Deinfluencer vs Influencer ส่องเทรนด์ Content ที่จริงใจ 2024

Deinfluencer vs Influencer ส่องเทรนด์ Content ที่จริงใจ 2024

ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารมากมาย ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น ฉลาดขึ้น และรอบรู้มากขึ้น สิ่งที่พวกเขาต้องการเหนือสิ่งอื่นใดคือ “ความจริงใจ” แบรนด์ที่แสดงความจริงใจจะสามารถสร้างความไว้วางใจ ผูกพัน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในใจผู้บริโภคได้ วันนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ Deinfluencer เป็นการตลาดแนวทางที่จะสร้าง“ความจริงใจ” ของ Influencer Marketing ได้

แพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคติดตาม Influencer มากที่สุด ?

Deinfluencer
  • 70% ของผู้บริโภคติดตาม Influencer บน Instagram
  • 55% ของผู้บริโภคติดตาม Influencer บน TikTok
  • 45% ของผู้บริโภคติดตาม Influencer บน YouTube
  • 35% ของผู้บริโภคติดตาม Influencer บน Facebook
  • 20% ของผู้บริโภคติดตาม Influencer บน Twitter
  • 15% ของผู้บริโภคติดตาม Influencer ผ่านบล็อก
  • 10% ของผู้บริโภคติดตาม Influencer ผ่านเว็บไซต์
  • 5% ของผู้บริโภคติดตาม Influencer ผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น Podcast, อีเมล, และแอปพลิเคชั่น

พฤติกรรมผู้บริโภคที่ติดตาม Influencer

  • 75% ของผู้บริโภคบอกว่าพวกเขาไว้วางใจ Influencer มากกว่าดารา
  • 80% ของผู้บริโภคบอกว่าพวกเขาตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการหลังจากเห็น Influencer รีวิว
  • 90% ของผู้บริโภคบอกว่าพวกเขาติดตาม Influencer เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
  • 88% ของผู้บริโภคชอบคอนเทนต์ที่ทำให้มีความสุข สร้างเสียงหัวเราะ
  • 90% มักชื่นชอบและจดจำโฆษณาที่มีความตลกขบขัน
  • 91% อยากให้แบรนด์ต่างๆลองทำคอนเทนท์ที่สนุกสนานมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ GEN Z และ GEN Y

พฤติกรรมผู้บริโภคที่ติดตาม Influencer เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในยุคดิจิทัล Influencer มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค แบรนด์และนักการตลาด จึงควรใช้ Influencer Marketing อย่างมีประสิทธิภาพ และวิเคาะห์แพลตฟอร์มโซเซียลมีเดียที่จะใช้ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์

Deinfluencer

Deinfluencer เทรนด์ความจริงใจ ที่ผู้บริโภคมองหา

Deinfluencer คือ บุคคลบนโลกออนไลน์ที่มุ่งเน้นไปที่การวิพากษ์วิจารณ์ รีวิวสินค้าบริการ นำเสนอทั้งข้อดีและข้อเสียอย่างจริงใจและตรงไปตรงมา เปิดเผยความจริงที่อาจถูกปกปิด ต่างจาก Influencer ทั่วไปที่มักนำเสนอแง่ดี การโฆษณาเกินจริง โน้มน้าวใจให้ซื้อเพื่อยอดขาย แต่ความจริงสินค้าต่าง ๆ มักมีทั้งข้อดีข้อเสีย ผู้อ่านสามารถอ่านจุดเริ่มต้นของการเกิดกระแส Deinfluencer ได้ที่นี่

ผู้บริโภคเริ่มเบื่อหน่ายกับ Influencer ที่โฆษณาสินค้าเกินจริง และผู้บริโภคต้องการข้อมูลที่ตรงไปตรงมา โปร่งใส ต้องการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องถูกโน้มน้าวจาก Influencer จึงต้องการ Deinfluencer ที่มีความจริงใจในยุคนี้

กระตุ้นให้ผู้บริโภคคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้ออย่างมีสติ ไม่ตกเป็นทาสของลัทธิบริโภคนิยม กระตุ้นให้แบรนด์มีความโปร่งใส นำเสนอข้อมูลสินค้าบริการอย่างตรงไปตรงมา

กระตุ้นให้ Influencer นำเสนอเนื้อหาที่จริงใจมากขึ้น นำเสนอข้อมูลสินค้า/บริการอย่างครบถ้วน แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา เพราะผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการข้อมูลที่ตรงไปตรงมา ต้องการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง และต้องการ Influencer ที่มีความจริงใจ

Deinfluencer

ความแตกต่างระหว่าง Deinfluencer และ Influencer

Deinfluencer มุ่งเน้นไปที่การ วิพากษ์วิจารณ์ รีวิวสินค้าข้อดีข้อเสีย ปัญหาและเปรียบเทียบอย่างตรงไปตรงมา มากกว่าการโฆษณาสินค้าเกินจริง มักมีผู้ติดตามจำนวนน้อย อาจนำเสนอแง่ลบของสินค้าได้ หรือความจริงใจของสินค้าที่เป็นจริง เปิดเผยความจริงที่อาจถูกปกปิด รายได้หลักไม่ได้มาจากโฆษณาหรือแบรนด์

Influencer มุ่งเน้นไปที่การโปรโมทสินค้า เพิ่มการรับรู้แบรนด์และเน้นยอดขาย เพราะมีผู้ติดตามจำนวนมาก จะนำเสนอสินค้าในแง่ดี ประโยชน์ ข้อดีของสินค้าเพียงอย่างเดียว เน้นโน้มน้าวใจให้ซื้อ รายได้หลักมาจากโฆษณาและแบรนด์

ข้อดีของการนำเสนอสินค้าอย่างจริงใจที่นักการตลาดควรนำไปปรับใช้

สามารถสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า ดึงดูดลูกค้าใหม่ รักษาฐานลูกค้าเก่า เพิ่มยอดขาย สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจและ Deinfluencer ยังได้รับความไว้วางใจจากผู้ติดตาม มีผู้ติดตามที่เป็นแฟนคลับตัวจริง สามารถโน้มน้าวใจให้ผู้ติดตามซื้อสินค้าได้ง่ายกว่า มีภาพลักษณ์ที่ดีและจริงใจ น่าเชื่อถือ

ประเภทคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคคาดหวัง

จากผลสำรวจผู้บริโภค พบว่า ประเภทคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคคาดหวังมีดังนี้

1. คอนเทนต์ที่ให้ความรู้ (Informative Content): ผู้บริโภคต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จาก Influencer คอนเทนต์ประเภทนี้ควรมีเนื้อหาที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ นำเสนออย่างน่าสนใจ ตัวอย่าง: รีวิวสินค้า, สอนแต่งหน้า, สอนทำอาหาร, แชร์เทคนิคต่างๆ

2. คอนเทนต์ที่สร้างแรงบันดาลใจ (Inspirational Content): ผู้บริโภคต้องการได้รับแรงบันดาลใจจาก Influencer คอนเทนต์ประเภทนี้ควรมีเนื้อหาที่สร้างความฮึกเหิม กระตุ้นให้ผู้บริโภคอยากพัฒนาตัวเอง ตัวอย่าง: เรื่องราวความสำเร็จ, คำคมสร้างกำลังใจ, แชร์ประสบการณ์ชีวิต

3. คอนเทนต์ที่สร้างความบันเทิง (Entertainment Content): ผู้บริโภคต้องการความบันเทิงจาก Influencer คอนเทนต์ประเภทนี้ควรมีเนื้อหาที่สนุกสนาน ผ่อนคลาย ตัวอย่าง: วิดีโอตลก, ภาพมีม, เกม

4. คอนเทนต์ที่แสดงไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Content): ผู้บริโภคต้องการรู้จัก Influencer มากขึ้น คอนเทนต์ประเภทนี้ควรนำเสนอไลฟ์สไตล์ของ Influencer ตัวอย่าง: Vlog, รีวิวสถานที่ท่องเที่ยว, แชร์กิจวัตรประจำวัน

5. คอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า/บริการ (Product/Service Content): ผู้บริโภคต้องการข้อมูลสินค้าและบริการจาก Influencer คอนเทนต์ประเภทนี้ควรนำเสนอข้อมูลสินค้า/บริการอย่างตรงไปตรงมา ตัวอย่าง: รีวิวสินค้า, เปรียบเทียบสินค้า, แนะนำโปรโมชั่น

ผลสำรวจส่วนใหญ่ บ่งชี้ว่า ผู้บริโภคจำนวนมากต้องการคอนเทนต์ที่จริงใจจากตัวเลขที่พบ มักอยู่ ระหว่าง 40% ถึง 70% ของผู้บริโภคทั้งหมด จากแห่งที่แตกต่างกันดังนี้

  • Influencer Marketing Hub พบว่า 86% ของผู้บริโภค จะเชื่อถือ Influencer มากขึ้นหากนำเสนอเนื้อหาที่จริงใจ และ โปร่งใส
  • Socialbakers พบว่า 70% ของผู้บริโภค มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้า จาก Influencer ที่พวกเขาคิดว่า “จริงใจ”
  • Nielsen พบว่า 92% ของผู้บริโภค บอกว่า พวกเขาไว้วางใจ “คำแนะนำจากเพื่อน” มากกว่า “โฆษณา”

สรุป

ผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญกับ “ความจริงใจ” มากขึ้น ธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์นี้ นำเสนอสินค้าอย่างจริงใจ โปร่งใส ไม่หลอกลวงผู้บริโภค เพราะในปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารมากมาย ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น ฉลาดขึ้น และรอบรู้มากขึ้น การนำเสนอเนื้อหาที่ตรงไปตรงมา ไม่โฆษณาสินค้าเกินจริง แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ไม่เสแสร้ง

ความจริงใจ” เป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในยุคปัจจุบัน ธุรกิจที่ต้องการอยู่รอดและเติบโต จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์นี้ มุ่งเน้นสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ และการบริการที่จริงใจ

อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

source

Issariya Ittiphumtana

"เฟ'ริน " Junior Marketing Content Creator การตลาดวันละตอน สายออกแบบกราฟฟิก ที่กำลังฝึกเขียนบทความการตลาด ซึ่งมีความชื่นชอบดื่มชาเขียวเป็นชีวิตจิตใจ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *