บทเรียนจากวิกฤติที่ “สตีฟ จ็อบส์” ใช้บริหารบริษัท Apple ให้ประสบความสำเร็จ

บทเรียนจากวิกฤติ​ที่​ “สตีฟ จ็อบส์” ใช้บริหาร​บริษัท​ Apple ให้ประสบ​ความสำเร็จ​

สตีฟ จ็อบส์ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งบุคคลในตำนานของวงการไอที เพราะนวัตกรรมต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เกิดจากสมองและฝีมือของบิดาแห่ง Apple เช่นกัน

จึงทำให้ไม่แปลกใจเลยว่าทำไม สตีฟ จ็อบส์ จึงถูกจัดอันดับให้เป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกตลอดกาล 

ต้องยอมรับว่าเรื่องราวของพ่อมดแห่งวงการไอทีคนนี้มีหลายช่วง หลายตอนที่น่าศึกษาและน่าสนใจ แต่เหตุการณ์ที่แบมชอบมากที่สุดนั้นไม่ใช่ช่วงเวลาที่ Apple ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ แต่เป็นช่วงวิกฤติที่ Apple เกือบไปไม่รอดต่างหาก

ในบทความนี้ เป็นแนวคิดที่แบมได้มีโอกาสอ่านจากหนังสือเรื่อง “สนุกคิด แล้วบิดขี้เกียจ” หนึ่งในซีรีส์ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ของคุณ หนุ่ม เมืองจันท์ ที่อ่านแล้วรู้สึกประทับใจ ซึ่งแบมจะมาเล่าถึงบทเรียนสำคัญที่ สตีฟ จ็อบส์ ได้นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตัดสินใจที่ส่งผลต่ออนาคตของ Apple ให้ได้ฟังกันเพื่อเป็นแนวทางและไอเดียให้สำหรับคนที่อยากทำธุรกิจค่ะ

เลือกทำเฉพาะสิ่งที่เชี่ยวชาญ

ย้อนกลับไปในวันที่ สตีฟ จ็อบส์ ได้มีโอกาสกลับไปนั่งในตำแหน่ง CEO ของ Apple อีกครั้ง บอกเลยว่าตอนนั้นสถานะของ Apple เรียกได้ว่าย่ำแย่มากขณะที่ว่ามีโอกาสล้มละลายได้ภายใน 6 เดือนเลยทีเดียว

สิ่งแรกที่ สตีฟ จ็อบส์ ทำไม่ใช่การคิดว่าจะออกโปรดักส์ใหม่ตัวไหนที่จะช่วยดึงความสนใจของคนได้ แต่กลับเป็นการตัดสินใจปรับแผนและโฟกัสทางธุรกิจใหม่ทั้งหมด ให้ Apple กลับมาโฟกัสในสิ่งที่บริษัทเชี่ยวชาญและสามารถทำได้ดีแทน

มองให้ออกว่าเราเชี่ยวชาญอะไรแล้วทำให้ดี

เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะปรับแผนและโฟกัสทางธุรกิจใหม่ ในการประชุมผู้บริหาร สตีฟ จ็อบส์ ก็เลยวางแผนไว้ว่าจะกลับไปทำในสิ่งที่ Apple เชี่ยวชาญที่สุดเท่านั้น จากนั้นก็ทำการวาดเครื่องหมาย + ขนาดใหญ่ โดยช่องบน 2 ช่องเขียนคำว่า “มืออาชีพ” กับคำว่า “ผู้บริโภคทั่วไป” ส่วน 2 ช่องข้างล่างเขียนคำว่า “พกพา” และ “ตั้งโต๊ะ” 

และนั่นก็เป็น 4 คำที่ สตีฟ จ็อบส์ ต้องการให้ทาง Apple โฟกัสในขณะนั้น คือ แถวบนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องโฟกัส และแถวล่างเป็นประเภทสินค้าที่จะผลิต จึงทำให้สินค้ามากมายที่อยู่ในไลน์ผลิตของ Apple จะเหลืออยู่แค่ 4 รูปแบบเท่านั้น ได้แก่

  1. สินค้าตั้งโต๊ะสำหรับมืออาชีพ
  2. สินค้าตั้งโต๊ะสำหรับบุคคลทั่วไป
  3. สินค้าพกพาสำหรับมืออาชีพ
  4. สินค้าพกพาสำหรับบุคคลทั่วไป

ส่วนอะไรที่อยู่นอกเหนือสินค้า 4 ประเภทนี้จะไม่ทำเด็ดขาด! 

ยึดถือทฤษฎีคำว่า “ไม่” ให้หนักแน่น

การจะเป็นตัดสินใจหรือจะทำธุรกิจได้ดีนั้น ไม่ใช่อยู่ที่การพูดหรือฟันธงว่าอะไร “ใช่” เท่านั้น แต่สิ่งที่ยากกว่าก็คือการตอบได้ว่าอะไรไม่ใช่ และยึดมั่นในสิ่งนั้นอย่างหนักแน่นมากกว่า

แน่นอนว่าในช่วงวิกฤติของ Apple สตีฟ จ็อบส์ ก็ยึดถือทฤษฎีคำว่า “ไม่” อย่างหนักแน่นเช่นกัน เพราะเขาเชื่อว่าการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดของคนเราไม่ใช่เรื่องที่เราจะตัดสินว่าเราจะทำอะไรดีแต่เป็นการตัดสินใจว่าเราจะไม่ทำอะไรต่างหาก ทำให้ในช่วงนั้นทาง Apple มีสินค้าหลักอยู่แค่เพียง iMac iPod และ iPhone เท่านั้น

นอกจากนี้เขายังเคยให้สัมภาษณ์อีกด้วยว่าจุดแข็งของ Apple ก็คือการทำเทคโนโลยีที่ซับซ้อนให้คนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ นั่นคือเหตุผลสำคัญที่ว่าเมื่อวิศวกรพยายามเสนอให้เพิ่มเทคโนโลยีต่างๆ เข้าไปในสินค้า 4 ประเภทนี้ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยขนาดไหน สตีฟ จ็อบส์ ก็จะตอบสั้นๆ ง่ายๆ แค่ “ไม่” คำเดียวเท่านั้น

แน่นอนว่าการปฏิเสธของเขาไม่ใช่ว่าไม่มีเหตุผล แต่การที่ สตีฟ จ็อบส์ ปฏิเสธความซับซ้อนเหล่านั้น เพราะเขาเชื่อว่ายิ่งง่าย ผู้บริโภคยิ่งชอบ นั่นเอง

และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดในการทำธุรกิจของพ่อมดไอทีคนนี้ที่สามารถนำพา Apple ให้ผ่านพ้นวิกฤติจนกระทั่งกลายมาเป็นบริษัทที่มีสุดยอดนวัตกรรมให้ทุกคนได้ใช้กันในทุกวันนี้ แบมเองก็หวังว่านักการตลาดและเจ้าของธุรกิจที่แวะเข้ามาอ่านบทความนี้ จะสามารถนำชุดความคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจได้นะคะ

ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การทำตลาดในรูปแบบอื่นๆ แนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ 

ในบทความหน้าแบมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะค

Bambinun*

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *