กลยุทธ์การทำธุรกิจให้ปัง จากเจ้าของแบรนด์ดัง Bearhouse และ YUZU

กลยุทธ์การทำธุรกิจให้ปัง จากเจ้าของแบรนด์ดัง Bearhouse และ YUZU

สวัสดีนักการตลาด และนักอ่านทุก ๆ คนครับ บทความนี้ผมจะมาสรุป กลยุทธ์การทำธุรกิจ ในงานสายลับจับเทรนด์ ที่ผู้บรรยายหลักคือ คุณกานต์ อรรถกร รัตนารมย์ เจ้าของแบรนด์ Bearhouse และคุณมิน ปรมินทร์ เปรื่องเมธางกูร ประธานผู้บริหาร YUZU GROUP ในหัวข้อ “ทำการตลาดด้วย Data แบรนด์ดังเขาทำกันยังไง”

คุณกานต์ Bearhouse เริ่มต้นเข้ามาทำธุรกิจเพราะมี Passion ในการทำธุรกิจ คุณกานต์เล่าว่าตอนทำ YouTube ตอนนั้นรู้สึกว่าต่อให้ไปจนสุดปลายทาง ก็รู้สึกว่าไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองชอบโดยแท้จริง ฉะนั้นจึงอยากทำธุรกิจสักอย่างหนึ่ง เพราะอายุน้อยแล้วก็มีพลังเหลือเฟือ สามารถทำได้และรับความเสี่ยงไหว

บวกกับตอนนั้นกำลังมี Passion ในชานมไข่มุก ที่ทุกคนเห็นว่าบินไปต่างประเทศไปดื่มชานมบ่อย ๆ ก็เพราะ Passion ล้วน ๆ และตอนเริ่มทำธุรกิจก็ตั้งเป้าไว้สูง จะได้มีกำลังใจในการทำงาน

ทางด้านคุณมิน YUZU ก็แชร์ว่าตอนเริ่มทำธุรกิจ พึ่งเรียนจบปริญญาโทจากต่างประเทศ และอยากกลับมาทำธุรกิจในไทย โดยเลือกเปิดธุรกิจที่สยามสแควร์เป็นที่แรกเพราะมีความคุ้นเคยกับสถานที่เป็นอย่างดี เนื่องจากตอนเรียนปริญญาตรีก็เรียนที่จุฬา ทำให้มีความคุ้นเคยกับสยาม จึงเลือกเปิดสาขาแรกในสถานที่ ๆ ตัวเองรู้จักเป็นอย่างดี 

เหตุผลที่เลือกทำราเมงเพราะว่าส่วนตัวชอบราเมงอยู่แล้ว ที่ใส่ YUZU เพราะมีความรู้สึกว่าคนไทยชอบกินอะไรที่รสจัด ๆ และราเมงที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์ บวกกับราเมง YUZU ในประเทศยังมีคนทำน้อย มีคำถามว่าหากเทรนด์ราเมง YUZU หมดทำยังไง เพราะว่า YUZU ก็เหมือนกับเทรนด์ที่มาแล้วไป

คำตอบของคุณมินง่ายมาก คือการที่ทำเป็นเจ้าแรก ๆ ที่ไม่เหมือนใครในประเทศ แล้วก็มีรสชาติที่เปรี้ยว รสจัดถูกปากคนไทย คนไทยสามารถกินได้ทุกวัน เพราะฉะนั้นเลยคิดว่าราเมง YUZU สามารถเติบโตอย่าง Sustain ได้ ถึงเทรนด์จะหายไปก็คิดว่าไม่เป็นไร 

จะเห็นได้ว่าความชอบ Passion และความเข้าใจ เป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจเป็นอย่างมาก Case ตัวอย่างสาขาแรกของราเมง YUZU ก็เลือกสยามสแควร์เป็นที่สาขาแรกที่เจ้าของแบรนด์รู้จักเป็นอย่างดีในการเริ่มต้นเปิดธุรกิจ

คุณกานต์ Bearhouse แชร์ว่า จริง ๆ ตอนวางแผนไม่เคยคิดว่าวางแผนได้ดีเลยสักครั้ง เน้นทำตอน Timing ที่ใช่ ส่วนตัวคิดว่า Timing เป็นสิ่งที่สำคัญมาก Timing ที่ Bearhouse เข้าสู่ตลาดก็คือช่วงที่ชานมขึ้นจุดสูงสุดแล้วกำลังจะตก

คุณกานต์เลยคิดว่าจะต้องทำให้เป็นเครื่องดื่มที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งชอบ เป็นเครื่องดื่มที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งต้องการจะกิน แล้วก็อยากกินให้ได้ในทุก ๆ วัน ก็เลยออกมาเป็นชานมพรีเมี่ยม

กลยุทธ์การทำธุรกิจ

แนวคิด คือ อยากจะเป็น Top 5 ใน Something ตอนนั้นมี Passion ในของหวาน จึงมองหาว่าตลาดไหนที่จะเข้าไปแล้วสามารถกลายเป็น Top 5 หรือว่า Top 3 ได้ สุดท้ายเลยเข้ามาในตลาดชานมไข่มุก

ในเรื่องของกลยุทธ์การทำธุรกิจ คุณกานต์ Bearhouse แชร์ว่าในตอนเริ่มแรกให้ใช้ Unique selling point (USP) เพียงอย่างเดียว แค่อันเดียวเท่านั้นต่อให้มี 5 อย่างก็ใช้แค่อันเดียว เช่น Bearhouse ใช้ไข่มุกโมจิข้าวไทย โฟกัสเพียงอย่างเดียวไม่จับฉ่าย

ตอนทำ YouTube ก็เช่นเดียวกัน ที่ประสบความสำเร็จ ก็เพราะใช้ Unique selling point (USP) เพียงอย่างเดียวคือ “อยากเป็นคนที่ไปกินของอร่อย”

ทางด้านคุณมิน YUZU ก็เสริมว่า YUZU มีประโยคนึงในการดำเนินธุรกิจคือ Trust the new boundary ลองอะไรใหม่ ๆ ตีความสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่แค่ดีขึ้น หรือว่าแย่ลง Unique selling point ของ YUZU ก็คือนำเสนออะไรที่ใหม่ ๆ ที่ออกนอกกรอบ จะทำให้ธุรกิจแตกต่าง และทำให้คนรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

กลยุทธ์การทำธุรกิจ

กลยุทธ์การทำธุรกิจ สำหรับการขยายสาขาทั้ง 2 แบรนด์ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงไม่ว่าจะเป็น Barehouse ที่ใช้กลยุทธ์การขยายสาขาแบบ Line Extensions หรือ YUZU ที่มีการขยายสาขาแบบ Brand Extension

Bearhouse มีกลยุทธ์การขยายสาขาแบบ Line Extensions คือการมุ่งพัฒนาสินค้าเดิม ของแบรนด์เดิม จุดขายหลักเดิม แต่พัฒนาสินค้าเพิ่มเติม เช่น การเพิ่มรสใหม่ กลิ่นใหม่ ส่วนผสมใหม่ และบรรจุภัณฑ์ใหม่ 

กลยุทธ์การทำธุรกิจ

โดยสาเหตุที่ Bearhouse ไม่แตกแบรนด์ย่อยเพราะว่า Bearhouse มีอุดมคติก็คืออยากที่จะดีขึ้นกว่าเดิมในทุก ๆ วัน ตอนนี้ คุณกานต์ Bearhouse รู้สึกว่ายังไม่มีอะไรที่สูงที่สุด ดีที่สุด เพราะฉะนั้น Bearhouse จึงพยายามวิ่งไปเรื่อย ๆ Research ไอเดียใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงสินค้าให้ดีกว่าเดิม

YUZU ขยายสาขาแบบ Brand Extension การขยายแบรนด์โดยการตั้งชื่อแบรนด์ให้กับสินค้าในประเภทหรือหมวดหมู่ใหม่ ซึ่งประเภทของสินค้าที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นมีความเกี่ยวข้องกับสินค้าประเภทเดิมของแบรนด์ที่เคยทำอยู่ ปัจจุบันแบรนด์ในเครือ YUZU มีทั้งหมด 9 แบรนด์ที่เป็นร้านอาหารหลายประเภท ตอนนี้มีทั้งหมด 22 สาขา

กลยุทธ์การทำธุรกิจ

สาเหตุที่ YUZU ขยายสาขาที่มีหลากหลาย โดยเป็นร้านอาหารแต่ละประเภทเพราะว่า DNA “Trust the new boundary” แบรนด์อยากขยายไปทุกขอบเขต อยากที่จะทำอะไรใหม่ ๆ เพราะฉะนั้นก็เลยเกิดหลายแบรนด์ภายใต้เครือ YUZU

คุณมิน YUZU มองว่าการไปต่างประเทศบ่อย ๆ มีประโยชน์ในการ Make decision ต่าง ๆ เพราะข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้นการที่เราไปต่างประเทศ จะทำให้เราไปเจออะไรใหม่ ๆ สิ่งใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากประเทศไทยไทย จะทำให้ฐานข้อมูลในสมองเรามีเยอะมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การตัดสินใจกันก็จะคมมากยิ่งขึ้น

โดยส่วนตัว คุณ มิน ให้ความสำคัญกับ Data มาก เคยลองหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับ Data ไม่ว่าจะเป็นคนชอบนั่งที่ไหน กินหมดหรือเปล่า โดยใช้ CCTV และให้พนักงานเป็นคนทำ Report ข้อมูลอยู่ตลอดว่าแต่ละโต๊ะเป็นยังไง พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นยังไ งผู้บริโภคคนนี้เข้าร้านนี้ แต่ไม่เข้าร้านนี้ 

ทำให้รู้รู้ว่าลูกค้าที่ชอบเข้าร้านเพื่อไปกินของต้มจะไม่ชอบเข้าร้านไปกินของทอด เช่นเดียวกันกับลูกค้าที่ชอบกินของทอด ก็จะไม่กินของต้ม ดังนั้นในการทำการตลาดก็จะไม่ทำการตลาดระหว่างของต้มและของทอดพร้อมกัน

คุณกานต์ Bearhouse ออกมาแชร์ว่าใช้ Social listening ในการ Monitoring ว่าคู่แข่งทำอะไรอยู่ เพื่อที่จะไม่ทำตาม จะไม่เป็น Metoo marketing เพราะอยากเน้นเรื่องความแตกต่างเพื่อทำให้แบรนด์โดดเด่น ในขณะที่คุณมิน YUZU ก็มองว่า Social listening สำคัญมาก ๆ เช่นเดียวกัน

คุณกานต์ Bearhouse แชร์เรื่องประสบการณ์ที่ผิดพลาด แต่ก่อน Bearhouse เสาะหาแต่การขยายฐานลูกค้าใหม่ ทำให้เสียเงินไปเยอะมากกับงบ Marketing ทำให้กลายเป็นการมองข้ามการรักษาฐานลูกค้าเก่า ทั้ง ๆ ที่ฐานลูกค้าเก่าก็มีเยอะ และมีความสำคัญเช่นเดียวกัน

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

พามาดูสรุป อีกหนึ่ง Session ที่เกิดขึ้นในงานสายลับจับเทรนด์ “Insight Data เทรนด์อาหาร 2024” ที่บรรยายโดยพี่หนุ่ยการตลาดวันละตอนกันครับ

Tlee Krit

ชื่อเติ้ลครับบบ นักเขียนน้องใหม่แห่งการตลาดวันละตอน ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ ^^

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *