ระวังทุ่ม Marketing Budget แบบผิดๆ ในปี 2022

ระวังทุ่ม Marketing Budget แบบผิดๆ ในปี 2022

ทำการตลาดย่อมหนีไม่พ้นเรื่องของงบเงิน จะทำอันนี้ต้องจ่ายเท่าไร จ่ายไปแล้วได้อะไร ได้มาแล้วมันคุ้มไหม ฯลฯ สารพัดคำถามที่เราต้องตั้งมันแถมตอบมันให้ได้ ล่าสุด CEO และ Founder ของบริษัท Brandwidth Strategy ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อควรระวังที่นักการตลาดไม่ควรพลาดสำหรับการทุ่ม Marketing Budget ในปี 2022 ไว้หลายข้อ จะมีอะไรบ้างนั้น เพลินสรุปมาให้แล้วค่ะ

เรื่องยากที่สุดของงบการตลาดก็คือการรู้ว่าจริงๆ เราไม่เคย Set Budget แน่นอนเอาไว้เลย แถมยังเป็นงบก้อนแรกๆ ที่จะถูกหั่นได้เร็วที่สุดเมื่อบริษัทเจอสถานการณ์ไม่ค่อยดีนัก สมมุติเกิด Q2 ยอดขายไม่พุ่งฝ่ายการตลาดก็จะเป็นหน่วยแรกที่ถูกระงับการใช้งบเร็วที่สุด และด้วยความไม่แน่นอนอะไรพวกนี้ เราก็ต้องระวังอย่าเอาเงินที่เหลือน้อยเต็มที่ไปลงกับการทำอะไรผิดๆ อีกนั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็น

1. การพยายามทุ่มเงินจ้างคนมาทำงาน

ยิ่งในช่วงหลังสถานการณ์โรคระบาด หลายบริษัทอาจจะเผชิญกับปัญหาพนักงานลาออกจากงานครั้งยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเพราะประสบการณ์การทำงานที่บ้านที่อึดอัดมานาน แล้วรอจังหวะลาออกอยู่ หรือจะเป็นการที่บริษัทเรียกคนกลับไปทำงานที่ออฟฟิศได้แล้วทั้งๆ ที่คนเริ่มชิน นี่ก็เป็นเหตุทำให้เกิด The Great Resignation หรือกระแสลาออกในช่วงสถานการณ์คลี่คลายด้วยเหมือนกัน พอคนแห่กันลาออก บริษัทก็พยายามไป Head Hunt ทุ่มเงินหาคนฝีมือดีมาอยู่ในทีมเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นการจ้างมือใหม่หลายอัตราหรือมือเก๋าน้อยอัตราในปริมาณงบเยอะๆ ล้วนแต่เป็นตัวเลือกที่ไม่ดีในสถานการณ์แบบนี้ทั้งสิ้น

สิ่งที่เราควรทำมากกว่าการไปเฟ้นหาคนเพิ่มคือการรักษาคนเก่าที่ทำงานได้ดี ควบคู่ไปกับการจ้าง Freelance หรือกลุ่มเอเจนซี่ที่เค้ามีประสบการณ์รับทำงานพวกนี้อยู่แล้วแทน เนื่องจากคนพวกนี้รู้งานตั้งแต่แรก ไม่ต้องมานั่งสอน หรือมานั่งจูนให้เคมีตรงกันกับ Culture บริษัทมากนัก มันก็จะข้ามเวลาปรับตัวออกไป แล้วได้ผลลัพธ์จากมือโปรมาแทนค่ะ

2. ทุ่มเงินกับการทำ Online Advertising อย่างหนัก

แน่นอนว่าปีที่ผ่านๆ มาใครๆ ก็หันลงมาเล่นตลาดออนไลน์กันทั้งนั้น เพราะคนไม่สามารถออกไปไหนได้ ต้องอยู่บ้านสั่งซื้อของจากออนไลน์เสียส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามการที่คนเข้าสู่ออนไลน์มากๆ ก็เป็นข้อเสียเพราะทำให้เรามีคู่แข่งเพิ่มขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นหากปี 2022 เราเอาแต่มุ่งเน้นงบ Marketing Budget ไปกับการทำโฆษณาบนออนไลน์อย่างเดียวอีก มันก็อาจจะเป็นการลงเงินละลายแม่น้ำได้เหมือนกัน

กลับกันสิ่งที่แบรนด์และนักการตลาดควรทำคือการทำโปรเจคเพื่อเก็บ First Party Data ของลูกค้าเราจริงๆ มากกว่า หลังจากนั้นก็ให้เอาข้อมูลเหล่านั้นมาปั่นเป็น Portfolio เพื่อหา Potential ลูกค้าคนถัดๆ ไป หรือเป็นการสร้างแคมเปญเพื่อ Maintain กลุ่มลูกค้า Existing ที่รู้จักแบรนด์เราอยู่แล้วนั่นเองค่ะ

3. ละเลยเรื่องของ SEO

นักการตลาดจากหลายแบรนด์มักปล่อยปะละเลยเรื่องของ SEO แล้วให้ความสำคัญกับการทำ Facebook Content / IG Content เยอะจนเกินไปเพราะมันเป็นหน้าเป็นตาให้เราอยู่บนหน้า Feed อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ผิด แต่การไม่ใส่ใจ SEO ทั้งๆ ที่เป็นอีกหนึ่ง Touchpoint สำคัญเมื่อลูกค้า Search แบบมีความต้องการหรือ Intention ต่างหากที่ผิดและไม่ควรทำอย่างมาก

อย่างที่บอกว่าเมื่อเราเจอปัญหาอะไรก็แล้วแต่ เราก็มักจะหาคำตอบหรือทางแก้ไข ซึ่งช่องทางแรกๆ ที่เราจะไปย่อมเป็น Google หรือระบบ Search Engine ต่างๆ ดังนั้นการแบ่งเงินการตลาดเพื่อ SEO บ้างจึงเป็นเรื่องที่แบรนด์ควรทำเพิ่ม อย่ามัวแต่ลงเงินไปในสิ่งที่เดี๋ยววันนึง Content ก็จมหายไปกับ Feed ก่อนหน้ามากนัก เป็นต้นค่ะ

4. มุ่งเน้นแต่ Long-form video content

การทำ Long-form video content นั้นไม่ผิด แต่เราไม่ควรทุ่ม Marketing Budget ไปกับวิดีโอยาวมากเกินไป นั่นก็เพราะว่าวิดีโอยาวๆ มักมีค่า Production ในการถ่ายทำสูงมากเกินไป แถมยังต้องมาผนวกกับค่าการตลาดที่จะทำยังไงให้คนดู ดูจนจบแถมได้รับ Messages ที่แบรนด์ต้องการสื่อครบถ้วยด้วย ดังนั้นถ้ามีงบก็ทำไป แต่อย่าลืมให้การตัดคลิปสั้นอย่าง 20 sec / 30 sec / 45 sec เพิ่มจากคลิปยาวๆ ให้คนย่อยมันง่ายขึ้น ดูจบได้เร็ว เข้าใจคลิปได้เลยแบบไม่ต้องอดทนรอนาน หรือแม้กระทั้งดูแบบปิดเสียงด้วยค่ะ

5. เอาแต่รอว่าเดี๋ยว Event จะกลับมาเหมือนเดิม

หลังสถานการณ์คลีคลาย อย่าเอาแต่รอว่าเดี๋ยวงาน Offline อย่างการจัดงานอีเวนต์ต่างๆ จะกลับมาคึกคักแบบตอนแรก อย่ามัวแต่รอโอกาส ให้แบ่งงบส่วนนึงในการทำ Online Event ด้วย อาจจะเป็นในรูปแบบ Hybrid ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการไลฟ์ขายของออนไลน์ควบคู่ไปกับงานอีเวนต์ที่คนเดินแบบบางตานั่นเองค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ 5 เรื่องที่นักการตลาดควรเฝ้าระวัง อย่าเผลอทุ่มงบการตลาดลงไปแบบผิดๆ เพราะอาจจะได้กลับมาไม่คุ้มเสีย ส่วนแบรนด์หรือนักการตลาดท่านไหนสนใจอย่างได้ Research Insight สักเล่ม ทีมงานของเราพร้อม Standby ตามคิวงานเลยนะคะ ทั้งในส่วนของ Social data / Search data เลย ขอให้ปี 2022 เป็นปีที่ดีของทุกคนค่ะ

Source: Marketing Dive

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *