Gestalt principles: สร้างภาพจำของแบรนด์ด้วยจิตวิทยาการรับรู้และ Generative AI

Gestalt principles: สร้างภาพจำของแบรนด์ด้วยจิตวิทยาการรับรู้และ Generative AI

ทุกท่านเคยสงสัยไหมคะว่า,, ทำไมเวลาที่เราเห็น Logo ของแบรนด์บางแบรนด์แล้วจำได้เลย หรือใช้งานบาง Application ถึงแม้จะเป็นครั้งแรกแล้วใช้ง่ายจังเลยนะ หรือแม้แต่ เอ๊ะ!! ป้ายโฆษณานี้ทำไมถึงดึงดูดจัง? คำถามของคำตอบเหล่านี้อยู่ภายใต้คำอธิบายของจิตวิทยาแห่งการรับรู้ของสมองมนุษย์ ที่ชื่อว่า “Gestalt principles”

ซึ่งในบทความนี้นิกจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับ Principles นี้ เพื่อให้เราสามารถเข้าใจหลักการ และสามารถใช้ประโยชน์ในการสร้างแบรนด์ให้ตรึงตา แล้วส่งผลไปตรึงใจลูกค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแน่นอนค่ะ สำหรับชาวการตลาดวันละตอน ที่คุ้นเคยกับการใช้ Data และ AI ในยุค Digital Marketing ดังนั้นเมื่อเราเข้าใจหลักการแล้ว เราจะมาใช้ความสามารถของ Generative AI อย่าง DALL-E หรือ ChatGPT ร่วมกับ Gestalt principles ในการสร้างภาพจำของแบรนด์ไปพร้อมๆ กันค่ะ ,,,, Let’s go ( •̀ ω •́ )✧

จริงๆ แล้ว คำว่า “Gestalt” (น่าจะอ่านว่ากิสตัลต์) เป็นคำที่มาจากภาษาเยอรมัน แปลว่า “รูปแบบ” หรือ “รูปร่าง” ค่ะ โดยในทางจิตวิทยา Gestalt principle คือแนวคิดที่บอกว่าสมองของมนุษย์อย่างเราๆ เนี่ย มีการรับรู้และประมวลผลข้อมูลในรูปแบบที่จัดเรียงเป็นรูปแบบทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่ชิ้นส่วนย่อยๆ แต่ความว้าวก็คือ ด้วยความที่สมองมนุษย์มีความพยายามที่จะเข้าใจอะไรให้รวดเร็วที่สุด การประมวลผลของสมองแบบนี้จึงแทบจะเป็นไปในลักษณะอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นหากเราทำการจัดเรียงรูปแบบของการนำเสนอสิ่งต่างๆ เช่น Logo ของแบรนด์ หรือป้ายโฆษณาได้ดีมากพอ จะทำให้ลูกค้าเหมือนถูกสะกดจิตให้จำภาพ หรือเข้าใจง่ายๆ ได้เลยนั่นเองค่ะ

ว่าแล้วเราก็มาทำความเข้าใจถึงหัวใจสำคัญ หรือ Key Principles ของ Gestalt Theory กันเลยดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้าง

Gestalt Theory ถูกสร้างขึ้นโดยนักจิตวิทยาชาวเยอรมันในปี 1900 เป็นหลักในการอธิบายว่ามนุษย์ตอบสนองต่อข้อมูลที่ถูกรับเข้ามาผ่านการมองเห็นอย่างไร ผ่านหลักการสำคัญ 4 ข้อ ได้แก่

  • การปรากฏ (Emerhence): เป็นลักษณะที่ทำให้มนุษย์อย่างเราๆ สามารถรับรู้คุณสมบัติของภาพรวมที่มีลวดลายหรือรูปทรงดูเหมือนสุ่ม แต่เมื่อมองใกล้ๆ แล้วดูแล้วกลับไม่แตกต่างกัน หรือดูกลมกลืนกันไปโดยภาพรวม
  • การสร้างภาพ (Reification): เป็นหลักการสร้างภาพที่ใช้หลักการ การรับรู้แบบสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างวัตถุที่ไม่มีอยู่จริงขึ้นมาจากองค์ประกอบทางการมองเห็นที่มีอยู่ ยกตัวอย่างเช่น “Kansas Triangle” ที่สร้างโดย Gaetano Kanizsa ที่การรับรู้ของเราถูกกระตุ้นให้เห็นวัตถุที่ไม่มีอยู่จริงในภาพ โดยสร้างความเข้าใจใหม่จากการรวมองค์ประกอบที่มองเห็นได้
Kansas Triangle: แม้ว่าองค์ประกอบภาพจะเป็นวงกลม แต่สมองเราถูกหลอกให้เห็นสามเหลี่ยม
  • ความมั่นคงทางหลายมิติ (Multistability): เป็นหลักการที่แสดงถึงความเปลี่ยนแปลง และความเป็น Dynamic ในการรับรู้ ยกตัวอย่างของผลกระทบด้านการมองเห็นตามหลักการนี้คือ “แจกันรูบิน” หรือ Rubin Vase ซึ่งเป็นภาพที่ทุกท่านน่าจะเคยผ่านตากันมาบ้าง ที่เมื่อเราเห็นภาพตอนแรกมักจะรับรู้ว่าเป็นแจกัน แต่เมื่อเรามองภาพนี้ไปนานๆ จะเริ่มเห็นเป็นภาพหน้าคน 2 หน้า ที่มองเข้าหากันจากสีพื้นหลัง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในการรับรู้ของมนุษย์รูปแบบนี้ แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน และความเป็น Dynamic ของการมองเห็นของเรา ที่สามารถรับรู้ภาพเดียวกันได้ในหลายมิติและหลายรูปแบบเมื่อมองภาพไปชั่วระยเวลาหนึ่งนั่นเองค่ะ^^
Gestalt principles: สร้างภาพจำของแบรนด์ด้วยจิตวิทยาการรับรู้และ Generative AI
Rubin Vase (ภาพขวาสุดเป็นภาพที่ Generate จาก ChatGPT ค่ะ^^)
  • ความคงที่ (Invariance): เป็นหลักการหรือวิธีที่วัตถุหนึ่งสามารถถูกรู้จักหรือจดจำได้ แม้ว่ามุมมองที่เรามองเห็นจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น ลูกบาศก์ที่หมุนไปจำนวน x องศาในแต่ละแกน แต่ก็ยังสามารถถูกมองเป็นลูกบาศก์เดียวกันได้ ซึ่งเราจะเห็นนะคะว่า แม้การรับรู้หรือมองเห็นของเราต่อลูกบาศก์นั้นจะเปลี่ยนแปลงไป แต่อะไรที่เรารับรู้ว่าเป็นอย่างนั้นไปแล้ว ก็จะถูกเห็นเป็นแบบเดิม หรือพูดง่ายๆ ซะว่ามี “ความคงที่” นั่นเองค่ะ โดยหลักการของความคงที่นี้ยังใช้ได้กับความแตกต่างในระดับขนาด, พื้นผิว, และการเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้เราสามารถจดจำและเข้าใจวัตถุได้ในหลายมิติและสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

ซึ่งจากหลักสำคัญ 4 ข้อของ Gestalt principles ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาก่อนหน้านี้นี่เองค่ะ ที่ช่วยทำให้นักการตลาดสามารถเข้าใจและใช้หลักการรับรู้ทางสายตา ในการสร้างและปรับปรุงการออกแบบแบรนด์ ให้สามารถสร้างภาพจำผ่านการรับรู้ทางจิตวิทยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ^^ ผ่านหลักการการออกแบบสำคัญๆ 2 ข้อ ดังต่อไปนี้ค่ะ

จริงๆ แล้วมีทฤษฎีด้านการออกแบบที่มีการประยุกต์ใช้ Gestalt Theory ในการสร้างหลักการของการสร้างภาพจำหลายหลักการด้วยกันค่ะ เช่นกฎของ ภาพ/พื้นหลัง (Figure/ground), ความเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Proximity), การใกล้ชิด (Closure), ความคล้ายคลึงกัน (Similarity) และความต่อเนื่อง (Continuation)

แต่สำหรับในบทความนี้ นิกจะขอสรุปให้ทุกท่านสามารถนำไปใช้งานง่ายๆ ได้จริงเพื่อสร้างภาพการรับรู้แบรนด์ หรือใดๆ ก็ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านหลักการ 2 ข้อหลักดังนี้ค่ะ

Law of Similarity and Contrast หรือ กฎของความคล้ายคลึงและความแตกต่าง สามารถอธิบายได้ง่ายๆ ค่ะว่า เมื่อลูกค้ามองเห็นอะไรที่หน้าตาคล้ายๆ กัน ก็มักจะถูกสมองกล่อมว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ถ้าหากว่ามีอะไรแตกต่างขึ้นมาในภาพนั้น ก็จะทำให้สิ่งที่เป็นความต่างนั้นการเป็นความแปลกแยก หรือ “โดดเด่น” ออกมาจากภาพ ซึ่งสิ่งนี้เองค่ะ ที่เราจะใช้สร้างความแตกต่าง ผ่านการเน้น หรือสร้างจุดเด่นในการมองเห็น

Gestalt principles: สร้างภาพจำของแบรนด์ด้วยจิตวิทยาการรับรู้และ Generative AI
Example of Law of Similarity and Contrast

Law of Proximity หรือ กฎของความใกล้ชิด สามารถอธิบายได้ง่ายๆ ค่ะว่า อะไรก็ตามที่ลูกค้าเห็นว่าอยู่ใกล้ๆ กัน ลูกค้าก็มักจะมองว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งในด้านการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ การจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ในโฆษณาหรือบนบรรจุภัณฑ์อย่างให้อยู่ใกล้กันสามารถช่วยให้ลูกค้าเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ได้ง่ายขึ้น เช่น การวางโลโก้ใกล้กับชื่อผลิตภัณฑ์หรือข้อความสำคัญ จะช่วยให้ลูกค้าจดจำและเชื่อมโยงข้อมูลนั้นๆ กับแบรนด์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น^^

ซึ่งเมื่อทุกท่านเห็นถึงหลักการของ Gestalt ตามที่อธิบายไปข้างต้นนี้ เราจะนำเอาความเข้าใจดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการสร้างภาพจำของแบรนด์ การสร้างโฆษณา การวาง Layuot ร่วมกับการใช้งาน Generative AI อย่าง DALL-E หรือ ChatGPT ผ่านการ Prompting ได้

โดยนิกขออนุญาตยกตัวอย่าง Promtp จากงานวิจัยที่สั่งการใช้ Generative AI เหล่านี้ดำเนินการตามหลักการออกแบบของ Gestalt ซึ่งทุกท่านสามารถเข้าไปที่

https://chat.openai.com/

แล้วพิมพ์ Prompt หรือคำสั่งดังต่อไปนี้ได้เลยค่ะ^^

Create and describe the visual identity for the company EverdayMarketing [เปลี่ยนเป็นแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของแต่ละท่านได้เลยค่ะ], a Research Marketing [เปลี่ยนส่วนนี้เป็นรายละเอียดของแบรนด์] company targeting marketer and reseacher by Apply Gestalt Principle of Design.

ซึ่งจาก Prompt ด้านบนนี้ นิกได้คำตอบที่เป็นรายละเอียดจาก ChatGPT มาประมาณนี้ค่ะ

Gestalt principles: สร้างภาพจำของแบรนด์ด้วยจิตวิทยาการรับรู้และ Generative AI
Results from ChatGPT

ซึ่งจากคำตอบโดย ChatGPT ด้านบน ก็จะเป็นการอธิบายรายละเอียดขององค์ประกอบในการสร้าง Logo ของแบรนด์ว่าควรมีลักษณะแบบไหน เพื่อให้สามารถสร้างภาพจำให้กับลูกค้าของแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ต่อไปเมื่อเราได้คำตอบแล้ว ก็ลองมาใช้ความสามารถของ ChatGPT ในการ Generate ภาพให้เรากัน ด้วย Prompt ง่ายๆ ดังนี้เลยค่ะ

From the details of previos answer, create the image for me.
Gestalt principles: สร้างภาพจำของแบรนด์ด้วยจิตวิทยาการรับรู้และ Generative AI
Result from ChatGPT

และแล้วเราก็ได้ภาพตัวอย่างจาก ChatGPT ตามภาพด้านบนให้เราเลือกใช้กัน ซึ่งหากเราที่มีความรู้เรื่องทฤษฎี Gestalt กันเรียบร้อยแล้ว เห็นว่าควรปรับหรือเพิ่มตามส่วนของหลักการข้อไหน ก็สามารถลอง Prompting เพื่อปรับเปลี่ยนได้ เช่น นิกเห็นว่าอยากให้เพิ่มเรื่องของการจัดกลุ่มตาม Law of Proximity เพื่อเน้นย้ำความเด่นของสิ่งที่แบรนด์จะนำเสนอ ก็สามารถใช้ Prompt ต่อไปนี้

Can you re-create by apply Law of Proximity.
Gestalt principles: สร้างภาพจำของแบรนด์ด้วยจิตวิทยาการรับรู้และ Generative AI
Result after adjustment

ซึ่งเอาจริงๆ โดยส่วนตัวแล้ว นิกชอบแบบแรกมากกว่า 55+,,,, แต่ก็นั่นแหละค่ะ เมื่อทุกท่านมีองค์ความรู้แล้ว ก็สามารถปรับแต่งผลลัพธ์ได้ตามที่เราต้องการ และคัดเลือกเอาสิ่งที่เราคิดว่าเหมาะกับแบรนด์ โดยสามารถสื่อสารและสร้างภาพจำกับลูกค้าได้ดีที่สุดมาใช้กันค่ะ

หลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจใน Gestalt principles เพื่อการสร้างภาพจำของแบรนด์ หรือสร้างการรับรู้ผ่านการมองเห็นที่มีประสิทธิภาพ เรายังสามารถใช้ความเข้าใจที่ผ่านมาร่วมกับความสามารถของ Generative AI อย่าง DALL-E ที่อยู่ใน ChatGPT ในการสร้างโลโก้ รูปภาพโฆษณา หรือแม้แต่การวาง Layout เว็บไซต์ของแบรนด์ ที่ไม่เพียงแต่เพิ่มความเป็นมืออาชีพและความสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังเป็นการตอกย้ำความเป็นเอกลักษณ์และการรับรู้ที่ไม่ซ้ำใครของแบรนด์อีกด้วย

ท้ายที่สุดนี้ นิกหวังเป็นอย่างยิ่งค่ะว่าทุกท่านจะได้รับความรู้ และ Idea จากบทความนี้ ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและสร้างภาพจำของแบรนด์ของเพื่อนๆ เพื่อการสื่อสารกับลูกค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะในยุค Digital Marketing ทั้งองค์ความรู้ภาคทฤษฎี และการใช้ Tools ร่วมกันอย่างเหมาะสมนั้นเป็นสิ่งสำคัญค่ะ (*^-^*)

ป.ล. เพื่อนๆ ทุกท่านสามารถแนะนำหรือแชร์ Prompt ให้แก่ผู้อ่านท่านอื่นๆ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ได้ที่ข้อความเลยนะคะ,,,, Enjoy ka^^

Panaya Sudta

Hi, I am Nick,,,,Panaya Sudta (●'◡'●) Engineer during the daytime. Researcher at night. Reader in spare time. (❁´◡`❁) วิศวกร/นักวิจัย และเป็นน้องใหม่ของการตลาดวันละตอน ในการทำ Market research ค่ะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แชร์มุมมองกันนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *