Data-driven Consumer Product พลิกโฉมขวดเบียร์สู่มาตราวัดน้ำฝน

Data-driven Consumer Product พลิกโฉมขวดเบียร์สู่มาตราวัดน้ำฝน

ในบทความนี้เราจะพามารู้จักกับแคมเปญการตลาด Nativa Meter จากแบรนด์ Nativa แบรนด์เบียร์โคลัมเบีย ที่เล็งเห็นถึงปัญหาของเกษตรกร จึงปรับใช้ Data-driven แปลงโฉม Consumer Product ให้กลายเป็นนวัตกรรมแบบบ้าน ๆ ด้วยแนวคิดที่สุดแสนจะ Simple แต่ได้ผลอย่างเหลือเชื่อ

เป็นหนึ่งในแคมเปญในซีรีย์ของ Cannes Lions ที่ผู้เขียนมองว่าแนวคิดและวิธีการในการปรับใช้ Data มันสุดแสนจะง่ายดาย ใช้งานได้ไม่ยากแถมมาด้วยแนวคิดที่ง่าย ๆ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราอาจคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

สำหรับท่านใดที่คิดการทำการปรับใช้ Data ในการทำธุรกิจหรือทำการตลาดจะต้องยุ่งยาก ต้องมีข้อมูลที่มหาศาล แนวคิดจะต้องสุดลึกล้ำเหลือแสนจะกำหนด ถึงเราจะสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้ หวังว่าแคมเปญ Nativa Meter ในบทความนี้จะเป็นประตูในการเปิดโลกทัศน์ที่มีต่อการใช้ Data ในอีกมุมมองนึงว่าบางที สิ่งที่ใกล้ตัวก็สร้างความยิ่งใหญ่ได้🥰

ที่มาที่ไปของแคมเปญ— เกษตรกรประสบปัญหาผลผลิตเสียหายจากภัยน้ำ ที่คาดการณ์ไม่ได้ในหน้าฝน

Nativa แบรนด์เบียร์จากโคลัมเบีย เป็นเบียร์ที่มีเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือทำมาจาก ‘มันสัมปะหลัง’ (Cassava) ซึ่งเจ้ามันสัมปะหลังเป็นพืชที่นิยมปลูกโดยเกษตรกรในโคลัมเบีย และ Nativa เองก็ได้ใช้มันสัมปะหลังเหล่านี้ที่ปลูกโดยเกษตรกรต่าง ๆ มาทำเป็นเบียร์

ทว่าปัญหาที่เกษตรกรชาวโคลัมเบียต้องเจออยู่ทุกปีและเผชิญมาตลอดคือ ผลผลิตเสียหายเนื่องจากภัยน้ำที่คาดการณ์ไม่ได้ในหน้าฝน ยิ่งฝนตก ดินแฉะ รากเน่า ผลผลิตเสียหาย ปุ๋ยใส่ไปก็ละลายไปกับน้ำ เสียเปล่าที่เงินค่าปุ๋ยไปอีก ไหนจะปัญหาระหว่างการเก็บเกี่ยวที่มีอุปสรรคจากฝน ทำให้การทำงานล่าช้า บางทีก็เกิดอุบัติได้อีก เรียกได้ว่าปัญหาล้านแปดที่เกษตรกรต้องเผชิญ

คำถามถัดมาคือ…ต้นตอของปัญหาคืออะไร? น้ำฝน? หรือเกษตรกรที่ไม่รับมือได้ดีพอ?

พอเรามาเปลี่ยนมุมมองในการมองหาต้นตอของปัญหาจริง ๆ แล้วทาง Nativa พบว่า ตัวร้ายของปัญหาไม่ได้เกิดมาจากน้ำฝนหรือการที่เกษตรกรรับมือได้ไม่ดีพอ ไม่เตรียมพร้อมกับหน้าฝน แต่จริง ๆ แล้วคือ เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่บอกกับพวกเขาได้ว่า สภาพอากาศ การพยากรณ์ฤดูกาลเป็นอย่างไรต่างหาก

เพราะใช่ว่าเกษตรกรทุกคนจะมีทรัพยากรมากพอที่จะเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ลองนึกภาพเกษตรบ้านเราก็ได้ค่ะ คนที่เขาทำไร่ ทำสวนแบบที่ไม่ได้มีทุนมากพอ การเข้าถึงเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ยาก โทรศัพท์สักเครื่องบางคนก็ยังไม่มี หรือมีแต่ก็ใช่ว่าจะเป็นรุ่นที่ Functional มากพอ แค่ใช้โทรเข้าโทรได้พอใจแล้ว เพราะบางทีก็ใช้ไม่เป็น

ในปี 2022 เกษตรกรชาวโคลัมเบียสูญเสียฟาร์มพืชผลมากกว่า 4.9 ล้านเอเคอร์ (12.4 ล้านไร่) ในช่วงฤดูฝน

เมื่อฤดูฝนมาเยือน ทำให้ผลผลิตของพวกเขาเสียหาย เพราะคาดการณ์อะไรไม่ได้เลย ต่อให้จะอาศัยประสบการณ์ในการทำไร่ ทำสวนมากคาดคะเน แต่ไม่ใช่ทุกครั้งที่จะตรงตามสัญชาติญาณเสมอไป ยิ่งในปัจจุบันที่โลกเราต้องพบเจอกับสภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้อันเนื่องมาจากปัญหาโลกร้อน ทำให้การคาดคะเนมันผิดพลาดไปหมด

พอผลพลิตเสียหาย ไม่ใช่แค่ฝ่ายเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบแต่แบรนด์เองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต

ซึ่งนี่ถือเป็นฝันร้ายของคนทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะนอกจากจะกระทบไลน์การผลิตแล้ว ยังต้องทำให้แบรนด์อาจต้องปรับราคาสินค้าอีกหากวัตถุดิบขาดแคลนจริง ๆ ต้องไปขวนขวายแหล่งวัตถุดิบเพิ่มเติมมาเติมเต็มในส่วนที่ขาด ฯลฯ เป็นปัญหาที่กระทบต่อกันไปเป็นลูกโซ่

พลิกโฉมขวดเบียร์ สู่ Data Visualized มาตราวัดน้ำฝนที่คนทั่วไปก็เข้าใจได้

ทำให้ Nativa จึงเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ โดยการทำเป็นแคมเปญการตลาด Native Meter ตรงตามชื่อแคมเปญเลยค่ะว่าต้องเป็น Meter เกี่ยวกับหน่วยวัดอะไรสักอย่าง ซึ่งในที่นี้ก็คือ มาตราในการวัดปริมาณน้ำฝน

โดยออกแบบฉลาดขวดเบียร์ใหม่ให้มีแถบวัดปริมาณน้ำฝน เมื่อฝนตกก็ให้เอาขวดไปตั้งไว้เพื่อรองวัดปริมาณน้ำฝน และด้านข้างของขวดก็จะมีฉลาดข้อมูลแปะบอกไว้ว่าหากน้ำถึงระดับเท่านี้ เป็นการตกของฝนในระดับใด ปลอดภัยหรืออันตรายกับพืชที่ปลูก ระดับน้ำฝนเท่านี้ปลอดภัยหรือควรเตรียมตัวรับมือ เช่น เปิดระบายน้ำในฟาร์ม หรือขุดร่องดินให้สูงขึ้น พืชจะได้ไม่ต้องจมน้ำ

แล้วทำไมต้องเป็นขวดเบียร์?

อย่างที่กล่าวในตอนต้นว่า Nativa เป็นแบรนด์ที่ขายเบียร์ ขวดเบียร์คือทรัพยากรที่แบรนด์มี การที่จะไปวิ่งหาสิ่งอื่นมาทำ อาจเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับแบรนด์ และการใช้เทคโนโลยีอาจไม่ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมาย เพราะพวกเขาไม่คุ้นชินที่ใช้ (ดูได้จากโอกาสในการเข้าถึงและพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี)

ซึ่งเบียร์กับเกษตรเป็นเสมือนเพื่อนคู่ใจกันอยู่แล้ว ทำงานมาเหนื่อย ๆ ได้พักดื่มเบียร์เย็น ๆ เป็นโมเมนท์ความสุขที่หาอะไรมาเทียบก็ไม่ได้ เมื่อแบรนด์รู้ Insight ดังนี้จึงใช้ Data Insight ตรงนี้มาทำการปรับโฉมขวดเบียร์ซะเลยนั่นเองค่ะ

เหตุผลอีกอย่างคือ การทำให้พวกเขาเหล่านั้นเข้าใจถึงความซับซ้อนของข้อมูลอย่างปริมาณน้ำฝนจะต้องใช้หลักการ Visualization ที่เข้าใจง่ายและตรงกับกลุ่มเป้าหมายด้วย ถ้าเราให้ข้อมูลสถานการณ์สภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝนเหมือนกับข้อมูลที่เราเห็นจากกรมอุตุนิยมวิทยา ปัญหาที่ตามมาอีกต้อมีอีกเยอะแน่นอนค่ะ

นึกภาพเหมือนเราที่เป็นคนธรรมดา ไม่ได้คลุกคลีอยู่กับนักวิชาการด้านสภาพอากาศ มาเห็นข้อมูลที่ยึกยือ โยงนู่น ชี้มาที่นี่ กราฟวุ่นวายเต็มไปหมด เราก็คงไม่เข้าใจถูกไหมคะ หรือต่อให้เข้าใจก็คงเข้าใจไม่เต็มร้อยอยู่ดี ดีไม่ดีเข้าใจผิดอีก

Nativa Meter แคมเปญที่ใช้ Data-driven Consumer Product พลิกโฉมขวดเบียร์สู่มาตราวัดน้ำฝน

Nativa Meter ไม่ได้เป็นแคมเปญที่ใช้ Data พลิกโฉมขวดเบียร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังทำ Data-driven Consumer Product ให้ครบวงจรโดยการช่วยเหลือเกษตรกรในการวิเคราะห์ข้อมูลให้อีกด้วย โดยสร้างทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรมาช่วยตอบคำถาม ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือบน WhatsApp ที่เกษตรสามารถสแกนได้จากบนฉลากบนขวด

ในปัจจุบัน มีฟาร์มมากกว่า 260,000 เอเคอร์ ราว 657,800 ไร่ (ไทย) ที่เข้าร่วมแคมเปญและแบรนด์ตั้งเป้าไว้ในปี 2025 ว่าจะครอบคลุมให้ได้ 50% ของฟาร์มทั้งหมดในภูมิภาค ถ้าหากทำได้สำเร็จตามที่หวังไว้ ผู้เขียนเองมองว่าจะเป็นอีกก้าวของการปรับใช้ Data ที่จะช่วยยกระดับภาคการเกษตรให้ดีขึ้นได้ค่ะ

สรุป Nativa Meter แคมเปญที่ใช้ Data-driven Consumer Product พลิกโฉมขวดเบียร์สู่มาตราวัดน้ำฝน

เราจะเห็นได้เลยว่าสิ่งที่แบรนด์ทำ ไม่ได้เป็นการทำเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคม ทำ CSR เพียงอย่างเดียว แต่แบรนด์ยังคำนึงไปถึงระยะยาวผ่านการคิด วิเคราะห์ เข้ามานั่งในใจของเกษตรซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบหลักให้กับแบรนด์ว่าพวกเขาเผชิญปัญหาอะไรอยู่ แบรนด์สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง

Netiva Meter เป็นแคมเปญที่ขับเคลื่อนโดย Data-driven Consumer Product ที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็น Record ของปริมาณน้ำฝนที่นำมาสู่การสร้างมาตราวัด, Insight ของเกษตรกร ผู้ใช้จริงที่นำมาสู่การพลิกโฉมขวดเบียร์ และยังทำให้เราได้ข้อคิดในอีกมุมว่า การที่จะทำ Data Visualization ให้ดีเราจะต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายของเราด้วย สื่อสารถึงใครต้องออกแบบให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดและทำให้ User Experience ดีขึ้นนั่นเองค่ะ

การปรับมุมมองและใช้ประโยชน์จาก Data ที่มี ไม่จำเป็นต้องใช้อะไรมากเลยค่ะ แค่ใช้ที่มีและดึงประโยชน์ออกมาให้ได้สูงสุด เหมือนกับ Nativa ที่เปลี่ยนขวดเบียร์ให้พัฒนาไปสู่อีกขั้นจาก Insight ของผู้ใช้ ผสมผสานกับ Data อื่น ๆ ที่มีจนกลายมาเป็นแคมเปญเจ๋ง ๆ ที่นำมาแชร์กันในบทความนี้ค่ะ🥰

สำหรับท่านใดที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการเกษตรที่ปรับใช้ Data แนะนำให้อ่านบทความ –> Lay’s Smart Farm เทคโนโลยีการเกษตร ที่ขับเคลื่อนด้วย Data และ AI เป็นอีกหนึ่งแคมเปญที่เจ๋งไม่แพ้กันและไม่ควรพลาดที่จะเข้าไปเก็บไอเดียค่าาา

หวังว่าตัวอย่างเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source: https://www.campaignasia.com/article/nativa-turns-used-beer-bottles-into-rain-gauge-meters-to-support-colombian-farmer/483947

https://www.lbbonline.com/news/nativa-meter-bavaria-ab-inbev-and-lc-new-york-craft-initiative-to-support-colombian-farmers

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *