5 วิธีพัฒนา กลยุทธ์ Market Segmentation

5 วิธีพัฒนา กลยุทธ์ Market Segmentation

สายการตลาด คนทำธุรกิจคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าการทำ Market Segmentation คือหนึ่งในสิ่งที่สามารถกำหนดทิศทางการธุรกิจของเราได้เป็นอย่างดี และเรามักเห็นผ่านหูผ่านตากันมาตลอดกับการทำ Segmenttion ซึ่งในบทความนี้เราจะพามาเรียนรู้กับ 5 วิธีพัฒนา กลยุทธ์ ในการทำสิ่งนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5 วิธีพัฒนา กลยุทธ์ Market Segmentation

เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันก่อนที่จะเริ่มเข้าไปที่ 5 วิธี ขั้นแรกเรามาทำความเข้าในเบื้องต้นกันเล็กน้อยว่า Market Segmentation คืออะไรกันก่อนค่ะ

Market Segmentation หรือ การแบ่งส่วนตลาด เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การวางแผนธุรกิจ และ การตลาด ตลอดจนการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เปรียบเทียบง่าย ๆ คือ

กระบวนการที่นำตลาดทั้งหมดมาแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ที่มีลักษณะเด่น ๆ ที่แตกต่างกัน

เพื่อให้เข้าใจลักษณะและความต้องการของกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มนั่นเองค่ะ โดยจะประกอบไปด้วยการแบ่ง Segment หลัก 4 ประเภทดังนี้

  1. Demographic segmentation-เป็นการแบ่ง Segment ด้วยปัจจัยทางประชากรหรือผู้บริโภค โดยสามารถจัดกลุ่มได้จากปัจจัย เช่น อายุ เพศ สถานภาพการสมรส ขนาดครอบครัว อาชีพ เป็นต้น
  2. Psychographic segmentation-เป็นการแบ่ง Segment ตามหลักจิตวิทยาโดยการแบ่งตลาดตามวิถีการดำรงชีวิตของบุคคล เช่น รูปแบบการดำรงชีวิต บุคลิกภาพ สิ่งจูงใจ
  3. Geographic segmentation- เป็นการแบ่ง Segment ตามภูมิศาสตร์ เช่น ประเทศ จังหวัด ภูมิภาค เป็นต้น
  4. Behavioral segmentation -เป็นการแบ่ง Segment ตามหลักพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงความคาดหวังของผู้บริโภคว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร

<สามารถอ่านบทความตัวเต็มเกี่ยวกับการแบ่ง Segmentation เต็ม ๆ ได้ที่บทความนี้>

หลังจากที่ทำความรู้จักการแบ่งส่วนตลาดมาเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนถัดไปที่ต้องทำคือลงมือทำนั่นเองค่ะ โดย วิธีทำ Market Segmentation จะมีด้วยกัน 5 ขั้นตอนเบื้องต้น ดังนี้

  1. กำหนดตลาดเป้าหมาย: อยากเจาะตลาดไหน ประเภทอะไร อุปโภค เครื่องแต่งกาย ฯลฯ ต้องกำหนดให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น
  2. แบ่งส่วนตลาด: แบ่งส่วนตลาดตาม Segment หลัก 4 ประเภทดังที่กล่าวไปในข้างต้น
  3. ทำความเข้าใจตลาด: ทำความเข้าใจในเชิงลึกว่าตลาดที่เราต้องการจะเจาะเป็นอย่างไร
  4. สร้าง Segment กลุ่มลูกค้า: ลงมือสร้างกลุ่ม Segment ที่ใช่กับธุรกิจ
  5. ทดสอบกลยุทธ์ทางการตลาด: ทดสอบเพื่อดูว่าเวิร์คหรือไม่เวิร์ค ถ้าไม่เวิร์คปรับปรุงใหม่

<สามารถอ่านบทความตัวเต็มเกี่ยวกับวิธีการทำ Market Segmentation แบบละเอียดได้ที่บทความนี้>

5 วิธีพัฒนา Market Segmentation

เมื่อเราได้รู้ถึงการทำ Market Segment ในเบื้องต้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่เราไม่ควรมองข้ามคือ การพัฒนา Segment ให้ดีกว่า เพราะเราจะเห็นได้ว่าในขั้นตอนสุดท้ายคือ การทดสอบว่าสิ่งที่เราทำมาตั้งแต่ต้นมันเวิร์คหรือไม่เวิร์ค หากไม่เวิร์คหรือเวิร์คแล้ว แต่เราอยากจะทำให้มันดีกว่าเดิม เราสามารถปรับใช้ 5 วิธีดังต่อไปนี้ในการพัฒนาในดีขึ้นได้

5 วิธีพัฒนา กลยุทธ์ Market Segmentation

หนึ่งในวิธีสุด classic ในการทำปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาด โดยวิธีนี้จะทำให้เราได้รู้ถึงเบื้องลึก ความคิดเห็น ข้อมูลที่เราอาจไม่คาดคิดมาก่อนว่ามันจะมีประโยชน์ แทนที่เราจะไปมองหาจากสิ่งอื่น ข้อมูลที่มีอยู่จะทำให้เราสามารถเข้าใจได้อย่างตรงจุดว่าอะไรคือ สิ่งที่เราทำพลาดไป หรือคิดว่ามันดีแต่จริง ๆ แล้วมันไม่ดี มันไม่ใช่

โดยข้อมูลที่เราสามารถนำมาวิเคราะห์และต่อยอดในการพัฒนาการทำ Segment ของเราได้มีดังนี้

  • Feedback จากลูกค้า: ถามลูกค้าไปตรง ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขากับผลิตภัณฑ์ของเราว่าชอบไม่ชอบอะไร ชอบตรงไหน เพราะอะไร ฯลฯ
  • ข้อมูลจาก Sales team: ทีมขายของคุณใช้เวลาส่วนใหญ่ในการพูดคุยกับลูกค้า ดังนั้นใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ของทีมขาย เช่น ลูกค้าแบบไหนที่ชอบมาซื้อเรา ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราวางไว้ไหม
  • วิเคราะห์จาก Website analytics: เว็บไซต์ของคุณมีข้อมูลมากมาย (เช่น เวลาที่ใช้ กดตรงไหนมากสุด ซื้ออะไร จ่ายเท่าไหร่) ใช้ตัวชี้วัดเหล่านี้เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าและระดับการมีส่วนร่วมของคุณให้ดียิ่งขึ้น
  • ค้นหาจาก Audience interest: ความชอบของกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาซื้อหรือใช้บริการ จะช่วยทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้นว่าพวกเขาชอบอะไร ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของเราไหม หรือถ้าไม่ตรงก็จะไดปรับใหม่ให้ตรงกับกลุ่มลูกค้านั้น ๆ

เมื่อเรารู้ข้อมูลเหล่านี้แล้ว เราก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้หรือปรับปรุง Market Segment ของเราให้ดีขึ้นได้ โดยอาจจะปรับให้มีความเข้ากับข้อมูลใหม่ที่ได้วิเคราะห์ หรือพัฒนาเพิ่มเป็นอีกกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดไปเลยก็ได้เช่นเดียวกัน

หลังจากที่เราได้รู้ว่ากลุ่มตลาดที่เราต้องการและที่ใช่จริง ๆ สำหรับแบรนด์ของเราคือใคร สิ่งต่อไปที่เราทำคือ การลงมือสร้าง Segment ที่ใช่ขึ้นมา ซึ่งวิธีการนี้ก็จะย้อนกลับไปที่ขั้นตอนในการทำ Market Segmentation ที่เราสามารถกำหนดได้โดยการแบ่ง Segment หลัก 4 ประเภท

5 วิธีพัฒนา กลยุทธ์ Market Segmentation

สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ การวางตำแหน่งของแบรนด์ (Brand positioning) ซึ่งการวางตำแหน่งแบรนด์ หมายถึงคุณค่าเฉพาะตัวที่แบรนด์นำเสนอต่อลูกค้า เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ทำให้แบรนด์ของเราแตกต่างและทำให้ลูกค้าของแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งมากกว่าแบรน์อื่น

เมื่อเรารู้ว่าตำแหน่งของแบรนด์เราอยู่ตรงไหน เป็นตำแหน่งที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเราหรือไม่ ถ้าไม่ก็เปลี่ยนให้มีการเหมาะสมกับ Segment ของเรามากขึ้น ยิ่งตำแหน่งของผลิตภัณฑ์เหมาะสมมากขึ้นเท่าใด โอกาสที่จะประสบความสำเร็จทางธุรกิจก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น

บางครั้ง Market Segment ที่เราสร้างมาอาจจะดีแต่ไม่ใช่สำหรับตลาดเป้าหมายของเรา ดังนั้นการหาตลาดที่ใช่สำหรับแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายของเราจริง ๆ จึงเป็นอีกหนึ่งทางในการปรับปรุงและพัฒนา Market Segment ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดยเราอาจจะตั้งคำถามกับแบรนด์ของเราเองก่อนว่า ผลิตภัณฑ์ของคุณแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง? ตอบโจทย์หรือไม่ตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้าใดบ้าง? คำถามเบื้องต้นเหล่านี้จะช่วยให้เรามองหาตลาดที่ใช่สำหรับเราได้ง่ายมากขึ้น เรียกง่าย ๆ ว่าอยู่ผิดที่ ทำ 10 ปีก็ไม่เห็นผล อยู่ให้ถูกที่แล้วจะงอกเงยเอง

แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการทดสอบว่าสิ่งที่ทำมาตั้งแต่ต้นมันได้ผลหรือไม่ได้ผล รูปแบบคอนเทนต์ สื่อโฆษณา โปรโมชั่นต่าง ๆ ที่เราทำไปกับกลุ่ม Segment นั้น ๆ ดีหรือไม่ดี และหากว่าผลตอบรับมันไม่ดี หรือไม่ตรงตามทีคาดหวังไว้ ให้เรากลับไปทบทวนกลุ่มหรือวิธีการวิจัยของเราใหม่ และทำการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมและทำการทดสอบต่อไปจนกว่าผลลัพธ์ที่ได้จะสัมฤทธิ์ผลนั่นเองค่ะ

สรุป 5 วิธีพัฒนา กลยุทธ์การตลาด Market Segmentation

โดยสรุป 5 วิธีพัฒนา กลยุทธ์ ในการทำ Market Segmentation มีดังนี้

  1. วิเคราะห์จากข้อมูลที่มีอยู่: ใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ความเห็นลูกค้า ข้อมูลเชิงลึกจากทีมขาย เพื่อนำมาหากลุ่มเป้าหมายที่ใช่จริง ๆ
  2. สร้าง Segment ที่ใช่สำหรับสินค้าหรือบริการ: ลงมือทำสร้างหรือพัฒนากลุ่ม Segment ใหม่ที่ตอบโจทย์กับแบรนด์
  3. กำหนดตำแหน่งสินค้าหรือบริการ: ตำแหน่งของแบรนด์จะช่วยให้เราเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ถูกจุด
  4. เสาะหาตลาดที่ใช่สำหรับแบรนด์: Segment ที่ดีจะต้องตอบโจทย์กับตลาดที่ใช่
  5. ทดลองเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ: ทดสอบว่าเวิร์คหรือไม่เวิร์ค ถ้าไม่เวิร์คก็ปรับปรุงใหม่ไปเรื่อย ๆ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาด หรือข่าวสารการตลาด แบบจัดหนักจัดเต็ม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *