Little Red Book แอปดังรองจาก Tiktok ในจีน

Little Red Book แอปดังรองจาก Tiktok ในจีน

นอกจากแอป Douyin หรือที่เราเรียกกันโดยสากลว่า Tiktok ที่มีความโด่งดังและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งโลก Social รวมไปถึงช่องทาง E-commerce ที่แบรนด์ยักษ์ใหญ่หลาย ๆ แบรนด์ต้องกระโดดลงมาเล่น Platform นี้แล้ว ในประเทศจีนก็ยังมีอีกแอปพลิเคชันนึงที่มีชื่อดังไม่แพ้กันซึ่งกันคือ Little Red Book ที่มีสัญลักษณ์หน้าแอปเป็นรูปสีแดงแบบรูปด้านบน

แอป Little Red Book คืออะไร

สำหรับใครที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน ขอเล่าให้ฟังคร่าว ๆ ว่าตัวแอป Little Red Book เป็นแอปพลิเคชันที่ค่อนข้างคล้ายกับ Instragram และ Lemon8 มาก ๆ คือภายในแอปจะสามารถโพสได้ทั้ง Photo Album โพสเป็นรูป หรือว่าจะโพสเป็นแบบวีดิโอก็ได้เช่นกัน ซึ่งส่วนมากก็จะเน้นไปที่การโพสรีวิวไลฟ์สไตล์ แชร์ประสบการณ์หรือลงรูปโพสสวย ๆ คล้าย Instragram แล้วมีการลิงก์ไปที่ Shopping Product ได้ด้วย แต่แท้จริงแล้วตัว Little Red Book ไม่ได้เริ่มต้นด้วยการเป็น Shopping platform ตั้งแต่ทีแรกนะคะ

ต้นกำเนิดของแอป

 ผู้คิดค้นแอปนี้ขึ้นมามีชื่อว่า Mao Wenchao และ Qu Fang ซึ่งเป็น Famous Unicorn สัญชาติจีนที่โด่งดังเนื่องจากสามารถดึงดูดเงินลงทุนจาก Tencent และ Alibaba บริษัทยักษ์ของจีนได้ถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แอปนี้ถูกคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2013 แล้ว โดยในตอนแรกจะเรียกชื่อเต็มว่า Little Red Book แต่คนส่วนใหญ่จะเรียกกันสั้น ๆ ว่า “Red Book”

ตอนเริ่มต้น แอปพลิเคชันนี้มีจุดประสงค์คือ Lifestyle Shareing โดย Target ไปยังกลุ่มผู้หญิงที่มีความสนใจเรื่องความสวยความงาม สินค้าแฟชั่น การแต่งหน้า เครื่องสำอางค์ การท่องเที่ยว อาหาร และอื่น ๆ ให้มาแชร์ประสบการณ์จริง ๆ ที่ได้ใช้หรือได้ไปลองสินค้าหรือบริการในสถานที่ต่าง ๆ จนปัจจุบันมีการพัฒนา Business model รวมเข้ากับ Shopping platform และได้กลายเป็นตลาด E-commerce ที่มีแบรนด์เข้าไปวางขายสินค้ากว่า 140,000 แบรนด์ (ข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนมกราคมปี 2023)

สัดส่วนผู้ใช้งาน Little Red Book

กลุ่มผู้ใช้งานคือใคร

ปัจจุบันมีผู้ใช้งานที่ Active อยู่ ต่อเดือน และมียอด User ทั้งหมด 200 Million Users (ข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2022) โดยผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนผู้หญิง 80% ซึ่งมากกว่าผู้ชายที่ใช้งานอยู่ประมาณ 20% แต่หากลองคำนวณจากยอด Active User แล้ว ถือว่าเป็นแอปพลิเคชันที่มีผู้ชายเล่นอยู่เป็นจำนวนมากเลยทีเดียว ผู้ใช้งานหลักจะเป็นกลุ่มคนที่เกิดตั้งแต่ช่วง 1990s ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงของประเทศจีน เช่น เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น

คนจีนใช้แอพนี้ในการหาข้อมูลท่องเที่ยวในประเทศไทย

จากการที่ได้ลองพูดคุยกับเพื่อน ๆ ชาวจีนหลาย ๆ ท่านที่เดินทางมาที่ไทยแล้วเขาไปลองทานร้านอาหาร คาเฟ่ ที่ท่องเที่ยวลับ ๆ ในกรุงเทพ ตอนแรกเราก็สงสัยว่าเขารู้ได้ยังไง เพราะต่อให้เสิร์ชจาก Google ก็คงไม่มีบอกรายละเอียดขนาดนี้ หรือแม้กระทั่งเสิร์ชหาใน Tiktok ก็คงไม่มีคำอธิบายที่ละเอียดแบบภาษาจีนให้ทั้งหมด เพื่อนก็เลยแนะนำแอพ Red Book ให้เราได้ลองเข้าไปดู ต้องบอกว่าเปิดโลกค่อนข้างมาก เพราะมีการบอกรายละเอียดพร้อมรูปภาพที่ชัดเจนมาก เพื่อนชาวจีนบอกว่าตัวเขาและเพื่อน ๆ ของเขาจะใช้แอพนี้แทน Google Search เลย เพราะว่ารายละเอียดค่อนข้างเยอะกว่า อีกทั้งเป็นการแชร์ประสบการณ์จริง ๆ ของคนที่เคยไปลองแล้วจริง ๆ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับคนที่เข้ามาศึกษาหรืออ่านคอนเทนท์ได้เป็นอย่างมาก

มากไปกว่านั้นคือหากเราลองเสิร์ชที่ท่องเที่ยวหรือร้านอาหารดัง ๆ ต่าง ๆ ในประเทศไทย เราจะพบว่ามีคนดังหรือ KOLs ชาวจีนมารีวิวกันเยอะมาก มีทั้งนักรีวิวที่ถูกจ้างโดยตรงจากแอปพลิเคชันให้มาทำคอนเทนท์ในประเทศไทยโดยเฉพาะ หากใครได้ลองโหลดแอปมาเล่น อยากให้ลองเสิร์ชชื่อสถานที่ท่องเที่ยวสักที่แห่งหนึ่งขึ้นมา แล้วคุณจะตกใจกับผลลัพธ์ เพราะมันละเอียดมาก อีกทั้งมีรูปประกอบให้พร้อมทั้งคำแปลเป็นภาษาจีนเลย

โอกาสของของอุตาสาหกรรมการท่องเที่ยว

หากพูดถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยสะสมในไตรมาสแรกของปี 2566 ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคม มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในไทยแล้วกว่า 6.5 ล้านคน ทำรายได้ให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยประมาณ 3 แสนล้านบาท แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนสะสมทั้งหมดกว่า 5 แสนคน คิดเป็น 8% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด

ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นถึงอัตราการเติบโต้แบบก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สำหรับร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ อยากที่จะเปิดโอกาสและสร้างรายได้ให้กับตัวเองมากยิ่งขึ้น ขอแนะนำให้ลองไปโปรโมทหรือโพสลงแอพ Red Book เพราะแอปสามารถสร้าง Impact ให้กับธุรกิจของคุณได้มากกว่าช่องทางอื่น ๆ หากกลุ่มเป้าหมายของคุณคือนักท่องเที่ยวชาวจีน

สรุป

แอปพลิเคชัน Little Red Book หรือ Red Book ที่เริ่มต้นด้วย Lifestyle Sharing Platform จนขยายกลายเป็น E-Commerce Platform ที่มีอิทธิพลต่อแบรนด์ใหญ่ ๆ ในประเทศจีน เนื่องจากมีจำนวนผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก รวมถึงการซื้อขายสินค้าผ่านแอปที่เป็นที่นิยมเนื่องจากคนเชื่อถือการรีวิวจาก User หรือ KOLs ภายในแอปพลิเคชัน ส่งผลให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล นอกจากนี้บทความและวีดิโอในแอปยังช่วยโปรโมทอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในไทยได้อย่างมาก เนื่องจากคนจีนใช้ Red Book เป็นตัว Google Search สำหรับการข้อมูลเพราะสามารถอ่านและเห็นภาพไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้นภาคธุรกิจ SME เจ้าของกิจการต่าง ๆ ควรศึกษาและต่อยอดในแอปนี้หากต้องการเพิ่มกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นคนจีน

ในบทความต่อไปจะมาพูดถึง Features ภายในแอปว่ามีอะไรบ้าง และเราสามารถเข้าไปดูหรือศึกษาได้อย่างไร ฝากกดแชร์บทความไว้ด้วยนะคะ

References:

  1. Meltwater
  2. Daxueconsulting
  3. Technode
  4. Croud
  5. สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
  6. ข้อมูลสถิติของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  7. เพื่อนชาวจีนรู้จักร้านอาหารในไทยมากกว่าผู้เขียนแล้ว

Brainbruch

Analyst คนนึงที่ชื่นชอบการหาความรู้ใหม่ ๆ และอยากจะมาแชร์ให้ทุกคนได้ลองอ่านกันครับ!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *