Data Research Insight เจาะตลาดสินค้า กาแฟ พร้อมดื่ม

Data Research Insight เจาะตลาดสินค้า กาแฟ พร้อมดื่ม

Data Research Insight เจาะตลาดสินค้า กาแฟ ประเภทพร้อมดื่ม

หากพูดถึงเทรนด์เครื่องดื่มในไทย รวมถึงทั่วโลก ตลาดกาแฟ ก็เป็นเทรนด์ที่ต้องยอมรับว่าอมตะสุด ๆ เพราะมีการบริโภคอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยล่าสุด อ้างอิงจากสถิติในงาน Thailand Coffee Fest ที่เผยว่าคนไทยดื่มกาแฟมากขึ้นจาก 180 แก้ว / คน / ปี เป็น 300 แก้ว / คน / ปี อาจจะเทียบกับฝั่งยุโรปแล้วน้อยกว่ามาก แต่เป็นสัญญาณของความนิยมต่อเนื่องค่ะ

และหลังจากที่เคยเจาะ Social Data ธุรกิจ แฟรนไชส์ เครื่องดื่มในไทย และ เจาะเทรนด์ Vending Machine ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ก็พบว่ากาแฟเป็นเครื่องดื่มที่มักติดโพลอันดับต้น ๆ เสมอ จึงอยากให้นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจติดตามเทรนด์และอัปเดตตลาดกาแฟอยู่เสมอนะคะ 

สำหรับในเล่มนี้เราจะพามาขุดคุ้ยสถิติของตลาดกาแฟ ประเภทพร้อมดื่ม ที่เป็นหนึ่งใน segment ของสินค้ากาแฟที่มองข้ามไม่ได้ เพื่อดูว่าแบรนด์ไหนกำลังทำการตลาดผ่าน Social Media และมีการพูดถึงมากน้อย พร้อมเช็คแพลตฟอร์มที่ใช้ ไปจนถึง Objective Insight ที่คนในแวดวงกาแฟควรรู้

ทั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปต่อยอดเพื่อธุรกิจได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมเติมเต็มข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ โดยผู้สนับสนุนใจดี Sellsuki  บริการ Solution ครบวงจรสำหรับคนทำธุรกิจ โดยสามารถดาวน์โหลดตัวเต็มได้ที่ฟอร์มท้ายบทความค่ะ และใช้เป็นตัวอย่างการเล่นกับ Social Listening ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักของการทำรีเสิร์จ เราจะเห็นทั้งเทรนด์ที่วัดด้วยการโพสต์ และการมีส่วนร่วม (Engagement) ของลูกค้าอีกด้วยค่ะ 

8 ขั้นตอนการทำงานกับ Social Listening

8 ขั้นตอนการทำงานกับ Social Listening

ซึ่งเราจะใช้ 8 ขั้นตอนที่เราใช้กับเครื่องมือ Social Listening ของการตลาดวันละตอนเพื่อเริ่มหา insight จาก Social Data ออกมาค่ะ 

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

ขั้นตอนที่สำคัญของการทำรีเสิร์จโดยเครื่องมือ Social Listening คือการทำ Research Keyword เพื่อกวาดข้อมูลที่เกี่ยวข้องเข้ามาวิเคราะห์ โดยเราจะไม่ใช้คำว่า กาแฟ เพราะกว้างเกินไปสำหรับสินค้าพร้อมดื่มดื่มเท่านั้นค่ะ จึงใช้คำว่า : กาแฟพร้อมดื่ม และ กาแฟ+พร้อมดื่ม (ดึง Social Data ที่มีคำว่า กาแฟ และ พร้อมดื่ม)

Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/01/2023 – 01/09/2023 หรือ 8 เดือน มีข้อมูลประมาณ 8,820 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok 

และข้อมูลที่ได้เป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ

STEP 3 Cleansing Data

ขั้นตอนนี้แนะนำให้ทำก็ต่อเมื่อข้อมูลเริ่มนิ่ง ไม่มีตัวเลขเพิ่มแล้ว เป็นการ Review ว่ามีข้อมูลแบบไหนบ้าง และข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องก็ลบออกค่ะ สำหรับกาแฟพร้อมดื่ม จะมีโพสต์สแปมจากสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่เล็กน้อยที่เข้ามาเพราะคำว่ากาแฟ และพร้อมดื่มกับบริบทอื่น

จะต้องใช้เทคนิคการคลีนออกตามความเหมาะสม เพื่อให้ข้อมูลมีคุณภาพ ผลวิเคราะห์ก็จะค่อนข้างแม่นยำมากขึ้นเท่านั้นนั่นเองค่ะ

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ค่ะ > https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/top10-influencers-investment-money-2023-on-tiktok/

Social Data Stat Overview

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions) – มีเพจของแบรนด์และเพจของนักรีวิวกาแฟพร้อมดื่มอยู่บน​ Facebook Page จำนวนมากค่ะ IG จะเป็นแอคเคาท์ของดารา Influencer ส่วน Twitter จะเป็น user ทั่วไป แฟนคลับพรีเซ็นเตอร์มาเทรนด์แท็ก เล่นกิจกรรมกับแบรนด์เนสกาแฟ หรือ user ทั่วไปที่แวะมาบ่นง่วงหรือบ่นว่าต้องพึ่งกาแฟพร้อมดื่มแก้ง่วงค่ะ

การมีส่วนร่วม (Engagement) – แบรนด์กาแฟพร้อมดื่มโพสต์วิดีโอโฆษณาบน YouTube เป็นหลัก รวมทั้งยิงโฆษณาเพื่อสร้างอิมแพค

การมีส่วนร่วม ลบยอดวิวยูทูป (Engagement ignore view) – เนื่องจากยอดวิวบน YouTube มีผลต่อสัดส่วนเอนเกจอย่างมาก แนะนำให้ปรับอีกมุมมองเพิ่มเติมโดยการ ignore YouTube ออกค่ะ เราจะเห็นศักยภาพของแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้ชัดขึ้น นั่นคือ Facebook และ IG

จากกราฟ Timeline ที่แสดงผลสีเส้นตามแพลตฟอร์ม ทำให้เห็นว่าการพูดถึงมาจากแบรนด์ใหญ่ ในช่วงกลางเดือนมีนาคมเป็นโฆษณาแคมเปญจาก Nescafe #เนสกาแฟกระป๋องxแจมรชตะ

และเดือนเมษายนหลายเพจลงข่าวอัปเดต Café Amazon X 7-11 และเมื่อวางขายช่วงเดือนพฤษภาคมก็เป็นอีกดรอปที่น่าสนใจ กาแฟพรีเมียมพร้อมดื่ม Café Amazon X PTTStation ซึ่งวิเคราะห์ได้เบื้องต้นว่าแพลตฟอร์มที่มีความสำคัญต่อ Social Trend ของกาแฟพร้อมดื่มคือ Facebook เป็นอันดับ 1 ค่ะ

Facebook – ปันโปร – Punpromotion กาแฟอเมซอน ขายในเซเว่นทุกสาขาเป็นแบบพร้อมดื่ม

Twitter – JAM RACHATA SUPPORT THAILAND เนสกาแฟกระป๋องสูตรใหม่ #เนสกาแฟxแจมรชตะ

Instagram – gun_atthaphan ลงภาพโปรโมต Birdy Cafe ใหม่ เม็ดกาแฟโรบัสต้าคุณภาพจากเกษตรกรไทย 100%

@llitapalita

ก่อนพาช้อปกล้องดิจิตอล ต้องเติมพลังด้วยนี่เลย กาแฟพร้อมดื่มจาก Café Amazon อร่อย สะดวก พร้อมฟินทุกที่! #กาแฟพร้อมดื่มคาเฟ่อเมซอน #จริงจังเรื่องกาแฟแต่ไม่มีเวลา

♬ original sound – Llita Palita – Llita Palita

TikTok – llitapalita กาแฟพร้อมดื่มจาก Café Amazon อร่อย สะดวก พร้อมฟินทุกที่!

YouTube – NESCAFÉ Thailand เนสกาแฟกระป๋องสูตรใหม่ อุ๊ย! อัพเกรดเพิ่มอาราบิก้า

Overall 7 Categories กาแฟพร้อมดื่ม

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน  

มาดูกันว่า 8,820 Mention นั้นเมื่อแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เราจะเจออะไรบ้าง ซึ่งการวางหัวข้อไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นกรุ๊ปนี้เสมอไป เราสามารถวิเคราะห์และจัดกลุ่มได้เอง ตามวัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องมือค่ะ และไม่ใช่ทั้ง 8 พันโพสต์ที่จะถูกใช้นะคะ

ซึ่งนุ่นเลือก Analysis จัดเป็น 7 กลุ่มตามภาพด้านบน

  1. TOP บรรจุภัณฑ์ 50.2%
  2. Brand highlight 9.1%
  3. TOP รสชาติกาแฟ 6.8%
  4. TOP วิธีการชงกาแฟ 3%
  5. วิธีการคั่วกาแฟ <1%
  6. Objective Insight 12.3%
  7. Placement Highlight 17.8%

#1 TOP บรรจุภัณฑ์กาแฟพร้อมดื่ม บน Social Data

กาแฟพร้อมดื่มในตลาดที่เราเห็นจะมีหลายแบบทั้งขวด กระป๋อง แก้วปิดสนิท และถุงลิตร จากการวัดจำนวนการพูดถึงพบว่าแบบบรรจุขวด เป็นประเภทที่ถูกพูดถึงมากที่สุดบนโซเชียลค่ะ ซึ่ง Social Data ไหลเข้ามาจากโฆษณาแบรนด์และโพสต์ของ Influencer

ซึ่งโพสต์ที่มีเอนเกจสูงสุดของบรรจุขวดคือ Birdy Cafe ใหม่ คัดสรรเม็ดกาแฟโรบัสต้าคุณภาพจากเกษตรกรไทย 100% อาทิเช่น gun_atthaphan tumcial chimonac janhae

#2 Brand Highlight

อันดับแบรนด์ที่จำหน่ายสินค้ากาแฟพร้อมดื่ม แบ่งเป็นการพูดถึง (Mentions) และการมีส่วนร่วม (Engagement) อันดับ 1 คือ Nescafe หรือเนสกาแฟ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบนสื่อโซเชียลที่หลากหลาย เช่นวิดีโอโฆษณา กิจกรรมร่วมกับแฟนคลับของพรีเซ็นเตอร์เพื่อโปรโมตรสชาติใหม่

กินพื้นที่เอนเกจจากแบรนด์อื่น ๆ ไปได้มากที่สุดจากวิดีโอโฆษณาหลายตัวด้วยกันค่ะ ทั้งนี้ยังลองเปรียบเทียบว่าแต่ละแบรนด์กำลังทำการตลาดโดยใช้แพลตฟอร์มไหน โพสต์เวลาใด ได้รับเอนเกจที่ดีในช่วงเช้า เที่ยง หรือเย็น เพื่อเป็นข้อมูลให้นักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจสามารถวิเคราะห์คู่แข่งได้อีกด้วย เพราะแพลตฟอร์มสามารถบ่งบอกถึงตลาดและกลุ่มเป้าหมายได้ค่ะ Cafe Amazon อยู่บน Facebook หนักมากจากเพจต่าง ๆ

Birdy ใช้ดารา Influencer บน Instagram จึงทำให้เห็นแท่งชาร์ตเอนเกจสีชมพูที่พุ่งสูงชัดเจนค่ะ

#3 TOP รสชาติกาแฟ

รสชาติของกาแฟพร้อมดื่ม TOP3 จะเป็นอะไรไปไม่ได้ เพราะคนไทยส่วนมากติดหวานมัน อันดับคือ ลาเต้ > เอสเปรซโซ > อเมริกาโน่ ตามลำดับค่ะ เป็นรสชาติที่ต้องมีหากต้องการขายกาแฟพร้อมดื่มเลยก็ว่าได้นะคะ สามารถนำไปเป็นไกด์เริ่มต้นเมนูเบื้องต้นหรือพัฒนาต่อได้เลย

แม้ส่วนตัวจะเป็นคนที่ไม่ดื่มกาแฟ เพราะดื่มแล้วใจสั่น (ไม่ใช่เพราะรักเธอนะ…) แต่ลาเต้ก็เป็นตัวเลือกที่เซฟสำหรับคนทั่วไปทั้งทานและไม่ทานกาแฟ รีบ ๆ หรือเอาสะดวกหน่อยก็ลาเต้พร้อมดื่มเลยเป็นตัวเล์อกที่ดีค่ะ

#4 TOP วิธีการกาแฟ และ #5 คั่วกาแฟ

ขอบอกเลยว่าสำหรับคนไม่ดื่มกาแฟต้องศึกษาอยู่ซักพัก แต่ก็ได้ Social insight ออกมาเป็นสถิติให้ทุกคนเห็นว่าแบรนด์บนโซเชียลที่ทำการตลาดอยู่กับขายกาแฟพร้อมดื่มแบบไหนค่ะ

วิธีการชงกาแฟ บางแบรนด์ก็ระบุชัดเจน บางแบรนด์ก็ไม่ระบุค่ะ เทรนด์ในปีนี้คำว่า Cold Brew ถูกใช้มากที่สุด 46.7% > กาแฟดริป หรือ Drip coffee ที่ไม่ได้ระบุว่าดริปแบบไหนจะอยู่ในกลุ่มนี้ค่ะ 37.3% > Cold Drip 9.8% > Flash Brew (ดริปด้วยน้ำร้อนให้กรองลงมายนน้ำแข็งทันที) 6.2%

วิธีการคั่วเมล็ดกาแฟ คนไทยมักดื่มแบบคั่วเข้มมาก และมีขายเยอะที่สุด 42.6% คนเกาหลีที่ทั่วไปมักขายแบบคั่วอ่อนมาจิบอเมริกาโนที่ไทยทีนึงตาค้างกันไปเลย~ >

#6 Objective Insight ดื่มกาแฟเพื่ออะไร

จากการโปรโมต และเสียงบนโซเชียล เรามาดูกันดีกว่าว่าคนไทยดื่มกาแฟประเภทพร้อมดื่มเพื่ออะไรกันนะ~

Social Stat by mentions

อันดับ 1 ให้ตื่นตัว / สดชื่น 30%

อันดับ 2 เพื่อทำงาน ดื่มเพื่อให้มีสมาธิ มีแรงทำงาน 22%

อันดับ 3 ดื่มเพื่อสุขภาพ 17%

อันดับ 4 ดื่มเพื่อลดน้ำหนัก เพื่มการเผาผลาญ 13%

อันดับ 5 ดื่มเพราะความเคยชิน ติดกาแฟ ติดคาเฟอีน 9.5% ซึ่งอาจเป็นปัจจัยร่วมกับเหตุผลด้านบน แต่ user มักใช้คำพูดแบบนี้ในการโพสต์เกี่ยวกับกาแฟค่ะ

อันดับ 6 อ่านหนังสือ 9.5%

จะเห็นว่าคนดื่มเพราะเห็นประโยชน์ของการทำให้รู้สึกสดชื่นและตื่นตัววัยทำงานเป็นหลักแต่ก็ไม่ทิ้งเรื่องสุขภาพด้วยนะคะ เชื่อมต่อมาเรื่องการดื่มเพื่อช่วยลดน้ำหนัก การเลือกดื่มสูตรลดน้ำตาลหรือไม่มีน้ำตาลก็เป็นเทรนด์ที่ยังไม่ถูกลืมเร็ว ๆ นี้แน่นอนค่ะ

#7 Placement Highlight วัดจาก Social Data

ก่อนทำหัวข้อนี้คิดว่าร้านสะดวกซื้ออาจมาเป็นอันดับ 1 จับจากชื่อร้านต่าง ๆ เช่น 7-11 เซเว่น เป็นต้น เพราะกาแฟพร้อมดื่มแน่นอนว่าต้องขายความสะดวกสบายเป็นปัจจัยหนึ่ง แต่ผลออกมาว่าร้านคาเฟ่ ร้านเครื่องดื่มมีสินค้า กาแฟที่บรรจุขวดแก้วขายกันเยอะเลยค่ะ

แม้จะมีเอนเกจหรือการพูดถึงไม่เท่าชื่อแบรนด์ดัง แต่บน Instagram ที่เป็นแพลตฟอร์มของร้านคาเฟ่เครื่องดื่ม มีบรรจุขวดออกแบบได้สวยงามและครีเอตไม่น้อยเลยค่ะ ไม่แค่แพ็คเกจแต่รสชาติก็สร้างสรรค์ไม่แพ้กันเลย ใครอยากทำธุรกิจเกี่ยวกาแฟแนะนำให้ใช้ Social Listening เพื่อเจาะเทรนด์บน IG ต่อไปได้อีกไม่รู้จบเลยค่ะ

ปิดท้ายโดยการพูดถึงกาแฟพร้อมดื่มมาจากเพศหญิงมากกว่าเพศขายเล็กน้อยค่ะ เพราะร้านคาเฟ่ที่มีเป้าหมายอยากให้คนมาที่ร้านเยอะ ๆ ก็จะใช้มุมถ่ายรูปและการตกแต่งร้านเพื่อดึดดูดให้คนมาถ่ายภาพและดื่มเครื่องดื่ม รวมทั้งกิจจกรมของเนสกาแฟก็มีแฟนคลับผู้หญิงมาร่วมเยอะ และการพูดถึงจากเพศชายมักมาจากโพสต์ของดาราคนดังที่โปรโมตกาแฟพร้อมดื่มค่ะ

Data Research Insight กาแฟ ประเภทพร้อมดื่ม โดย Social Listening

ทั้งหมดนี้คือ Data insight ที่เจาะมาเพื่อดูเทรนด์ตลาดกาแฟพร้อมดื่มค่ะทั้ง TOP บรรจุภัณฑ์ แบบขวด > กระป๋อง > แก้วปิดสนิท > ถุงลิตร Brand highlight โดยเนสกาแฟที่ทำได้ดีที่สุดทั้งในแง่การพูดถึงและมีส่วนร่วม ส่วนเรื่อง TOP รสชาติกาแฟ ก็ให้เริ่มยืนพื้นที่ลาเต้ > เอสเปรซโซ > อเมริกาโน

และมาถึงเรื่องที่ส่วนตัวอยากรู้เองอย่าง TOP วิธีการชงกาแฟ ที่ Cold Brew มาแรงที่สุด ตามมาด้วยวิธีการคั่วกาแฟแบบเข้มถูกใจคนไทย เจาะลึกถึงObjective Insight ที่ทานกาแฟเพราะอะไร ทั้งนี้ยังส่องไปถึงกาณโพสต์พร้อมกับ Placement Highlight ทำให้เจอร้านคาเฟ่ ร้านเครื่องดื่มที่ทำผลิตภัณฑ์กาแฟพร้อมดื่มสุดสร้างสรรค์มากมาย

ในบทความนี้ว่าละเอียดแล้ว แต่ยังข้อมูลดี ๆ ยังไม่หมดแค่นี้ค่ะ นักการตลาด เจ้าของธุรกิจ และบุคคลทั่วไปทุกคนสามารถโหลดตัวเต็มได้ที่ด้านนี้เลย สามารถนำข้อมูลไปปรับใช้ ช่วยในการตัดสินใจได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ขอแค่เครดิตกลับมาที่การตลาดวันละตอน และ Sellsuki ที่เป็นสปอนเซอร์ใจดีที่มาสนับสนุนการแชร์ข้อมูลดี ๆ แบบนี้ค่ะ

ติดตาม Sellsuki ช่องทางอื่น ๆ Webstie Facebook LINE : @sellsuki Tel. : 02-026-3250

ฝากอีกนิดหากใครต้องการข้อมูลไปทำสื่อแชร์ต่อ ทำซ้ำ หรือต่อยอด แค่ส่ง Backlink กลับมาที่บทความนี้ และส่งลิงก์สื่อที่คุณนำไปต่อยอดมาที่ [email protected] เท่านั้นเอง

อ่าน Data Research Insight by Social Listening เพิ่มเติมได้ที่นี่

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

บทความที่ใช้ Social Listening เพิ่มเติม

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *