5 สิ่งที่ควรรู้สำหรับคนทำการตลาดแบบ Affiliate Marketing Strategy

5 สิ่งที่ควรรู้สำหรับคนทำการตลาดแบบ Affiliate Marketing Strategy

หลายคนที่ทำการตลาดจนครบทุก Funnel จนถึงจุดหนึ่งที่อยากเพิ่มยอดขายให้ดียิ่งขึ้น แต่ในเวลาเดียวกันก็มีเรื่องงบประมาณที่จำกัด และความจำเป็นที่อยากจะควบคุม ROAS หรือ ROI ให้ดีด้วย กลยุทธ์หนึ่งที่เบสคิดว่าจะมาช่วยแก้ปัญหาและสร้างยอดขายให้แบรนด์เราเติบโตขึ้นได้มากยิ่งขึ้นอย่างการทำ Affiliate Marketing Strategy ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากครับ

Affiliate Marketing เปรียบเหมือนการตลาดแบบที่เรามีพันธมิตรนอกองค์กรมาเป็น Partner หรือ Affiliater ในการหาลูกค้ามาให้เราด้วยเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ทางการตลาด เพื่อรับค่า Commission เป็นการแลกเปลี่ยนจากแบรนด์ของเรา หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือระบบ Salesman ที่เป็น Push Media รูปแบบหนึ่งนั่นแหละครับ

การทำการตลาดในรูปแบบนี้จะประกอบไปด้วย 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ แบรนด์, เครือข่าย, Affiliater และ Customer โดยสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของทั้ง 4 ส่วนนี้ได้ดังนี้ครับ

Brand จะทำหน้าที่เป็นผู้ถือสินค้า ผู้กำหนดเงื่อนไข และผู้ให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่การทำ Affiliate ว่ามีขอบเขตในการทำอย่างไร สามารถสื่อสารได้แง่มุมไหนหรือในรูปแบบไหนบ้าง

ยกตัวอย่างเช่น Brand A มีสินค้าเป็นกระติกน้ำเก็บความเย็น โดยกำหนดให้ค่า Commission ให้ Affiliater ที่ 2-3% ของยอดขายสินค้าที่ขายได้จากลูกค้าที่ Affiliater หามาได้

โดย Commission สามารถเป็นได้ทั้ง PPL/PPC (Pay per lead/click) หรือ PPS / PPA (Pay per sales/conversion) ก็ได้ แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละแบรนด์ ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดเป็น PPA เป็นหลักครับ

เครือข่าย ที่อาจจะเป็นแบรนด์บริหารจัดการเอง หรือ Distiputor Platform ก็ได้ครับ ส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูล และบริหารจัดการ Affiliater ที่เข้า-ออกในระบบ

Affiliater ทำหน้าที่เอาข้อมูลสินค้าที่ได้ไปประยุกต์กับกลยุทธ์หรือเทคนิคทางการหลายรูปแบบเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าซึ่งอาจเป็นรูปแบบของคอนเทนต์ตาม Social Media, Backlinks หรือกระทู้ตาม Community Webboard ก็ได้ ขอเพียงแค่สามารถดึงลูกค้ามาให้กับแบรนด์ได้ตามเงื่อนไขก็จะได้รับ Commission เป็นผลประโยชน์ไปครับ

และส่วนสุดท้ายก็คือ ลูกค้า ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนี้โดยการเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับการสร้างประโยชน์ให้กับทั้งฝั่ง Brand และ Affiliater ผ่านการ Action บางอย่าง

ภาพประกอบจาก nichepursuits.com

โดยเรื่องที่เบสจะเอามาแชร์ทุกคนในวันนี้คิดว่าน่าจะเหมาะสำหรับใครหลาย ๆ คน รวมไปถึงแบรนด์ที่กำลังอยากเริ่มต้นทำการตลาดแบบ Affiliate Marketing อยู่แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี บทความนี้ก็น่าจะให้เกร็ดความรู้และแนวทางที่น่าสนใจได้อยู่เหมือนกันครับ

5 สิ่งที่ควรรู้สำหรับ Affiliate Marketing Strategy

1.วางข้อกำหนดหรือเงื่อนไขของการทำ Affiliate ให้มีความยุติธรรม และสะดวกต่อทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเหล่านี้ให้เป็นมาตรฐานเป็นจุดเริ่มต้นที่จะบอกเราได้เลยครับว่า การทำ Affiliate Marketing จะมีประสิทธิภาพกับแบรนด์เราได้อย่างไรบ้าง

โดยสิ่งที่เราควรคำนึงถึงนั้นไม่ใช่แค่ในเรื่องของ Commission ที่เราจะให้แก่ Affiliater ที่ทำประโยชน์ให้กับเราโดยที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ที่น่าพึงพอใจแค่อย่างเดียวนะครับ จริง ๆแล้วมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ร่วมอยู่ด้วย

ยกตัวอย่างเช่น
สินค้าที่ร่วมการ Affiliate ของแบรนด์เราคือสินค้าชิ้นไหนบ้าง, สามารถโฆษณาออกไปในรูปแบบไหนได้บ้าง, สิ่งที่ควรทำ-สิ่งที่ไม่ควรทำสำหรับ Affiliater หากต้องการมาเป็น Partner กับแบรนด์, การส่งต่อ Material ที่สามารถนำไปใช้ได้ในการทำคอนเทนต์เพื่อโฆษณา, ระบบการจัดการด้านการเงินว่าคิดและคำนวณอย่างไร มีการชำระในช่วงวันเวลาไหนบ้าง เป็นต้น

โดยปกติแล้วที่เบสเคยเจอข้อกำหนดต่าง ๆ จะมีความยืดหยุ่น หรือ รัดกุมแล้วแต่แบรนด์ไปครับ แต่ที่สำคัญคือหากเราสามารถวางให้ครอบคลุมและชัดเจนได้ตั้งแต่ต้นจะทำให้แต่ละส่วนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับแบรนด์ของเราจะสามารถดำเนินการหรือสิ่งที่มีได้อย่างลื่นไหลและไม่มีปัญหาในการทำการตลาดของเราในภายหลัง

อย่างกรณี Affiliater ที่อาจจะโกงยอด lead จากการ Spam Backlinks ที่พาลูกค้าที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้สนใจสินค้าของเรา มาที่ Website ของเรา ซึ่งผลที่ตามมาก็อาจทำให้หน้าเว็ปของเราเกิด Bounce Rate% ที่สูงขึ้น และกระทบต่อ Quallity Score แย่ลง ที่จะกระทบในภาพใหญ่ของการทำการตลาดออนไลน์ของเราด้วยครับ

ซึ่งหากเราวางเงื่อนไขจำกัดตรงส่วนนี้ไว้ก็จะแก้ปัญหานี้ได้ตั้งแต่แรกครับ เพราะการเอา Quallity Score กลับมาให้ดีได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

2.Affiliater ไม่ใช่เป็นใครก็ได้

จริงอยู่ว่าที่เราทำ Affiliate เพราะเราต้องการที่จะเพิ่มยอดขายให้สูงมากยิ่งขึ้น Affiliater คนไหนที่สามารถดึงคนมาให้เราเพื่อซื้อสินค้าเราได้ คนนั้นย่อมมี Potential ที่ดีกับแบรนด์ของเราแน่นอน ซึ่งไม่ผิดเลยครับ

แต่สำหรับหัวข้องนี้เบสอยากชวนให้ทุกคนลองมองอีกด้านหนึ่งของเหรียญสำหรับสถานการณ์นี้ครับ

ยกตัวอย่างกรณี
แบรนด์ของเรามีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มคนสนใจในสินค้า IT โดยที่มีสินค้าที่มีเรื่องในเชิงเทคนิคที่หากสื่อสารผิดจะกลายเป็นข้อเสียที่ไม่ดีกับตัวสินค้าทันที ถ้าคนที่มาทำ Affiliate ให้กับเราไม่ค่อยมีความรู้ในส่วนนี้ สถานการณ์นี้มีโอกาสให้คอนเทนต์จาก Affiliater นั้นอาจกลับกลายเป็นการ Discredit แบรนด์ทางอ้อมแทนได้เลยครับ

เพราะการที่ Affiliater ไม่มีความเข้าใจเพียงพอที่จะอธิบายในเรื่องทางเทคนิคบางอย่าง อาจนำบางจุดของแบรนด์ให้เป็นจุดอ่อนมากจนเกินไปทั้งที่สินค้ามีจุดแข็งทางเทคนิคส่วนอื่นมาชดเชย อาจทำให้เกิดผลกระทบหรือ Negative Feedback ที่ไม่ดีกับแบรนด์ได้ อีกทั้งการรีวิวที่ไม่ดีก็อาจทำให้สินค้าเราถูกตัดออกจากการพิจารณาของลูกค้าด้วย

ให้ทุกคนลองคิดว่า Affiliater ที่เราใช้ก็เปรียบเหมือนการที่เราเลือกใช้ KOL/Influencer ให้กับแบรนด์ของเรา ที่จะต้องสะท้อนตัวตนและกลิ่นอายของแบรนด์ รวมไปถึงแสดงให้เห็นถึง Lifestyle ที่แบรนด์เราจะเข้าไปอยู่ในชีวิตของลูกค้าอย่างไรได้ด้วย

ยิ่งคนเหล่านั้นมีความเข้าใจและรักในสินค้าของแบรนด์เรา สิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมให้พวกเขาสามารถถ่ายทอดข้อมูลและสร้างความน่าดึงดูดให้กับสินค้าของเราได้อย่างดีเลยครับ

3.พยายามสื่อสารและส่งต่อข้อมูลให้ Affiliater อยู่เสมอเพื่อส่งเสริมการขาย

ส่วนนี้มองในเชิงของการ Operation และการ Convince ให้คนเข้ามาซื้อสินค้ากับเรามากยิ่งขึ้นครับ เพราะบางครั้งในการทำ Affiliate ด้วยการทำคอนเทนต์รีวิวอย่างเดียวก็อาจไม่น่าดึงดูดใจลูกค้าเท่าที่ควรเพราะอาจจะติดเรื่องของราคาสินค้า

หากแบรนด์อัพเดทข้อมูล, ส่งต่อ Material ใหม่ ๆ หรือมี Promotion พิเศษ ณ ช่วงเวลาพิเศษช่วงหนึ่งที่น่าสนใจ ให้ Affiliater ไปใช้ได้อย่างสม่ำเสมอ จะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสให้คนที่เห็นคอนเทนต์ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นได้ครับ

4.หมั่นตรวจสอบ Traffic และ Conversion ที่เกิดจาก Affiliate Marekting

โดยปกติแล้วหลังบ้านของระบบการจัดการ Affiliate Marketing จะมี Transaction Data เก็บบันทึกเอาไว้อยู่แล้ว หากใครที่ใช้ Platform ของ Distibutor ก็อาจจะสบายหน่อยที่จะมี Dashboard ให้สามารถตรวจสอบพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เข้ามาได้

หรือหากใครใช้ระบบของตัวเองก็แนะนำให้ทำ Tracking Traffic ที่มาจาก Affiliater ด้วยนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อการวัดผลประสิทธิภาพของการทำ Affiliate ของเราด้วย

ยกตัวอย่างเช่น Affiliater มี Potential มากแค่ไหนจาก จำนวนคนที่ถูก Lead เข้ามา หรือ จำนวนการซื้อสินค้าเท่าไรบ้าง, คุณภาพของลูกค้า ว่าตรงกับแบรนด์หรือไม่จาก Bounce Rate%, พฤติกรรมความสนใจหรือการพิจารณาในการซื้อสินค้า ว่าลูกค้าใช้กลุ่มนี้ใช้เวลาใน Session นานเท่าไร หรือมี Conversion Rate% เป็นอย่างไรบ้าง

ซึ่งเราสามารถนำข้อมูลที่ทั้งหมดนี้มาวิเคราะห์ดูเพื่อหาว่าเรามีส่วนไหนที่กำลังมีปัญหารอการแก้ไขอยู่บ้าง หรือ ส่วนไหนที่เราบกพร่องไป จะได้ปรับกลยุทธ์ของเราให้ได้อย่างทันท่วงทีครับ

เพราะในบางครั้งปัญหาอาจจะไม่ได้อยู่ที่ Affiliater แต่อาจจะอยู่ที่ฝั่งแบรนด์เอง เช่น หน้าเว็ปไซต์มีปัญหา ค้างบ่อย หลุดบ่อย หรือ สินค้าของเราอาจจะไม่ได้เป็นที่ต้องการของตลาด ชูจุดเด่นที่น่าสนใจได้ไม่เพียงพอ มีราคาสูงกว่าตลาดมากเกินไปอะไรแบบนี้ก็ได้ ซึ่งหากเราไม่ดูหลังบ้านเลยก็อาจจะพลาดปัจจัยเหล่านี้ไปก็เป็นไปได้ครับ

5.อย่ารีบถามหายอดขายในทันที

การทำ Affiliate Marketing เป็นการตลาดรูปแบบหนึ่งที่เปรียบเหมือนกับการปลูกต้นไม้ครับ จะให้รีบออกดอกออกผลมาแบบปัง ๆ เปรี้ยง ๆ เลยก็อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นทันทีขนาดนั้นครับ

คล้ายกับการ Seeding Contents / Influencer หรือ การทำ SEO ที่ต้องค่อย ๆ เพิ่มจำนวนรีวิว ความน่าเชื่อถือ ค่อย ๆ ทำคะแนน ให้กลายมาเป็น Push และ Pull Marketing Funnel สำหรับการเป็นเครดิตที่ดีให้กับแบรนด์

รู้ตัวอีกที่แบรนด์เราก็มีความน่าเชื่อถือจากผู้ใช้งานจำนวนมาก หรือจากสื่อที่ลูกค้าสามารถเห็นได้อยู่ทั่วไปแล้ว

แต่ขอให้ทุกคนมั่นใจได้เลยครับว่าการทำ Affiliate จะกลายเป็นต้นไม้ที่มั่นคงและสร้างรายได้ให้กับแบรนด์ของเราอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นอย่าใจร้อนนะครับ หากเราทำตั้งแต่ข้อ 1-4 ครบถ้วนอย่างสม่ำเสมอ ยอดขายของเราเพิ่มขึ้นมาแน่นอนครับ

และทั้งหมดนี้ก็คือ 5 สิ่งที่ใครที่กำลังทำ Affiliate Marketing ควรรรู้เอาไว้โดยพื้นฐานที่เบสคิดว่าจะช่วยให้เราสามารถคิดได้อย่างรอบด้านมากขึ้นและสร้างความต่อเนื่องให้กับการทำการตลาดของเราจนเกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างดีเลยครับ

บทส่งท้าย

สำหรับใครที่ยังไม่มีระบบการทำ Affiliate Marketing เป็นของตัวเอง แต่มีหน้าร้านขายอยู่บน Market place อย่าง Lazada หรือ Shopee ทาง Platform ก็มีระบบ Affiliate ให้เราได้ลองใช้งานดูด้วยนะครับ ลองไปเปิดประสบการณ์ทดลองใช้กันดูเพื่อต่อยอดการขายให้กับทุกคนดูได้เลยนะครับ

จากประสบการณ์เบสค่อนข้างมันใจว่าถ้าร้านของทุกคนมี Marketing Funnel ที่ครบถ้วนทุกกระบวนแล้ว จุดนี้จะเป็นส่วนเสริมที่มี ROAS ตอบแทนกลับมาให้กับทุกคนได้อย่างน่าประทับใจแน่นอนครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ ขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบครับ 🙂

สามารถอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับการตลาดวันละตอนได้ที่ คลิก

Ref.

Watcharapon Kittipodpong

ลงมือเขียนเพื่อทบทวน และเข้าใจตัวเอง คนที่สนใจ Marketing คนหนึ่งที่อยากส่งต่อเหมือนที่ได้รับมา หวังว่าสิ่งที่เขียนจะมีประโยชน์กับคนอ่านทุกคนนะครับ :)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *