Online Video Strategy: ปี 2021 ทำ Video Content แบบไหนดี?

Online Video Strategy: ปี 2021 ทำ Video Content แบบไหนดี?

วันนี้ใครๆ ก็ทำคลิป ทำวิดีโอกันทั้งนั้น เพราะเกือบทุก Social Media แพลตฟอร์มต่างก็พากัน Value ภาพเคลื่อนไหว รู้แบบนี้แล้วหลายๆ แบรนด์ก็ออกมาคิดว่าจะทำ Video Content ยังไงดี วันนี้เพลินจะมาแชร์ Online Video Strategy จากทีม Oberlo ที่ควรค่าและเหมาะสมกับปี 2021 ไม่ว่าจะด้วยเทรนด์ของรูปแบบ Content หรือจะเป็นเทรนด์พฤติกรรมการเสพของผู้บริโภคที่กำลังมาค่ะ

1. Live Video

แน่นอนว่ากระแส LIVE สดต้องบูมกว่านี้แน่ หลังจากที่เราเริ่มได้ยินกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เค้าไลฟ์กันมาก็แยะแล้ว ดังนั้นไม่ต้องเตรียม Production อะไรให้มันมากความ จัดแสง จัดไมค์ และแรงไฟ Internet ให้พร้อม Broadcast ขณะ LIVE Streaming ก็พอ แต่ข้อควรระวังก็คือ LIVE Host ที่จะต้องทำหน้าที่เหมือนพิธีกร พนักงานขาย และ Entertainer ทุกอย่างต้องครบเครื่อง เพื่อให้ไลฟ์สดของเราเป็นไปได้อย่างน่าติดตามค่ะ

ซึ่งตัวอย่างการไลฟ์จากคนที่ไลฟ์เก่งๆ ในไทยก็มีให้เห็นเริ่มแยะแล้วเนอะ งัดไม้เด็ด ลูกเล่นของคุณออกมาแล้วเริ่มไลฟ์ตั้งแต่วันนี้เลยค่ะ อีกทริคะนึงที่เห็นบ่อยๆ ก็คือ เนื่องจากกระแส LIVE ก็เริ่มเยอะ ทำให้ลูกค้าอาจจะไม่รู้ว่าจะเริ่มดู LIVE ของใครก่อนดี ก็อาจจะลองหา พิธีกรหน้าตาดีที่จะดึงดูดให้เราอยากเข้ามาฟัง LIVE ตั้งแต่ยังไม่ได้ยินเสียงเลยซะนิดดูค่ะ แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าหน้าตาแบบไหนคือดีพอ ก็เลี่ยงไปเป็นการจัดฉาก LIVE ที่เอาซะแบบ … ไม่ Wow ก็อะไรวะเนี่ย จนอดไม่ได้ ขอฟังหน่อยเถอะ..

2. Short-form video

พูดถึง Short-form video แน่นอนว่าหนีไม่พ้นการโยงเข้าถึง TikTok และ IG Stories หรือ Reels ที่เข้ามาในต่างประแทศกันแล้ว เพลินเองก็รออยู่ว่าเมื่อไรจะเข้าไทยสักที อยากเล่นใจจิขาดแล้วเนอะ เพราะฉะนั้นการวางแผนทำ Video Content ในปีนี้ จึงสำคัญมากเลย ยิ่งถ้าในกรณีที่แบรนด์ของคุณมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กรุ่นใหม่ อย่าง Generation Z หรือ Millennial ด้วยแล้ว การเข้าถึงพวกเข้าด้วยวิดีโอสั้นแบบนี้ เป็นอะไรที่ต้องทำเลยค่ะในปี 2021 นี้

อย่างไรก็ตาม พึงระวังไว้ว่า ถึงแม้จะทำวิดีโอสั้นแล้ว แต่ก็ต้องปรับสไตล์เนื้อหา ใส่ Creativity เข้าไปด้วย เพราะเมื่อ Content ยิ่งสั้น การเลื่อนผ่านหรือปัดป่านก็ยิ่งทำได้ง่ายและเร็ว พอๆ กับการเสพให้จบค่ะ ถ้าทำดี คนก็จะรับรู้ Message ของคุณได้เต็มๆ แถมคลิปของคุณยังมีสิทธิ์ได้ Repeat Play Rate สูงๆ ดัน Awareness ให้พุ่งยิ่งๆ ขึ้นไปอีกนะ

3. User-Generated Video Content

นอกจากการที่เราจะทำคลิปออกไปเองแล้ว ลองมองหาการกระจาย User-Generated Content ดูบ้างค่ะ เมื่อก่อนเราอาจจะพยายามให้คนรีวิวสินค้าของเราผ่านเว็บ ผ่าน Social Media ของเค้า วันนี้แค่เปลี่ยนจากรูปแบบการเขียนมาเป็นวิดีโอเท่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เพราะมันเป็น Video เนี่ยแหละ มันเลยทำให้ความอยาก Participate จาก Users น้อยลง ยิ่งถ้าหาก Mechanic หรือกติกาของคุณมันทำได้ยากละก็ จำนวนคลิปที่เป็น User-Generated ก็จะน้อยลงไปด้วย ดังนั้น ถ้าไม่เล่นบน Platform ที่ Cover ได้ง่าย ก็ต้องเป็นการใช้ AR Filter หรือเพลงของแบรนด์อะไรบางอย่างที่คนอยากทำก่อน แล้วค่อยทำได้ง่ายค่ะ เพราะถ้าทำได้ง่ายก่อนอยากทำละก็ คุณจะกวาดทุกคนเข้ามาเล่น ทั้งๆ ที่พวกเค้าอาจจะไม่ได้เป็น Target ของคุณ นักล่ารางวัลก็เช่นกันค่ะ

4. Educational video

Video เชิงการศึกษาถูกพบว่ามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นในปี 2020 ถึง 36.3% เนื่องจากเด็กและผู้ใหญ่หลายๆ คนต้องกักตัวอยู่บ้าน และการ Learn from Home จากที่เป็นเรื่องใหม่ วันนี้ก็กลายเป็นเรื่องคุ้นชินกันไปเรื่อยๆ ทำให้คนเริ่มอยากใช้เวลาที่อยู่บ้าน ให้เป็นประโยชน์ ในการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ดังนั้นหากแบรนด์หรือสินค้าของคุณเป็นอะไรที่สามารถช่วยให้คนฉลาดขึ้นได้ ไม่ว่าจะทางไหนสักทางนึง ลองเปิดเป็นคอร์สออนไลน์ หรือทำ Video Content แบบ Tutorial ให้คนเห็นภาพก่อน แล้วลุยต่อเลยค่ะ

5. Video Advertising

Online Video Strategy

ข้อนี้ไม่ต้องพูดเยอะ หลายคนก็น่าจะทำอยู่แล้ว แต่อีกสิ่งนึงที่เพลินอยากฝากเอาไว้ก็คือ ขั้นตอนการ Production ไม่ต้องทำให้มันอลังการมากก็ได้ ลองทำคลิปให้ง่ายแต่พองามดู เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเสียเวลา เสียเงินลงทุนกับคลิปที่ถ้าลูกค้าเห็น 2 ทีก็เริ่มเบื่อ เพราะฉะนั้น ลองวางอะไรง่ายๆ แต่พองามนะคะ รวมไปถึงการแพลน Period ของคลิปด้วย ว่าคุณจะเอาไปลงช่องทางไหน ถ้าเป็น TikTok หรือ IG Story ก็สักประมาณ 15 วินาทีเป็นต้นค่ะ

6. AR Content

อย่างที่เพลินได้เกริ่นไปในข้อก่อนหน้านี้ การทำ AR Content ในปีนี้บอกเลยว่ามีสิทธิ์เกิดมาก เพราะใครๆ ก็เล่น IG Stories และ TikTok ยิ่งเป็นเด็กกลุ่มรุ่นใหม่ ต่อให้ AR Filter ของคุณมันจะดูแบรนด์มาก แต่ถ้ามันสวย มันน่าเล่น ใครๆ ก็อยากลองค่ะ ซึ่งจริงๆ AR Filter มันมีหลายรูปแบบนะคะ ไม่ว่าจะเป็น Text แปะ หรือการทำหน้าตลกๆ ภาพเคลื่อนไหวก็ได้ ลอง Explore ทริคในการทำดู มี Creativity เยอะมากให้เล่นได้ จนถึงขั้นที่เกิดเป็นอาชีพทำ AR Filter ใหม่ขึ้นมาเลยละค่ะ

อย่างไรก็ตาม หลายๆ คนอาจจะคิดว่า ลูกค้าของชั้นคือ รุ่นเดอะ ไม่ใช่รุ่น Gen Z เลยไม่อยากทำ เพลินบอกเลยว่าถ้าคิดแบบนี้ก็ไม่ถูกนะ เพราะ AR Filter ไม่ได้มีแค่ TikTok และ Instagram เท่านั้น แต่ยังมีใน LINE รวมไปถึง Facebook ด้วย ยังไงก็ลอง Explore ช่องทางที่เข้ากับลูกค้าของแบรนด์ตัวเองแล้วลองปรับใช้ดูนะคะ เพราะคุณแม่เพลินเองก็ชอบที่จะเล่น AR Filter มากเลยทีเดียวค่ะ

7. Shoppable Video

Online Video Strategy

อันนี้ในบ้านเรายังไม่ค่อยเห็น หรือถ้ามีเจ้าไหนทำแล้ว ลองแชร์เคสมาหน่อยนะคะ เพราะเป็นตัวอย่างที่ดีเหลือเกิน ไม่รู้ว่าจะต้องรอให้ Platform Enable ด้วยหรือเปล่า อย่าง IG Shopping หรือ Facebook Shop เป็นต้น เหมือนกึ่งๆ ว่าดูวิดีโอไป ชอบสินค้าตัวไหนก็จิ้มเลย เป็น Impulse Buying สุดๆ เลยค่ะ

8. Virtual Event

ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งกระแสช่วง COVID-19 เลยก็ว่าได้ ที่หลายๆ แบรนด์และศิลปินต่างๆ หันมาจัด Virtual Event กัน ถึงแม้ว่าจะมีเสียงขัดแย้งขึ้นมาว่า มันแทนกันไม่ได้ก็ตามที เพราะ Event ยังไงซะ คนก็คาดหวัง Experience และ Senses ที่ครบทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แต่สำหรับเพลิน เพลินคิดว่า มันขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจของคุณเป็นประเภทที่ Virtual แทนได้หรือเปล่ามากกว่าค่ะ ถ้าเป็นงานอย่าง Motor Show ก็อาจจะยากหน่อย เพราะใครจะดูออนไลน์แล้วซื้อเลย จริงไหมคะ นอกเสียจากว่าจะมีเงินให้เผาเล่น หรือว่าเคยดูของจริงมาแล้ว แค่รองานซื้อในราคาโปร เป็นต้น

แต่ถ้าหากกลับมาดูงานอย่าง Fan Meeting หรืองาน Virtual Concert ละก็ ถือว่าเป็นอีกนึงช่องทางการสาน Relationship ระหว่างแบรนด์ ศิลปิน-แฟนคลับได้เลยนะคะ เพราะถ้าทำให้สมจริง มันคืองานที่นอกจากคนดูได้จำนวนเยอะในครั้งเดียวแบบ Hall ไม่จำกัดแล้ว คนที่เข้ามาชมยังรู้สึกว่าเค้าได้ใกล้ชิดดาราที่ตัวเองชื่นชอบจริงๆ ด้วย ยิ่งถ้าหากมี Random Session ให้แฟนๆ ได้สามารถคุยได้ตรงๆ กับศิลปินเลย กลุ่มติ่งยังไงก็อยากเข้าร่วมค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือรูปแบบ Video Content ที่นักการตลาดควรใส่เข้าไปใน Online Video Strategy สำหรับปีนี้ อย่าลืมลองคำนึงตั้งแต่ Target Audience ก่อนว่าพวกเขาอยู่ที่ช่องทางไหน แล้วใช้เครื่องมือเหล่านั้นกันอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้คิดลูกเล่น Creativity ใส่เข้าไปได้ถูกและตรงกับความต้องการของคนใช้งานค่ะ ลองปรับใช้ดูกันนะคะ

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *