เป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องดื่มสุดคูลกับเทคโนโลยีที่เจ๋งสุด ๆ ตอกย้ำว่าถ้าคุณอยากจะจิบอะไรที่เย็นสดชื่น ท่ามกลางอากาศร้อนระอุที่ไม่ใช่แค่ตัวเรา สมาร์ทโฟนเราก็เตือนบ่อยมากว่า overheat จนไม่สามารถชาร์จแบตได้ในเวลาเร่งรีบ

เรามาดูกันว่าแบรนด์จะงัดไม้ไหนมาทำให้แคมเปญนี้น่าสนใจ ที่นักการตลาดต้องศึกษาไว้เป็นไอเดียต่อยอดค่ะ แอบกระซิบว่าแคมเปญนี้ช่างเหมาะจำทำในเมืองไทยซะเหลือเกินนะคะเนี่ย~

ก่อนอื่นเรามาดูวิดีโอโฆษณากันก่อนเลยค่ะ

โดยวิดีโอโฆษณา 30 วินาทีนี้แบรนด์ได้ลงไปยังแพลตฟอร์ม TikTok และ Reels ควบคู่เพราะต้องการขยายเอนเกจไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ถูกจุดค่ะ เพื่อให้เห็นดีไซน์ของตู้แช่เย็นที่สดชื่นของเป๊ปซี่ในสไตล์ที่หลากหลาย พร้อมด้วยเสียงเครื่องทำความเย็นที่คุ้นเคยจากตู้เย็น

ดูจบครั้งแรกผู้เขียนแอบขมวดคิ้วนิดหน่อยแต่ก็ใช้เวลาไม่นานในการทำความเข้าใจค่ะ อย่างที่เราเห็นว่าแคมเปญ “Pepsi Phone Coolers” นี้เน้นไปที่การขาย Pepsi Zero Sugar ผ่านตู้แช่เย็นที่มีเสียงความถี่ระบายความร้อน เอาใจลูกค้าที่กำลังกระหายความเย็นสดชื่น พร้อมกับช่วยให้สมาร์ทโฟนที่รักในมือได้ระบายความร้อนไปด้วยกัน

Gen Z Engagement Code

แคมเปญ Pepsi Phone Coolers
Shutterstock AI GEN prompt : A man in a hot environment is visibly sweating as he uses his smartphone. The phone’s screen displays a warning message indicating it is overheating, highlighting the struggle to maintain technology in extreme conditions.

ความจริงแล้วในยุคที่ใคร ๆ ก็มีสมาร์ทโฟนเป็นอวัยวะที่ 33 ไม่ใช่แค่ GEN Z เท่านั้นที่ overheat เพราะอากาศและกิจวัตรประจำวันที่หลายคนต้องก้มหน้าหลายชั่วโมงต่อวัน และสมาร์ทโฟนกลายเป็นมากกว่าเครื่องมือสื่อสาร ทั้งใช้ทำงาน ท่องโลกโซเชียล ดูหุ้น เทรดทอง เพราะฉะนั้นใคร ๆ ก็คงเจอแจ้งเตือน overheat ไปตาม ๆ กัน ยิ่งเวลารีบแล้วชาร์จแบตไม่ได้นี่อยากกรี๊ดอัดหม้อซะจริง~

เอาล่ะเกือบจะไหลออกนอกเรื่องแล้ว กลับมาที่ปัญหาความร้อนสูงเกินไปของโทรศัพท์ Pepsi เลยจับมาเล่นกับคอนเซปต์ของแบรนด์ที่อยากนำความเย็นสดขื่นมาให้กันค่ะ ว่าเค้าใช้นวัตกรรมอะไรมาเล่นในแคมเปญนี้บ้าง

ดึงดูดด้วย multi-sensory สร้างประสบการณ์ที่มากกว่า 1 สัมผัส

multi-sensory ที่ว่านั้นก็นับตั้งแต่ ดีไซน์ที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และความเย็นสดชื่อที่ได้สัมผัสค่ะ จะขาดก็แค่กลิ่น (Scent Marketing) เพราะตู้เย็นดิจิทัลเหล่านี้ใช้เสียงความถี่สั้นคงที่ ตามยาวเลียนแบบตู้เย็นแบบเดิม ๆ เสียงนี้จะช่วยผลักอนุภาคอากาศภายในสมาร์ทโฟนของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ อธิบายง่าย ๆ คือเสียงในความถี่นี้ตะช่วยให้ระบายอากาศได้นั่นเองค่ะ

แชร์เพิ่มเติมจาก Mauricio Bernal, Senior Marketing Manager ในส่วน soft drinks ของบริษัท PepsiCo ที่ได้ให้ความเห็นไว้ว่า เป๊ปซี่จะมุ่งเน้นแคมเปญหรือกิจกรรมทางการตลาดเพื่อย้ำว่าเราเป็นเครื่องดื่มที่เติมความสดชื่นได้ดีที่สุดต่อไป นอกจากนี้เป๊ปซี่พยายามรวมเทคโนโลยีที่เหมาะกับแบรนด์ เช่นการแนะนําเทคโนโลยี Phone Coolers ผ่านตู้เย็นดิจิทัล Pepsi Zero Sugar ในแคมเปญนี้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่เราจะคอนเนคกับลูกค้ากลุ่มคนคนรุ่นใหม่อีกด้วย

โดยสรุปแล้ว แคมเปญ Pepsi Phone Coolers นี้ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในวงการเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงออกถึงวิสัยทัศน์ของ Pepsi ที่มุ่งมั่นในการนำเสนอสินค้าที่เป็นมากกว่าเครื่องดื่ม แต่เป็นการผสมผสานระหว่างไลฟ์สไตล์และเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว ด้วยความคิดสร้างสรรค์นี้ Pepsi Zero Sugar จึงไม่เพียงแค่ครองใจผู้บริโภคด้วยความแมสเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะแบรนด์ที่สามารถสร้างการคอนเนคกับลูกค้าได้เป็นอย่างดีทั้งทางอารมณ์และสไตล์การใช้ชีวิตที่ทันยุคทันสมัยไม่ตกขบวน

หลังจากเคสนี้ทำให้นุ่นนึกถึงแนวคิด “culture in, brand out” หมายถึงเป๊ปซี่คอยสำรวจและติดตามเทรนด์ที่มีผลทางการตลาดอยู่เสมอ ที่หลายแบรนด์ควรทำตามค่ะ ทำให้เราเห็นแคมเปญจาก Pepsi ที่ผ่านมามากมายที่ใช้ K-POP ในการช่วยสื่อสาร และให้เป็นปัจจุบัน ทั้งในฐานะพรีเซ็นเตอร์ หรือ Music Marketing

ยังมีแนวคิดหนึ่งที่ผู้เขียนเคยแชร์มาเมื่อนานมากแล้วคือ หนึ่งในอาวุธไม่ลับของ ‘Pepsi’ ที่ใช้ Social Listening ช่วยวางแผนธุรกิจ แบรนด์หรือนักการตลาดที่สนใจกลุ่มลูกค้าที่เป็น smartphone centric ไอเดียนี้น่าจะช่วยให้เห็นแนวทางไม่มากก็น้อยเลยใช่ไหมล่ะคะ หวังว่าจะชอบเคสที่นำมาฝากกันในวันนี้ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

source source

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *