การตลาด Coca-Cola ยกย่อง โลโก้ สตรีทอาร์ท สะท้อนแบรนด์ระดับโลก

การตลาด Coca-Cola ยกย่อง โลโก้ สตรีทอาร์ท สะท้อนแบรนด์ระดับโลก

Coca-Cola แบรนด์เครื่องดื่มชื่อดังระดับโลก ที่เราชาวไทยรู้จักกันอย่างดี ในชื่อ”โค้ก “ ที่เราดื่มแล้วชื่นใจ ในความซ่า น้ำดื่มที่ดับกระหายของคนไทยในหน้าร้อนได้ดี ซึ่ง การตลาด Coca-Cola ได้ เปิดตัวแคมเปญโฆษณาที่แสนจะสร้างสรรค์ “Every Coca-Cola is Welcome” ที่ยอมรับและยกย่องความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินและร้านค้าท้องถิ่นทั่วโลก

แคมเปญนี้ถือเป็นการแหวกแนวจากกลยุทธ์การตลาดแบบเดิมๆ ด้วยการนำเสนอโลโก้ Coca-Cola ในรูปแบบศิลปะข้างทาง ที่สร้างสรรค์โดยเจ้าของร้านค้าและศิลปินจากหลากหลายประเทศ

เพราะโดยปกติ แบรนด์ส่วนใหญ่ต่างหวงแหน Logo มาก เพราะถือเป็ยทรัพย์สินทางปัญญา ที่มีเคสตัวอย่าง การฟ้องร้องเรื่อง Logo ลิขสิทธิ์กันมาเยอะแย่ง วุ่นวาย เสียเงินกันมาเป็นหลายล้านก็มี แต่ Coca-Cola เลือกที่จะเดินสวนทาง เขาได้ยกย่องภาพวาดlogo Coca-Cola ตามท้องถนน แม้ว่ามันจะไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ จากแบรนด์ก็ตาม

โลโก้ Coca-Cola เปิดตัวครั้งแรกในปี 1887 และยังคงเอกลักษณ์ไว้ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง นับเป็นโลโก้ที่ผู้คนทั่วโลกจดจำได้ง่ายที่สุด โลโก้นี้ถูกนำไปตีความใหม่และเลียนแบบโดยธุรกิจและศิลปินสตรีทอาร์ทมานานหลายปี โดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ

การตลาด Coca-Cola

เพราะโลโก้ Coca-Cola ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมทั่วโลก การตลาด Coca-Cola สร้าง แคมเปญโฆษณาชุดนี้ ประกอบด้วยสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณากลางแจ้ง เช่น ตามถนนหนทาง ป้ายรถเมย์ ร้านอาหารข้างทาง โดยเริ่มเผยแพร่ใน 5 ประเทศ ได้แก่ บราซิล เม็กซิโก อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา รวมถึง ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่โดดเด่นกลาง Times Square นครนิวยอร์ก

แคมเปญนี้มุ่งเน้นการยอมรับผลงานศิลปะข้างทางเหล่านี้ ซึ่งสะท้อนถึงเสน่ห์ ความคิดสร้างสรรค์ และความจริงแท้ ที่ศิลปิน “นอกระบบ” นำเสนอสู่แบรนด์ แม้จะเป็นงานศิลปะที่ไม่ได้วาดโดยดีไซน์เนอร์มืออาชีพ แต่กลับเต็มไปด้วยเสน่ห์และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งบางครั้งผลงานออกแบบโลโก้แบบเป็นทางการก็เทียบไม่ได้ แถมยังอาจตีความเป็นการเหน็บแนม AI ปัญญาประดิษฐ์อีกด้วย ซึ่งเจ๋งมาก ๆ

การตลาด Coca-Cola

การตลาด Coca-Cola ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า Coca-Cola แสดงให้เห็นว่าเคารพและสนับสนุนกา สร้างสรรค์ของผู้บริโภค แทนที่จะฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่กลับสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า และภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ แสดงให้เห็นว่า Coca-Cola เป็นแบรนด์ที่เข้าถึงได้ เข้าใจ และชื่นชอบวัฒนธรรมท้องถิ่น

นอกจากสื่อโฆษณาแล้ว แคมเปญนี้ยังมีการขยายไปยังช่องทางอื่นๆ เช่น วิดีโอชุดพิเศษบน Youtube และ Instagram ที่จะเล่าเรื่องราวของเจ้าของร้านค้าผู้สร้างสรรค์โลโก้เหล่านี้ ดีไซน์เหล่านี้ยังถูกนำไปผลิตเป็นกระป๋องพิเศษมอบให้แก่เจ้าของร้านค้าด้วย

การตลาด Coca-Cola

ในวิดีโอแสดงให้เห็นเจ้าของร้านค้าและศิลปินท้องถิ่นผู้สร้างสรรค์โลโก้เหล่านี้ และปิดท้ายวิดีโอด้วยการนำเสนอโลโก้ 4 เวอร์ชั่น ในโทนสีแดงและขาว อันเป็นสีประจำแบรนด์ ซึงสื่อสารออกมาได้ดี ถึงการยกย่อง logo พวกนี้ขึ้นมา ซึ่งจุดเด่นของผลงานศิลปะข้างทางเหล่านี้ คือ ความดิบ ความจริงใจ และความคิดสร้างสรรค์ ที่แตกต่างจากงานออกแบบโลโก้แบบเป็นทางการนั้นเอง

แคมเปญนี้ช่วย กระตุ้นการมีส่วนร่วม เชิญชวนให้ผู้คนแบ่งปันโลโก้ Coca-Cola สไตล์สตรีทอาร์ทของตัวเองบนโซเชียลมีเดีย สร้างกระแสไวรัลและเพิ่มการรับรู้ในแบรนด์ เสริมสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ Coca-Cola ซึ่งได้วางภาพลักษณ์ตัวเองเป็นแบรนด์ที่ทันสมัย เข้าใจเทรนด์ และเข้าถึงได้ ทำช่วยให้ Coca-Cola เชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายรุ่นใหม่ได้ดีขึ้น

ยังสามารถสร้างโอกาสที่ดีจากการหยิบโลโก้สไตล์สตรีทอาร์ทเหล่านี้ไปใช้ในแคมเปญโฆษณาในอนาคต หรือพัฒนาสินค้า limited edition ที่ออกแบบโดยศิลปินสตรีทอาร์ทได้อีกด้วย

การตลาด Coca-Cola
การตลาด Coca-Cola

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2024 Coca-Cola ปล่อยโฆษณาออกมา ซึ่งแต่ละภาพมาพร้อมกับโลเคชั่นและชื่อธุรกิจที่โลโก้ปรากฏอยู่ ทางเอเจนซี่เผยว่า โลโก้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเหล่านี้ ยังถูกนำไป “ผสานเข้ากับ logo ของแบรนด์อีกด้วย

แคมเปญ Every Coca-Cola is Welcome จึงสะท้อนตวามเป็นแบรนด์สากล หรือแบรนด์ระดับโลก ยังสนับสนุนโดยซีรีส์คอนเทนต์ รวมถึง บทสัมภาษณ์เจ้าของร้านค้าที่โลโก้ปรากฏบนภาพวาด

อิสลาม เอลเดสซูคี รองประธานฝ่ายกลยุทธ์ครีเอทีฟและคอนเทนต์ระดับโลกของ Coca-Cola กล่าวในแถลงการณ์ว่า “มันวิเศษมากที่ได้เห็นการตีความโลโก้ Coca-Cola ที่เป็นเอกลักษณ์และเฉพาะตัว ภาพเหล่านี้มีความหมายและทรงพลัง ป้ายร้านค้าท้องถิ่นที่สะท้อนสีสันของวัฒนธรรมและบุคลิกภาพของชุมชน เรารู้สึกภูมิใจที่ได้เฉลิมฉลองและยอมรับผลงานของพวกเขา”

เพราะ Coca-Cola กำลังถูกตีความใหม่ในทุกมุมโลก ผ่านการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์มากมาย การตีความใหม่เหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะโลโก้ Coca-Cola ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมทั่วโลก”แม้ว่า Coca-Cola จะอนุญาตให้ใช้โลโก้ของตนได้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่โลโก้จะถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม จึงต้องดูในระยายาว

และรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนศิลปินสตรีทอาร์ทและผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง

User-generated Content หรือ UGC คือเนื้อหาคอนเทนต์ทุกประเภทที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยเหล่าผู้บริโภคตัวจริงและมีความเกี่ยวข้องกับสินค้า บริการหรือแบรนด์ของคุณโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นโพสต์รีวิวสินค้าบน Facebook ภาพถ่ายคู่กับสินค้าที่ถูกโพสต์ลงใน Instagram ทวีตต่าง ๆ บนเว็บไซต์อย่าง Twitter จนไปถึงบทความและกระทู้บนเว็บบอร์ดทั่วไป ซึ่งต้องเป็นคอนเทนต์ที่ไม่ได้เกิดจากคนที่มีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ ไม่ใช่อินฟลูเอนเซอร์ และไม่ใช่คนที่ได้ผลประโยชน์จากแบรนด์นั่นเอง

“Every Coca-Cola is Welcome” จึงเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด ที่ดึงดูดผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์ผ่านโลโก้สตรีทอาร์ท แคมเปญนี้กระตุ้นให้ผู้คนออกแบบโลโก้ Coca-Cola ของตนเอง ถ่ายรูป แชร์บนโซเชียลมีเดีย และแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์

แคมเปญ “Every Coca-Cola is Welcome” นำเสนอภาพลักษณ์ Coca-Cola ในฐานะแบรนด์ระดับโลกที่มีความเป็นสากล เข้าถึงผู้คนได้หลากหลาย เคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรม เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

โดยรวมแล้ว แคมเปญ “Every Coca-Cola is Welcome” เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สร้างสรรค์ แคมเปญนี้ช่วยให้ Coca-Cola เชื่อมต่อกับลูกค้า สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่ทันสมัย และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ อย่างไรก็ตาม Coca-Cola จำเป็นต้องติดตามผลลัพธ์ของแคมเปญนี้อย่างใกล้ชิด และปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมด้วย

ซึ่งแคมเปญนี้คล้ายคลึงกับแคมเปญ “Share a Coke” ของ Coca-Cola ในปี 2013 ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการดึงดูดกลุ่มเป้าหมายรุ่นใหม่ แคมเปญนี้ยังสอดคล้องกับเทรนด์ “consumer-generated content” ที่แบรนด์ต่าง ๆ กำลังใช้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้า

อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source

Issariya Ittiphumtana

"เฟ'ริน " Junior Marketing Content Creator การตลาดวันละตอน สายออกแบบกราฟฟิก ที่กำลังฝึกเขียนบทความการตลาด ซึ่งมีความชื่นชอบดื่มชาเขียวเป็นชีวิตจิตใจ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *