วิธีใช้งาน Google Bard และความแตกต่างจาก ChatGPT

วิธีใช้งาน Google Bard และความแตกต่างจาก ChatGPT

Google Bard แชทบอท AI ที่ถูกเปิดตัวในงานประชุมนักพัฒนา software ประจำปี Google I/O 2023 ถือเป็นข่าวสำคัญในวงการ Generative AI และ LLM ที่มีการใช้ PaLM2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตอบคำถามที่ซับซ้อน พร้อมกับความสามารถในการช่วยเขียนโค้ดโปรแกรมได้

นับว่าเป็นคู่แข่งที่สำคัญของ ChatGPT จากค่าย OpenAI ซึ่งถูกปล่อยออกมาก่อน ซึ่ง ChatGPT เองถือเป็นหนึ่งใน Game Changer ของ Generative AI ที่ทำให้เกิดการตื่นตัวของการเรียนรู้ และการพยายามเข้าถึง/ใช้งาน จากทั้งคนในวงการ Tech เอง และผู้ใช้งานทั่วไป

และถึงแม้ว่าทั้ง Bard AI จาก Google และ ChatGPT จาก OpenAI จะเป็น LLM เช่นเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในหลายส่วน ที่เราจะมาติดตามความแตกต่างนั้นกันต่อ และแนะนำการเข้าใช้งาน Bard กันในบทความนี้ค่ะ^^

Google Bard VS ChatGPT

ขณะที่ Bard ได้รับความสนใจและสร้างกระแสในการเปิดตัวที่งาน Google I/O ในทางกลับกัน ChatGPT ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากโมเดลภาษาตัวล่าสุดที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายบน internet ในปัจจุบัน ซึ่ง AI Chatbot จากทั้ง 2 ค่ายมีความแตกต่างกันหลักๆ ดังนี้ 😎🧐

# โมเดลภาษา (LLM) ที่อยู่เบื้องหลัง

ทั้ง Bard และ ChatGPT ของ OpenAI เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model: LLM) ที่สร้างมาเพื่อใช้งานในหลายลักษณะ เช่น ช่วยเรื่องการเขียนบทความ ช่วยเขียนโปรแกรม สร้างสื่อและการนำเสนอ การใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น การวางแผนการเดินทาง ตลอดจนการตอบคำถามยากๆ ที่ต้องรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล (ที่น้องๆ นักเรียน/นักศึกษาใช้ในการทำการบ้าน เป็นต้น)

😎 โดยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่ Bard ใช้คือ PaLM2 (Pathways Language Model version2 ) ซึ่งเป็น LLM ที่มีการรับประกันประสิทธิภาพในการตอบสนองที่ดีขึ้น จากการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของ Google ที่เน้นย้ำในความสามารถของ Bard ในการสร้างการโต้ตอบบทสนทนาที่เหมือนการสื่อสารกับมนุษย์ นอกจากนี้ Bard ยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเขียนบทความได้อย่างมีคุณภาพ อีกทั้งยังเพิ่มในส่วนของการรองรับ programming languages มากกว่า 20 ภาษา และภาษาอื่นๆ อีก 40 ภาษาที่นับว่าเป็นข้อได้เปรียบของ PaLM2

😏 ในขณะที่ ChatGPT ใช้ Generative Pre-trained Transformer (GPT) ที่ใช้เทคโนโลยี Transformer ในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจในภาษาธรรมชาติ (NLP) โดยในปัจจุบันตัวโมเดลภาษาล่าสุดที่ ChatGPT คือ GPT3.5 (Reinforcement Learning from Human Feedback (RLHF) ในการเทรนโมเดล) และ GPT4

# Features

Google Bard (☞゚ヮ゚)☞

🤗😃 ในส่วนของ Features ต่างๆ ที่ Bard AI มีการ provide ให้กับผู้ใช้งานนั้น ทาง Google มีการเคลมไว้ว่า,,,, Bard สามารถค้นหาข้อมูลใน Internet ได้แบบ Real-time ในขณะที่ผู้ใช้งานกำลังพิมพ์ข้อความหรือ Prompts ซึ่งหมายความว่า Bard สามารถแสดงผลลัพธ์ที่เป็นที่มีความเชื่อมโยงกับข้อมูลในปัจจุบัน เพื่อตอบสนองต่อ Prompts ที่เราพิมพ์เข้าไป ซึ่งจากคุณสมบัตินี้เองที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการทำงานวิจัย การทำ trip plannig หรืองานประเภทอื่นๆ ที่ต้องใช้ข้อมูลออนไลน์ที่มีการอัพเดทอยู่เสมอ

นอกจากนี้ Bard ยังมี Features อื่นๆ ที่มาตอบสนองการใช้งานของพวกเราเพิ่มเติม ดังนี้ค่ะ^^

  • 🎶 สามารถรับ Input ในรูปแบบของเสียง และสามารถใช้การป้อนข้อมูลด้วยเสียงที่มีความซับซ้อน แล้วแปลงเป็น Text ออกมา ก่อนที่จะ Response คำถามจากข้อความที่ถูกแปลงเป็น Text แล้วได้ด้วย
  • 📰 สามารถ Export ข้อความผลลัพธ์ออกมาได้หลายแบบ ทั้งในรูปแบบของ PDF, Word และ HTML ซึ่งจาก Feature นี้ทำให้ง่ายต่อการแชร์ผลลัพธ์กับ application อื่นๆ และสามารถนำไฟล์ในรูปแบบนั้นๆ ไปใช้งานต่อได้เลย^^
  • 📊 สามารถสรุปข้อมูลจากหน้า web page ได้ เป็น Feature ที่อาศัยความสามารถจากการที่โมเดลของ Bard รองรับข้อมูลได้หลาย Format ค่ะ ซึ่งหากเราอยากให้ Bard สรุปข้อมูลจากหน้าเว็บใดๆ ก็ทำได้ง่ายๆ ด้วยการ Copy URL หน้า web page นั้น แล้วนำมาวางเป็น prompts ได้ทันที
  • 📜🧾 สามารถทำร่างของคำตอบได้หลายฉบับ ทำให้เราสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของร่างแต่ละฉบับ เพื่อเลือกผลลัพธ์ที่ดีที่สุดไปใช้งานต่อ นอกจากนี้เรายังสามารถแก้ไข หรือปรับแต่งร่างผลลัพธ์นั้นๆ ได้ตามต้องการอีกด้วย
  • 🧐 ช่วยอธิบาย Code ได้ นับว่าเป็น Feature ที่มีประโยชน์มากในการช่วยเพิ่มความเร็ว และประสิทธิภาพในการเรียนรู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาต่างๆ เพราะนอกจากจะช่วยอธิบาย code ได้ ยังสามารถช่วย Debug โค้ดได้ เพียงแค่ Copy&Paste โค้ดที่เราต้องการทำความเข้าใจลงไป แล้วให้ Bard ช่วย explain หรือถามคำถามแบบเฉพาะเจาะจง
  • 🔎 แนะนำ Google Search โดย Feature นี้จะทำการแนะนำ หัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องกับ prompt ของเรา และสร้างรายการการค้นหา เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถไปตามต่อได้ง่ายๆ เพียงแค่พิมพ์คำว่า “Suggest” ต่อท้ายใน prompts

ChatGPT (☞゚ヮ゚)☞

😇🥳 และในส่วนของ ChatGPT จากค่าย OpenAI ที่โดยหลักแล้วจะเป็น Chatbot ซึ่งมี GPT model เป็นเบื้องหลังในการเรียนรู้และสร้างคำตอบให้กับผู้ใช้งาน เพื่อการโต้ตอบที่เป็นธรรมชาติและใกล้เคียงกับการสนทนากับมนุษย์ โดยยังอยู่บนพื้นฐานของการสร้างคำตอบให้เหมาะกับความสนใจและความชอบของผู้ใช้งาน มี Features และคุณลักษณะเด่น ได้แก่

  • 😎 ChatGPT มีความเข้าใจด้านภาษา และความหมายของประโยคเป็นอย่างดี จากการใช้เทคนิคการประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) ทำให้สามารถให้คำแนะนำและตอบสนองได้ถูกต้องกับบริบทของบทสนทนา
  • 👩‍👩‍👧‍👦 ChatGPT สามารถรองรับได้หลายภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย
  • 💬 สามารถปับแต่งลักษณะของคำตอบให้ตรงกับความต้องการ ตั้งแต่การเป็น Chatbot ตลอดจนการสร้าง Content การแปลภาษา และการสรุปความ
  • ✨ มี Web browsing, Plugin และ Code interpreter (ซึ่ง 3 Features นี้ เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ OpenAI ทำการปล่อยออกมาระหว่างที่นิกเขียนบทความนี้เลยค่ะ ╰(*°▽°*)╯)
  • ใหม่ !! ตอนนี้ ChatGPT มี Application เข้า ios แล้ว
วิธีใช้งาน Google Bard และความแตกต่างจาก ChatGPT
credit: https://www.91mobiles.com/

# ประสิทธิภาพ และการใช้งาน

หากพิจารณาถึงเรื่องประสิทธิภาพในส่วนของ Bard ทำได้ค่อนข้างดีในเทอมของการค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยใช้ algorithm ที่มีความซับซ้อนและเฉพาะเจาะจงเพื่อ return ผลลัพธ์ให้กับผู้ใช้งาน แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก Bard นำเสนอในสิ่งที่เกี่ยวข้องจากข้อมูลที่อยู่บน Internet (ซึ่งหมายความว่าข้อมูลนั้นอาจจะผิดก็ได้) ทำให้ผู้ใช้งานต้องมาตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบด้วยค่ะ

และในส่วนของ ChatGPT ที่ถูกสร้างมีเพื่อเป็น Chatbot เป็นหลัก ต้องบอกว่าทาง OpenAI ทำได้ค่อนข้างดี มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นธรรมชาติมาก (นับว่าเนียนนั่นเองค่ะ^^) ซึ่งในจุดนี้เองที่ทำให้ ChatGPT มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการใช้งานเพื่อการตอบสนองต่อวความต้องการของลูกค้า เช่นการแนะนำสินค้าหรือบริการให้กับผู้สนใจ และตอบคำถามลูกค้าแบบกว้างๆ ในเบื้องต้น

โดยในส่วนของการใช้งานส่วนตัวนิกมองว่าการใช้งาน ChatGPT ผู้ใช้งานอาจต้องมีความรู้/ความเข้าใจด้านเทคนิคมากกว่าการใช้งาน Bard เพื่อสื่อสารผ่าน Prompts ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามที่ต้องการ แต่สำหรับภาษาไทยต้องยอมรับว่า ณ ปัจจุบันนี้ Bard ยังไม่มีการรองรับค่ะ^^

การเข้าใช้งาน Google Bard

มาถึงส่วนการเข้าใช้งาน Google Bard กันค่ะ 😊 ซึ่งในช่วงที่นิกเริ่มใช้งาน ยังต้องไปรอใน waitlist อยู่ แต่ในปัจจุบันนี้การเข้าใช้งานไม่ต้องเข้าไปรอเหมือนเดิมแล้ว และยิ่งใช้งานง่ายยิ่งขึ้นกว่าเดิม ด้วยการเข้าไปสมัครใช้งานได้ผ่าน link: https://bard.google.com/ หรือจะ Search Bard ใน Google ก็ได้เหมือนกันค่ะ

เมื่อเข้ามาแล้ว จะมีคำอธิบายเล็กน้อยว่า “Bard จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเรา และช่วยทำให้ไอเดียของเรากลายเป็นจริง และเราสามารถปรับปรุงการทำงานของ Bard ร่วมกันได้ผ่านการให้ feedback กลับมา” ซึ่งจากในหน้านี้เราก็สามารถกด Try Bard เพื่อเข้าใช้งาน

โดยหลังจากกด Try Bard แล้ว Google จะแสดงหน้า Term&Privacy ที่อธิบายในเรื่องของ การใช้ข้อมูล สิ่งที่ควรรู้ และ Term of Service ให้เราเลือกที่ I agree ได้เลยค่ะ^^

ทาง Google ก็จะ pop-up คำอธิบายขี้นมาว่า Bard อาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องหรือเหมาะสมเสมอไป หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมให้ “Google it” เพื่อตรวจสอบคำตอบ และ Bard จะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ผ่านการได้รับความคิดเห็นของคุณ ดังนั้นโปรดให้คะแนะนำสำหรับสิ่งที่ไม่เหมาะสมด้วย

วิธีใช้งาน Google Bard และความแตกต่างจาก ChatGPT

ใน pop-up นี้ก็ให้เรากด Continue เพื่อเริ่มใช้งาน โดยความสิ่งที่นิกชอบสำหรับ Bard คือการที่สามารถเปลี่ยนเป็น Dark Theme (โดยการกดเลือกธีมที่มุมซ้ายล่าง) ได้ด้วยค่ะ^^

ซึ่งในส่วนนี้หากท่านใดยังไม่มี Idea ในการใช้งาน Bard ก็มีตัวอย่าง Prompt ให้เราทดลองใช้มาให้

ยกตัวอย่างการใช้งานให้ Bard ช่วยสรุปข้อมูลจาก Web page =>> สามารถทำได้ด้วยการ พิมพ์คำว่า “Summarise” ไว้ข้างหน้า URL ของหน้าเว็บที่เราต้องการสรุปได้ดังภาพค่ะ

และความเท่ของ Bard คือการที่โมเดลนั้นมี RLHF หรือ Reinforcement Learning from Human Feedback (ผ่าน user อย่างพวกเรา) ไว้เพื่อพัฒนาให้ผลลัพธ์ดีขึ้น ผ่านการ get feedback จากผู้ใช้งาน ได้ผ่านการกดไอคอน like, dislike ที่อยู่ด้านล่างสุดของ response และนอกจากนี้เรายังสามารถ “Google it” เพื่อให้ Google แสดงการ Search ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เราถามได้ 😎😀

โดยจากผลลัพธ์ที่ Bard สรุปให้จะเห็นว่าเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่ใน webpage ที่เป็น input เป็นภาษาไทย นั่นก็เพราะในปัจจุบัน Bard ยังไม่รองรับภาษาไทยค่ะ ¯\_(ツ)_/¯

แต่ด้วยความเป็น Google ซึ่งสามารถ translate ได้อยู่แล้ว => ถ้าเราอยากได้ภาษาไทย เลยทำได้ง่ายๆ ด้วยการ Click ขวา แล้วเลือก “แปลเป็นไทย” เพียงเท่านี้เราก็จะได้ response ที่เป็นภาษาไทยออกมาแล้ว และไม่ได้ออกมาเพียง draft เดียวนะคะ,,,,ทาง Bard ยัง provide ร่างคำตอบให้เราออกมา 3 ฉบับ เพื่อให้เราเลือกคำตอบที่เราชอบที่สุดไปใช้งานต่อค่ะ ^^

Last but not Least…

สำหรับบทความนี้เป็นบทความที่นิก Edit บ่อยที่สุดก่อนที่จะ Publish ค่ะ 🤣🤣 เนื่องจากระหว่างที่เขียน Bard และ ChatGPT ก็ปล่อย features กับ products ใหม่ ออกมาอย่างต่อเนื่อง =>> เช่น การที่ ChatGPT เพิ่มการเป็น Web browsing, Plugin, Code interpreter และมี Application บน ios ให้ download ในขณะที่ Bard เริ่มสามารถรองรับภาษาอื่นๆ เพิ่มเติมนอกจากภาษาอังกฤษ ซึ่งนับว่าการแข่งขันของทั้งคู่ เป็นประโยชน์กับ User อย่างพวกเรามากค่ะ^^ และหากเพื่อนๆ ลองใช้งาน Bard ดูแล้ว สามารถมาแลกเปลี่ยน และแนะนำนิกเพิ่มเติมได้ใน comment ==>> hope you all enjoy ka (❁´◡`❁)

Panaya Sudta

Hi, I am Nick,,,,Panaya Sudta (●'◡'●) Engineer during the daytime. Researcher at night. Reader in spare time. (❁´◡`❁) วิศวกร/นักวิจัย และเป็นน้องใหม่ของการตลาดวันละตอน ในการทำ Market research ค่ะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แชร์มุมมองกันนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *