Social Listening Analytics ขายบัตรคอนเสิร์ต โพสต์แบบไหน ใช้คีย์เวิร์ดอะไร

Social Listening Analytics ขายบัตรคอนเสิร์ต โพสต์แบบไหน ใช้คีย์เวิร์ดอะไร

ตัวอย่างการทำ Social Media Analytics จากเคสที่เป็นประเด็นร้อนตลอดปี กับพฤติกรรทการโพสต์ ขายบัตรคอนเสิร์ต ซึ่งจัดทำเพื่อเป็นแนวทางการวิเคราะห์ Social Data และนำไปสู่การพัฒนา After-Sale Service หรือ Solution ใหม่ค่ะ

ตัวอย่างการใช้งานเครื่องมือเพื่อมอนิเตอร์และวิเคราะห์เทรนด์ที่เกิดขึ้นบนโซเชียล อย่างการขายบัตรคอนเสิร์ตต่อ เป็นการติดตามการซื้อขายว่าหลังลูกค้ากดจองหรือกดซื้อไปแล้ว เกิดอะไรขึ้นต่อ เพื่อเป็นแนวทางการวิเคราะห์ให้นักการตลาดหรือนักวิเคราะห์นำไปปรับใช้กับสินค้าตัวเอง

เพราะสิ่งที่สำคัญมากกว่าการโปรโมตหรือทำการตลาด คือการดูแลให้บริการหลังการขายเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ปัจจุบันเนื่องจากกฏหมายและข้อบังคับจากผู้จัดงานมักไม่อนุญาตให้มีการส่งต่อหรือซื้อขายจากบุคคลที่สามเอง บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้น

แต่ปัจจุบันด้วยปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นการกดบัตรเพื่ออัพราคา หรือมีการโกงเกิดขึ้นทำให้แฟนคลับหรือผู้ที่ต้องการไปงานแสดงจริง ๆ ไม่สามารถซื้อบัตรในราคาปกติได้

ดังนั้นเราจะมาเริ่มใช้ Social Listening Tools ช่วยกวาด Social Data เข้ามา และวิเคราะห์ดูกันก่อนว่าพฤติกรรมการซื้อขายบัตรมีคีย์เวิร์ดคำว่าอะไรบ้าง มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขายต่อจะเป็นอย่างไร เพราะหลายบริษัทที่เป็นผู้จัดหรือตัวกลางการจำหน่ายตั๋วต่างมีขอบเขตการทำงานของตัวเองอยู่แล้ว ว่าสามารถรับผิดชอบการซื้อขายผ่านเว็บไซต์เท่านั้น

*บทความนี้เขียนเพื่อให้เห็นมุมมองที่กำลังเกิดขึ้นและเป็นปัญหาเรื้อรังเท่านั้น เผื่อว่าผู้ที่เกี่ยวข้องหรือธุรกิจที่สนใจจะเข้ามาเป็น Solution เสริมจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อค่ะ

Keyword การขาย

keyword เหล่านี้เป็นคำที่ใช้เมื่อต้องการขายบัตรต่อค่ะ

  • ปล่อยบัตร 51% เป็นคำง่าย ๆ คนที่ใช้มีทั้งร้านกดบัตร และเจ้าของบัตรเอง
  • ส่งต่อบัตร 18% คำนี้คนที่ใช้จะเป็นเจ้าของบัตรเองแทบจะ 100% ค่ะ
  • ขายบัตร 16% หลังพยายามกรองโพสต์จากผู้จัดงานไปก็จะเป็นแอคหลุมและเจ้าของบัตรโพสต์
  • WTS 8.5% หรือย่อมากจาก want to sell ส่วนมากเป็นงานที่ต่างชาติให้ความสนใจด้วย เลยเป็นการเปิดแผงให้คนไทยและต่างชาติรู้ว่าต้องการขาย
  • บัตรดีล 6.5% คำนี้เป็นคำเรียกของบัตรอัพราคาสูง เริ่มต้นใช้มาจากร้านกดบัตรที่รับดีลหลังบ้าน หลัง ๆ ใช้กันเยอะกับการขายบัตรที่ not original price

อย่างไรก็ตามการขายบัตรต่อเป็นการละเมิดและไม่ถูกกับนโยบายการขายบัตรของหลาย ๆ เจ้านะคะ

Platform โพสต์ขายคือ Twitter 86%

ขายบัตรคอนเสิร์ต

ไม่แปลกใจเลยที่ทำไหม Twitter จึงเป็นแพลตฟอร์มหลักเพราะมีการใช้แฮชแท็กชื่องานในการโพสต์ได้ และเป็น community ของเหล่าแฟนคลับนั่นเองค่ะ และ Engagnment stat ก็ไม่ได้มีความสำคัญนัก เพราะเค้าไปคุยซื้อต่อกันหลังไมค์ ไม่ได้ต้องการความกระโตกกระตากว่าฉัะขายต่อบัตรค่ะ

จากประสบการณ์ในแวดวงมาก 6 ปี รวมทั้งหาข้อมูลมาก่อนหน้าแล้วทำให้รู้ว่า Youtube และ Instagram ไม่ใช่แพลตฟอร์มที่นิยมโพสต์ขายบัตรต่อ เพราะไม่เรียลไทม์เท่า Facebook Twitter และ TikTok 

เป็นเหตุผลว่าทำไมบทวิเคราะห์นี้เราจะเลือกฟิลเตอร์แพลตฟอร์มเหลือแค่ 3 ช่องทางหลักโดยเครื่องมือ Social Listening เพื่อให้ได้ข้อมูลมาเป็นตัวอย่างในบทความนี้ค่ะ อย่างไรก็ตาม ในการวิเคราะห์เทรนด์ต่าง ๆ หากไม่แน่ใจหรือไม่คุ้นเคยกับเรื่องที่ต้องการวิเคราะห์ แนะนำให้กวาดข้อมูลจากทุกแพลตฟอร์มก่อน ในครั้งแรก เพื่อให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ จากทุกมุมมอง บางทีอาจไม่เคยรู้ว่าก่อนว่าลูกค้าของเราอยู่ในแพลตฟอร์มนี้ก็เป็นได้ค่ะ 

การที่เราฟิลเตอร์แพลตฟอร์มควรทำก็ต่อเมื่อมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนจริง ๆ เช่น ต้องการโฟกัสช่องทางนี้เท่านั้นในการทำการตลาด หรือมีการรีเสิร์จมาซักพักจนแน่ใจแล้วว่าต้องการข้อมูลจาก Facebook กับ Twitter เท่านั้นเป็นต้นค่ะ

ทำไมถึงขาย

บอกเลยว่าเหตุผลมีไม่มาก แม้จะจับเป็นตัวเลขไม่ได้ แต่สามารถลิสต์เป็นประเด็นไว้ทำต่อได้เลยค่ะ

  • ขายต่อเพราะมีบัตรหลายใบ จ้างร้านกดบัตรเยอะ
  • ขายต่อเพราะต้องการย้ายที่นั่ง
  • ขายต่อเพราะติดธุระไปไม่ได้แล้ว
  • ขายต่อเพราะซื้อมาอัพราคา

หนึไม่พ้น 4 ข้อนี้วนไปแน่นอนค่ะ ซึ่งฟีเจอร์ของผู้จำหน่ายตั๋วก็จะมีการให้เปลี่ยนที่อยู่ผู้รับนะคะ แต่ก็ต้องนำบัตรไปขายต่อเองอยู่ดี ไม่เหมือนเว็บของเกาหลี (วิเคราะห์จากประสบการณ์ส่วนตัว) ที่สามารถกดคืนตั๋วได้

การรับตั๋วคืนหรือช่วยลูกค้าขายบัตรต่ออาจจะยุ่งยากแต่ถ้าทำได้บอกเลยว่าชาร์จเซอร์วิสได้อีกเยอะค่ะ

ปัญหาอาจอยู่ที่เว็บขายบัตรของไทยไม่มีให้กดคืนตั๋วกลับสู่ระบบ

แม้จะมีอยู่เจ้านึงที่กดยกเลิกได้หากยังไม่ชำระเงิน แต่ส่วนมากใคร ๆ ก็รีบจ่ายเพราะกลัวไม่มีบัตรกันทั้งนั้นแหละค่ะ การจะขอคืนออเดอร์หรือคืนบัตรในไทยนั้นทำได้ยากมาก ๆ ต้องเป็นกรณีคอนเสิร์ตยกเลิก หรือต้องเสียเงินซื้อประกันเพิ่มก็มีเงื่อนไขมากมาย ต่างจากเกาหลีที่กดคืนแล้วรอไม่นานก็คืนที่นั่งเข้าระบบได้เลย ไม่ต้องใส่เหตุผลหรือเตรียมเอกสารจุกจิกอย่างกับติดต่อราชการ

Pattern การโพสต์

สิ่งที่จำเป็นต้องมีเมื่อโพสต์ขายบัตรจากการอ่าน Social Data แล้วมีดังนี้

  • Keyword จั๋วหัวว่าต้องการขาย
  • ขายบัตรอะไร
  • โซนที่นั่ง
  • ราคา
  • ไม่บอกราคา ที่นั่งดีมาก ๆ เป็นที่ต้องการสูง มักใช้กับบัตรที่สามารถขายได้ในราคาสูงมาก ๆ แต่ไม่อยากโพสต์กลัวดราม่า
  • ช่องทางการติดต่อ นัดรับได้ไหม
  • แฮชแท็กของงานแสดง

ผู้ขายเป็นใคร

จากประสบการณ์และการอ่านโพสต์ทั้งหมดแล้วสามารถร่าง segment ที่เป็นคนขายบัตรได้ดังนี้

  1. ร้านกดบัตร 
  2. ร้านรับดีลบัตร
  3. แอคเคาท์หลุม
  4. เจ้าของบัตรขายเอง 
  5. เพื่อนฝากขาย

FYI สำหรับนักการตลาดหรือนักวิจัยที่อยากวิเคราะห์ลูกค้าลองเข้ามาอ่านพฤติกรรมการโพสต์ของลูกค้าบ่อย ๆ และร่างประเด็นที่สำคัญเอาไว้ อย่างผู้ขายนี้หากไม่ใช้คนที่อยู่ในแวดวง ก็จะไม่รู้เลยว่าใครต้องการขายบัตรต่อบ้างค่ะ เราจะได้พิจารณาต่อว่าต้องจัดการยังไงให้เหมาะสมต่อ ให้ใส่ชื่อผู้ถือบัตรไหม? หรือมีการยันยันตัวตน คำถามเฉพาะแฟนคลับตัวยงก่อนกดบัตร จะได้ไม่มีบัตรผีเยอะมาก

HOT ISSUE เกี่ยวกับการขายบัตรต่อ

ประเด็นการโกงบัตร มีให้เห็นทุกงาน

สิ่งนี้เป็นประเด็นที่ต้องเตือนกันทุกอย่างแต่ก็ยังมีให้เห็นตลอด เพราะการซื้อขายบัตรคอนเสิร์ตเป็นการเล่นกับใจสุด ๆ แฟนคลับกดบัตรไม่ได้แต่ก็ต้องการที่นั่งดี ๆ เลยเลือกจะซื้อต่อจากผู้ที่มีบัตร หรือจ้างร้านกดบัตร สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมื่อโอนเงินไปแล้วคนขายหนีหาย บล็อค หรือใช้บัญชีม้าในการหลอกหลวง

สิ่งที่แฟนคลับสามารถป้องกันได้และแชร์ในโซเชียลคือห้ามโอนก่อน ให้นัดรับเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้เพราะอยู่ต่างจังหวัดบ้างล่ะ หรือกลัวคนขายจะให้บัตรกับคนที่พร้อมจ่ายก่อนบ้างล่ะ เว็บ Backlist เช็คไปก็ไม่รู้ว่าจะช่วยได้มากแค่ไหน

นอกจากนี้การเข้าจ้งความก็มีน้อยเคสมาก ๆ ที่จะได้เงินคืนค่ะ อย่างที่บอกว่ามิจฉาชีพใช้บัญชีม้าในการรับโอน หรือทรูวอตเล็ตซึ่งตามตัวจริงได้ยาก ตรงนี้เป็นความท้าทายให้กับผู้จัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปว่าจะลดปัญหาตรงนี้ยังไงได้บ้าง ความร้อนใจของคนที่อยากได้บัตรมันรุนแรงจริง~

ประเด็นการใช้บอทจองบัตรแถวหน้า

ประเด็นนี้ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่เป็นที่พูดถึงในงานที่ศิลปินดังมาก ๆ บัตรแถวหน้าจะขายได้ราคาสูงเกิน 10 เท่าของราคาหน้าบัตร (ส่วนตัวผู้เขียนเจอบ่อยกับงานต่างประเทศค่ะ) ใครเคยกดบัตรในเว็บเกาหลี Interpark จะรู้เลยว่าแถวหน้าบอทเรียบแทบทั้งหมด

จากการอ่าน Social Data แล้วสามารถลองสรุปเป็นเส้นทางการขายบัตรต่อดังนี้ค่ะ จะเป็นเฉพาะช่วงขายต่อเท่านั้นนะคะ ไม่เกี่ยวกับการจองก่อนหน้า จะเห็นว่าช่องทางที่โพสต์ขายอันดับ 1 ก็คือ Twitter ซึ่งเป็น community หลักและมักคุยผ่าน DM หรือกล่องข้อความในทวิตเตอร์ต่อเลย บางเจ้าก็ให้ Add Line ต่อเลยเพราะไม่ถนัดใช้ Twitter อาจเพราะต้องการกรองให้เหลือคนที่ต้องการซื้อบัตรจริง ๆ

ในอีกมุม Line เป็นช่องทางที่มิจฉาชีพชอบใช้ติดต่อเช่นกันค่ะ เพราะคุยง่ายบล็อกง่าย

นำข้อมูลมาหาไอเดีย พัฒนา After-Sale Service

หากจะให้มีบริการหรือ Solution เข้ามาช่วยเพื่อให้การขายบัตรต่อเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตอบโจทย์ลูกค้าสมัยนี้ทีชอบจ้างร้านกดบัตรหลายร้าน เพื่อให้ตัวเองได้บัตรที่ดีที่สุด ซึ่งด้านบนก็เป็นไอเดียที่ร่างคร่าว ๆ หลังทำ Analytics จาก Social Listening เท่านั้นค่ะ


ทั้งหมดนี้ก็เป็นตัวอย่างการทำ Social Media Analytics จากเคสที่เป็นประเด็นร้อนตลอดปี กับพฤติกรรมการโพสต์ ขายบัตรคอนเสิร์ต ขุดลึกถึงปัญหาและสิ่งที่เกิดขึ้นจริงบนโซเชียลมีเดียผ่านการใช้ Social Listening ทำให้เรารู้ว่าตอนนี้คอนเสิร์ตเป็นธุรกิจที่น่าสนใจแค่ไหน และเกิดอะไรขึ้นบ้างหลังการกดจองบัตร

ทำไมถึงมีการขายต่อบัตรเกิดขึ้น ขายต่อในแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เจาะดู keyword พบว่าเป็นคำว่า ‘ปล่อยต่อ’ ซึ่งดูเฟรนลี่และอยากส่งต่อจริง ในแง่คนซื้อขายมันน่ากลัวน้อยกว่าคนที่โพสต์ขายโต้ง ๆ อยู่ค่ะ เหมือนรับต่อจากแฟนคลับด้วยกันเองก็จะอุ่นใจกว่า ทั้งยังจับแพทเทิ้นการโพสต์ขายตั๋วได้ง่าย ๆ ไปจนถึงเจอประเด็นเด็ด ๆ ที่เกิดขึ้นอยากการโกงค่าบัตรคอนเสิร์ต

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมลูกค้า และนำไปสู่การพัฒนา After-Sale Service หรือ Solution ใหม่ได้ค่ะ หวังว่าทุกคนจะได้ไอเดียไปจากบทวิเคราะห์นี้ไม่มากก็น้อย และนำไปตั้งต้นใช้กับสินค้าหรือบริการของตัวเองได้นะคะ

original article การตลาดวันละตอน


หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

การตลาดวันละตอน

การตลาดวันละตอน เว็บรวมความรู้การตลาดด้าน Data และ Personalization

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *