Creative Marketing สร้างสรรค์พลิกแพลงกฎ ของก็ขายได้ Loyalty จากลูกค้าก็สร้างได้

Creative Marketing สร้างสรรค์พลิกแพลงกฎ ของก็ขายได้ Loyalty จากลูกค้าก็สร้างได้

Creative Marketing สร้างสรรค์พลิกแพลงกฏ ของก็ขายได้ Loyalty จากลูกค้าก็สร้างได้

จะให้อะไรได้ดั่งใจ เป็นไปตามที่เราคิดไปหมดซะทุกอย่างคนเป็นไปไม่ได้ ยิ่งกับการทำการตลาด ยังมีเรื่องของประเด็นอ่อนไหว กฏ ข้อห้ามต่าง ๆ ที่เราต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะในแต่ละกลุ่มคน ชนชาติ หรือตามสถานที่ต่าง ๆ ก็มีข้อจำกัด ความท้าทายในการทำการตลาดที่แตกต่างกันไป

ซึ่งเอาจริง ๆ เป็นอะไรที่ปวดหัวมากค่ะ เพราะต้องคิดหัวแทบแตกกว่าจะได้ทางออกที่วิน-วิน กันทั้งสองฝ่าย (กลุ่มเป้าหมายและแบรนด์) ดังนั้น ในบทความนี้เตยจะพามารู้จักกับแคมเปญ Beer Badge ของ Corona แบรนด์เบียร์ชื่อดังที่ใช้ความ Creative พลิกแพลงกฎ ขายสินค้าได้ดีเป็นเทน้ำเทท่า แถมสร้าง Loyalty ระยะยาวจากลูกค้าได้อีกด้วย

หากใครที่เคยอ่าน Contactless Payment เปลี่ยนการซื้อเบียร์ให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป มาก่อน อาจจะคุ้น ๆ กันมาบ้าง เพราะเป็นแคมเปญตั้งต้นที่ทำให้ Corona นำมาต่อยอดเป็น Beer Badge นั่นเองค่ะ แต่ก็มีจุดแตกต่าง การพัฒนาที่เพิ่มเข้ามา ทำให้ User Experience ไปในทางที่ดีขึ้น

กฏของ FiFa คือห้ามมีโลโก้แบรนด์สปอนเซอร์บนเสื้อ + Pain point คนถูกล้วงกระเป๋าตอนเชียร์บอล

โดยความท้าทายของแคมเปญนี้เริ่มมาจากฟุตบอลโลกปี 2022 Fifa ได้ออกกฏเหล็กที่ว่า “ห้ามโฆษณาบนเสื้อ” โดยเฉพาะกับโลโก้แบรนด์ที่เป็นสปอนเซอร์ ซึ่งในขณะนั้น Corona เป็นสปอนเซอร์ทีมชาติเม็กซิโก

ดังนั้น ความท้าทายอย่างแรกของแบรนด์ที่ต้องเผชิญคือ แล้วจะขายของได้ยังไง ในเมื่อห้ามโฆษณา อุตส่าห์เป็นสปอนเซอร์เชียวนะ!

เป็นฝันร้ายของสปอนเซอร์ชัด ๆ เลยค่ะ เพราะการลงทุน ลงเม็ดเงินไปกับการเป็นสปอนเซอร์นั้นไม่น้อยเลยทีเดียว ผลตอบแทนก็ต้องสมน้ำสมเนื้อกันบ้าง ผนวกกับ Pain point อย่างนึงของการไปดูบอลที่ผู้คนต้องพบเจอคือ การถูกล้วงกระเป๋า ที่สนามตอนไปเชียร์บอล คนก็เลยไม่พกกระเป๋าตังไป จะซื้ออะไรก็ต้องกระมิดกระเมี้ยน คิดแล้วคิดอีกกว่าจะจ่ายตัง

พูดกันตามตรง สิ่งนี้ส่งผลกระทบกับยอดขายของแบรนด์มาก ๆ เพราะคนไม่เอาเงินมา หรือเอามาก็เอามาน้อย ยอดขายก็จะลดลงเพราะคนไม่ซื้อ…เห็นไหมคะว่าปัญหาแรกยังแก้ไม่ทันจะจบ ปัญหาที่สองก็ตามมาติด ๆ

กฏมีไว้ห้าม ใช่ว่าจะเลี่ยงไม่ได้ งัด Creative Marketing เข้าสู้

Creative Marketing สร้างสรรค์พลิกแพลงกฎ ของก็ขายได้ Loyalty จากลูกค้าก็สร้างได้

Corona มองท่าแล้วว่าไม่ดีแน่ ๆ จึงแก้เกมงัด Creative Marketing เข้าสู้ โดยการร่วมมือกับหน่วยงาน VMLY&R Commerce เม็กซิโกและนิวยอร์กและ Adidas เพื่อเปิดตัวเสื้อแข่งทีมชาติเม็กซิโกรุ่นลิมิเต็ด ซึ่งความพิเศษของเสื้อคือแบรนด์ได้ฝังชิป NFC ไว้เสื้อที่อยู่ใต้โลโก้ของทีมชาติเม็กซิโกอีกที

ไม่ให้โฆษณา แปะโลโก้ไว้บนเสื้อใช่ไหม งั้นได้ ฉันใส่เป็นชิปแทน ไม่มีโลโก้ ไม่ผิดกฏ!

ซึ่งชิปนี้เปรียบเสมือน Digital Wallets เพียงแค่นำไปสแกนที่เครื่องชำระเงิน ก็จะสามารถรับเบียร์ฟรี ๆ ไปเลย 2 แก้ว! เผื่อใครที่นึกภาพไม่ออก คือ เราซื้อเสื้อและเมื่อไปเชียร์บอลก็สามารถเดินไปสแกนที่บูธของแบรนด์หรือจุดรวมพลคนที่เชียร์ทีมเดียวกัน (Fan Fest) เมื่อสแกนเสร็จเราก็จะได้เบียร์มาดื่มฟรีนั่นเองค่ะ

แอบขายของเนียน ๆ แก้เกมข้อห้ามได้แบบชิว ๆ เล่นกับความรู้สึกคน ทำให้พวกเขารู้สึกว่าซื้อเสื้อ แถมได้เบียร์กินฟรี นี่มันคุ้มสุด ๆ แต่หารู้ไม่ว่านี่แหละคือการตลาดที่แท้จริง

สร้าง Loyalty ระยะยาวจากการลงแรงแค่ครั้งเดียว

Creative Marketing สร้างสรรค์พลิกแพลงกฎ ของก็ขายได้ Loyalty จากลูกค้าก็สร้างได้

เบรคไว้ก่อนเผื่อท่านใดที่คิดว่ามันจะไปคุ้มตรงไหนกะอีแค่ซื้อเสื้อแถมเบียร์เนี่ย มันจะไปสร้าง Loyalty ได้ยังไง? เพราะมันทำได้จริง ๆ ค่ะ แถมเป็นการได้มาซึ่ง Loyalty ระยะยาวอีกด้วย

อย่างที่เตยบอกไปว่าเสื้อนี้เปรียบเสมือน Digital Wallets ดังนั้นมันจะถูกเติมเข้ามาได้เสมอ ซึ่งในที่นี่สิ่งที่ถูกเติมเข้ามาคือ ‘เบียร์’ นั่นเองค่ะ ไม่จำเป็นต้องเติมเงินแม้ซักกะบาทเดียว เพราะทุกแมตช์การแข่งขันที่ทีมเม็กซิโกลงแข่ง เบียร์จะถูกเติมเข้าไปที่ชิป ทำให้เราสามารถไปสแกนแลกเบียร์ฟรีได้ ดื่มวนไปตราบใดที่ยังใส่เสื้อไปนั่นแหละค่ะ

นอกจากข้อเสนอเบียร์ฟรีแล้ว เรายังสามารถได้รับสิทธิพิเศษอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ส่วนลด เผื่อใครที่อยากดื่มต่อแต่โควต้าเบียร์ฟรีหมด เป็นการกระตุ้นให้คนมาซื้อเสื้อ สร้างยอดขายก็ได้ ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกล้วงกระเป๋าด้วย เพราะล้วงไปเงินก็ไม่หายอยู่ดี เพราะอยู่ในเสื้อแล้ว Creative สุด ๆ

และความนัยของตำแหน่งโลโก้และชิปที่ฝังไว้ หากเราสังเกตุตำแหน่งดี ๆ จะพบว่ามันถูกวางไว้ตรงกับ ‘หัวใจ’ พอดี ซึ่งไม่ใช่เหตุบังเอิญแต่อย่างใด แต่เป็นความตั้งใจของแบรนด์ที่ต้องการจะสื่อว่า Corona จะอยู่ในใจของผู้คนนั้นเองค่ะ

สรุป Creative Marketing สร้างสรรค์พลิกแพลงกฎ ของก็ขายได้ Loyalty จากลูกค้าก็สร้างได้

โดยผลลัพธ์จากแคมเปญถือเป็นตัวเลขที่ดีมากเลยทีเดียวค่ะ เพราะมีการคนราว 37,000 คนที่มาเปิดใช้งานสแกนเสื้อ เพิ่มยอดขายได้ถึง 23% ในระหว่างช่วงแคมเปญ คนมีมุมมองบวกต่อ Corona เพิ่มขึ้น 45% และจากการคาดการณ์ แบรนด์คาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายทะลุ 20 ล้านจากการลงแรงในครั้งนี้อีกด้วย

จะเห็นได้ว่า Corona เอาชนะความท้าทายและข้อจำกัดต่าง ๆ มาได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ พลิกแพลงตะแคงมุมมอง กลั่นออกมาเป็นแคมเปญการตลาดเจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาได้ แถมการเลือกใช้ ‘วัตถุดิบ’ เช่น เสื้อ เตยเองก็มองว่าเป็นอะไรที่ฉลาดมาก ๆ เพราะคนไปเชียร์บอล อย่างน้อยก็ต้องใส่เสื้อทีมที่เชียร์ไป ทำให้ตัดสินใจซื้อได้ไม่ยาก แถมติดตัวอยู่ตลอดเวลา ใช้ได้จริง ขอคาราวะการตลาดเขาเลยจริง ๆ ค่ะ

หวังว่าตัวอย่างเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *