3 วิธี การวางโครงสร้าง Content ทำยังไงให้รู้เรื่อง เข้าใจง่าย น่าสนใจ

3 วิธี การวางโครงสร้าง Content ทำยังไงให้รู้เรื่อง เข้าใจง่าย น่าสนใจ

Content Marketing เป็นอะไรที่สำคัญมาในยุคสื่อโซเชียลแบบนี้ ครั้งที่แล้วเพลินเขียนเรื่องรูปแบบ Content ที่คนจะไม่เลื่อนผ่านไปเฉยๆ ไปแล้ว วันนี้เพลินจะมาแชร์ 3 วิธี การวางโครงสร้าง Content ที่สามารถนำไป Apply ใช้ได้กับ Content ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นงานเขียน Writing / บทความ Blog / การวางโครง Video Content / หรือแม้กระทั้งการตัดต่อ Podcast หรือเล่าเรื่องเมื่อยามได้เป็น Speaker หรือคน Present ข้อมูลในที่ประชุมด้วย

ปัญหานึงที่เพลินมักเจอจากคนที่เขียนไม่เก่งหรือพูดไม่เก่งก็คือ การถ่ายทอดเรื่องราวที่พวกเค้ารู้ให้คนอื่นทราบเหมือนกันได้ยาก เคยเจอไหมคะ? คนที่เรารู้สึกว่าเค้าเก่งนะ มีความสามารถแต่กลับสอนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรืออธิบายวนไปวนมา จนพาลสับสน ซึ่งปัญหานี้จะสามารถปรับและแก้ได้หากเรามีการวาง Content Structure เอาไว้ล่วงหน้า ซึ่งมันจะคล้ายกับการวางภาพรวมเป็น Draft เอาไว้ก่อน ว่าเราจะเล่าเรื่องนี้ยังไง เริ่มจากจุด A ไปจุด B แล้วไปจุด C จนจบเรื่องได้อย่างไร โดยที่คนอ่านหรือคนฟังไม่สับสน แล้วจะยังอยู่กับเราตลอดจนจบเรื่องนั้นๆ

ซึ่งแน่นอนว่าข้อดีหลักๆ ของ การวางโครงสร้าง Content ก็คือการที่เราจะไม่เสียคนฟังหรือคนอ่านอย่างที่เพลินบอกไปตอนต้น แต่นอกจากนั้น การที่เราเล่าเรื่องได้ดี ยังส่งผลดีต่อตัวเราเองในฐานะผู้พูดหรือผู้เขียนด้วย เพราะมันคือการสร้าง Expertise และ Creditability  ให้กับตัวเองว่าเราไม่ได้เพียงแต่มีความรู้แน่นๆ นะ แต่ชั้นยังสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นรู้และเก่งไปพร้อมๆ กับเราได้ด้วย 

อีกเรื่องสำหรับข้อดีในการวางโครงสร้าง Content เมื่อทำ Content Marketing ไม่ว่าจะเป็น Blog หรือ Video Content ก็ตามก็คือ แนวโน้มที่คนจะดูคลิปของคุณจนจบคลิปหรืออ่านบทความจนจบเรื่อง ทั้งนี้ก็ช่วยให้ Time Spent ต่อหนึ่ง Page บนเว็บไซต์นานขึ้นและ Bounce Rate ก็ต่ำลงด้วยเช่นกันค่ะ ยิ่งถ้าหากคุณวางโครงให้กับ Video Content มันก็คงจะคล้ายๆ กับการวาง Storyboard เพื่อกันหลงซีน ลืมถ่ายช็อตนั้น ช็อตนี้เพิ่มด้วยนั่นเองค่ะ

และเมื่อเห็นถึงข้อดีแบบนี้แล้ว เรามาดู 3 วิธีการวางโครงสร้าง Content Structure ที่จะทำให้รู้คนอ่านรู้เรื่อง เข้าใจง่าย แถมน่าสนใจกันค่ะ

1. การ วางโครงสร้าง Content แบบ Chronological Order

การทำคอนเทนต์แบบ Chronological order มักพบเจอบ่อยๆ ตามบทความที่เป็นการชี้แจ้ง อธิบายหรือบรรยายขั้นตอนอะไรบางอย่าง โดยความหมายของมันก็ต้องบอกว่าค่อนข้างที่จะตรงตัวอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือการเล่าเรื่องเรื่องนึงตาม Sequence ของงานว่าอะไรเกิดขึ้นก่อน-หลัง หรือควรทำก่อน มาก่อน เป็นต้น เวลาเขียนหรือเล่าเรื่องด้วยโครงสร้างนี้ เรามักจะเชื่อม Paragraph หรือการตัดต่อ Transitions คลิปด้วยคำประมาณว่า ‘อันดับแรก’ / ‘อย่างแรก’ / ‘ข้อแรก’ แล้วไล่ไปเรื่อยๆ จนถึง ‘ข้อสุดท้าย’‘หลังจากนั้น’ / และคำว่า ‘ในที่สุด’ เป็นต้น

เมื่อได้ยินแบบนี้ พอจะคุ้นกับคลิป Content ไหน หรือบทความไหนที่เราเคยอ่านแล้วใช้การเขียนรูปแบบ Chronological order บ้างไหมคะ? อย่างที่บอกว่ามันเหมาะกับเนื้อหาจำพวกบรรยาย ชี้แจ้งขั้นตอนต่างๆ ที่ควรค่าแก่การไล่ไปทีละ Step หนึ่ง สอง สาม สี่ ดังนั้นเมือนผู้ชมได้ยินคำเชื่อมอย่าง ‘ข้อแรก’ และ ‘ข้อถัดไป’ ก็จะทำให้เค้าเห็นภาพรวมได้ทันที ว่าคนเล่าหรือคนบรรยายกำลังเล่าเรื่องแบบไหนอยู่ ถ้าพลาดข้อแรกไป ก็สามารถถามคนอื่นได้ทันทีว่า ‘ข้อก่อนหน้า’ คืออะไร เป็นต้นค่ะ

2. การวางโครงสร้าง Content แบบ Order of Importance

การวาง Content Structure รูปแบบนี้อาจจะคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับเหล่านักข่าวและเด็กวารสาร การตลาดและโฆษณา เพราะการเขียนรูปแบบนี้จะสำคัญมากใน PR และ News Writing ที่ต้องเล่าเรื่องตามลำดับความสำคัญที่สุดก่อน แล้วค่อยไล่ลงมาจนเรื่องที่สำคัญน้อยที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อจะดึงดูดให้คนอ่านหรือคนฟังหยุดอยู่กับเราตั้งแต่ประโยคแรกๆ แล้วยังอยากอ่านเนื้อหาต่อไปเรื่อยๆ ตั้งแต่บรรทัดแรกยันบรรทัดสุดท้ายนั่นเองค่ะ 

การเขียนรูปแบบนี้อย่างที่บอกว่าเหมาะกับการเขียนข่าวแล้ว ยังเหมาะกับการเขียนโฆษณาเชิญชวนด้วย เพราะมันจะมีความคล้ายกับการเล่าเรื่องแบบเน้นเนื้อๆ ขึ้นมาก่อนแล้วค่อยเล่าน้ำๆ ทีหลัง ถ้าจะให้เห็นภาพชัดๆ ก็คงจะคล้ายๆ กับการบอกว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน ตอนไหน อย่างไร เพราะอะไร หรือ 5Ws + 1 H ในพารากราฟแรก พารากราฟเดียว แล้วหลังจากนั้นค่อยไล่บรรยายรายละเอียดและDetails ตามความสำคัญลงมาเรื่อยๆ ในพารากราฟที่ 2 / 3 / และ 4 นั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ตาม ความสำคัญที่ว่าสำหรับ Content Marketing เพลินต้องขอแนะนำว่ามันคือ Order of Importance ในมุมมองของลูกค้านะคะ ไม่ใช่ของแบรนด์เป็นหลัก ดังนั้นเราควรต้องรู้ก่อนว่า ลูกค้าให้ความสำคัญกับอะไร ราคาใช่ไหม? งั้นถ้าเราจัดโปรโมชั่น เราก็จะบอกว่าสินค้าลด 50% ก่อน หลังจากนั้นลูกค้าแคร์เรื่องอะไรอีก ยี่ห้อที่ลด? เราก็บอกชื่อแบรนด์ต่อจากป้ายราคาที่ลดเลย แล้วหลังจากนั้นค่อยมาสาธยายว่าทำไมอยู่ๆ เราถึงลด เพราะมันเป็น Clearance Sale หรืออะไรก็ว่าไปค่ะ

3. การวางโครงสร้าง Content แบบ Spatial Order

การวาง Content Structure แบบ Spatial Order คือการบรรยายหลักๆ เพื่อให้คนจินตนาการ คิดภาพตามได้ เหมือนเราเน้นใช้ Adjectives และ Adverbs มากๆ เพื่อให้คนรู้สึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องนั้นๆ ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งการสร้างคอนเทนต์รูปแบบนี้มักจะเจอในคอนเทนต์จำพวกเนื้อเรื่องนิยาย หนัง หรือสารคดีต่างๆ ที่เสียหลายพารากราฟเพื่อให้คนอ่านหรือคนชม อินไปกับเรื่องนั้นๆ ประนึงว่าพวกเค้าเป็นคนดำเนินเรื่องไปด้วยกันนั่นเองค่ะ

ซึ่งในการเล่าเรื่องด้วยโครงสร้างแบบนี้ สำคัญมากคือ Transitions หรือตัวเชื่อมที่ทำให้คนอ่านหรือคนดูไม่งง ซึ่งถ้าหากเป็น Video Content ก็จำเป็นต้องมีการคำนึงถึงเส้นสายตา ว่าคนควรจะมองจุดไหนก่อน-หลัง ส่วนถ้าเป็นงานเขียนก็จะต้องระวังในเรื่องของการพัฒนาเนื้อหาให้ไม่ Jump จนเกิดไป ควรมีเหตุ-มีผลซึ่งกันและกัน รวมไปถึงการพัฒนาอารมณ์ของตัวละครในเรื่องก็ไม่ควรกระโดดด้วย เพื่อป้องกันคนอ่านหลงทางหรือสะดุดค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ 3 การวางโครงสร้าง Content Structure ที่จะช่วยให้ Content Creator มีหลักยึดเกาะ ไม่เล่าตรงนั้นที ตรงนี้ทีจนไม่รู้เรื่อง อย่างไรก็ตามเพลินต้องขอบอกแบบนี้นะคะว่า 3 ข้อนี้เป็นเพียงวิธีช่วยวางโครงเนื้อหาเท่านั้น แต่การทำให้เนื้อเรื่องของเราประสบความสำเร็จมีคนอ่านจนจบหรือดูคลิปจนจบเนี่ย ยังมีอีกหลากหลาย Factors ที่เกี่ยวข้อง เช่น Character ของช่องเราหรือเพจเรา รวมไปถึงการใช้ Visual Materials ประกอบ ต้องมาดูอีกว่าภาพเหล่านั้นน่าสนใจหรือเปล่า เราควรปรับตรงไหน เพื่อหรือลดอะไรด้วยค่ะ

อีกอย่างนึงที่เพลินอยากฝากไว้ก็คือการเลือกวิธีการเขียนคอนเทนต์ให้ตรงกับเนื้อหาที่เราจะสื่อ บางที Hard Sale ตั้งแต่แรกก็อาจจะทำให้คนซื้อขยาย ในขณะที่การเขียน Long-form content เชิง Blog อาจทำให้คนเข้าถึงแบรนด์ได้มากกว่าก็ได้ ดังนั้นอย่าลืมพิจารณา Objective ของแต่ละเนื้อหาด้วย ว่าเหมาะกับวิธีไหนแล้วเลือกใช้อย่างเหมาะสมนะคะ ลองดูค่ะ

Source: https://open.lib.umn.edu/writingforsuccess/chapter/9-3-organizing-your-writing/

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

2 thoughts on “3 วิธี การวางโครงสร้าง Content ทำยังไงให้รู้เรื่อง เข้าใจง่าย น่าสนใจ

  1. อยากบอกทีมงานทุกคนเลยค่ะว่าบทความเป็นประโยชน์มากๆกับคนที่พึ่งเข้ามาในสาย Marketing หรือยืนอยู่ในจุดที่ทำงานในด้านนี้แล้วก็ตาม รู้สึกแฮปปี้ที่ได้อ่าน ได้ความรู้ เทคนิคต่างๆ ชอบมากกกค่ะ เป็นกำลังใจให้ทีมงานผลิต content ดีๆแบบนี้ออกมานะคะ แต่ขออนุญาตแจ้งข้อมูลนิดนึงค่ะ รู้สึกว่าอ่าน content แล้วมักจะเจอคำผิดอยู่บ่อยๆ เช่น ชี้แจง เป็นชี้แจ้ง หรือตกตัวอักษรไปบ้าง เจอแทบจะทุก content ที่ผ่านตามาค่ะ อาจจะตรวจสอบ content อีกนิดหน่อย จะเก๋ไก๋มากค่ะ วิญญาณครูอังคณาตรวจสอบภาษาเข้าสิงชั่วคราว 5555

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *